ควิชดิชในยุกต่างๆ
ควิชดิในยุกต่างๆที่คุณอยาดชกรู้มาอยู่ที่นี้แล้ว
ผู้เข้าชมรวม
1,099
ผู้เข้าชมเดือนนี้
2
ผู้เข้าชมรวม
เนื้อเรื่อง
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ชื่อหนังสือ : ควิชดิชในยุคต่างๆ [Quidditch Through the Ages ]
ผู้เขียน : เจเค โรว์ลิ่ง
ผู้แปล : สุมาลี
จำนวน: 84 หน้า
ราคา : 79 บาท
จำหน่ายครั้งแรกในไทย : กันยายน 2544
รายละเอียด : เป็นหนังสือจำลองจากหนังสือเรียนใน โรงเรียนเวทมนตร์คาถาพ่อมดแม่มดและเวทมนตร์ศาสตร์ฮอกวอตส์ หนังสือเริ่มต้นด้วยประวัติความเป็นมาของไม้กวาด อธิบายวิวัฒนาการของ ควิดดิชในแต่ละยุค รวมไปถึงกฎกติกา และการเล่นสมัยใหม่ ตำนานของควิดดิช กีฬาสุดฮิตในโลกของพ่อมดแม่มด เริ่มเล่าตั้งแต่ที่มาของ ลูกสนิชสีทอง พัฒนากรของควิดดิช จวบจนกระทั่ง เป็นควิดดิชในปัจจุบัน ซึ่งทั้งหมดนี้ผ่านช่วงเวลาต่างๆ นานกว่าหกศตวรรษ นอกจากนี้ ยังอธิบายวิธีเล่น อย่างละเอียด กลเม็ดต่างๆ ที่ใช้กันในปัจจุบัน และทีมที่เป็นขวัญใจ ของพ่อมดแม่มดทั่วโลก ที่สำคัญเราได้รู้ด้วยว่า สุดยอดทีมควิดดิชของเอเชีย คือทีมของประเทศอะไร
ตำนานของควิดดิช กีฬาสุดฮิตในโลกของพ่อมดแม่มด เริ่มเล่าตั้งแต่ที่มาของ ลูกสนิชสีทอง พัฒนากรของควิดดิช จวบจนกระทั่ง เป็นควิดดิชในปัจจุบัน ซึ่งทั้งหมดนี้ผ่านช่วงเวลาต่างๆ นานกว่าหกศตวรรษ นอกจากนี้ ยังอธิบายวิธีเล่น อย่างละเอียด กลเม็ดต่างๆ ที่ใช้กันในปัจจุบัน และทีมที่เป็นขวัญใจ ของพ่อมดแม่มดทั่วโลก ที่สำคัญเราได้รู้ด้วยว่า สุดยอดทีมควิดดิชของเอเชีย คือทีมของประเทศอะไร
คำนิยมหนังสือควิดดิชในยุคต่างๆ
"การค้นคว้าที่ใช้ความพยายามและระมัดระวังยิ่งของ เคนนิลเวอร์ที วิสป์ ช่วยเปิดเผยกรุขุมทรัพย์ของจริงเกี่ยวกับข้อมูลที่ไม่เคยรู้มาก่อนเรื่องกีฬาของพ่อมดแม่มด เป็นหนังสือที่ควรอ่านมาก"
บาทิลด้า แบ็กช็อต, ผู้เขียนประวัติศาสตร์เวทมนตร์
"วิสป์เขียนหนังสือที่อ่านสนุกตลอดทั้งเล่มจริงๆแฟนๆควิดดิชต้องรู้สึกแน่นอนว่าหนังสือเล่มนี้ ให้ทั้งความรู้และความเพลิดเพลิน"
บรรณาธิการ, นิตยสารไม้กวาดไหนดี
"เป็นงานเกี่ยวกับต้นกำเนิดและประวัติของควิดดิชที่เด็ดขาดจริงๆ สมควรอ่านอย่างยิ่ง"
บรูตัส สคริมเจียร์, ผู้เขียน คัมภีร์ของบีตเตอร์
"คุณวิสป์ทำท่าว่าจะไปได้ไกล ถ้าเขายังผลิตผลงานดีๆแบบนี้ออกมาเรื่อยๆ ต่อไปสักวันหนึ่งเขาคงได้มาร่วมรายการถ่ายภาพโฆษณาหนังสือกับผม!"
กิลเดอรอย ล็อกฮาร์ต, ผู้เขียน ผู้วิเศษ ผมเอง
"พนันเอาอะไรก็ได้ รับรองว่าหนังสือเล่มนี้ต้องเป็นเบสต์เซลเลอร์แน่นอน เอาน่า มาพนันกันหน่อย"
ลุดวิค แบ็กแมน, บีตเตอร์ทีมชาติอังกฤษ และทีมสโมสรวิมบอร์น วอพส์
"ดิฉันเคยอ่านเรื่องที่แย่กว่านี้ค่ะ"
ริต้า สกีตเตอร์, หนังสือพิมพ์เดลี่พรอเฟ็ต
เกี่ยวกับผู้เขียน
เคนนิลเวอร์ที วิสป์ เป็นผู้เชี่ยวชาญกีฬาควิดดิชที่มีชื่อเสียงมาก(และเขาบอกว่า คลั่งเกมนี้มากด้วย)เขาแต่งหนังสือเกี่ยวกับควิดดิชไว้หลายเล่ม ได้แก่ เรื่องมหัสจรรย์ของทีมวิกทาวน์วันเดอเรอส์ เขาบินราวคนบ้า (ชีวประวัติของได ลูเอลเลน ตัวอันตราย) และสู้กับบลัดเจอร์:การศึกษาเรื่องยุทธวิธีป้องกันในกีฬาควิดดิช
เคนนิลเวอร์ที วิสป์ แบ่งเวลาระหว่างอยู่ที่บ้านที่นอตติงแฮมเชอร์และ "ไปทุกแห่งที่ทีมวิกทาวน์วันเดอเรอส์ลงแข่งสัปดาห์นี้"งานอดิเรกของเขาคือเล่นเกมแบกแกมมอน ทำอาหารเจ และสะสมไม้กวาดชั้นเยี่ยม
คำนำ
ควิดดิชในยุคต่างๆเป็นหนึ่งในหนังสือยอดนิยมหลายๆเล่มของห้องสมุดโรงเรียนฮอกวอตส์ มาดามพินซ์ บรรณารักษ์ของเรา บอกผมว่าหนังสือเล่มนี้"มีคนลูบคลำ ทำน้ำลายหยดใส่ และถูกทรมานทรกรรม"เป็นประจำเกือบทุกวัน ต้องถือว่าเป็นคำชมสูงส่งสำหรับหนังสือเล่มไหนก็ตาม คนที่เล่ยหรือดูเกมควิดดิชอย่างสม่ำเสมอคงจะชื่นชมหนังสือของคุณวิสป์มาก รวมทั้งพวกเราที่สนใจประวัติศาสตร์ที่กว้างไกลของพ่อมดศาสตร์ด้วยเพราะในขณะที่เราพัฒนาเกมควิดดิช ควิดดิชเองก็พัฒนาพวกเราเหมือนกัน ควิดดิชนี้ชักนำพ่อมดแม่มดจากทุกสาขาอาชีพมารวมกัน ร่วมกันยินดีเบิกบานในช่วงเวลาแห่งชัยชนะ และ(สำหรับพวกที่สนับสนุนทีมชัดลีย์ แคนนอนส์)ร่วมกันหดหู่ใจในช่วงเวลาแห่งความผิดหวัง
ผมต้องสารภาพตรงๆว่า ลำบากมากที่จะเกลี้ยกล่อมให้มาดามพินซ์ยอมพรากจากหนังสือเล่มใดเล่มหนึ่งของเธอ เพื่อว่าจะเอาไปพิมพ์ซ้ำเพื่อจะได้อ่านกันแพร่หลายกว้างขวางขึ้น อันที่จริงเมื่อผมบอกเธอว่าจะเอาไปพิมพ์เผยแพร่ให้ผู้อ่านมักเกิ้ลเธอก็เป็นใบ้ไปชั่วขณะ ไม่ขยับหรือกระพริบตาไปหลายนาทีทีเดียว เมื่อเธอได้สติ เธอก็มีสติพอที่จะถามผมว่าผมเสียสติไปหรือเปล่า ผมเต็มอกเต็มใจพูดให้เธอมั่นใจว่าผมไม่ได้เสียสติไปหรอก แล้วก็อธิบายต่อไปว่าทำไมผมถึงได้ตัดสินใจทำอะไรที่ไม่เคยมีใครทำมาก่อน
พวกผู้อ่านมักเกิ้ลคงไม่ต้องการคำแนะนำใดๆเกี่ยวกับงานของกองทุนคอมิกรีลีฟ ดังนั้นผมจะพูดซ้ำข้อความที่ผมอธิบายให้มาดามพินซ์ฟัง เพื่อแม่มดพ่อมดที่ซื้อหนังสือเล่มนี้จะได้เข้าใจไปด้วย คอมิกรีลีฟเป็นกองทุนที่ใช้เสียงหัวเราะต่อสู้กับความยากจน ความอยุติธรรม และภัยพิบัติต่างๆ การแสดงตลกหลากหลายทำรายได้จำนวนมหาศาลให้กองทุน(ได้เงินถึง 174ล้านปอนด์ตั้งแต่กองทุนนี้ก่อตั้งมาเมื่อค.ศ.1985 ก็เป็นเงินราวๆกว่าสามสิบสี่ล้านเกลเลียน)เมื่อคุณซื้อหนังสือเล่มนี้(และผมขอแนะนำให้คุณซื้อ เพราะถ้าคุณอ่านมาถึงหน้านี้แล้วไม่จ่ายเงินให้เรา คุณอาจพบว่าคุณตกเป็นเป้าของคำสาบหัวขโมย)คุณก็จะได้มีส่วนช่วยสนับสนุนกิจกรรมที่แสนวิเศษนี้ด้วย
