ร่างรัฐธรรมนูญของประชาธิปกที่royalistชอบอ้าง! ทรงจะพระราชทาน รธน อยู่แล้วพอดีผมกำลังค้นเอกสารสำหรับการเขียนบทความยาวชุดหนึ่ง ได้ไปเจอร่างรธน ของ ประชาธิปก พอดี
royalist ชอบอ้างว่า ประชาธิปกเป็นนักประชาธิปไตย ทรงจะให้รธน อยู่แล้ว ประเทศไทยกำลังเป็นปชต แต่คณะราษฎรดันมาชิงลงมือก่อน!
ซึ่งผมไม่ค่อยมีเวลาไปค้นเอกสารจริง ๆ จัง นี่บังเอิญมาพบเข้า จึงนำมาให้ดูกันครับว่า มันประชาธิปไตยตรงไหน? ช่วยชี้ให้ผมเห็นทีเถอะ!
ตามที่จั่วไว้ที่หัวข้อกระทู้
ความเหมือน กับ รธน.ทุกวันนี้ ก็คือ ความพยายามยกยอให้กษัตริย์เป็นเจ้าของอธิปไตยตัวจริง(โดยลดคุณค่าของราษฎรลง- --ซึ่งใช้วิธีที่สกปรกมาก) อีกทั้ง กษัตริย์บงการการใด ๆ ได้ทุกอย่าง โดยที่ ครม เป็นผู้รับผิดชอบ
ความแตกต่าง คือ ร่าง รธน ของประชาธิปก ยอมรับโดยตัวมันเองว่า อำนาจอธิปไตยเป็นของกษัตริย์ แต่ รธน ฉบับทุกวันนี้(ถ้านับว่าเป็น รธน) โกหกหลอกลวงว่า อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน ซึ่งไร้สาระทั้งเพ!
วิษณุ เครืองาม อธิบายว่า "นับเป็นครั้งแรกของประเทศไทย ที่พระมหากษัตริย์เป็นผู้ดำริเองที่จะให้มีรัฐธรรมนูญและการปกครองระบอบพระมหากษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ(Constitution Monarchy)"
คำอธิบายของ วิษณุ เหลวไหลมาก เพราะเนื้อหาและวิธีการให้รัฐธรรมนูญของ ร.7 มันเป็น Limited Monarchy ชัด ๆ ทั้งนี้ต้องเข้าใจว่า Constitution Monarchy จะมีได้เฉพาะการปกครองแบบประชาธิปไตยเท่านั้น ! ใครสงสัยว่า ลิมิตเต้ด โมนาร์ขี้ คืออะไร? ให้ไปอ่านได้ที่ :
บทพัฒนาความเข้าใจ : ระบอบการปกครองรัฐ - รูปแบบแห่งรัฐ - ประมุขแห่งรัฐ - สถานะทางอำนาจของกษัตริย์ไทย, case study : กรณีบิดเบือนภายในเว็บไซด์ wikipedia สู่การสร้างความเข้าใจเนื่องจากกระทู้นี้ไม่ใช่บทความ จึงไม่บรรยายมาก ให้ทุกท่านพิจารณาเอาเอง โดยผมจะเน้นสีหรือ ขีดเส้นใต้ในส่วนที่ควรสะดุดสายตา
--------------------------------------------------------------
มาตรา1 อำนาจอธิปไตย
เป็นของพระมหากษัตริย์ มาตรา2 พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง
นายกรัฐมนตรีนายหนึ่งซึ่งรับผิดชอบ ต่อพระองค์
ในการบริหารราชการแผ่นดินทั้งปวง และ
ให้นายกรัฐมนตรีอยู่ในตำแหน่งตามพระราชอัธยาศัย มาตรา3 ให้นายกรัฐมนตรีเป็นผู้รับผิดชอบในการแต่งตั้งและถอดถอนรัฐมนตรีทั้งหลาย ซึ่งเป็นเจ้ากระทรวงต่าง ๆ โดย
นายกรัฐมนตรีเป็นผู้รับผิดชอบต่อพระมหากษัตริย์ในกิจการทั้งปวงของแต่ละกระทรวง และจะ
ต้องรับผิดชอบในการปฏิบัติภารกิจตามนโยบายทั่วไปของรัฐบาล ดังที่มีพระบรมราชโองการ และ
รับผิดชอบในการประสานงานระหว่างกระทรวงต่าง ๆ เพื่อให้บรรลุนโยบายดังกล่าว
มาตรา4 ให้รัฐมนตรีแต่ละนายรับผิดชอบโดยตรงต่อนายกรัฐมนตรี สำหรับงานในกระทรวงของตน และให้ร่วมปฏิบัติภาคกิจตามนโยบายทั่วไปของรัฐบาลตามคำบัญชาของนายกรัฐมนตรี
มาตรา5 ให้มีการประชุมคณะรัฐมนตรี โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน โดยให้คณะรัฐมนตรีประกอบด้วยรัฐมนตรีทุกนาย คณะรัฐมนตรีอาจอภิปรายปัญหาสำคัญอันเป็นประโยชน์ได้เสียร่วมกันได้แต่ให้
นายกรัฐมนตรีเป็นผู้รับผิดชอบในการลงมติทั้งปวง มาตรา6 ให้นายกรัฐมนตรีกราบบังคมทูลพระมหากษัตริย์เพื่อขอรับพระบรมราชวินิจฉัย ในปัญหาทั้งปวงอันเกี่ยวด้วยนโยบายทั่วไป และ
ไม่ว่ากรณีจะเป็นประการใดก็ตาม นายกรัฐมนตรีต้องปฏิบัติตามพระบรมราชโองการ มาตรา7 พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งมนตรี 5 นาย ประกอบกันเป็น อภิรัฐมนตรีสภา ให้
นายกรัฐมนตรีเป็นสมาชิกอภิรัฐมนตรีสภาโดยตำแหน่ง แต่ห้ามรัฐมนตรีนายอื่นดำรงตำแหน่งสมาชิกด้วย
อภิรัฐมนตรีไม่มีอำนาจทางบริหาร ไม่ว่าในกรณีใด ๆ ก็ตาม อำนาจหน้าที่ของอภิรัฐมนตรีสภามีเพียงถวายความคิดเห็นแด่พระมหากษัตริย์ ในปัญหาเกี่ยวด้วยนโยบายทั่วไป หรือปัญหาอื่นใดอันมิใช่รายละเอียดเกี่ยวกับงานบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาลเท่านั้
น อภิรัฐมนตรีสภาไม่มีอำนาจเสนอแนะให้แต่งตั้งใครดำรงตำแหน่งใดตลอดจนเสนอแนะรายละเอีย
ดเกี่ยวกับการปกครอง อย่างไรก็ตาม
อภิรัฐมนตรีสภามีอำนาจเปลี่ยนแปลงผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรีมาตรา8 พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งและถอดถอนสมาชิกองคมนตรีสภาตามพระราชอัธยาศัย
มาตรา9 ภายในระยะเวลา 3 วันนับแต่วันเสวยราชสมบัติ พระมหากษัตริย์จะทรงเลือกบุคคลหนึ่ง เป็นทายาทด้วยคำแนะนำและยินยอมขององค์มนตรีสภา บุคคลผู้จะเป็นรัชทายาทได้นั้น จะต้องเป็นโอรสของพระมหากษัตริย์และสมเด็จพระบรมราชินี หรือเป็นบุคคลอื่นซึ่งอยู่ในราชตระกูล แต่ทั้งนี้ไม่จำต้องอยู่ในลำดับฐานะมีพระอิสริยยศสูง หรือมีอาวุโสสูง การกำหนดบุคคลใดให้เป็นรัชทายาทย่อมไม่อาจเพิกถอนได้ แต่อาจถูกทบทวนใหม่ได้ในเวลาสิ้นสุดของทุกกำหนด 5 ปี โดยพระมหากษัตริย์ด้วยคำแนะนำและยินยอมขององคมนตรีสภา หากพระมหากษัตริย์สวรรคตก่อนมีการเลือกรัชทายาท ให้องคมนตรีสภาเลือกบุคคลหนึ่งขึ้นเป็นรัชทายาททันทีหลังจากที่พระมหากษัตริย์สวรรคต ไม่ว่ากรณีจะเป็นประการใดก็ตาม สามในสี่ของสมาชิกองคมนตรีสภา ซึ่งอยู่ในราชอาณาจักร ย่อมประกอบกันเป็นองค์ประชุมกำหนดตัวรัชทายาท
