การทำแผล
+++เตรียมอุปกรณ์ในการทำแผลให้พร้อม เช่นถาดสำหรับทำแผล สำลี, ก๊อส, แอลกอฮอล์ 70 % น้ำเกลือปราศจากเชื้อ
(ถ้าไม่มีใช้น้ำสะอาดต้มสุกแทนได้) พลาสเตอร์
วิธีทำแผล
- จัดท่าผู้ป่วยให้สะดวกแก่การทำ
- แกะพลาสเตอร์หรือผ้าพันแผลออก
- ล้างมือให้สะอาด
- ใช้สำลีชุบ แอลกอฮอล์ 70 % เช็ดจากขอบแผลออกไปบริเวณรอบๆแผลประมาณ 2 นิ้ว
- เช็ดล้างในแผลด้วยน้ำเกลือจนสะอาด
- ใช้ ก๊อสแห้งซับน้ำยาที่ค้างอยู่ในแผลให้แห้ง
- เช็ดผิวหนังบริเวณรอบๆ บาดแผลและส่วนที่เปรอะเปื้อนด้วย แอลกอฮอล์ 70 %
- ใช้ ก๊อสแห้งชุบน้ำยาปิดลงในแผลให้ชุ่ม ปิดด้วยก๊อส ให้หนาพอที่จะเก็บความชื้นไว้ได้
- ติดพลาสเตอร์หรือพันผ้าไว้ แล้วแต่ตำแหน่งของบาดแผล
หมายเหตุ
- ล้างมือให้สะอาดก่อนและหลังทำแผลทุกครั้ง
- ญาติ/ผู้ดูแลจะต้องได้รับการฝึกทำแผลจนชำนาญจากบุคลากรทางการแพทย์
การดูแลผู้ป่วยใส่ท่อเจาะคอ
+++ผู้ป่วยที่ต้องใส่ท่อช่วยหายใจ จำเป็นต้องได้รับการดูแลในเรื่องของการดูดเสมหะและการทำแผล เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยหายใจได้สะดวกไม่เกิดการติดเชื้อ
การดูดเสมหะ / อุปกรณ์
- เครื่องดูดเสมหะและขวดสุญญากาศ
- สายยางสำหรับต่อสายดูดเสมหะและข้อต่อ
- สายดูดเสมหะ
- ขวดปากแคบ ขนาด 500 ซีซี จำนวน 4 ขวดล้างให้สะอาดแช่น้ำร้อนนาน 15-20นาที
- ถังพลาสติกพร้อมฝาปิด
- น้ำยาฆ่าเชื้อ(เซพลอน)
- กระบอกฉีดยาขนาด 10 ซีซี 20 ซีซี
- ปากคีบ 1 อัน
- ถุงมือทางการแพทย์
- ถุงมือ
การเตรียมขวดและน้ำยาฆ่าเชื้อ
ขวดที่ 1 ใช้ผสมน้ำยาฆ่าเชื้อโดยใช้กระบอกฉีดยาดูดน้ำยาฆ่าเชื้อ เซพลอน 1 ซีซี ผสมในน้ำต้มสุกที่เย็นแล้ว 500 ซีซีสำหรับล้างสาย
ขวดที่ 2 .ใส่น้ำต้มสุกที่เย็นแล้วสำหรับล้างสายดูดเสมหะ
วิธีการดูดเสมหะ
- ล้างมือ ฟอกสบู่ให้สะอาด
- จัดให้ผู้ป่วยนอนศีรษะสูง
- ฉีกซองสายดูดเสมหะออก จับหัวต่อสายดูดเสมหะ แล้วใช้ปากคีบจับสายดูดเสมหะออกจากซองโดย ไม่ให้สายดูดเสมหะสัมผัสกับสิ่งใดๆ เพื่อป้องกันการปนเปื้อน
- ใช้ปากคีบจับสายดูดเสมหะให้ห่างจากปลายสายประมาณ 5 นิ้ว ใส่ปลายสายดูดเสมหะลงในท่อเจาะคอ ลึกประมาณ 2-3 นิ้วแล้วค่อยๆ หมุนสายเป็นวงรอบท่อเจาะคออย่างเบาๆและนุ่มนวลใช้เวลาไม่เกิน 10 วินาทีแล้วนำสายดูดเสมหะออกโดยปล่อยให้ผู้ป่วยพักหายใจประมาณ 1 นาที ทำซ้ำขั้นตอนเดิม จนเสมหะหมด