ผมคงจะหลอกผู้อ่าน ถ้าผมบอกว่าคำอธิบายนี้ทำให้มาดามพินซ์สบายใจที่จะมอบหนังสือของห้องสมุดให้พวกมักเกิ้ล เธอเสนอทางเลือกให้ผมหลายทาง เช่น ใหเบอกคนที่กองทุนคอมิกรีลีฟว่าห้องสมุดถูกไฟไหม้วอดวายหมดแล้ว หรือง่ายหน่อยก็แกล้งทำเป็นว่าผมตายอย่างกะทันหันโดยที่ไม่ทันสั่งการอะไรไว้ เมื่อผมบอกเธอว่าผมพอใจแผนการแรกของผมมากกว่า เธอก็ยอมส่งมอบหนังสือให้อย่างไม่ค่อยเต็มใจเท่าไรนัก อย่างไรก็ตาม เมื่อถึงเวลาที่ต้องปล่อยมือจากหนังสือ เธอก็เกิดประสาทเสียขึ้นมา ผมต้องใช้กำลังสุดแรงแกะนิ้วเธอออกจากสันหนังสือทีละนิ้วๆเลยทีเดียว
แม้ว่าผมจะถอนคาถาธรรมดาๆสำหรับหนังสือในห้องสมุดที่ลงไว้ในหนังสือเล่มนี้ออกไปแล้ว แต่ผมไม่อาจให้คำมั่นสัญญาได้ว่าจะไม่มีคาถาหลงเหลืออยู่เลย เป็นที่รู้กันดีว่ามาดามพินซ์มักจะใส่คำสาบ"ไม่ธรรมดา"ในหนังสือที่เธอดูแลด้วย เมื่อปีกลาย ผมเองเผลอขีดเขียนอะไรเล่นในหนังสือเรื่อง ทฤษฎีการแปลงร่างผ่านวัตถุ ปรากฏว่าอึดใจต่อมาหนังสือก็ไล่ฟาดหัวผมอย่างดุเดือด ดังนั้นโปรดปฏิบัติต่อหนังสือเล่มนี้อย่างระมัดระวังด้วย อย่าฉีกหน้าไหนในหนังสือเล่มนี้ อย่าทำหนังสือตกลงไปในอ่างอาบน้ำ ผมไม่อาจสัญญาได้ว่ามาดามพินซ์จะไม่กระโจนเข้าใส่คุณ ไม่ว่าคุณอยู่ที่ไหนก็ตาม และเรียกเอาค่าปรับแพงๆ
สุดท้ายนี้ผมขอขอบคุณพวกคุณที่ช่วยสนับสนุนกองทุนคอมิกรีลีฟ และขอร้องพวกมักเกิ้ลไม่ให้ทดลองเล่นควิดดิชที่บ้าน(แน่นอนเพราะว่ามันเป็นกีฬาที่สมมุติขึ้นมา ไม่มีใครเล่นได้จริงๆหรอก)และผมขอถือโอกาสนี้อวยพรให้ทีมพัดเดิลเมียร์ ยูไนเต็ดโชคดีตลอดการแข่งขันในฤดูหน้าด้วยครับ
อัลบัส ดัมเบิลดอร์
บทที่ 1 วิวัฒนาการของไม้กวาดบิน
ไม่มีคาถาใดที่เสกให้พ่อมดแม่มดสามารถบินได้ในร่างของมนุษย์โดยไม่ต้องใช้เครื่องช่วย มีพวกพ่อมดแม่มดแอนนิเมไจน้อยคนที่สามารถแปลงร่างเป็นสัตว์ปีกและบินได้ แต่ก็หาได้ยากมาก แม่มดหรือพ่อมดที่แปลงร่างเป็นค้างคาวได้นี้ พบว่าเธอหรือเขาบินเหินฟ้าได้ แต่กลับมีสมองเล็กเท่าค้างคาวไปด้วย ดังนั้นแน่นอนที่พวกเขาก็เลยลืมสนิทว่าอยากบินได้ที่ไหนทันทีที่เริ่มออกบิน การลอยตัวในอากาศเป็นเรื่องสามัญที่พ่อมดแม่มดทำกันได้อยู่แล้ว แต่บรรพบุรุษของพวกเราไม่พอใจแค่ลอยตัวสูงห้าฟุตเหนือพื้นดิน พวกเขาต้องการมากกว่านั้น พวกเขาต้องการบินได้ให้เหมือนนก แต่ไม่ต้องการยุ่งยากปลูกขนแบบขนนกทั่วตัว
ทุกวันนี้พวกเราเคยชินเสียแล้วกับเรื่องที่ว่าครอบครัวพ่อมดแม่มดทุกครอบครัวในเกาะบริเตน ต่างมีไม้กวาดเหาะอย่างน้อยหนึ่งด้ามที่บ้าน พวกเราถึงไม่ค่อยหยุดคิดถามตัวเองว่าทำไม ทำไมไม้กวาดที่ต่ำต้อยนี้ถึงได้กลายเป็นวัตถุหนึ่งที่กฎหมายอนุญาตให้ใช้เป็นเครื่องมือ สำหรับการเดินทางของพ่อมดแม่มด ทำไมพวกเราใยโลกตะวันตกถึงไม่ใช้พรมซึ่งเป็นที่นิยมของเพื่อนพ้องของเราในโลกตะวันออก ทำไมพวกเราถึงไม่เลือกใช้ถังบิน เก้าอี้นวมเหาะ หรืออ่างอาบน้ำบิน ทำไมถึงต้องเป็นไม้กวาด
พวกพ่อมดแม่มดฉลาดพอที่จะรู้ว่า ถ้าเพื่อนบ้านมักเกิ้ลล่วงรู้ถึงอำนาจเวทมนตร์ของพวกเขา ก็คงจะหาทางเอารัดเอาเปรียบใช้ประโยชน์จากเวทมนตร์เต็มที่ ดังนั้นพ่อมดแม่มดจึงมักเก็บตัวเงียบ ไม่สังสรรค์กับเพื่อนบ้านมักเกิ้ลตั้งแต่ก่อนจะมีการประกาศใช้กฎหมายนานาชาติเรื่องความลับของพ่อมด ถ้าพวกเขาต้องเก็บเครื่องมือช่วยบินไว้ในบ้าน เครื่องมือนั้นก็จำเป็นต้องเป็นสิ่งที่ไม่ผิดสังเหต และซ่อนได้ง่ายๆ ไม้กวาดถึงเป็นเครื่องมือที่เหมาะสมที่สุดสำหรับจุดมุ่งหมายนี้ ไม่ต้องมีคำอธิบายใดๆ ไม่ต้องมีข้อแก้ตัวถ้าพวกมักเกิ้ลมาเจอไม้กวาดในบ้าน ทั้งยังขนไปไหนๆได้ง่ายและราคาไม่แพงอีกด้วย อย่างไรก็ถาม ไม้กวาดที่ถูกเสกให้บินได้อันแรกๆ มีข้อด้อยอยู่บ้างบางประการ
มีหลักฐานระบุว่าพ่อมดแม่มดในยุโรปใช้ไม้กวาดบินตั้งแต่เมื่อ ค.ศ.962 เอกสารภาษาเยอรมันประกอบภาพวาดจากในยุคนี้แสดงภาพผู้มีอำนาจวิเศษสามคนกำลังลงจากไม้กวาด มีสีหน้าว่าทุกข์ทรมานมาก กัดทรี ล็อกคริน พ่อมดชาวสกอตบันทึกไว้เมื่อ ค.ศ.1107 เล่าถึงสภาพของ 'ก้นแตกเป็นลายและริดสีดวงกำเริบ' ที่เขาต้องทนทรมานหลังจากใข้ไม้กวาดบินเป็นระยะทางสั้นๆระหว่างเมืองมอนโทรสถึงเมืองอาร์โบรท
ไม้กวาดในยุคกลางที่แสดงไว้ในพิพิธภัณฑ์ควิดดิชในกรุงลอนดอน ช่วยให้เราเข้าใจซาบซึ้งถึงความทุกข์ทรมานของล็อกคริน ไม้กวาดนั้นมีด้านทำด้วยไม้แอชที่ตะปุ่มตะป่ำ ซึ่งไม่ได้ลงน้ำมัน ที่ปลายด้ามมีกิ่งไม้แฮเซิลผูกติดไว้ลวกๆ ไม้กวาดนี้ทั้งนั่งไม่สบายและไม่ลู่ลมเลย คาถาที่เสกเป่าไม้กวาดก็เป็นคาถาพื้นๆมาก แค่บินไปข้างหน้าได้ด้วยความเร็วระดับหนึ่ง แล้วบินขึ้น บินลง และหยุดได้เท่านั้น
เนื่องจากในสมัยนั้น ครอบครัวที่มีพ่อมดแม่มดต่างผลิตไม้กวาดของตนเอง ไม้กวาดจึงมีความแตกต่างกันมากเรื่องอัตราความเร็ว ความสบาย และการเคลื่อนย้าย อย่างไรก็ตาม ราวคริสต์ศตวรรษที่ 12 พ่อมดเรียนรู้ที่จะแลกเปลี่ยนบริการสินค้าซึ่งกันและกัน ดังนั้นคนที่ชำนาญเรื่องการทำไม้กวาด สามารถแลกเปลี่ยนไม้กวาดกับน้ำยาที่เพื่อนบ้านของเขาอาจปรุงได้ดีกว่า เมื่อไม้กวาดเริ่มนั่งได้สบายขึ้นแล้ว พ่อมดแม่มดก็เริ่มใช้ไม้กวาดบินไปมาเพื่อความสนุกเพลิดเพลินแทนที่จะใช้เป็นเครื่องช่วยเดินทางจากจุด ก. ไปที่จุด ข. แต่อย่างเดียว
บทที่ 2 การละเล่นด้วยไม้กวาดในสมัยโบราณ
กีฬาที่ใช้ไม้กวาดเริ่มขึ้นเกือบจะทันทีที่ไม้กวาดได้พัฒนามาพอที่ผู้บินสามารถเลี้ยวโค้ง และปรับอัตราความเร็วและความสูงได้ งานเขียนและภาพวาดของพ่อมดแม่มดในยุคต้นๆ ช่วยให้เรารู้ว่ามีการละเล่นใดบ้างที่บรรพบุรุษของเราชอบเล่น และหลายอย่างได้พัฒนาต่อมาเป็นกีฬาที่เรารู้จักดีในปัจจุบัน