มาตรา10 ภายใต้บังคับแห่งพระราชอำนาจสูงสุด ศาลฎีกาและศาลอื่นใดทั้งหลายซึ่ง
พระมหากษัตริย์ทรงตั้งขึ้นเป็นคราวๆ เป็นผู้ใช้อำนาจตุลาการ
มาตรา11 อำนาจสูงสุดทางนิติบัญญัติเป็นของพระมหากษัตริย์มาตรา12 การแก้ไขเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญนี้กระทำได้โดย พระมหากษัตริย์ประกอบด้วยคำแนะนำและยินยอมจากสามในสี่ของสมาชิกองคมนตรีสภา
---------------------------------------------------
ขอสรุปคร่าว ๆ
ใน ม.1 ได้บัญญัติผู้ทรงอำนาจอธิปไตย = กษัตริย์ ใน ม.10 และ ม.11 ยังขยายความไว้อีกชั้นว่า ทรงถืออำนาจสูงสุดด้านนิติบัญญัติ และอำนาจตุลาการ
ใน ม.5 ประกอบ ม.6 เห็นได้ว่า กษัตริย์เป็นผู้ตัดสินใจในทางบริหาร(ตัวจริงเด็ดขาด) แต่ผู้รับผิดชอบกลับโยนไปให้นายกรัฐมนตรีรับผิดชอบทั้งปวง เข้าใจว่าเป็นการโยนเผือกร้อน ในกระแสการเมืองขณะนั้น ที่กษัตริย์หย่อนความสามารถอย่างน่าเอือมระอาในการบริหารราชการแผ่นดิน ทำให้ประเทศชาติประสบความยุ่งเหยิง
-------------------------------------------------------
ที่มาของร่าง รธน ฉบับประชาธิปก : วิษณุ เครืองาม ,
กฎหมายรัฐธรรมนูญ , พิมพ์ครั้งที่ 2 ,(กรุงเทพฯ ; โรงพิมพ์แสวงสุทธิการพิมพ์) , 2523, หน้า 132-134.
อีกฉบับนึงRaymond B. stevens กับ พระยาศรีวิสารวาจา(เทียนเลี้ยง ฮุนตระกูล) เป็นคนร่าง โดยยกร่างเป็นภาษาอังกฤษ ใช้ชื่อว่า An Outline of Changes in the form of Government ตำรารธน ของ วิษณุ แกแปลและสกัดสาระสำคัญมาให้แล้วน่ะครับ ไม่มีฉบับเต็ม ผมขอลอกมาเลยครับ
-----------------------------------------------
1.ให้มีอภิรัฐมนตรีสภา ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาของพระมหากษัตริย์ในนโยบายทั่ว ๆ ไป และห้ามนายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรีเป็นสมาชิกอภิรัฐมนตรีสภา
2.พระมหากษัตริย์ทรงเลือกและแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี
3.นายกรัฐมนตรเป็นผู้เลือกและแต่งตั้งรัฐมนตรีร่วมรัฐบาล แต่การแต่งตั้งต้องได้รับพระบรมราชานุมัติ
4.นายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้ารัฐบาล เป็นประธานในการประชุมคณะรัฐมนตรี และเป็นสื่อระหว่างรัฐบาลกับพระมหากษัตริย์
5.นายกรัฐมนตรีอยู่ในตำแหน่งเท่าวาระเดียวกับวาระของสมาชิกสภานิติบัญญัติ
6.ให้มีสภานิติบัญญัติ ซึ่งสมาชิกมาจากการแต่งตั้งทั้งหมด หรือเลือกตั้งแต่บางส่วน (ผู้ร่างได้เสนอให้ใช้วิธีเลือกตั้ง)
7.วิธีการเลือกตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติให้เป็นไปตามกฎหมาย(ผู้ร่างได้เสนอวิธีการเลือกตั้งไว้ด้วยโดยละเอียด)
-----------------------------------------------------
ที่มา : วิษณุ เครืองาม ,
กฎหมายรัฐธรรมนูญ , หน้า 134-135.
จริงๆตั้งใจจะประกาศใช้ธรรมนูญตั้งแต่วันที่ 6 เมษา แต่มีคนคัดค้านเลยไม่ได้ประกาศ ดังนั้นเรื่องที่อ้างว่าจะประกาศใช้อยู่แล้วจึงฟังไม่ขึ้น - อ้างจากบันทึกของสถานทูตอังกฤษโดยพระองค์เจ้าเทวาวงศ์ วันที่ 29 มิ.ย. 1932 (F 5918/4260/60)
He then referred to the constitution and told me that some six months ago the King had instructed him to draw up a constitution to be presented to the people on the occasion of the 150th anniversary of the Chakri dynasty, that is to say, on the 6th April last. However, the Princes had opposed this project and the King had to give way, although His Majesty had waned them at the time that the inevitable result would be a coup d'etat and a military dictatorship.
อันนี้ฉบับเต็ม
A. AN OUTLINE OF CHANGES IN THE FORM OF GOVERNMENT
There is submitted herewith, in accordance with the wish of His Majesty, an outline of a new constitution, together with a brief explanation.
In general the plan involves the beginning of a parliamentary form of government. In theory His Majesty still remains the Chief Executive and Law-giver. As Chief Executive, however, He acts through a Prime Minister who is responsible to His Majesty for the administration of the Government. The Prime Minister and Cabinet is [are] under the plan also subject to certain supervisory powers of the Legislative Council.
