ภูมิประเทศ - ภูมิประเทศ นิยาย ภูมิประเทศ : Dek-D.com - Writer

    ภูมิประเทศ

    ลักษณ์ภูมิประเทศของประเทศไทย

    ผู้เข้าชมรวม

    251

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    0

    ผู้เข้าชมรวม


    251

    ความคิดเห็น


    0

    คนติดตาม


    0
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  1 ก.ย. 66 / 17:57 น.


    ข้อมูลเบื้องต้น
    ประเทศไทยตั้งอยู่ในเขตโซนร้อน ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปเอเชียท่ามกลางคาบสมุทรอินโดจีน มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ ๕๑๕,๐๐๐ ตารางกิโลเมตร ประเทศไทยมีอาณาเขตทิศเหนือจดประเทศพม่าและประเทศลาว ทิศตะวันออกจดประเทศลาวและประเทศเขมร ทิศใต้จดทะเลในอ่าวไทยและสหพันธรัฐมาเลเซีย ทิศตะวันตกจดประเทศพม่า ทะเลอันดามัน และช่องแคบมะละกา ประเทศไทยมีฝั่งทะเลยาวรวมทั้งสิ้นประมาณ ๒,๙๐๐ กิโลเมตร

    1. เขตภูเขาและที่ราบระหว่างภูเขาภาคเหนือ ภูมิประเทศ ส่วนใหญ่เป็นทิวเขา ภูเขา และแอ่งแผ่นดินระหว่างเขา ที่สูงเหล่านี้เป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำลำธารหลายสายที่ไหลลงแม่น้ำโขงทางด้าน เหนือ ลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยาทางด้านใต้ และแม่น้ำสาละวินทางตะวันตก ที่ราบระหว่างเขา (แอ่งแผ่นดิน)ที่แม่น้ำเหล่านี้ไหลผ่านจะเกิดที่ราบดินตะกอนที่แม่น้ำไหลพา มาทับถมทำให้เกิดความอุดมสมบูรณ์เหมาะในการเพาะปลูกและการตั้งถิ่นฐานจึง กลายเป้นแหล่งชุมชนที่สำคัญ                                           เทือกเขาที่สำคัญ ได้แก่ เทือกเขาหลวงพระบาง เทือกเขาแดนลาว เทือกเขาถนนธงชัย เทือกเขาผีปันน้ำ เทือกเขาขุนตาล เทือกเขาเพชรบูรณ์ยอดเขาสูงสุดในภาคนี้ คือ ยอดอินทนนท์ (ดอยอ่างกาหลวง) อยู่ในจังหวัดเชียงใหม่ สูงประมาณ 2,595 เมตร เทือกเขาเหล่านี้เป็นต้นกำเนินของแม่น้ำ ปิง วัง ยม และน่าน

    2.เขตที่ราบภาคกลาง  เป็นที่ราบดินตะกอนที่หนาแน่นและกว้างขวางที่สุดของไทย เป็นแหล่งเกษตรกรรมที่สำคัญ แม่น้ำที่สำคัญในภาคนี้ คือ แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำแม่กลอง แม่น้ำท่าจีน แม่น้ำป่าสัก และแม่น้ำบางปะกง เนื่องจากเป็นที่ราบกว้างใหญ่ พื้นที่อุดมสมบูรณ์จึงเหมาะแก่การเพาะปลูกเป็นบริเวณอู่ข้าวอู่น้ำสำคัญและ เป็นเขตที่มีประชากรหนาแน่นที่สุดของประเทศ