การแข่งไม้กวาดประจำปีที่มีชื่อเสียงมากของสวีเดนเริ่มต้นตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 10 ผู้เล่นแข่งกันบินจากเมืองคอพพาเบิร์กไปยังเมืองอาร์จีพล็อก ซึ่งเป็นระยะทางมากกว่าสามร้อยไมล์เล็กน้อย เส้นทางนั้นต้องผ่านบริเวณเขตสงวนของมังกร ถ้วยรางวัลทำด้วยเงินใบใหญ่จึงทำเป็นรูปมังกรพันธุ์สวีเดนจมูกสั้น ทุกวันนี้การแข่งขันกลายเป็นงานระดับนานาชาติ พ่อมดแม่มดทุกเชื้อชาติจะมาชุมนุมกันที่คอพพาเบิร์กเพื่อเชียร์ผู้แข่งขันที่จุดเริ่มต้น แล้วหายตัวไปยังเมืองอาร์จีนพล็อก เพื่อแสดงความยินดีกับผู้ที่รอดมาได้
ภาพวาดที่มีชื่อเสียงชื่อ Gunther der Gewalttatige ist der Gewinner (กุนเทอร์จอมรุนแรงเป็นผู้ชนะ) ที่วาดเมื่อ ค.ศ.1105 แสดงถึงการละเล่นของเยอรมันในสมัยโบราณที่เรียกว่า สติชสต็อก (Stichstock) มีเสาสูงยี่สิบฟุตแขวนถุงกระเพาะปัสสาวะของมังกรที่เป่าลมไว้พอง ผู้เล่นคนหนึ่งที่ขี่อยู่บนไม้กวาด ได้รับมอบหมายให้เป็นคนป้องกันถุงกระเพาะปัสสาวะ คนเฝ้ารักษาถุงนี้มีเชือกผูกไว้ที่เอวพันไว้กับเสา ส่วนผู้เล้นคนอื่นก็ผลัดกันบินเข้ามาที่ถุงกระเพาะปัสสาวะ พยายามเจาะถุงให้แตกด้วยปลายด้ามไม้กวาดที่ฝนจนแหลมเป็นพิเศษ ผู้รักษาถุงกระเพาะปัสสาวะได้รับอนุญาตให้ใช้ไม้กายสิทธิ์สกัดกั้นการบุกรุกนี้ได้ การเล่นยุติลงเมื่อถุงถูกเจาะแตก หรือเมื่อผู้รักษาถุงสามารถเสกคาถาใส่คู่ต่อสู้ออกไปจากการแข่งขันได้หมด หรือถ้าผู้รักษาถุงนั้นล้มพับลงเพราะหมดแรง เกมสติชสต็อกนี้เลิกไปในคริสต์ศตวรรษที่ 14
ในไอร์แลนด์มีการเล่นเกมที่เรียกว่า ไอจินเจน (Aingingein) เป็นที่นิยมกว้างขวาง มีผู้แต่งเพลงโบราณเกี่ยวกับเกมนี้ไว้มากมายหลายเพลง (อ้างกันว่าฟิงกัลผู้ไร้ความกลัว พ่อมดที่มีชื่อเสียงเลื่องลือของไอร์แลนด์เป็นแชมเปี้ยนเกมไอจินเจนนี้) วิธีการเล่นคือ ผู้เลนแต่ละคนจะผลัดกันถือลูกบอลที่เรียกว่าดอม (คือถุงน้ำดีของแพะนั่นเอง) บินเร็วจี๋ผ่านแถวถังไม้ที่มีไฟลุงโพลง ถังไม้ตั้งอยู่บนเสาสูงลิบลิ่วในอากาศ เมื่อถึงถังใบสุดท้าย ต้องโยนลูกดอมลงไปในถัง ผู้เล่นที่สามารถบินพาลูกดอมไปถึงถังใบสุดท้ายได้ในเวลาที่เร็วที่สุด โดยไม่ติดไฟลุกไหม้ระหว่างทางถือว่าเป็นผู้ชนะ
สกอตแลนด์เป็นแหล่งกำเนิดการเล่นไม้กวาดที่อาจอันตรายที่สุดก็ว่าได้ เกมนี้เรียกว่าครีโอเชี่ยม (Creaothcean) เกมนี้มีกล่าวถึงในบทกลอนเศร้าบทหนึ่งในภาษาเกลิกที่ประพันธ์ไว้เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 11 จากบทแรกเมื่อแปลแล้วมีใจความว่า
กลุ่มผู้เล่นสิบสองชายใจเริงร่า
หม้อใหญ่มารัดเทินหัวเตรียมตัวเหิน
เสียงแตรเป่าเขาทะยานสู่ฟ้าเพลิน
แต่เหลือเกินที่สิบชายต้องตายเอย
ผู้เล่นเกมนี้แต่ละคนจะมีหม้อใหญ่ผูกไว้บนหัว เมื่อเสียงเป่าแตรหรือเสียงกลองดังขึ้น ก้อนหินและหินก้อนใหญ่ๆนับร้อยๆก้อนที่ถูกเสกเป่าให้ลอยอยู่ประมาณร้อยฟุตเหนือพื้นดิน จะเริ่มร่วงหล่นมาใส่พื้น ผู้เล่นเกมครีโอเชี่ยนต้องพุ่งทะยานขึ้นไปในท้องฟ้า พยายามเก็บก้อนหินใส่หม้อบนหัวให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ในบุคกลางเกมนี้ได้รับความนิยมอย่างมาก เพราะพ่อมดขาวสกอตถือว่าเป็นสุดท้ายของการพิสูจน์ความกล้าหาญและความเป็นลูกผู้ชาย แม้จะมีคนตายเพราะเกมนี้เป็นจำนวนมากมายก็ตาม เกมนี้ถูกประกาศให้เป็นการเล่นที่ผิดกฎหมายเมื่อ ค.ศ.1762 และแม้ว่าแมกนัส แมกโดนัลด์ (สมญาว่าแมกนัสหัวบุบ) จะเป็นหัวหอกเรียกร้องให้นำกลับมาเล่นใหม่เมื่อช่วงทศวรรษที่ 1960 กระทรวงเวทมนตร์ก็ปฏิเสณที่จะยกเลิกการสั่งห้าม
ซันต์บันส์ (Shuntbumps) เป็นเกมที่นิยมเล่นกันแพร่หลายในเดวอน ประเทศอังกฤษ ลักษณะเหมือนกรเล่นชนทวนของอัศวินยุคกลาง จุดมุ่งหมายเดียวคือชนให้ผู้เล่นคนอื่นๆตกจากไม้กวาดให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ คนสุดท้ายที่ยังนั่งอยู่บนไม้กวาดถือเป็นผู้ชนะ
สวีฟเวินฮอช (Swivenhodge) เริ่มเล่นในเฮียฟอร์ดเชอร์ เกมนี้เหมือนเกมสติชสต็อกตรงที่ว่าใช้ถุงกระเพาะปัสสาวะที่เป่าลมจนพอง แต่มักเป็นกระเพาะหมูมากกว่า คนเล่นนั่งกลับหลังบนไม้กวาด ใช้กิ่งไม้ที่ปลายไม้กวาดตีถุงกระเพาะให้ลอยไปข้างหน้าหรือกลับหลังข้ามรั้วต้นไม้ ผู้เล่นคนแรกที่ตีพลาดเสียหน่งแต้มให้คู่ต่อสู้ ข้างที่ได้ห้าสิบแต้มก่อนคือผู้ชนะ
เกมสวีฟเวินฮอชนี้ยังคงเล่นอยู่ในประเทศอังกฤษ แม้ว่าจะไม่ได้รับความนิยมแพร่หลายไปทั่วก็ตาม ส่วนเกมซันต์บัมส์ ตอนนี้เป็นแค่เกมของพวกเด็กๆ อย่างไรก็ตาม ที่หนองน้ำชื่อเควียดิช การละเล่นอย่างหนึ่งเกิดขึ้น และวันหนึ่งจะกลายเป็นกีฬาสุดยอดนิยมในโลกของผู้วิเศษ
บทที่ 3 การละเล่นจากหนองน้ำเควียดิช
เราเป็นหนี้ความรู้เรื่องการเริ่มต้นของเกมควิชดิชจากงานเขียนของแม่มดชื่อ เกอร์ตี้ เค็ดเดิล ผู้ซึ่งอาศัยอยู่ที่ริมหนองน้ำเควียดิชในคริสต์ศวรรษที่ 11 โชคดีของเราที่เกอร์ตี้เขียนบันทึกประจำวันไว้ ปัจจุบันบันทึกนี้เก็บไว้ที่พิพิธภัณฑ์ควิชดิชในกรุงลอนดอน ข้อความที่คัดมาข้างล่างนี้แปลมาจากต้นฉบับตัวจริงภาษาแซกซัที่สะกดผิดๆถูกๆ
“ วันอังคาร ร้อนชะมัด พวกคนที่อยู่อีกฝั่งของหนองมาเล่นกันอีกแล้ว เล่นเกมโง่ๆบนไม้กวาด ลูกบอล หนังใบเบ้อเริ่มหล่นแหมะลงมาบนแปลงกะหล่ำปลีของฉัน ฉันเลยว่าคาถาใส่เจ้าคนที่มาเก็บลูกซะเลย ฉันอยากเห็นเจ้าคนนั้นบินด้วยหัวเข่าที่หมุนกลับหลังไปหน้าจริงๆ ไอ้หมูตอนอ้วนขนยาว “
“ วันอังคาร เฉอะแฉะป็นบ้า ออกไปริมหนอง ไปเก็บต้นเน็ตเทิล พวกปัญญาอ่อนบนไม้กวาดมาเล่นกันอีกตามเคย ฉันแอบดูอยู่ประเดี๋ยวหนึ่งที่หลังก้อนหิน พวกมันมีลูกบอลใบใหม่ เล่นขว้างรับกันแล้วพยายามขว้างลูกบอลไปให้ติดบนต้นไม้ที่ปลายใดปลายหนึ่งของหนอง เฮอะ ! ไม่เห็นได้เรื่องได้ราวอะไรเลย “