His Majesty as Law-giver will act with the aid of the Legislative Council composed in a substantial part of elected representatives.
It is not assumed that the plan presented herewith is either com- plete or perfect. It is put forth as a basis for consideration and is limited to certain main principles. Obviously many details would have to be worked out later.
The Government under this proposal would be as follows:--
(a) The Monarch
(b) Supreme Council
(c) Prime Minister and Cabinet
(d) Legislative Council Supreme Council
The Supreme Council will be retained with certain modifications. It should be a small body of not more than 6, and shall be appointed by His Majesty. The term of office shall be as at present--during His Majesty's pleasure--and not for a fixed period.
The Supreme Council should act purely as an advisory body to His Majesty on matters of general policy.
No member of the Supreme~ Council shall at the same time serve as Prime Minister or member of the Cabinet. Furthermore the Council shall not sit with the Cabinet.
If members of the Cabinet may also serve as members of the Supreme Council the influence and position of the Prime Minister might be seriously weakened. Appointment Prime Minister and Cabinet The Prime Minister shall be selected by His Majesty and shall be responsible to His Majesty for the administration of the Government.
There should be no limitation upon the King's power of selection. He should be free to select the most capableman for-the position with- out regard to any factors except his qualifications for the Office.
If the Prime Minister is to be responsible for the administration of the Government he should have the right to choose his Cabinet Ministers. A complete delegation to the Prime Minister of: the power of appointment would be however too drastic a change. It is therefore sugested that the choice of the Prime Minister should be subject to confirmation by His Majesty.
Term of Office
The Prime Minister and Cabinet members shall be appointed for a fixed period and at the expiration thereof their resignations must be offered to His Majesty. They should however be eligible to re-appointment. The term of office should be the same as that for the Legislative Council, so that a new Council and a new Prime Minister and Cabinet should come into office at the same time. This plan would permit changes to be made as a matter of course and without compelling His Majesty to exercise his sovereign power of removal: His Majesty would also have the right at any time to request the resignation of the Prime Minister. Whenever the Prime Minister resigns, either voluntarily or on request, the members of his Cabinet shall also tender their resignations.
The Prime Minister shall preside over Cabinet meetings and will ordinarily be the sole means of communication between His Majesty and the Cabinet. Composition
Legislative Council
The Legislative Council should be large enough to be representative of the public. On the other hand it should not, at the beginning, be too large, since a numerous body is unwieldy and slow to act.
It is suggested that the Council should be not more than 75 or less than 50.
The Legislative Council may be composed entirely of appointed members or solely of elected members or of a combination of the two. A purely appointed Council would not have sufficient independence and would not be considered by the public as representative. On the other hand a Council composed entirely of elected members might not have sufficient number of persons of experience and judgment in public affairs. It is therefore suggested that at the start the Legislative Council should be equally divided between appointed members and elected members.
Of the members appointed by Mis Majesty not more than half should be at the same time Government officials. With this limitation His Majesty should be free to select such members as he deems fit.
The Prime Minister and members of the Cabinet shall be members of the Legislative Council ex-officio.
If the Legislative Council is to exercise some power of supervision over the administration, together with the right to pass a vote of lack of confidence, it is essential that the Prime Minister and the members of the Cabinet should have at least the right to sit and speak in the Council. Whether they should also have the right to vote is a debatable question. If the underlying purpose is eventually to establish a Parliamentary Government, then these executives should be full- fledged members of the Council.
Election and Qualifications of Voters
The method of election shall be indirect, that is, the voters of each Amphur shall choose electors who will meet together and elect by ballot the representatives for the Monthon. Since the Amphur districts vary in population from 70 thousand to as low as 3, 4 and 5 thousand the number of electors must be based on population.
Voters must be nationals and reside in the Amphur or Amphurs where the voting takes place. They must also pay a certain amount of tax.
The Monthons, of which there are ten, also vary in population from Nakorn Rajasrima with 2;800,000 to Phuket with only 24,000. The number of representatives from the Monthons should also vary according to the population in order that the Legislative Council may approximate a truly representative body.
The election of the members of the Council shall be by majority vote. In case any Monthon fails to elect its representative or representatives His Majesty shall fill the vacancy by appointment.
Qualifications of Members of the Council
They must be Siamese nationals and at least 30 years of age, able to read and write and must pay a certain amount of tax. No elected member shall at the same time hold any other Government position.
Term of Office and Meetings
Members of the Legislative Council should be elected for a fixed period of either 4 or 5 years. This term should be the same as fixed for the period of office for the Prime Minister and Cabinet.
The Legislative Council should meet at least Once each year. It may be called in a special session at any time by His Majesty and may also be dissolved by His Majesty.
Functions of the Legislative Council
1. Legislative
All laws proposed by the Prime Minister must be submitted to the Council for its approval. The Council may adopt amendments or alterations. Furthermore the Council may initiate legislation.
The Budget shall be submitted to the Council by the Prime Minister. In case of disagreement between the Council and the Prime Minister over the Budget the matter shall be referred to His Majesty.
Treaties and agreements or arrangements with Foreign Powers do not have to be submitted to the Council.
His Majesty has the power of veto on any legislation approved by the Council. Furthermore His Majesty may in any emergency or whe'never in His opinion the public interest or security requires it, enact legislation without reference to the Legislative Council. In case of any veto His Majesty shall in a message to the Council set forth the rea- sons for His action.
2. Administrative
The Council may interpellate the Ministers on any matter affecting the Government. The Ministers are bound to give explanations unless incompatible with public interest.
The Council may, by 2/3 majority, pass a vote of lack of confidence in the Prime Minister. In such case the Prime Minister and Cabinet must tender their resignations to His Majesty. His Majesty may accept or refuse to accept as he deems proper in the public interest.
3. Organization
The Council may select its own presiding officer and shall adopt rules for its deliberation and work.
Ordinarily all meetings of the Council shall be in public. The Council may, however, by a majority vote, go into executive session which shall be secret.
RBS:SP 8.12.74
ประกาศคณะราษฎร ฉบับที่ ๑ราษฎรทั้งหลายเมื่อกษัตริย์องค์นี้ได้ครองราชย์สมบัติสืบต่อจากพระเชษฐานั้น ในชั้นต้นราษฎรบางคนได้หวังกันว่ากษัตริย์องค์ใหม่นี้จะปกครองราษฎรให้ร่มเย็น แต่การณ์ก็หาได้เป็นไปตามที่คิดหวังกันไม่ กษัตริย์คงทรงอำนาจอยู่เหนือกฎหมายเดิม
ทรงแต่งตั้งญาติวงศ์และคนสอพลอไร้คุณความรู้ให้ดำรงตำแหน่งที่สำคัญๆ ไม่ทรงฟังเสียงราษฎร ปล่อยให้ข้าราชการใช้อำนาจหน้าที่ในทางทุจริต มีการรับสินบนในการก่อสร้างและการซื้อของใช้ในราชการ หากำไรในการเปลี่ยนเงิน ผลาญเงินของประเทศ ยกพวกเจ้าขึ้นให้สิทธิพิเศษมากกว่าราษฎร กดขี่ข่มเหงราษฎร ปกครองโดยขาดหลักวิชา ปล่อยให้บ้านเมืองเป็นไปตามยถากรรม ดังที่จะเห็นได้จากความตกต่ำในทางเศรษฐกิจและความฝืดเคืองในการทำมาหากินซึ่งพวกราษฎรได้รู้กันอยู่โดยทั่วไปแล้ว
รัฐบาลของกษัตริย์เหนือกฎหมายมิสามารถแก้ไขให้ฟื้นขึ้นได้ การที่แก้ไขไม่ได้ก็เพราะรัฐบาลของกษัตริย์มิได้ปกครองประเทศเพื่อราษฎรตามที่รัฐบาล
อื่นๆ ได้กระทำกัน
รัฐบาลของกษัตริย์ได้ถือเอาราษฎรเป็นทาส (ซึ่งเรียกว่าไพร่บ้าง ข้าบ้าง) เป็นสัตว์เดียรัจฉาน ไม่นึกว่าเป็นมนุษย์ เหตุฉะนั้น แทนที่จะช่วยราษฎร กลับพากันทำนาบนหลังราษฎร จะเห็นได้ว่า ภาษีอากรที่บีบคั้นเอาจากราษฎรนั้น กษัตริย์ได้หักเอาไว้ใช้ปีหนึ่งเป็นจำนวนหลายล้าน ส่วนราษฎรสิ กว่าจะหาได้แม้แต่เล็กน้อย เลือดตาแทบกระเด็น ถึงคราวเสียเงินราชการหรือภาษีใดๆ ถ้าไม่มีเงินรัฐบาลก็ยึดทรัพย์หรือใช้งานโยธา แต่พวกเจ้ากลับนอนกินกันเป็นสุข ไม่มีประเทศใดในโลกจะให้เงินเจ้ามากเช่นนี้ นอกจากพระเจ้าซาร์และพระเจ้าไกเซอร์เยอรมัน ซึ่งชนชาตินั้นก็ได้โค่นราชบัลลังก์ลงเสียแล้ว
รัฐบาลของกษัตริย์ได้ปกครองอย่างหลอกลวงไม่ซื่อตรงต่อราษฎร มีเป็นต้นว่าหลอกว่าจะบำรุงการทำมาหากินอย่างโน้นอย่างนี้ แต่ครั้นคอยๆ ก็เหลวไป หาได้ทำจริงจังไม่ มิหนำซ้ำกล่าวหมิ่นประมาท
ราษฎรผู้มีบุญคุณเสียภาษีอากรให้พวกเจ้าได้กิน ว่าราษฎรยังมีเสียงทางการเมืองไม่ได้ เพราะราษฎรโง่ คำพูดของรัฐบาลเช่นนี้ใช้ไม่ได้ ถ้าราษฎรโง่ เจ้าก็โง่เพราะเป็นคนชาติเดียวกัน ที่ราษฎรรู้ไม่ถึงเจ้านั้นเป็นเพราะขาดการศึกษาที่พวกเจ้าปกปิดไว้ไม่ให้เรียนเต็มที่ เพราะเกรงว่าเมื่อราษฎรได้มีการศึกษา ก็จะรู้ความชั่วร้ายที่พวกเจ้าทำไว้ และคงจะไม่ยอมให้เจ้าทำนาบนหลังคนอีกต่อไป ราษฎรทั้งหลายพึงรู้เถิดว่า
ประเทศเรานี้เป็นของราษฎร ไม่ใช่ของกษัตริย์ตามที่เขาหลอกลวง บรรพบุรุษของราษฎรเป็นผู้ช่วยกันกู้ให้ประเทศเป็นอิสรภาพพ้นมือจากข้าศึก พวกเจ้ามีแต่ชุบมือเปิบและกวาดทรัพย์สมบัติเข้าไว้ตั้งหลายร้อยล้าน เงินเหล่านี้เอามาจากไหน? ก็เอามาจากราษฎรเพราะวิธีทำนาบนหลังคนนั้นเอง บ้านเมืองกำลังอัตคัดฝืดเคือง ชาวนาและพ่อแม่ทหารต้องทิ้งนา เพราะทำนาไม่ได้ผล รัฐบาลไม่บำรุง รัฐบาลไล่คนงานออกอย่างเกลื่อนกลาด นักเรียนที่เรียนสำเร็จแล้วและทหารที่ปลดกองหนุนแล้วก็ไม่มีงานทำ จะต้องอดอยากไปตามยถากรรม
เหล่านี้เป็นผลของกษัตริย์เหนือกฎหมาย บีบคั้นข้าราชการชั้นผู้น้อย นายสิบ และเสมียน เมื่อ
ให้ออกจากงานแล้วก็ไม่ให้เบี้ยบำนาญ ความจริงควรเอาเงินที่พวกเจ้ากวาดรวบรวมไว้มาจัดบำรุงบ้านเมืองให้คนมีงานทำ
จึงจะสมควรที่สนองคุณราษฎรซึ่งได้เสียภาษีอากรให้พวกเจ้าได้ร่ำรวยมานาน แต่พวกเจ้าก็หาได้ทำอย่างใดไม่ คงสูบเลือดกันเรื่อยไป เงินเหลือเท่าไหร่ก็เอาไปฝากต่างประเทศ คอยเตรียมหนีเมื่อบ้านเมืองทรุดโทรม ปล่อยให้ราษฎรอดอยาก การเหล่านี้ย่อมชั่วร้าย
เหตุฉะนั้น ราษฎร ข้าราชการ ทหาร และพลเรือน ที่รู้เท่าถึงการกระทำอันชั่วร้ายของรัฐบาลดังกล่าวแล้ว จึงรวมกำลังตั้งเป็นคณะราษฎรขึ้น และได้ยึดอำนาจของกษัตริย์ไว้ได้แล้ว คณะราษฎรเห็นว่าการที่จะแก้ความชั่วร้ายนี้ได้ก็โดยที่จะต้องจัดการปกครองโดยมีสภา จะได้ช่วยกันปรึกษาหารือหลายๆ ความคิดดีกว่าความคิดเดียว ส่วนผู้เป็นประมุขของประเทศนั้น