- เมื่อดูดเสมหะเสร็จให้ดูดน้ำยาในขวดที่ 1 เพื่อล้างสายและดูดน้ำต้มสุกในขวดที่ 2 เพื่อล้างสายซ้ำ จากนั้นนำสายดูดเสมหะไป
แช่ในถังที่มีน้ำยาฆ่าเชื้อ - ปิดเครื่อง
การทำความสะอาดสายดูดเสมหะ
- ถ้าต้องการนำสายยางกลับไปใช้ซ้ำอีก ควรแช่สายยางในถังที่ผสมน้ำยาฆ่าเชื้อ นาน 30 นาที
- ล้างสายดูดเสมหะด้วยน้ำต้มสุกที่เย็นแล้วให้สะอาดก่อนนำไปผึ่งให้แห้ง
- เก็บสายดูดเสมหะไว้ในภาชนะที่สะอาดและมีฝาปิดมิชิด
การทำความสะอาดขวดเก็บเสมหะ
- เทเสมหะทิ้ง ล้างขวดด้วยน้ำสบู่ ผึ่งให้แห้งแล้วเติมน้ำยาเซพลอน 20 ซีซีลงในขวด ปิดจุกขวดไว้ เพื่อพร้อมใช้งาน
- ควรทำความสะอาดวันละ 2 ครั้งเช้า เย็นหรือทุกครั้งที่มีเสมหะเต็ม
- ทำความสะอาดขวดแก้วและปากคีบด้วยน้ำสบู่ ผึ่งขวดแก้วให้แห้ง ต้มปากคีบด้วยน้ำเดือดนาน 15-20นาที วันละ 1-2 ครั้ง
การทำแผลผู้ป่วยใส่ท่อเจาะคอ
++++++การดูแลแผลเจาะคอเป็นสิ่งจำเป็น ควรทำความสะอาดแผลวันละ 2 ครั้ง เช้า เย็นเพื่อให้แผลแห้งสะอาดและป้องกันการติดเชื้อ
อุปกรณ์ในการทำแผลผู้ป่วยใส่ท่อเจาะคอ
- สบู่สำหรับล้างมือ
- สำลี ผ้าก๊อส
- ถาดสำหรับทำแผล / ถ้วย / ชามที่ทนความร้อน
- ปากคีบ 2 อัน
- แอลกอฮอล์70 %น้ำเกลือสำหรับล้างแผล (ถ้าไม่มีใช้น้ำสะอาดต้มสุกแทนได้) พลาสเตอร์ น้ำยาฆ่าเชื้อเบต้าดีน
วิธีทำความสะอาดแผลเจาะคอ
- ล้างมือให้สะอาด
- จัดให้ผู้ป่วยนอนหงายไม่หนุนหมอน
- ถ้าเสมหะมากให้ดูดเสมหะก่อน
- นำผ้าก๊อสที่รองใต้ท่อเจาะคอออกอย่างเบามือ ใช้ปากคีบ คีบสำลีชุบแอลกอฮอล์เช็ดรอบแผลและใช้สำลีชุบน้ำเกลือ
เช็ดท่อเจาะคอให้สะอาด
- ใส่ผ้าก๊อสชิ้นใหม่ โดยพับครึ่งก่อนรองใต้ท่อเจาะคอ แล้วปิดพลาสเตอร์
หมายเหตุ
- ล้างมือให้สะอาดก่อนและหลังทำแผลทุกครั้ง
- ญาติ / ผู้ดูแลจะต้องได้รับการฝึกทำแผลจนชำนาญจากแพทย์หรือพยาบาล
อาการผิดปกติที่ควรพาผู้ป่วยไปพบแพทย์
- ผู้ป่วยเริ่มรู้สึกหายใจไม่สะดวก
- ท่อเจาะคอตัวนอกหลุด
- เสมหะมีเลือดปน มีกลิ่นเหม็น
- แผลรอบท่อเจาะคอบวมแดง
อ้างอิงจาก http://pni.go.th/stroke/?p=56
ข้อความที่โพสจะต้องไม่น้อยกว่า {{min_t_comment}} ตัวอักษรและไม่เกิน {{max_t_comment}} ตัวอักษร
กรอกชื่อด้วยนะ
_________
กรอกข้อมูลในช่องต่อไปนี้ไม่ครบ
หรือข้อมูลผิดพลาดครับ :
_____________________________
ช่วยกรอกอีกครั้งนะครับ
กรุณากรอกรหัสความปลอดภัย
ความคิดเห็น