“ วันอังคาร ลมแรงจริงๆ กวีนน็อกมาดื่มชาเน็ตเทิลกับฉัน แล้วชวนฉันออกไปเลี้ยงตอบแทนข้างนอก ลงท้ายนั่งดูเจ้าพวกกะโหลกทึบเล่นเกมที่หนอง ผู้วิเศษชาวสกอตตัวเบิ้มจากบนเขาก ็มาเล่นกับเขาด้วย ตอนนี้ พวกนั้นมีก้อนหินใหญ่ๆหนักๆ 2 ก้อนบินไปรอบๆ คอยชนคนเล่นให้ล้มตกจากไม้กวาด โชคไม่ดี ไม่มีใครตกจากไม้กวาดตอนที่ฉันดูอยู่ กวีนน็อกบอกฉันว่าเค้าเองก็เล่นเกมนี้บ่อยๆ เฮอะ ! กลับบ้านด้วยความสะอิดสะเอียนใจ “
ข้อความที่คัดมานี้ให้ความรู้กระจ่างแก่เรามากกว่าที่เกอร์ตี้ เค็ดเดิลจะคาดคิด นอกจากเรื่องว่าเธอรู้จักชื่อวันแค่วันเดียวในสัปดาห็แล้ว ความรู้ประการแรกคือ ลูกบอลที่หล่นลงมาในแปลงกะหล่ำปลีของเธอทำจากหนังเหมือนกับลูกควัฟเฟิลในปัจจุบันแน่นอน เพราะว่าลูกบอลที่ทำจากถุงกระเพาะเป่าลมให้พองในเกมการเล่นด้วยไม้กวาดอื่นๆ ในยุคนั้นคงยากที่จะขว้างให้ได้แม่นยำ โดยเฉพาะเมื่อลมพัดแรงจัก ประการที่ 2 เกอร์ตี้เล่าให้เราฟังว่าพวกคนเล่นพยายามขว้างลูกบอลไปให้ติดต้นไม้ที่ปลายใดปลายหนึ่งของหนอง เห็นได้ชัดว่านี้เป็นการทำคะแนนในช่วงยุคต้นๆ ประการที่ 3 เธอทำให้เราเห็นต้นกำเนิดของลูกบลัดเจอร์ด้วยนิดหนึ่ง ที่น่าสนใจอย่างยิ่งคือว่า ผู้วิเศษชาวสกอตตัวเบิ้ม ปรากฏตัวด้วย เป็นไปได้ไหมว่าเขาเป็นผู้เล่นเกมครีโอเชี่ยนเป็นความคิดของเขาหรือเปล่าที่เสกให้ก้อนหินใหญ่ๆ บินพุ่งเร็วจี๋และอันตรายไปรอบๆสนาม โดยได้แรงบันดาลใจมาจากก้อนหินใหญ่ที่ใช้ในการเล่นเกมประจำชาติของเขา
เราไม่พบหลักฐานอื่นที่กล่าวถึงกีฬาที่เล่นกันที่หนองน้ำเควียดิชอีกจนกระทั่งหนึ่งศตวรรษต่อมา เมื่อพ่อมดชื่อกู๊ดวิน นีน จับปากกาขนนกเขียนจดหมายถึงลูกพี่ลูกน้องชาวนอร์เวย์ชื่อโอลาฟ นีน ซึ่งอาศัยอยู่ที่ยอร์กเชอร์ จากจดหมายนี้แสดงให้เห็นว่ากีฬานี้ได้เผยแพร่ไปเกาะบริเตนในช่วง 100 ปีหลังจากที่เกอร์ตี้ ได้เห็นการเล่นนี้ป็นคนแรก
จดหมายของนีน เก็บรักษาไว้ที่หอจดหมายเหตุของกระทรวงเวทมนตร์นอร์เวย์
โอลาฟที่รัก
เป็นไงบ้าง ฉันสบายดี แม้ว่ากันฮิลด้าจะเป็นโรคอีสุกอีใสมังกรนิดหน่อยก็ตาม
เราเล่นเกมควิชดิชกันสนุกมากเมื่อคืนวันเสาร์ แม้ว่ากันฮิลด้าที่น่าสงสารจะเล่นเป็นแคตเซอร์ไม่ได้ และเราต้องให้ราดอล์ฟ ช่างตีเหล็กเป็นแทน ทีมจากอิลกลีเล่นได้ดีแต่ไม่ใช่คู่ปรับที่สมน้ำสมเนื้อกับทีมของเราหรอก เพราะเราซ้อมหนักมาตลอดเดือนและทำคะแนนได้ถึง 42 หนแน่ะ ราดอล์ฟถูกลูกบลัดเดร์ฟาดหัวเอาเพราะตาแก่อุกก้าใช้กระบองได้ไม่เร็วพอ ถังไม้ที่ใช้ทำแต้มแบบใหม่นี้ใช้ได้ดีทีเดียว เราแขวนถังไม้ไว้ 3 ใบที่ปลายเสาสูง อูน่าจากโรงแรมเป็นคนให้ถังพวกนี้กับเรา เธอยังให้พวกเรากินเหล้ามี้ดได้ฟรีตลอดคืนเลยด้วยแหละเพราะพวกเราชนะ กันฮิลด้ายัวะนิดหน่อยที่ฉันกลับบ้านดึกมาก ฉันต้องมุดหลบคาถาร้ายๆตั้งหลายคาถา แต่ยังไงๆฉันก็ได้นิ้วมือกลับคืนมาครบแล้วละตอนนี้
ฉันส่งจดหมายนี้มากับนกฮูกตัวดีที่สุดที่ฉันมี หวังว่ามันคงส่งได้สำเร็จนะ
จากญาติของนาย
กู๊ดวิน
ตอนนี้เราเห็นว่ากีฬาควิชดิชได้พัฒนาก้าวหน้าไปมากเพียงใดในช่วง 1 ศตวรรษ ภรรยาของกู๊ดวินควรมีหน้าที่เล่นเป็น แคตเชอร์ คำนี้หน้าจะเป็นศัพท์เก่าที่หมายถึงเชสเซอร์ ลูกบลัดเดอร์ ( ไม่ต้องสงสัยเลยคือลูกบลัดเจอร์นั่นเอง ) ที่ชนราดอล์ฟช่างเหล็กน่าจะถูกอุกก้าปัดออกไป เห็นได้ชัดๆว่าอุกก้าเล่นเป็นบีตเตอร์เพราะถือกระบอง ต้นไม้ไม่ใช่ประตูอีกต่อไปแล้ว แต่เป็นถังไม้ที่แขวนไว้บนปลายเสาสูง อย่างไรก็ตาม องค์ประกอบสำคัญมากอย่างหนึ่งในการเล่นนี้ยังขาดหายไป นั่นคือ ลูกสนิชสีทอง ลูกบอลลูกที่ 4 ในเกมควิชดิชยังไม่ปรากฏโฉมในเกมนี้จนถึงกลางคริสต์ศวรรษที่ 13 และเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของเกมด้วยวิธีการประหลาดมากทีเดียว
บทที่ 4 ลูกสนิชสีทองปรากฏโฉม
นับแต่ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 12 เรื่อยมา การล่านกสนิดเจ็ต(ปัจจุบันเป็นนกที่ได้รับการคุ้มครอง)เป็นกีฬาที่นิยมมมากในหมู่พ่อมดแม่มด เนื่องจากนกสนิดเจ็ตมีขนาดเล็กจิ๋ว ทั้งบินได้คล่องแคล่วว่องไวมากและเก่งเป็นเยี่ยมเรื่องหลบหลีกสัตว์ที่ไล่ล่ามันเป็นอาหาร พ่อมดแม่มดที่จับนกนี้ได้จึงมีชื่อเสียงเป็นที่นับถือยิ่งนัก
การล่านกสนิดเจ็ตเป็นสิ่งที่น่าประณามในหลายกรณีด้วยกัน พ่อมดที่มีความคิดคนไหนก็ตามคงต้องสลดใจกับการอ้างกีฬามาทำลายนกตัวน้อยๆที่รักสงบเช่นนี้ ยิ่งไปกว่านั้น การล่านกสนิดเจ็ตซึ่งมักทำกันกลางแจ้งตอนกลางวัน ทำให้พวกมักเกิ้ลมีโอกาสเห็นไม้กวาดบินได้ยิ่งกว่าการไล่ล่าสัตว์อื่นๆทั้งหลาย อย่างไรก็ตาม สภาพ่อมดแม่มดในสมัยนั้นไม่สามารถลดทอนความนิยมไล่ล่านกสนิดเจ็ตลงได้เลยและที่จริง ดูเหมือนว่าสภาเองก็ไม่เห็นว่าการล่านี้จะผิดร้ายกาจตรงไหน
ในที่สุดการล่านกสนิดเจ็ตมาเกี่ยวโยงกับการเล่นควิดดิชเมื่อค.ศ.1296 ครั้งที่บาร์เบรียส แบรกกี้ ประธานของสภาพ่อมดมาร่วมชมการแข่งขันควิดดิชด้วย และนำนกสนิดเจ็ตซึ่งถูกขังอยู่ในกรงมาที่การแข่งขัน และประกาศแก่ผู้เล่นที่ชุมนุมกันในสนามว่า เขาจะให้เงินจำนวน หนึ่งร้อยห้าสิบเกลเลียน เป็นรางวัลสำหรับผู้เล่นที่จับนกสนิดเจ็ตได้ระหว่างการแข่งขัน ซึ่งทำให้ผู้เล่นทั้งหมดต่างมุ่งที่จะไล่ล่านกสนิดเจ็ต ก่อให้เกิดความสับสนวุ่นวายเป็นอันมาก
นับจากนั้นเป็นต้นมา นกสนิดเจ็ตสีทองก็ถูกปล่อยออกมาในการแข่งขันควิดดิชทุกครั้ง ผู้เล่นหนึ่งคนในแต่ละทีม(ฮันเตอร์)มีหน้าที่เดียวคือไล่จับนกให้ได้ เมื่อนกถูกฆ่าเกมก็ยุติ และทีมของฮันเตอร์ได้หนึ่งน้อยห้าสิบแต้มเพิ่มขึ้นมาเป็นพิเศษ(เพื่อระลึกถึงเงินจำนวน 150 เกลเลียนที่ประธานแบรกกี้เคยสัญญาไว้
อย่างไรก็ตาม ประมาณกลางศตวรรษต่อมา นกสนิดเจ็ตสีทองลดจำนวนลงมาก จนกระทั่งสภาพ่อมดต้องประกาศให้เป็นสัตว์คุ้มครอง และห้ามทั้งฆ่าหรือใช้นกนี้ในเกมควิดดิชด้วย