คณะราษฎรไม่ประสงค์ทำการแย่งชิงราชสมบัติ ฉะนั้น จึงได้อัญเชิญให้กษัตริย์องค์นี้ดำรงตำแหน่งกษัตริย์ต่อไป แต่จะต้องอยู่ใต้กฎหมายธรรมนูญการปกครองแผ่นดิน จะทำอะไรโดยลำพังไม่ได้ นอกจากด้วยความเห็นชอบของสภาผู้แทนราษฎร คณะราษฎรได้แจ้งความประสงค์นี้ให้กษัตริย์ทราบแล้ว เวลานี้ยังอยู่ในความรับตอบ
ถ้ากษัตริย์ตอบปฏิเสธหรือไม่ตอบภายในกำหนดโดยเห็นแก่ส่วนตนว่า
จะถูกลดอำนาจลงมาก็จะชื่อว่าทรยศต่อชาติ และ
ก็เป็นการจำเป็นที่ประเทศจะต้องมีการปกครองแบบอย่างประชาธิปไตย กล่าวคือ ประมุขของประเทศจะเป็นบุคคลสามัญซึ่งสภาผู้แทนราษฎรได้เลือกตั้งขึ้น อยู่ในตำแหน่งตามกำหนดเวลา ตามวิธีนี้ราษฎรพึงหวังเถิดว่าราษฎรจะได้รับความบำรุงอย่างดีที่สุด ทุกๆ คนจะมีงานทำ เพราะประเทศของเราเป็นประเทศที่อุดมอยู่แล้วตามสภาพ เมื่อเราได้ยึดเงินที่พวกเจ้ารวบรวมไว้จากการทำนาบนหลังคนตั้งหลายร้อยล้านมาบำรุงประเทศขึ้นแล้ว ประเทศจะต้องเฟื่องฟูขึ้นเป็นแม่นมั่น
การปกครองซึ่งคณะราษฎรจะพึงกระทำก็คือ จำต้องวางโครงการอาศัยหลักวิชา ไม่ทำไปเหมือนคนตาบอด เช่นรัฐบาลที่มีกษัตริย์เหนือกฎหมายทำมาแล้ว เป็นหลักใหญ่ๆ ที่คณะราษฎรวางไว้ มีอยู่ว่า
๑.จะต้องรักษาความเป็นเอกราชทั้งหลาย เช่นเอกราชในทางการเมือง ในทางศาล ในทางเศรษฐกิจ ฯลฯ ของประเทศไว้ให้มั่นคง
๒.จะต้องรักษาความปลอดภัยภายในประเทศ ให้การประทุษร้ายต่อกันลดน้อยลงให้มาก
๓.ต้องบำรุงความสุขสมบูรณ์ของราษฎรในทางเศรษฐกิจ โดยรัฐบาลใหม่จะจัดหางานให้ราษฎรทุกคนทำ จะวางโครงการเศรษฐกิจแห่งชาติ ไม่ปล่อยให้ราษฎรอดอยาก
๔.จะต้องให้ราษฎรมีสิทธิเสมอภาคกัน (ไม่ใช่พวกเจ้ามีสิทธิยิ่งกว่าราษฎรเช่นที่เป็นอยู่ในเวลานี้)
๕.จะต้องให้ราษฎรได้มีเสรีภาพ มีความเป็นอิสระ เมื่อเสรีภาพนี้ไม่ขัดต่อหลัก ๔ ประการดังกล่าวข้างต้น
๖.จะต้องให้การศึกษาอย่างเต็มที่แก่ราษฎร
ราษฎรทั้งหลายจงพร้อมใจกันช่วยคณะราษฎรให้ทำกิจอันจะคงอยู่ชั่วดินฟ้านี้ให้สำเร็จ คณะราษฎรขอให้ทุกคนที่มิได้ร่วมมือเข้ายึดอำนาจจากรัฐบาลกษัตริย์เหนือกฎหมายพึงตั้ง
ตนอยู่ในความสงบและตั้งหน้าทำมาหากิน อย่าทำการใดๆ อันเป็นการขัดขวางต่อคณะราษฎร การที่ราษฎรช่วยคณะราษฎรนี้ เท่ากับราษฎรช่วยประเทศและช่วยตัวราษฎร บุตร หลาน เหลน ของตนเอง ประเทศจะมีความเป็นเอกราชอย่างพร้อมบริบูรณ์ ราษฎรจะได้รับความปลอดภัย ทุกคนจะต้องมีงานทำไม่ต้องอดตาย
ทุกคนจะมีสิทธิเสมอกัน และมีเสรีภาพพ้นจากการเป็นไพร่ เป็นข้า เป็นทาสพวกเจ้า หมดสมัยที่เจ้าจะทำนาบนหลังราษฎร สิ่งที่ทุกคนพึงปรารถนาคือ ความสุขความเจริญอย่างประเสริฐซึ่งเรียกเป็นศัพท์ว่า “ศรีอาริยะ” นั้น ก็จะพึงบังเกิดขึ้นแก่ราษฎรถ้วนหน้า
คณะราษฎร
๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕---------------------------------------------------------
ที่มา :
http://www.pridiinstitute.com/autopage/show_page.php?h=11&s_id=19&d_id=19 (เข้าถึงวันที่ 20 มี.ค.2552)
รธน ฉบับ ประชาธิปก ไม่มีช่องทางสู่การพัฒนาสาระแห่งประชาธิปไตยอะไรเลย ฉะนั้น อย่าเสนอหน้ามาอ้างว่า เป็น "จุดเริ่มต้น"
เมื่อเทียบกับ รธน ฉบับคณะราษฎร ที่ให้มีการเลือกตั้งทางอ้อม ใน รธน ฉบับชั่วคราว กล่าวคือ ให้ชาวบ้านเลือกตัวแทนหมู่บ้าน ไปเลือกตั้งตัวแทนตำบล จากนั้นตัวแทนตำบลไปเลือกตัวแทนจังหวัด ตัวแทนจังหวัดไปเลือกกรรมการราษฎร
นี่เป็นพัฒนาการที่ดีมากเมื่อเทียบกับพัฒนาการของชาติอื่น ๆ ละแวกนี้ เช่น ญี่ปุ่น ใช้มาตรการทางภาษี คือ ใครจ่ายภาษี มีสิทธิเลือกตั้ง
แต่ รธน.คณะราษฎร คำนึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์มากกว่านั้น
เป็นเรื่งอที่ดีมาก ที่ให้ชาวบ้านค่อย ๆ พัฒนาอย่างไม่ก้าวกระโดด คือ เลือกกันในกลุ่มเล็ก ๆ มาก ๆ แล้วค่อยพัฒนาต่อไป
หากแต่ "ฟอร์ม" ที่คณะราษฎรได้วางแปลนไว้ ก็ต้องถูกบ่อนทำลาย โดยการต่อรองของฝ่ายศักดินาผ่าน รธน ฉบับ 10ธค. ซึ่ง ก้าวกระโดดไปเป็นว่า ชาวบ้าน เลือกผู้แทนตำบลเสียเลย ทั้งนี้ เป็นข้อเสียอย่างยิ่ง เพราะเป็นการจำกัดวงกว้างเกินไป ชาวบ้านจึงไม่อาจเรียนรู้ ปชต อย่างค่อยเป็นค่อยไปได้ คือ เลือกในคนที่ตนไม่รู้จัก(อย่าลืมว่า ขอบเขตมันกว้างมาก) เรื่องนี้ในทางตำรารัฐธรรมนูญ วิจารณ์กันมาก วันนี้มาเล่าให้ฟังเท่านี้ก่อนครับ
