ความเป็น"ราชอาณาจักร"กับวิกฤติการณ์ทางการเมืองไทยปัจจุบัน - ความเป็น"ราชอาณาจักร"กับวิกฤติการณ์ทางการเมืองไทยปัจจุบัน นิยาย ความเป็น"ราชอาณาจักร"กับวิกฤติการณ์ทางการเมืองไทยปัจจุบัน : Dek-D.com - Writer

    ความเป็น"ราชอาณาจักร"กับวิกฤติการณ์ทางการเมืองไทยปัจจุบัน

    โดย SaliN*

    ภายใต้สถานการณ์ปัจจุบันของชาติบ้านเมือง ที่ประชาชนพลเมืองกำลังสับสนอลหม่านด้านเสรีภาพทางความคิดในเรื่องอุดมคติของการจรรโลงประเทศชาติให้มีเกียรติมีศักดิ์ศรี เพื่อสืบสาน...

    ผู้เข้าชมรวม

    2,013

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    1

    ผู้เข้าชมรวม


    2.01K

    ความคิดเห็น


    0

    คนติดตาม


    1
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  26 มี.ค. 49 / 22:02 น.


    ข้อมูลเบื้องต้นของเรื่องนี้
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ

      ความเป็น "ราชอาณาจักร"

      กับกรณีวิกฤติการณ์ทางการเมืองไทยปัจจุบัน

      ภายใต้สถานการณ์ปัจจุบันของชาติบ้านเมือง ที่ประชาชนพลเมืองกำลังสับสนอลหม่านด้านเสรีภาพทางความคิดในเรื่องอุดมคติของการจรรโลงประเทศชาติให้มีเกียรติมีศักดิ์ศรี เพื่อสืบสานเจตนารมณ์ของบรรพบุรุษหลายชั่วชีวิตคน มิให้ล่มสลายลงในชั่วพริบตาอย่างน่าอนาถใจ
      เหตุการณ์วันนี้ ถือเป็นคติศึกษาแก่คนทั้งชาติในวันข้างหน้าว่า ธรรมาธิปไตย ได้แก่ ความไม่มุ่งร้ายป้ายสีหรือความเอารัดเอาเปรียบระหว่างกันเอง คือ คำตอบสุดท้ายในความอยู่รอดของชาติไทย มิใช่ความทะเยอทะยานหรือเห็นแก่ตัวที่เป็นความบกพร่องทางสติสัมปชัญญะ โดยละเลยปรัชญาชีวิตพอเพียงตามแนวพระราชดำริ ที่ถือเป็นสูตรสำเร็จแก่มนุษยชาติในทุกยุคทุกสมัย ความขัดแย้งวันนี้ นอกจากจะกลับกลายเป็นความแตกแยกแบบขยายผลในทุกอณูของสังคม ได้แก่ ภาษา ศาสนา เผ่าพันธุ์ ชนชั้น และภูมิรัฐศาสตร์ศึกษา ยังรวมไปถึงเรื่องการวัดระดับความรู้ความสามารถ คุณธรรม ความรู้เท่าไม่ถึงการ กับความพร้อมหรือไม่พร้อมทางการศึกษาของประชาชน ล้วนเป็นปัจจัยที่ทุกผู้ทุกฝ่ายต้องเร่งรีบแก้ไขเพื่อสร้างความสมดุลการพัฒนาของชาติบ้านเมืองไทย
      ประการนี้ บุคคลจึงต้องมีความเข้าใจ "ปฐมบท" แห่งความเป็นชาติเสียก่อน อันเรียกว่าเป็นรากเหง้าของแผ่นดินไทย ว่า ประเทศชาติของเรานั้นเป็น "ราชอาณาจักร" (Kingdom) มิใช่ "สาธารณรัฐ" (Republic) ซึ่งรูปแบบทางการปกครองทั้งสองมีบริบททางความหมายทั้งในทางนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง ความเข้าใจที่ชัดเจนถือเป็นฐานเสริมสร้างความรู้แก่บุคคลทุกหมู่เหล่า ได้ก้าวเดินสู่วันข้างหน้าเพื่อรักษาประเทศชาติและประชาชนอย่างถูกต้อง กลับมีแต่จะปรากฏความชอบธรรมแก่ทุกฝ่ายตามหลักการคานอำนาจที่ยั่งยืน และการตรวจสอบที่ปราศจากการแย่งชิงหรือการริดรอนอำนาจทางการปกครองอย่างที่เป็นอยู่
      สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ องค์พระบิดาแห่งประวัติศาสตร์และโบราณคดี และองค์ปฐมเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ทรงให้ความหมายของ "ราชอาณาจักร" ว่า "การกระทำใด ๆ อันเกี่ยวเนื่องกับประเทศชาติและมหาชน ซึ่งหมายถึง พฤติกรรมนั้น ๆ ยังผลกระทบต่อความอยู่ดีมีสุขของประชาชน ที่ระบบ จริยธรรมรัฐ (Moral Nation) ของชาติไทย ต้องมีความยำเกรงและนึกถึงพระบุญญาบารมีของพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวเป็นอันดับแรก เพราะพระองค์ท่านทรงเป็นปิยมหาราชาที่เป็นทั้งความรัก ความหวงแหน และเกียรติภูมิของประเทศชาติ ซึ่งแม้ชาวต่างชาติก็ต่างรู้ซึ้งว่า ในหลวงทรงเป็นดวงใจของคนไทยทั้งแผ่นดิน" ราชอาณาจักรจึงเป็น "ภาพสะท้อน" (Reflection) แห่งพระบรมเดชานุภาพขององค์พระประมุขในทุก ๆ ด้าน ที่ทุกคนล้วนมี หน้าที่รักษาไว้ซึ่งเกียรติยศอันสูงสุดของประเทศชาติถวายด้วยความจงรักภักดี จะบิดพริ้ว ก้าวก่าย หรือล่วงเกินในจารีตประเพณีอันดีงามของประเทศชาติไม่ได้ แต่ต้องใช้ "วัฒนธรรมเป็นตัวตั้ง" ในการพัฒนาประเทศ โดยตั้งคำถามแก่ตนเองโดยทันทีว่า ทำอย่างไร ความสงบเรียบร้อยอันเป็นแนวทางแห่งการเชิดชูพระบุญญาบารมีจะเกิดขึ้นได้ในทันที ความพินิจพิเคราะห์และความเสียสละจึงต้องมาจากทุกฝ่ายโดยปราศจากการเลือกปฏิบัติ เพราะความล่าช้าที่เป็นผลพวงมาจากการเลือกคิดเลือกทำด้วยความลังเล กลับกลายเป็นความบ่ายเบี่ยงเสี่ยงภัยและนำความสูญเสียยิ่งขึ้นไปอีกต่อสภาวการณ์ทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองของประเทศ
      ความหมายของ "ราชอาณาจักร" ปรากฏเป็นเช่นนี้โดยสัญชาตญาณมาช้านาน นั่นคือ ความรักความเกรงใจ ความเชื่อฟัง โดยไม่มุ่งคิดที่จะกระทำการอันใดแม้แต่น้อยที่จะเป็นการระคายเคืองต่อเบื้องพระยุคลบาทและพระบรมเดชานุภาพขององค์พระมหากษัตริย์ และช่วยกันรักษาประวัติศาสตร์ห้วงเวลาสำคัญนี้ไว้ในความทรงจำเพื่อเป็น "ตำราประเทศ" แก่ทุกคนในอนาคตที่จะไม่มีวันให้เกิดขึ้นอีก
      แตกต่างจากประเทศแบบ "สาธารณรัฐ" ที่ปัญหาอันหลากหลายเกิดขึ้นภายใต้ความไม่เป็นเอกภาพ(Disunity)ในหลักปรัชญาทางสังคมโดยปราศจากจริยธรรมทางการปกครองแบบ "พ่อปกครองลูก" หรือแบบครอบครัวเดียวกัน ผู้คนในสังคมจึงมักประพฤติปฏิบัติตนอย่างตามใจชอบ (Spoiling System) โดยไม่มีความ เกรงใจผู้หลักผู้ใหญ่ในบ้านเมืองหรือหัวหน้าครอบครัว ไม่รู้จักคำนึงถึงหรืออนุรักษ์ไว้ซึ่งความภาคภูมิใจทางประวัติศาสตร์เสียมาก ที่หลายครั้งกลับกลายเป็นข้อปัญหาที่ยุ่งยากต่อการแก้ไข เพราะขาด "องค์รัฐ" ตามแบบราชอาณาจักร ผู้ทรงเป็นศูนย์รวมจิตใจแก่ประชาชนพลเมืองทั้งปวง
      ความเกรงอกเกรงใจ ความรัก ความหวงแหนรักษา และความกตัญญู ที่รวมเรียกกันว่า "ความจงรักภักดีอย่างสูงสุด" ของคนไทยทุกคนที่มีต่อในหลวง จึงถือเป็นอัตลักษณ์เฉพาะของชาติบ้านเมืองมาเป็นเวลาช้านาน ประชาชนจึงต้องมีความเข้าใจแต่เบื้องต้นว่า พฤตินิสัยอันเป็นบุคลิกภาพของประชาชนพลเมืองทุกคนในสังคมไทยโดยไม่มีข้อยกเว้น คือ ความสำนึกในความเป็นราชอาณาจักร ที่มิใช่สาธารณรัฐ
      กล่าวโดยย่อ คือ "เราต้องรัก หวงแหน มีความกตัญญูรู้คุณ และถวายพระเกียรติแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอย่างมากที่สุด จะกระทำสิ่งใด กล่าววาจาอันใด หรือการทะเลาะเบาะแว้ง ล้วนอยู่ในสายพระเนตรของหัวหน้าครอบครัวพระองค์จริง ที่บุคคลต้องมีสติ จะละเมิดจารีตประเพณีหรือหลงไหลลืมตัวไม่ได้" สถาบันพระมหากษัตริย์เป็นปฐมกระบวนทัศน์แห่งระบบการปกครองแบบราชอาณาจักร และคนไทยทุกคนมีหน้าที่สืบสานพระบรมราชปณิธานแห่งคุณความดีนี้ไว้ด้วยชีวิต.



      เรียบเรียงโดย ม.ล. ปนัดดา ดิศกุล
      รองผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี
      ประธานหอสมุดสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
      www.prince-damrong.moi.go.th

      ที่มา http://www.prince-damrong.moi.go.th/file_4.htm

      นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      คำนิยม Top

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      คำนิยมล่าสุด

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      ความคิดเห็น

      ×