ต้องยกความดีให้แก่พ่อมดชื่อโบมัน ไรต์ แห่งกอดดริกส์ ฮอลโลว์ ในการประดิษฐ์ลูกสนิชสีทอง มาใช้ในกีฬาควิดดิชแทนนกสนิดเจ็ต ไรต์ซึ่งเป็นนักเสกเป่าโลหะที่ชำนาญ กลับมาตั้งเป้าหมายกับตนเองว่า เขาจะประดิษฐ์ลูกบอลที่เลี ยนแบบพฤติกรรมนกสนิดเจ็ตให้ได้ ไรต์ เรียกประดิษฐกรรมของเขาว่า สนิชสีทอง มันเป็นลูกบอลขนาดเท่าลูกวอลนัต มีน้ำหนักเท่านกสนิดเจ็ตพอดิบพอดี ปีกเงินทั้งสองข้างมีข้อต่อที่หมุนได้รอบเหมือนนกสนิดเจ็ต ทำให้ลูกบอลนี้เปลี่ยนทิศทางได้รวดเร็วดังสายฟ้า ทั้งเทียงตรง แม่นยำ เหมือนนกต้นแบบจริงๆ อย่างไรก็ตาม ลูกบอลนี้ถูกลงคาถาให้คงอยู่ในขอบเขตของสนามเสมอ อาจกล่าวได้ว่า การนำสนิชสีทองเข้ามาใช้ ทำให้กระบวนการพัฒนากีฬาควิดดิชซึ่งเริ่มมาเมื่อสามร้อยปีก่อนที่หนองน้ำเควียดิชสำเร็จเรียบร้อย และกีฬาควิดดิชได้ถือกำเนิดขึ้นมาอย่างแท้จริงแล้ว
บทที่ 5 การเตรียมตัวสกัดกั้นพวกมักเกิ้ล
ใน ค.ศ.1398 พ่อมดชื่อ แซกคาเรียส มัมส์ ได้ลงมือเขียนคำอธิบายที่สมบูรณ์เกี่ยวกับกีฬาควิดดิชเป็นครั้งแรก เขาเริ่มต้นโดยเน้นความจำเป็นที่ต้องมีการรักษาความปลอดภัยจากพวกมักเกิ้ลระหว่างการแข่งขัน 'เลือกบริเวณทุ่งในที่ราบสูงที่เปลี่ยวๆ ให้ไกลจากที่อยู่ของมักเกิ้ล และให้แน่ใจว่าจะไม่มีใครเห็นเวลาที่บินขึ้นไปบนไม้กวาดแล้ว คาถาสกัดมักเกิ้ลมีประโยชน์ถ้าต้องการจัดตั้งสนามถาวร ขอแนะนำให้เล่นแต่ตอนกลางคืนด้วย'
เราพอสรุปได้ว่าคำแนะนำที่ดีเยี่ยมของมัมส์ไม่ได้มีคนทำตามเสมอไป เพราะเมื่อ ค.ศ.1362 สภาพ่อมดต้องประกาศว่าการแข่งขันควิดดิชใดๆในเขตห้าสิบไมล์รอบๆเมืองนั้นผิดกฎหมาย เห็นได้ชัดว่ากีฬานี้เป็นที่นิยมแพร่หลายอย่างรวดเร็ว เพราะพอถึง ค.ศ.1368 สภาฯพบว่าจำเป็นต้องแก้ไขข้อห้ามนี้ และประกาศว่าการเล่นควิดดิชภายในเขตร้อยไมล์รอบเมืองนั้นผิดกฎหมาย ใน ค.ศ.1419 สภาฯได้ออกกฎหมายฉบับหนึ่งที่ขึ้นชื่อมากเรื่องการใช้คำได้เยี่ยมยอด กฎหมายนี้ระบุว่า ไม่ควรเล่นควิดดิช 'ที่ไหนก็ตามที่อยู่ใกล้สถานที่ซึ่งแม้จะมีโอกาสเพียงน้อยนิดที่มักเกิ้ลคนหนึ่งอาจมองเห็นได้ หรือมิฉะนั้นเราจะได้เห็นกันว่าคุณจะเล่นได้เก่งเพียงใดเมื่อถูกล่ามโซ่โยงไว้กับกำแพงคุกใต้ดิน'
ดังเช่นที่พ่อมดวัยเรียนทุกคนรู้ดี ข้อเท็จจริงที่ว่าเราบินได้ด้วยไม้กวาดน่าจะเป็นความลับของพ่อมดแม่มดที่เก็บรักษาไว้ได้แย่ที่สุด ไม่มีรูปวาดแม่มดของพวกมักเกิ้ลรูปไหนจะถือว่าสมบูรณ์ถ้าปราศจากไม้กวาด และแม้ว่ารูปวาดนั้นจะน่าหัวเราะเยาะแค่ไหนก็ตาม (เพราะว่าไม่มีไม้กวาดอันไหนเลยที่พวกมักเกิ้ลวาดจะลอยนิ่งอยู่ในอากาศได้สักหนึ่งนาที) รูปเหล่านี้เตือนใจเราว่าพวกเรานั้นทำอะไรสะเพร่ามาหลายศตวรรษแล้ว ฉะนั้นจึงไม่ต้องประหลาดใจเลยที่ว่า ไม้กวาดกับเวทมนตร์จะเป็นสิ่งที่เชื่อมโยงเกี่ยวพันกันจนแยกจากกันไม่ออกในความคิดของมักเกิ้ล
มาตรการการรักษาความปลอดภัยที่ดีพอไม่ได้บังคับใช้จนกระทั่ง บทบัญญัตินานาชาติเกี่ยวกับความลับของพ่อมด ค.ศ.1692 ออกมากำหนดให้กระทรวงเวทมนตร์ทุกแห่งรับผิดชอบโดยตรงกับผลใดๆ ก็ตามที่เกิดจากการเล่นกีฬาเวทมนตร์ในอาณาเขตของตน กฎหมายนี้มีผลให้ในเกาะบริเจนมีการตั้งกองควบคุมดูแลเกมและกีฬาเวทมนตร์ขึ้นนับแต่นั้นมา ทีมควิดดิชทีมใดที่ไม่ปฏิบัติตามคำแนะนำของกระทรวงจะถูกบังคับให้ยุบเลิกทีม ตัวอย่างที่รู้กันดี คือทีมแบนโชลี่ แบงเกอส์ ของสกอตแลนด์ ที่ไม่ใช่มีชื่อเสียงเลื่องลือแค่เรื่องเล่นควิดดิชไม่เอาไหนเลยเท่านั้น ยังขึ้นชื่อเสียงเรื่องการจัดงานปาร์ตี้หลังการแข่งขันอีกด้วย หลังจกาแข่งขัน ค.ศ.1814 กับทีมแอปเปิ้ลบี้ แอร์โรว์สแล้ว (ดูบทที่ 7) พวกแบงเกอส์ไม่เพียงแต่ปล่อยให้ลูกบลัดเจอร์เหาะหนีไปในคืนนั้น พวกเขายังออกไล่ล่ามังกรพันธุ์เฮบริเดียนสีดำมาเป็นสัญลักษณ์นำโชคประจำทีมอีกด้วย ตัวแทนจากกระทรวงเวทมนตร์หลายคนไล่จับพวกเขาได้ขณะกำลังบินข้ามเมืองอินเวอร์เนส และหลังจากนั้นทีมแบนโชลี่แบงเกอส์ก็ไม่เคยได้เล่นอีกเลย
ปัจจุบันนี้ ทีมควิดดิชไม่ได้เล่นในท้องถิ่นของตนเองอีกต่อไปแล้ว ทุมทีมต้องเดินทางไปเล่นตามสนามต่างๆที่กองควบคุมดูแลเกมและกีฬาเวทมนตร์กำหนดไว้ ที่นั่นจะมีมาตรการรักษาความปลอดภัยสกัดมักเกิ้ลไว้อย่างเหมาะสม ดังเช่นที่แซกคาเรียส มัมส์แนะนำไว้อย่างถูกต้องเมื่อหกร้อยปีก่อนว่า สนามควิดดิชที่ปลอดภัยที่สุดเป็นทุ่งในที่ราบสูงที่อยู่ห่างไกล
บทที่ 6 การเปลี่ยนแปลงในกีฬาควิดดิชตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 14
สนาม
แซกคาเรียส มัมส์ บรรยายสภาพสนามในคริสต์ศตวรรษที่ 14 ว่าเป็นรูปไข่ ยาวห้าร้อยฟุตและกว้างหนึ่งร้อยแปดสิบฟุต มีวงกลมเล็กๆ ตรงกลาง (เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณสองฟุต) มัมส์เล่าว่ากรรมการ (หรือที่เรียกกันในเวลานั้นว่าควีจัดจ์) ถือลูกบอลสี่ลูกในวงกลมตรงกลางนี้โดยที่มีผู้เล่นสิบสี่ คนยืนอยู่รอบๆ ทันทีที่ลูกบอลถูกปล่อยลอยไป (กรรมการขว้างลูกควัฟเฟิล ดูเรื่อง ควัฟ-เฟิล ที่อยู่ถัดไป) ผู้เล่นจะแข่งกันบินขึ้นไปในอากาศ ในสมัย อากาศ ในสมัยของมัมส์ ประตูนั้นยังคงเป็นตะกร้าใบใหญ่แขวนบนเสาสูง
เมื่อ ค.ศ. 1620 ควินตัส อัมฟราวิลล์ เขียนหนังสือเรื่อง กีฬาชั้นสูงของผู้วิเศษ มีภาพแผนผังสนามในคริสต์ศตวรรษที่ 17 รวมอยู่ด้วย เราจะเห็นว่า มีการเพิ่มสิ่งที่เรารู้จักกันว่าเป็น 'เขตทำคะแนน' (ดูเรื่อง กติกา ในตอนต่อไป) ตะกร้าที่บนยอดเสานั้นเล็กและอยู่สูงกว่าในสมัยของมัมส์
พอถึง ค.ศ. 1883 เลิกใช้ตะกร้าในการทำคะแนน และเปลี่ยนมาใช้เสาประตูดังเช่นที่ใช้กันทุกวันนี้ มีรายงานเรื่องประดิษฐกรรมใหม่นี้ในหนังสือพิมพ์ เดลี่พรอเฟ็ต สมัยนั้น สนามควิดดิชไม่มีการเปลี่ยนแปลงอีกต่อไปนับตั้งแต่นั้นมา
เอาตะกร้าของเราคืนมา!