ที่มา
บอร์ดฟ้าเดียวกันบทพัฒนาความเข้าใจ : ระบอบการปกครองรัฐ - รูปแบบแห่งรัฐ - ประมุขแห่งรัฐ - สถานะทางอำนาจของกษัตริย์ไทย case study : กรณีบิดเบือนภายในเว็บไซด์ wikipedia สู่การสร้างความเข้าใจคนไทยจำนวนไม่น้อยไม่เข้าใจและจับ concept ผิดพลาดเรื่องการแบ่งแยก รูปแบบการปกครอง, รูปแบบแห่งรัฐ และเรื่อง ประมุขแห่งรัฐ ซึ่ง case study นี้ ผู้เขียนจะนำ case study กรณีวิกิพีเดีย ที่นำเรื่องเหล่านี้มาผูกโยงกันอย่างสับสน แต่โดยความเข้าใจ(ที่ไม่ประกอบโดยฐานของความรู้ตามหลักวิชาการ)อาจเข้าใจอย่างหละหลว
ม ว่าสิ่งที่วิกิพีเดียอ้าง อาจจะจริง และน่าเชื่อถือ ผู้เขียนจะอธิบายพอสังเขป เพื่อทำความเข้าใจตามหลักวิชา ดังนี้
ข้อชี้แจงเบื้องต้น :
1.สิ่งที่จะกล่าวต่อไป คือเรื่อง ประเภทของประมุขแห่งรัฐ แบบกษัตริย์ กล่าวคือ เป็นคนละเรื่องกับระบอบการปกครองอันเป็นที่มาของการเขียนบทความนี้นัยว่า วิกิพีเดีย คลาดเคลื่อนอย่างยิ่ง
2.ผู้เขียนจะยึดตำราอธิบายกฎหมายรัฐธรรมนูญ ฉบับ classic เป็นหลักในการอธิบาย ในส่วนที่มิได้อ้างอิงไว้เป็นการเฉพาะ ให้เข้าใจว่า เป็นเนื้อความซึ่งตำราที่อ้างไว้ในเชิงอรรถที่1. อธิบายไว้ตรงกัน
3.การอธิบายนี้จะแจกแจงหลักวิชาการก่อน เพื่อทำความเข้าใจในชั้นพื้นฐาน จากนั้นจะโยงเข้าอธิบายความคลาดเคลื่อนของวิกิพีเดีย
เกริ่นนำ :
ประเทศไทยปกครองในระบอบที่ประกาศว่าเป็น "ประชาธิปไตย" โดยมีกษัตริย์เป็นประมุขแห่งรัฐภายใต้(ไม่ใช่ "ที่มี")รัฐธรรมนูญ โดยตัวประมุขแห่งรัฐนี้ ก่อให้ประเทศไทยมีรูปแบบแห่งรัฐ เป็น "ราชอาณาจักร"
สิ่งที่จะกล่าวต่อไปนี้ คือเรื่อง "
ประเภทของประมุขแห่งรัฐแบบกษัตริย์"
ประมุขแห่งรัฐแบบกษัตริย์ :
เป็นการแบ่งแยกโดยหลักที่มาของรัฐธรรมนูญ พระราชอำนาจและพระราชฐานะภายในรัฐ (เป็นเครื่องจำแนก) ซึ่งมีผลต่ออำนาจที่จะมากหรือน้อยของประมุขแห่งรัฐ(พระมหากษัตริย์) และอำนาจของราษฎร ทั้งนี้ ในตำราอธิบายกฎหมายรัฐธรรมนูญฉบับมาตรฐาน โดยส่วนใหญ่จำแนกไว้ 3 ประเภท[1] คือ
ประเภทที่1.
รูปแบบที่กษัตริย์พระราชทานรัฐธรรมนูญให้ใช้ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ [Absolute Monarchy] ในรูปแบบนี้ พระมหากษัตริย์ทรงมีพระราชอำนาจเด็ดขาด ล้นพ้นแต่พระองค์เดียว[2] ทรงเป็นประมุขและองค์รัฏฐาธิปัตย์(sovereign) ทรงใช้อำนาจอธิปไตยได้โดยลำพัง พระบรมราชวินิจฉัยเป็นที่สุดในกิจการทั้งปวง รูปแบบนี้ประเทศไทยเคยใช้สมัยก่อนปฏิวัติ 2475[3]
ประเภทที่2.
รูปแบบปรมิตาญาสิทธิราชย์ [Limited Monarchy หรือ Charte หรือ Octroi ] ในลักษณะนี้คล้ายข้อ1.คือ พระมหากษัตริย์เป็นผู้พระราชทานรัฐธรรมนูญให้ แต่ในรูปแบบนี้ กษัตริย์จะทรงพระราชอำนาจทุกประการก็จริง แต่ต้องถูกจำกัดโดยบทบัญญัติแห่งรธน. เป็นการยินยอมลดทอนอำนาจของตน เพื่อป้องกันการปฏิวัติพระองค์ในภายหลัง อีกทางหนึ่งก็เพื่อสร้างความพึงพอใจให้ราษฎร กล่าวคือ กษัตริย์จะสงวนอำนาจไว้มาก และในการออกกฎหมาย ถ้าประมุขแห่งรัฐไม่เห็นด้วยก็ออกกฎหมายมิได้ รัฐธรรมนูญที่มีประมุขแห่งรัฐเป็นกษัตริย์ในประเภทนี้ ประมุขแห่งรัฐเพียงถูกจำกัดพระราชอำนาจบางประการโดยรัฐธรรมนูญเท่านั้น ประมุขแห่งรัฐยังทรงมีอำนาจดั้งเดิม(Prerogative) มาก
พระมหากษัตริย์จะทรงพระราชอำนาจในการแต่งตั้ง ถอดถอนนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรีรับผิดชอบโดยตรงต่อพระมหากษัตริย์
อาจกล่าวได้ว่า เป็นรูปแบบของการผ่อนหนักผ่อนเบาระหว่างการเปลี่ยนไปสู่ระบอบประชาธิปไตย โดยพระมหากษัตริย์ยินยอมทอนอำนาจบางประการลงเท่านั้น เป็นการยังให้ระบอบราชาธิปไตยที่ทรงอำนาจจำกัดก็จะมั่นคงสืบไป[4] และพระมหากษัตริย์สามารถถอนคืนความยินยอมในการถูกลดทอนอำนาจนั้นออกไปเมื่อใดก็ได้ อย่างไรก็ตาม นักนิติศาสตร์บางท่านมองว่า รูปแบบของรัฐธรรมนูญแบบนี้ ก็เป็นการเปลี่ยนผ่านไปสู่การพัฒนาเป็นประชาธิปไตยได้ในอนาคตได้เช่นกัน
ประเภทที่3.
รูปแบบกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ [Constitutional Monarchy หรือ Pacte] ซึ่งมีในระบอบการปกครองระบอบประชาธิปไตยที่อนุญาตให้กษัตริย์เป็นประมุข ลักษณะอำนาจของประมุขแห่งรัฐในรูปแบบนี้ ต่างจากข้อที่ 2. เพราะ
ก.รูปแบบนี้เกิดจากการปฏิวัติซึ่งเห็นความสำคัญ และความจำเป็นที่ต้องมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขต่อไป แต่พระราชอำนาจจะอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ
ข.กษัตริย์จะทรงเป็นประมุขแห่งรัฐเท่านั้น ไม่ทรงเป็นประมุขของฝ่ายบริหาร เพราะฝ่ายบริหารมีนายกรัฐมนตรีจากปวงชนเป็นหัวหน้าหรือประมุขอยู่แล้ว
ค.ในรูปแบบนี้ กษัตริย์ไม่ต้องรับผิดชอบทางการเมืองแต่ประการใด เพราะการใช้พระราชอำนาจจะถูกกำหนดโดยรัฐธรรมนูญเท่านั้น กล่าวคือ พระมหากษัตริย์จะใช้พระราชอำนาจได้ตามที่รัฐธรรมนูญบัญญัติให้มีผู้รับสนองพระบรมราชโองการเป็นผู้ถวายคำแนะนำให้กระทำการนั้นในนามกษัตริย์เท่านั้น หากเกิดข้อสงสัยว่า รัฐธรรมนูญให้พระราชอำนาจแก่กษัตริย์กระทำได้หรือไม่ ให้วินิจฉัยว่า รัฐธรรมนูญมิได้ให้อำนาจนั้นแก่กษัตริย์ กล่าวคือ อำนาจที่กังขาอยู่ ให้เป็นอำนาจของปวงชน(แสดงออกผ่านรัฐสภา) ในการใช้อำนาจนั้น
บทสรุปความคลาดเคลื่อนของวิกิพีเดีย ในวิกิพีเดีย[5] กล่าวว่า :
“ประเทศไทยปกครองในระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ โดยมีประมุขแห่งรัฐพระองค์ปัจจุบันคือพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เป็นกษัตริย์รัชกาลที่ 9 แห่งราชวงศ์จักรี”“ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ หรือ ปรมิตตาญาสิทธิราชย์ (constitutional monarchy) เป็นระบอบการปกครองแบบราชาธิปไตยที่จัดตั้งขึ้นภายใต้ระบอบที่มีรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดโดยมีพระมหากษัตริย์จากการคัดเลือกหรือการสืบราชสันตติวงศ์ ระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญสมัยใหม่มักใช้หลักการ "แบ่งแยกอำนาจ" โดยพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขของฝ่ายบริหารหรือทรงมีพระราชกรณียกิจในพิธีการต่างๆ ระบอบที่พระมหากษัตริย์มีอำนาจเบ็ดเสร็จ คือ ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ กระบวนการของรัฐบาลและกระบวนการทางกฎหมายในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์สามารถแตกต่างอย่างมากจากระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ
ในประเทศที่ใช้ระบอบประชาธิปไตยแบบมีผู้แทนควบคู่กับระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ ดังเช่น ในสหราชอาณาจักร พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขของรัฐ อย่างไรตามนายกรัฐมนตรีซี่งมาจากการเลือกตั้งทางตรงหรือทางอ้อมเป็นหัวหน้ารัฐบาล”ข้อสังเกตความคลาดเคลื่อน :
1. วิกิพีเดีย อธิบายโดยนำเอา"ระบอบการปกครองรัฐ" กับ "รูปแบบแห่งรัฐ" และ "ตัวประมุขแห่งรัฐ" มาใช้อย่างสับสน กล่าวคือ
ก.ระบอบการปกครองรัฐของประเทศไทย(ตามที่อ้างกันในรัฐธรรมนูญ) คือ ประชาธิปไตย
ข.ตัวประมุขแห่งรัฐ (ของไทย) คือ พระมหากษัตริย์ ประเภท Constisutional monarchy
ค.รูปแบบแห่งรัฐ คือ ราชอาณาจักร (ซึ่งแสดงออกโดยฐานะที่รัฐนั้นมีประมุขแห่งรัฐคือ กษัตริย์ นั่นเอง)
2. การอธิบายอย่างสับสนในวิกิพีเดีย ได้นำเอาระบอบการปกครอง คือ ราชาธิปไตย มาใช้กับคำว่า "ภายใต้รัฐธรรมนูญ" ซึ่งคำนี้ แสดงออกโดยความเป็น "ประชาธิปไตย" ซึ่งขัดแย้งกับคำว่า "ราชาธิปไตย"อยู่ในตัว(แม้จะมี "ภายใต้รัฐธรรมนูญ"ก็ตาม ซึ่งเป็นคนละเรื่องกับตัวประมุขแห่งรัฐ ยิ่งไปกว่านั้น ยังใช้สถานะของประมุข มาให้ความสำคัญกับตัว "ระบอบ" ทั้งที่โดยหลัก ต้องนำเอาระบอบเป็นตัวตั้ง แล้วพิจารณาตัวประมุขแห่งรัฐต่อไป)
หากจะกล่าวโดยอนุโลม คำว่าราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ จะใช้ได้ในรูปแบบประมุขแบบ Limited Monarchy ได้เท่านั้น แต่กระนั้นก็เป็นการกล่าวอย่างสับสนอยู่ดี(คือ ต้องแยกระบอบการปกครอง , รูปแบบรัฐ , ประมุขแห่งรัฐ ออกจากกัน เพราะเป็นคนละเรื่อง)
3.คำว่า "ประชาธิปไตย" ชัดแจ้งอยู่ในตัวแล้วว่า แม้แต่ตัวประมุขแห่งรัฐ ย่อมต้องอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ และตัวประมุขแห่งรัฐเป็นใคร ย่อมแสดงออกโดยคำว่า "ราชอาณาจักร"(ซึ่งเป็นรูปแบบแห่งรัฐ)
4.การกล่าวเอาตัวระบอบการปกครองรัฐ โดยใช้ตัวประมุขแห่งรัฐพ่วงท้าย หรือ เป็นองค์ประกอบหลักในการประดิษฐ์ถ้อยคำ นอกจากจะสับสนโดยตัวผู้ใช้ถ้อยคำดังกล่าวแล้ว ยังเป็นการให้ความสำคัญต่อตัวประมุขแห่งรัฐถึงขนาดเป็นส่วนประกอบในการเรียกระบอบการปกครอง ทั้ง ๆ ที่ตัวประมุขแห่งรัฐ(ในที่นี้คือ พระมหากษัตริย์)ก็เป็นเพียงองค์กรหนึ่ง ๆ ตามรัฐธรรมนูญเท่านั้น กล่าวคือ รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ให้มีองค์กรนี้ขึ้น
5.มีการอธิบายอย่างผิดพลาดโดยชัดแจ้ง(อย่างยิ่ง) โดยการบรรยายว่า "...ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ หรือ ปรมิตตาญาสิทธิราชย์ (constitutional monarchy)..." ซึ่ง2 ประเภทนี้ ไม่ใช่อันเดียวกัน ฉะนั้น ใช้คำว่า "หรือ" มิได้ ดังที่ได้อธิบายไว้แล้วในเบื้องต้น(ว่าต่างกันอย่างยิ่ง อย่างไร)
6.ชัดแจ้งว่า วิกิพีเดีย นำเอารูปแบบของประมุขแห่งรัฐ แบบกษัตริย์ มาใช้ปะปนกับ "รูปแบบการปกครองรัฐ" ทั้ง ๆ ที่รูปแบบของประมุข หาเป็นเรื่องเดียวกับระบอบการปกครองรัฐไม่ การอธิบายของวิกิพีเดีย นอกจากจะไม่แยกแยะระหว่างสาระสำคัญดังกล่าว ยังสร้างความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนอย่างร้ายแรง ถึงสถานะของพระราชอำนาจ เพราะคำว่าราชาธิปไตย เป็นพระราชอำนาจโดยกษัตริย์ และคำว่า "ภายใต้รัฐธรรมนูญ" หมายถึง ถูกจำกัดพระราชอำนาจบางประการโดยรัฐธรรมนูญ (ซึ่งความจริงแล้วต้องไม่ใช่เช่นนั้น หากเราอ้างว่าเราเป็นประชาธิปไตย) หมายความว่า ถ้ารัฐธรรมนูญมิได้บัญญัติไว้เป็นการเฉพาะ ให้ถือว่าเป็นพระราชอำนาจดั้งเดิมของกษัตริย์ ซึ่งผิดมหันต์สำหรับการปกครองประชาธิปไตย แม้แต่อังกฤษ , ญี่ปุ่น [6] ก็ปฏิเสธรูปแบบเช่นนั้น เพราะผิดกับระบอบการปกครองประชาธิปไตยอย่างชัดแจ้ง.