    3.เขตที่ราบสูงภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  ภูมิประเทศแยกจากภาคเหนือและภาคกลางอย่างเด่นชัด โดยมีขอบสูงชันตามแนว เทือกเขาเพชรบูรณ์ทานด้านตะวันตก และด้านใต้ตามแนวทิวเขาสันกำแพงและพนมดงรัก ตอนกลางเป็นแอ่งคล้ายก้นกระทะ เรียกว่า แอ่งโคราช มีแม่น้ำชี และมูลไหลผ่านและไหล ลงสู่แม่น้ำโขงทางทิศตะวันออก ที่ จังหวัดอุบลราชธานี  เทือกเขาสำคัญ ได้แก่ เทือกเขาเพชรบูรณ์ เทือกเขาดองพญาเย็น (ทางตะวันตก) เทือกเขาสันกำแพง เทือกเขาพนมดงรัก ลักษณะดินส่วนใหญ่เป็น ดินทราย น้ำซึมผ่านได้เร็ว ไม่อุ้มน้ำจึงนับเป็น ปัญหาสำคัญของภาคนี้ คือ การขาดแคลนน้ำและดินขาดความอุดมสมบูรณ์ทำให้บางพื้นที่ไม่สามารถใช้ประโยชน์ จากการเกษตรได้ เช่น ทุ่งกุลาร้องไห้ ซึ่งครอบคลุม พื้นที่ถึง 5 จังหวัด ได้แก่ร้อยเอ็ด สุรินทร์ มหาสารคาม ยโสธร และ ศรีษะเกษ

    ภาพ:ไทย2.jpg
    4.เขตภูเขาสูงภาคตะวันตก  ลักษณะภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นทิวเขาและหุบเขา แต่ไม่มีที่ราบ ระหว่างเขาเหมือนภาคเหนือและมีที่ราบแคบๆ
    เทือกเขาสำคัญ ได้แก่ เทือกเขาถนนธงชัยและเทือกเขาตะนาวศรี เทือกเขาเหล่านี้เป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำแควน้อย (ไทรโยค) และแม่น้ำแควใหญ่ (ศรีสวัสดิ์)ไหลมาบรรจบกันเป็นแม่น้ำแม่กลอง ระหว่างแนวเขามีช่องทางติดต่อกับพม่าทางด่าน แม่สอดจังหวัดตาก และ ด่านเจดีย์สามองค์ ใน จังหวัด กาญจนบุรี

    5.เขตภูเขาและที่ราบชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก  เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำทางตอนเหนือ เป็นทิวเขาและที่ราบลูกฟูกทางตอนกลาง และ ที่ราบชายฝั่งทะเลทางใต้เทือกเขาสำคัญ ได้แก่ เทือกเขาจันทบุรีและเทือกเขาบรรทัด ระหว่างเทือกเขาจันทบุรีกับอ่าวไทยจะเป็นที่ราบแคบๆ พื้นดินอุดมสมบูรณ์เหมาในการปลูกผลไม้ มีแม่น้ำสายสั้นๆ ได้แก่ แม่น้ำบางปะกงไหลลงอ่าวไทย ลักษณะชายฝั่งเว้าแหว่งเต็มไปด้วยเกาะใหญ่น้อย หาดทรายสวยงาม เกาะสำคัญได้แก่ เกาะช้าง เกาะกูด และเกาสีชัง

    6.เขตภูเขา ที่ราบสูง ที่ราบชายฝั่งทะเล และหมู่เกาะต่างๆ ทางภาคใต้  ภาคใต้มีลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบสูง ลักษณะภูมิประเทศเป็นคาบสมุทรแคบๆ มีที่ราบจำกัด ซึ่งอยู่ทางชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกและตะวันตกของภาคเป็นแนวขนานโดยมีเทือก เขาสูงเป็นสันอยู่ตรงกลาง เทือกเขาสำคัญ ได้แก่ เทือกเขาสันกาลาคีรี ซึ่งเป็นพรมแดนระหว่างประเทศไทยกับประเทศมาเลเซีย เทือกเขาภูเก็ต และเทือกเขานครศรีธรรมราช

             แม่น้ำสายสั้น ๆ ที่เกิดจาก ภูเขาทางตอนกลางได้แก่ แม่น้ำกระบุรี แม่น้ำตรัง แม่น้ำคีรีรัฐ แม่น้ำตาปี แม่น้ำปากพนัง และแม่น้ำโก-ลก เกาะที่สำคัญ ได้แก่ เกาะภูเก็ต เกาะสมุย และเกาะพงัน

    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ

      ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      ความคิดเห็น

      ×