นี่เป็นเสียงร้องที่ได้ยินจากแฟนๆควิดดิชทั่วประเทศเมื่อคืนวานนี้ เมื่อเป็นที่แน่ชัดแล้วว่ากองควบคุมดูแลเกมและกีฬาเวทมนตร์ ตัดสินให้เผาตะกร้าที่ใช้เป็นประตูเกมควิดดิชนับเป็นร้อยๆปีทิ้งไป
'เราไม่ได้เผาตะกร้าเสียหน่อย อย่าพูดให้มันเกินจริงไปสิ' ผู้แทนกองฯที่มีสีหน้าหงุดหงิดเอ่ยเมื่อคืนวานนี้ เมื่อเขาถูกขอร้องให้ออกความเห็น 'ตะกร้าน่ะ ก็อย่างที่พวกคุณเห็นมีตั้งหลายขนาด เราเห็นว่าเป็นไปไม่ได้เลยที่จะทำให้ตะกร้ามีขนาดเท่าๆกัน เพื่อให้เสาประตูทั่วประเทศเท่าๆกันด้วย พวกคุณก้น่าจะเห็นชัดๆว่าเป็นเรื่องของความยุติธรรมนะคุณ ผมหมายความว่า มีทีมหนึ่งที่อยู่ใกล้เมืองบาร์นต้น พวกเขามีตะกร้าใบเล็กกระจิ๋วแขวนไว้บนเสาทีมฝ่ายตรงข้าม ตะกร้าน่ะเล็กจนกระทั่งคุณโยนลูกองุ่นไม่ลง และที่บนเสาฝ่ายตัวเองก็แขวนตะกร้าหวายใหญ่เหมือนปากถ้ำแกว่งไปมา มันไม่ถูกต้องเลย เราถึงตกลงให้เป็นห่วงที่มีขนาดมาตรฐานกำหนดแน่นอน แล้วเป็นอันจบเรื่องทุกอย่าง คราวนี้ก็เรียบร้อยและยุติธรรม'
มาถึงตอนนี้ ผู้แทนของกองฯถูกแฟนควิดดิชที่ชุมนุมกันอยู่ในห้องประชุมขว้างตะกร้าใส่มากมายเหมือนลูกเห็บตก ถึงต้องหลบฉากไปก่อน แม้ว่าการจลาจลที่เกิดตามมาจะถูกกล่าวหาว่าเป็นฝีมือของพวกก๊อบลินนักก่อความวุ่นวาย แต่ไม่ต้องสงสัยเลยว่าแฟนควิดดิชทั่วเกาะบริเตนคืนนี้ ต่างก็เศร้าโศกเสียใจกับจุดจบของกีฬาที่เรารู้จัก
'มันม่ายเหมือนเดิมหรอก ไม่มีตะกร้าเนี่ย' พ่อมดแก่แก้มห้อยย้อยเหมือนลูกแอปเปิ้ลพูดยานคางอย่างเศร้าใจ 'ตาจำได้เมื่อตาเด็กๆ เราเผาตะกร้ากันระหว่างเกมให้ได้หัวร่อกันบ้าง แล้วจะทำอย่างนั้นกับประตูที่เป็นห่วงเหล็กไม่ได้หรอก เฮ้ออออ... หมดสนุกไปตั้งครึ่ง'
เดลี่พรอเฟ็ต
วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 1883
ลูกบอล
ควัฟเฟิล
เรารู้จากบันทึกของเกอร์ตี้ เค็ดเดิล ว่าลูกควัฟเฟิลในยุคแรกนั้นทำจากหนัง ในบรรดาลูกบอลทั้งสี่ลูกใน เกมควิดดิช ควัฟเฟิลเป็นลูกบอลเดียวที่ไม่ได้ลงคาถาไว้ตั้งแต่ต้น เป็นเพียงลูกบอลที่ทำจากแผ่นหนังเย็บปะติดปะต่อกัน ส่วนมากมักมีสายหนังยื่น มาให้จับและขว้างได้ด้วยมือเดียว ลูกควัฟเฟิลสมัยโบราณมีรูให้สอดนิ้วเข้าไปได้ อย่างไรก็ตาม เมื่อพบคาถาเกาะติดใน ค.ศ.1875 สายหนังและรูนิ้ว มือก็ไม่จำเป็นอีกต่อไป ในเมื่อเชสเซอร์สามารถใช้มือข้างเดียวก็จับลูกหนังที่ลงคาถาได้โดยไม่ต้องมีเครื่องช่วยอื่นๆ
ควัฟเฟิลปัจจุบันมีเส้นผ่าศูนย์ กลางสิบสองนิ้ว และไม่มีตะเข็บเลย ตอนแรกในการแข่งขันฤดูหนาวปี ค.ศ.1711 ลูกควัฟเฟิลมีสีแดง หลังจากที่ฝนตกหนักมากทำให้สีของควัฟเฟิล ไม่ต่างจากสีโคลนในสนามทุกครั้งที่มันตกลงไป นอกจากนี้ พวกเชสเซอร์ยังหงุดหงิดมากที่ต้องบินดิ่งลงไปยังพื้นสนามอยู่เรื่อยๆ เพื่อเก็บลูก ควัฟเฟิลกลับมาทุกครั้งที่ลูกควัฟเฟิลเปลี่ยนสี แม่มดชื่อ เดซี่ เพนนีโฟลด์ ก็เกิดความคิดเสกควัฟเฟิลว่า ถ้ามันตก ให้ค่อยๆ ตกลงไปที่พื้นเหมือน กับว่ามันกำลังจมลงไปในน้ำ หมายความว่าเชสเซอร์สามารถบินลงไปคว้าควัฟเฟิลที่ตกมาได้กลางอากาศ 'ควัฟเฟิลเพนนีโฟลด์' ยังคงใช้กันอยู่จน ทุกวันนี้
บลัดเจอร์
ในสมัยแรก อย่างที่เรารู้กัน บลัดเจอร์ (หรือบลัดเดอร์) คือก้อนหินบิน และในยุคของมัมส์ก็พัฒนาเป็นหินที่เกลาให้เป็นรูปลูกบอล อย่างไรก็ตาม บลัดเจอร์หินนี้มีข้อเสียที่สำคัญมากคือ มันแตกได้ถ้ามีบีตเตอร์ตีด้วยไม้ที่เพิ่มพลังเวทมนตร์ซึ่งประดิษฐ์ในคริสต์ศตวรรษที่ 15 ถ้าเป็นเช่นนี้ ผู้เล่นทุก คนต่างก็ต้องถูกก้อนกรวดบินไล่ตามตลอดเกมการแข่งขัน
คงจะเป็นด้วยเหตุผลนี้เอง ต้นศตวรรษที่ 16 ทีมควิดดิชบางทีจึงเริ่มทดลองใช้ลูกบลัดเจอร์ทำจากโลหะแทน อากาธา ชับบ์ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับ ประดิษฐกรรมเวทมนตร์โบราณพบลูกบลัดเจอร์ทำด้วยตะกั่วไม่น้อยกว่าสิบสองลูกที่มีอายุเก่าแก่ตั้งแต่ยุคนั้น โดยพบทั้งในหนองถ่านหินของ ไอร์แลนด์ และที่หนองน้ำในประเทศอังกฤษ เธอเขียนไว้ว่า 'ไม่ต้องสงสัยเลยว่าพวกนี้คือลูกบลัด-เจอร์ มันไม่ใช่ลูกปืนใหญ่แน่นอน'
เราเห็นรอยมากจางๆ บนไม้ตีที่เพิ่มพลังด้วยเวทมนตร์ และเรายังเห็นร่องรอยที่เป็นเครื่องหมายบอกว่าผลิตโดยพ่อมดได้ชัดเจน (ตรงข้ามกับของที่ผลิตโดยมักเกิ้ล) คือ เส้นนั้นราบเรียบและมีส่วนสัดรับกันอย่างสมบูรณ์ ร่องรอยสุดท้ายคือลูกตะกั่วเหล่านี้ทุกลูกบินหวือรอบๆ ห้องทำงานของข้าพเจ้า และพยายามพุ่งชนข้าพเจ้าให้ล้มกระแทกพื้นทันทีที่ปล่อยมันออกมาจากกล่อง
ในที่สุดพบว่าตะกั่วนั้นก็ยังอ่อนเกินไปที่จะใช้ ผลิตบลัดเจอร์ (รอยบุบเบี้ยวใดๆ ที่ปรากฏอยู่บนบลัดเจอร์มีผลกระทบต่อความสามารถในการบินให้ตรงของบลัดเจอร์) ปัจจุบันนี้ บลัดเจอร์ทุกลูกทำด้วยเหล็ก มีเส้นผ่าศูนย์กลางยาวสิบนิ้ว
บลัดเจอร์ถูกเสกให้ไล่ตามผู้เล่นโดยไม่แยกแยะ ถ้าปล่อยให้บลัดเจอร์เป็นไปตามธรรม-ชาติของมัน บลัดเจอร์จะบุกใส่ผู้เล่นที่อยู่ใกล้มันที่สุด ดังนั้น จึงเป็นหน้าที่ของบีตเตอร์ที่จะหวดไล่บลัดเจอร์ไปให้ไกลจากทีมมากที่สุดเท่าที่จะทำได้
ลูกโกลเด้นสนิช
ลูกสนิชสีทองมีขนาดเท่าลูกวอลนัต เช่นเดียวกับนกสนิดเจ็ต ลูกสนิชสีทองถูกเสกให้หนีการไล่จับให้นานที่สุดเท่าที่จะทำได้ มีเรื่องเล่ากันว่าลูกสนิชสี ทองลูกหนึ่งหนีการไล่จับอยู่นานถึงหกเดือนที่ทุ่งโบ๊ดมินมัวร์ ใน ค.ศ.1884 ในที่สุด ทั้งสองทีมต่างยอมแพ้ เพราะรู้สึกเบื่อหน่ายกับความไม่เอาไหน ของซีกเกอร์ฝ่ายตน พ่อมดจากแคว้นคอร์นวอลที่คุ้นเคยกับบริเวณดังกล่าวยืนยันมาจนทุกวันนี้ว่า ลูกสนิชยังคงมีชีวิตอยู่ในทุ่งที่ราบสูงนั้น แต่ ข้าพเจ้าเองไม่สามารถหาหลักฐานมายืนยันได้ว่าเรื่องนี้เป็นความจริง
ผู้เล่น
คีปเปอร์
ตำแหน่งคีปเปอร์มีมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 13 อย่างแน่นอน (ดูบทที่ 4) แม้ว่าหน้าที่จะเปลี่ยนไปจากสมัยนั้นก็ตาม
ตามที่แซกคาเรียส มัมส์ เล่าไว้ คีปเปอร์...