ผู้เขียนขอจบการอธิบายโดยสังเขปเพียงนี้ บทความนี้ถือโอกาสในการอธิบายรวบยอด สำหรับใช้ในการอ้างอิงต่อไป และเป็นวิทยาทานแก่ท่านผู้อ่านโดยทั่วไป
เชิงอรรถ :
[1] วิษณุ เครืองาม ,
กฎหมายรัฐธรรมนูญ ,(กรุงเทพฯ ; โรงพิมพ์แสวงสุทธิการพิมพ์,2523), หน้า 177 ; มานิตย์ จุมปา ,
คำอธิบายรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ,(กรุงเทพฯ ; สำนักพิมพ์นิติธรรม , 2541), หน้า 28-29 ; หยุด แสงอุทัย ,
หลักรัฐธรรมนูญทั่วไป , (กรุงเทพฯ ; สำนักพิมพ์วิญญูชน,2538) ,หน้า 49 -54. ส่วนตำรามาตรฐานเท่าที่หาได้อีกหนึ่งเล่ม ได้จำแนกประเภท(หรือที่มาของรัฐธรรมนูญ หรืออำนาจของประมุขแบบกษัตริย์) ไว้ 4 ประเภท คือ : ไพโรจน์ ชัยนาม ,
สถาบันการเมืองและกฎหมายรัฐธรรมนูญ ภาค1 ความนำทั่วไป ,(กรุงเทพฯ ; สารศึกษาการพิมพ์ , 2524), หน้า 136 -158. ประเภทที่เพิ่มขึ้นมานั้น เป็นเรื่องสำหรับรัฐที่เคยเป็นประเทศราช ซึ่งการอธิบายนี้จะไม่นำมากล่าวถึง เพราะไม่เกี่ยวกับสาระของรัฐธรรมนูญไทย
[2] วิษณุ เครืองาม, หน้า 177 ; มานิตย์ จุมปา , หน้า 28
[3] มานิตย์ จุมปา ,หน้า 27
[4] ในประเทศจีน ก่อนที่จะสถาปนาสาธารณรัฐขึ้นนั้น คือ เมื่อ ค.ศ.1902 รัฐบาลแห่งระบอบการปกครองสมบูรณาญาสิทธิราชย์ได้มองเห็นแล้วว่า ประชาชนชั้นที่มีการศึกษาต้องการเปลี่ยนระบอบการปกครองใหม่ และเห็นว่าน่าจะยับยั้งไว้ไม่อยู่ จึงได้รีบประการพระราชกำหนด "หลักการปกครองตามรัฐธรรมนูญ" ให้ประชาชนทราบเมื่อเดือนสิงหาคม ทั้งนี้เป็นเพียงเค้าโครงซึ่งเลียนแบบฉบับจากหลักรัฐธรรมนูญในญี่ปุ่นซึ่งมีมาก่อน(ค.ศ.1889) เพื่อบรรเทาความไม่พอใจของประชาชนไม่ให้คิดก้าวหน้าไปถึงกับจะเป็นสาธารณรัฐ แต่รัฐบาลสมบูรณาญาสิทธิราชย์ของจีนก็เหนี่ยวหวงแหนไว้ ไม่ทำให้รัฐธรรมนูญสำเร็จเป็นรูปร่างขึ้นแต่อย่างใด จนกระทั่งเกิดปฏิวัติเมื่อปี ค.ศ.1911 เป็นผลให้ราชวงศ์แมนจูต้องล้มลงไปเพราะให้รัฐธรรมนูญช้าเกินไป : อ้างใน ไพโรจน์ ชัยนาม , หน้า 137.
ซึ่งเหตุการณ์ในประเทศจีนดังกล่าวคล้ายกับสมัยรัชกาลที่ 7.ซึ่งพยายามร่างรัฐธรรมนูญขึ้น แต่โดยเนื้อหาที่ ร.7พยายามให้ที่ปรึกษาร่างนั้น ผมเข้าใจว่า เป็นรัฐธรรมนูญลักษณะ Absolute Monarchyเสียมากกว่า Limited Monarchy เมื่อครั้งปฏิวัติ 2475 พระองค์พยายามให้คณะราษฎรสร้างรัฐธรรมนูญให้มีรูปแบบ Limited Monarchy คือ พระองค์สามารถวีโต้กฎหมายได้อย่างเด็ดขาด เป็นตัวอย่าง ซึ่งข้อเรียกร้องนั้น
ไม่เป็นผล[5] ข้อความส่วนแรก :
http://th.wikipedia.org/wiki/ประเทศไทย ,(เข้าถึงวันที่ 17 ก.พ.2552).
ข้อความส่วนที่สอง :
http://th.wikipedia.org/wiki/ระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ , (เข้าถึงวันที่ 17 ก.พ.2552)
[6] วิษณุ เครืองาม , หน้า 178.
ข้อความที่โพสจะต้องไม่น้อยกว่า {{min_t_comment}} ตัวอักษรและไม่เกิน {{max_t_comment}} ตัวอักษร
กรอกชื่อด้วยนะ
_________
กรอกข้อมูลในช่องต่อไปนี้ไม่ครบ
หรือข้อมูลผิดพลาดครับ :
_____________________________
ช่วยกรอกอีกครั้งนะครับ
กรุณากรอกรหัสความปลอดภัย
ความคิดเห็น