...ควรเป็นคนแรกที่ไปถึงตะกร้าที่เสาประตู เพราะเป็นหน้าที่ของเขาที่จะป้องกันไม่ให้ลูกควัฟเฟิลเข้าไปในตะกร้า คีปเปอร์ควรระวังตัวไม่ให้บินเข้าไป ทางปลายสนามอีกด้านเกินไปเพราะว่าตะกร้าของเขาอาจถูกอีกฝ่ายบุกทำแต้มได้ในช่วงที่เขาไม่อยู่ใกล้ อย่างไรก็ตามคีปเปอร์ที่บินได้เร็วอาจสามารถ ทำคะแนนให้ทีมของตนได้ และยังสามารถบินกลับไปที่ตะกร้าได้ทันเวลาที่จะป้องกันทีมคู่ต่อสู้ไม่ให้ทำแต้มเสมอได้ นี่เป็นเรื่องความรู้สึกรับผิดชอบส่วน ตัวของคีปเปอร์แต่ละคน
จากข้อความข้างต้นนี้เห็นได้ชัดว่าในสมัยของมัมส์ คีปเปอร์ทำหน้าที่เหมือนเชสเซอร์แต่มีความรับผิดชอบพิเศษเพิ่มเติม พวกเขาได้รับอนุญาตให้บิน ไปได้ทั่วสนามและทำคะแนนได้ด้วย
แต่เมื่อถึงสมัยที่ควินตัส อัมฟราวิลล์ เขียนเรื่อง กีฬาชั้นสูงของผู้วิเศษ เมื่อ ค.ศ.1620 หน้าที่ของคีปเปอร์ง่ายขึ้น มีการเพิ่มเขตทำคะแนนเข้ามาใน สนาม และกำหนดให้คีปเปอร์อยู่ในบริเวณดังกล่าว คอยป้องกันตะกร้าของตน คีปเปอร์จะบินออกมาจากบริเวณนั้นได้ในกรณีที่ต้องการข่มขวัญ เชสเซอร์ฝ่ายตรงข้าม หรือผลักดันให้เชสเซอร์บินหลบหลีกไปตั้งแต่เนิ่นๆ
บีตเตอร์
ในช่วงหลายร้อยปีที่ผ่านมา หน้าที่ของบีตเตอร์เปลี่ยนแปลงไปเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ตำแหน่งของบีตเตอร์นี้น่าจะมีมาตั้งแต่เมื่อนำลูกบลัดเจอร์เข้ามาเล่นด้วย หน้าที่แรกของบีตเตอร์คือป้องกันสมาชิกจากลูกบลัดเจอร์ โดยมีไม้ตีเป็นเครื่องช่วย (ตอนแรกนั้นใช้กระบอง ให้ดูจดหมายของกู๊ดวิน นีน ในบทที่ 3) พวกบีตเตอร์ไม่เคยเป็นผู้ทำประตูเลย และไม่เคยมีหลักฐานบ่งบอกว่าพวกเขาเคยรับส่งลูกควัฟเฟิลด้วย
ผู้ที่เป็นบีตเตอร์นั้น ร่างกายต้องแข็งแรงมากเพื่อจัดการขับไล่ลูกบลัดเจอร์ให้ได้ อาจเป็นด้วยเหตุนี้ พวกพ่อมดจึงจับจองเล่นตำแหน่งนี้มากกว่าแม่มด และมากกว่าตำแหน่งอื่นๆ ในควิดดิช บีตเตอร์ยังต้องมีความสามารถเรื่องการเลี้ยงตัวอย่างดีเยี่ยมด้วย เพราะว่าหลายหนทีเดียวที่พวกเขาจำเป็น ต้องปล่อยมือทั้งสองจากไม้กวาด เพื่อจะได้ฟาดลูกบลัดเจอร์ได้ด้วยท่าบุกสองมือ
เชสเซอร์
เชสเซอร์เป็นตำแหน่งที่เก่าแก่ที่สุดในกีฬาควิดดิช เพราะเกมนี้ครั้งหนึ่งมีแต่การเล่นทำคะแนนให้ได้ เชสเซอร์ขว้างควัฟเฟิลไปให้ผู้เล่นอื่นๆในทีมเดียวกัน และจะได้สิบแต้มทุกครั้งที่ปาลูกควัฟเฟิล ผ่านลงห่วงประตูห่วงใดห่วงหนึ่
การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญอย่างเดียวในการเล่นของเชสเซอร์เกิดขึ้นเมื่อ ค.ศ.1884 หนึ่งปีหลังจากที่มีการใช้ห่วงประตูแทนตะกร้า กติกาใหม่ที่นำมาใช้ กำหนดว่าเฉพาะเชสเซอร์ที่ถือลูกควัฟเฟิลเท่านั้นที่มีสิทธิ์เข้าไปในเขตทำคะแนน ถ้ามีเชสเซอร์มากไปกว่าหนึ่งคนเข้าไปในเขตดังกล่าว ให้ถือว่าประตูที่ทำได้เป็นโมฆะไป กติกาข้อนี้ตั้งขึ้นมาเพื่อยกเลิกกลยุทธ์การเล่นแบบ 'สตูจิ้ง' (ดูเรื่อง 'การเล่นผิดกติกา' ที่อยู่ต่อจากนี้) การเล่นแบบนี้เชสเซอร์สองคนจะเข้าไปในเขตทำคะแนนและช่วยกันกระแทกคีปเปอร์ให้กระเด็นออกไป ทั้งให้บริเวณห่วงทำคะแนนนั้นว่างไม่มีคนรักษา เป็นโอกาสให้เชสเซอร์คนที่สามทำแต้มได้ หนังสือพิมพ์ เดลี่พรอเฟ็ต ที่ออกช่วงนั้นรายงานปฏิกิริยาต่อต้านกติกาใหม่นี้
เชสเซอร์ของเราไม่ได้โกง
คืนวานนี้แฟนควิดดิชมีอาการตกตะลึงมึนงงไปทั่วเกาะบริเตน เมื่อกองควบคุมดูแลเกมและกีฬาเวทมนตร์ประกาศว่า การเล่นแบบ 'สตูจิ้ง' นั้นผิดกติกา
'การเล่นแบบสตูจิ้งเพิ่มขึ้นทุกที' ผู้แทนของกองฯที่ดูอ่อนเพลียแถลงเมื่อคืนวาน 'เรารู้สึกว่ากติกาใหม่นี้จะช่วยลดการบาดเจ็บร้ายแรงของคีปเปอร์ที่เราเห็นอยู่เรื่อยๆนี้เสียที ตั้งแต่นี้ต่อไป เชสเซอร์คนเดียวจะพยายามเอาชนะคีปเปอร์แทนที่จะเป็นเชสเซอร์สามคนรุมคีปเปอร์คนเดียวอย่างแต่ก่อน ต่อไปนี้ทุกอย่างจะสะอาดขึ้นและยุติธรรมขึ้นด้วย'
ถึงตอนนี้ผู้แทนของกองฯก็ต้องล่าถอยเพราะฝูงชนที่โกรธจัดเริ่มกระหน่ำปาลูกควัฟเฟิลเข้าใส่ ฝูงชนขู่ว่าพวกเขาจะจัดการ'สตูจิ้ง'รัฐมนตรีกระทรวงเวทมนตร์เองด้วย แต่พ่อมดจากกองบังคับใช้กฎหมายเวทมนตร์มาถึงและขับไล่ฝูงชนเล่านี้ให้แตกกระเจิงไป
พ่อมดอายุหกขวบหน้าตกกระผละออกไปจากห้องประชุม น้ำตานองหน้า
'ผมรักสตูจิ้ง' พ่อหนูสะอื้นบอกกับเดลี่พรอเฟ็ต 'ผมกับพ่อชอบดูคีปเปอร์แบบแต๊ดแต๋ ผมไม่อยากไปดูควิดดิชอีกแล้ว'
เดลี่พรอเฟ็ต
วันที่ 22 มิถุนายน ค.ศ.1884
ซีกเกอร์
ปกติแล้ว ซีกเกอร์เป็นผู้เล่นที่ตัวเบาที่สุดและบินได้เร็วที่สุด นอกจากนี้ซีกเกอร์ยังต้องมีทั้งตาที่ไวและสามารถบินได้โดยจับไม้กวาดด้วยมือเดียวหรือไม่จับเลย ตำแหน่งซีกเกอร์มีความสำคัญมากต่อผลการแข่งขันทั้งหมด เพราะบ่อยครั้งที่การจับสนิชได้ช่วยเปลี่ยนสภาพความพ่ายแพ้มาเป็นคว้าชัยชนะได้ ดังนั้นซีกเกอร์จึงเป็นเหยื่อที่ผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามจ้องจับผิดกติกาด้วยมากที่สุด เมื่อดูกันจริงๆแล้ว ชณะที่ตำแหน่งซีกเกอร์นี้มีเสน่ห์ดึงดูดใจมาก เพราะตามธรรมเนียมแล้ว พวกเขาเป็นพ่อมดที่บินเก่งที่สุดในสนาม แต่ซีกเกอร์ก็มักเป็นผู้เล่นที่ได้รับบาดเจ็บรุนแรงที่สุดด้วย 'จัดการซีกเกอร์' เป็นกฎข้อแรกในหนังสือเรื่อง คัมภีร์ของบีตเตอร์ โดย บรูตัส สคริมเจียร์
กติกา
กติกาต่อไปนี้เป็นกฎที่กองควบคุมดูแลเกมและกีฬาเวทมนตร์กำหนดไว้เมื่อมีการก่อตั้งกองขึ้นใน ค.ศ.1750
1. แม้ว่าจะไม่มีการจำกัดระดับความสูงที่ผู้เล่นจะสามารถบินขึ้นไปบนท้องฟ้าในระหว่างการแข่งขัน แต่ผู้เล่นไม่ว่าจะเป็นหญิงหรือชาย ต้องไม่บินเลย ออกไปนอกเส้นกำหนดเขตสนาม ถ้าผู้เล่นบินข้ามเส้นเขตสนามไป ทีมของผู้เล่นคนนั้นต้องยกลูกควัฟเฟิลให้ทีมฝ่ายตรงข้าม
2. กัปตันทีมสามารถขอ 'เวลานอก' ได้โดยทำสัญญาณบอกกรรมการ นี่เป็นช่วงเวลาเดียวในระหว่างการแข่งขันที่อนุญาตให้เท้าของผู้เล่นแตะพื้น สนามได้ เวลานอกอาจยืดทำให้นานถึงสองชั่วโมงถ้าการแข่งขันนั้นเล่นกันมานานกว่าสิบสองชั่วโมงแล้ว ถ้าทีมใดไม่กลับมาที่สนามภายในสองชั่วโมงให้ ตัดสิทธิ์ทีมนั้นทันที
3. กรรมการสามารถลงโทษทีมผู้เล่นได้เชสเซอร์ที่ได้ลูกโทษจะบินจากวงกลมตรงกลางไปยังเขตทำคะแนน ผู้เล่นทั้งหมด ยกเว้นคีปเปอร์ของทีมฝ่าย ตรงข้าม ต้องอยู่ข้างหลังระหว่างที่มีการขว้างลูกโทษ
4. สามารถแย่งลูกควัฟเฟิลจากมือของผู้เล่นอีกฝ่ายหนึ่งได้ แต่ห้ามผู้เล่นแตะต้องร่างกายไม่ว่าส่วนหนึ่งส่วนใดของผู้เล่นอีกฝ่าย ไม่ว่าในกรณีใดๆ
5. ในกรณีที่ผู้เล่นบาดเจ็บ ไม่ให้มีผู้เล่นสำรองมาแทน ทีมต้องเล่นต่อไปโดยไม่มีผู้เล่นที่บาดเจ็บนั้น
6. สามารถนำไม้กายสิทธิ์ติดตัวเข้าไปในสนามได้ แต่ไม่ว่ากรณีใดๆ ก็ตาม ห้ามใช้ไม้กายสิทธิ์กับผู้เล่นฝ่ายตรงข้าม ห้ามใช้กับไม้กวาดของอีกฝ่าย และห้ามใช้กับกรรมการ ลูกบอล และคนดูด้วย
7. เกมควิดดิชจะยุติได้ต่อเมื่อจับลูกสนิชสีทองได้ หรือด้วยความยินยอมพร้อมใจของกัปตันทีมทั้งสองฝ่าย
การทำผิดกติกา
แน่นอนกฎทั้งหลายก็ 'มีไว้ให้ละเมิก' รายการการทำผิดกติกาเจ็ดร้อยข้ออยู่ในบันทึกของกองควบคุมดูแลเกมและกีฬาเวทมนตร์ การทำผิดกติกาทั้งหมดเป็นที่รู้กันว่าเกิดขึ้นในการเล่นชิงชนะเลิศควิดดิชเวิลด์คัพครั้งแรก เมื่อค.ศ.1473 อย่างไรก็ตาม รายการที่เต็มรูปแบบของการทำผิดกติกานี้ไม่เคยเปิดเผยต่อสาธารณชนพ่อมดแม่มดเลย กองควบคุมฯมีทัศนะว่า พ่อมดแม่มดที่ได้เห็นรายการนี้ 'อาจเกิดความคิดที่จะนำไปใช้
ข้างเจ้าโชคดีที่มีโอกาสเห็นเอกสารข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการทำผิดกติกานี้ ระหว่างที่ค้นคว้าเตรียมเขียนหนังสือเล่มนี้ และข้ามเจ้าสามารถยืนยันได้ว่า การจัดพิมพ์เผยแพร่รายการดังหล่าวไม่มีผลดีอะไรต่อสังคมเลย นอกจากนี้ ร้อยละเก้าสิบของการทำผิดกติกานั้น จะทำไม่ได้เลยตราบเท่าที่ยังบังคับใช้กฎหมายห้ามใช้ไม้กายสิทธิ์กับทีมคู่ต่อสู้ (การห้ามนี้ออกเป็นกฎหมายเมื่อ ค.ศ.1538) ส่วนอีกร้อยละสิบที่เหลือนั้น ข้าพเจ้าบอกได้ว่าคงไม่เกิดขึ้นแม้กับผู้เล่นที่เล่นสกปรกที่สุด ยกตัวอย่างเช่น 'จุดไฟเผาปลายไม้กวาดของฝ่ายตรงข้าม' หรือ 'ฟาดไม้กวาดฝ่ายตรงข้ามด้วยกระบอง' หรือ 'โจมตีคู่ต่อสู้ด้วยขวาน' แต่ที่กล่าวมานี้ไม่ได้หมายความว่าผู้เล่นเกมควิดดิชปัจจุบันจะไม่เคยทำผิดกฎ ต่อไปนี้คือรายการการทำผิดกติกาที่พบเสมอๆสิบข้อ แถวแรกเป็นชื่ออย่างเป็นทางการ
การทำผิด ผู้ทำผิด ลักษณะของการทำผิด
แบลกกิ้ง (Blagging) ผู้เล่นทุกคน คว้าปลายไม้กวาดของฝ่ายตรงข้าม เพื่อให้บินได้ช้า หรือขัดขวางการเล่น
แบลทชิ่ง (Blatching) ผู้เล่นทุกคน ตั้งใจบินไปชนอีกฝ่ายหนึ่ง
เบลิร์ตติ้ง (Blurting) ผู้เล่นทุกคน ใช้ไม้กวาดงัดไม้กวาดฝ่ายตรงข้าม ดันให้กระเด็นออกไปนอกทาง
บัมฟิ่ง (Bumphing) เฉพาะบีตเตอร์ หวดบลัดเจอร์ไปทางคนดูทำให้ต้องหยุดการแข่งขันชั่วขณะ เพราะเจ้าหน้าที่ต้องรีบไป ดูแลปกป้องผู้ชมข้างสนาม บางทีผู้เล่นที่ไร้มารยาทใช้วิธีนี้ เพื่อป้องกันไม่ให้เชสเซอร์ฝ่ายตรงข้ามทำแต้มได้
ค้อบบิ้ง (Cobbing) ผู้เล่นทุกคน การใช้ข้อศอกอย่างรุนแรงเกินไปกับฝ่ายตรงข้าม
แฟล้กกิ้ง (Flacking) เฉพาะคีปเปอร์ ยื่นส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายผ่านห่วงประตูเข้าไปเพื่อกระแทกลูควัฟเฟิลออกจาก ห่วง คีปเปอร์มีหน้าที่ป้องกันห่วงประตูจากด้านหน้าไม่ใช่จากด้านหลัง
แฮเวอร์แซกกิ้ง (Haversacking) เฉพาะเชสเซอร์ จับลูกควัฟเฟิลเข้าประตู (ต้องโยนควัฟเฟิลทำแต้ม)
ควัฟเฟิลพอกกิ้ง (Quafflepocking) เฉพาะเชสเซอร์ ทำตุกติกกับลูกควัฟเฟิล เช่น เจาะควัฟเฟิลให้เป็นรูจะได้หล่นลงพื้นเร็วขึ้น หรือทำให้ ร่วงซิกแซกไปมา
สนิชนิป (Snitchnip) ผู้เล่นทุกคนยกเว้นซีก-เกอร์ ผู้เล่นคนอื่นๆ แตะ หรือจับลูกสนิชสีทอง
สตูจิ้ง (Stooging) เฉพาะเชสเซอร์ เชสเซอร์มากกว่าหนึ่งคนเข้าไปในเขตทำคะแนน
กรรมการ
การเป็นกรรมการในการแข่งขันควิดดิชนั้น แต่เดิมเป็นหน้าที่สำหรับพ่อมดแม่มดที่กล้าหาญที่สุดเท่านั้น แซกคาเรียส มัมส์เล่าว่ากรรมการจากนอร์ ฟอร์กคนหนึ่งชื่อ ไซเปรียน ยูเดิล ตายในการแข่งขันฉันมิตรระหว่างพ่อมดแม่มดในบริเวณนั้นเมื่อ ค.ศ. 1357 โดยไม่สามารถจับคนที่เป็นต้นตอสาป แช่งเขาได้ แต่เชื่อกันว่าเป็นหนึ่งในหมู่คนดู แม้จะไม่มีการฆาตกรรมกรรมการที่พิสูจน์ได้อีกตั้งแต่นั้นมา แต่ก็มีเหตุการณ์ทำตุกติกกับไม้กวาดของ กรรมการนับครั้งไม่ถ้วนตลอดหลายๆ ศตวรรษที่ผ่านมานี้ ที่อันตรายมากที่สุดคือการเปลี่ยนไม้กวาดของกรรมการให้เป็นกุญแจนำทาง เพื่อให้เขาหรือ เธอถูกพาตัวออกไปจากการแข่งขันทั้งๆ ที่เพิ่งแข่งไปได้ครึ่งเดียว และต้องไปโผล่ในทะเลทรายซาฮาราอีกหลายเดือนหลังจากนั้น กองควบคุมดูแล เกมและกีฬาเวทมนตร์ ได้ออกระเบียบที่เคร่งครัดเกี่ยวกับมาตรการรักษาความปลอดภัยสำหรับไม้กวาดของผู้เล่น โชคดีที่ปัจจุบันนี้เหตุการณ์ร้ายทำ นองนี้ไม่ค่อยเกิดขึ้นแล้ว
กรรมการควิดดิชที่มีประสิทธิภาพต้องเป็นยิ่งกว่าพ่อมดบินที่ช่ำชอง เขาหรือเธอต้องคอยดูกระบวนท่าเล่นพลิกแพลงของผู้เล่นทั้งสิบสี่คนพร้อมๆ กัน และผลก็คือกรรมการจะได้รับบาดเจ็บด้วยอาการคอเคล็ดอยู่เป็นประจำ ในการแข่งขันระหว่างทีมอาชีพ กรรมการจะมีผู้ช่วยคือเจ้าหน้าที่ซึ่งยืนอยู่ รอบเส้นเขตสนาม เจ้าหน้าที่เหล่านี้จะคอยดูไม่ให้ผู้เล่นคนไหนหรือลูกบอลลูกใดล้ำออกมานอกเส้น
ในเกาะบริเตน กองควบคุมดูแลเกมและกีฬาเวทมนตร์เป็นผู้คัดเลือกกรรมการควิดดิช กรรมการต้องผ่านการทดสอบการบินที่เข้มงวดมากและต้อง ผ่านการสอบข้อเขียนละเอียดยิบเรื่องกติกาควิดดิชต่างๆ นอกจากนั้น ยังต้องผ่านการทดสอบอีกมากมายหลายชุดเพื่อพิสูจน์ว่าพวกเขาจะไม่เสกคา ถาใส่ผู้เล่นที่ก้าวร้าวแม้ว่าจะอยู่ภายใต้ความกดดันรุนแรงมากเพียงใดก็ตาม
บทที่ 7 ทีมควิดดิชในเกาะบริเตนและไอร์แลนด์
ความจำเป็นที่ต้องเก็บเรื่องกีฬาควิดดิชให้เป็นความลับจากพวกมักเกิ้ล ทำให้กองควบคุมดูแลเกมและกีฬาเวทมนตร์ต้องจำกัดจำนวนการแข่งขันในแต่ละปี ในขณะที่การแข่งขันระหว่างทีมสมัครเล่นได้รับอนุญาตให้มีได้ไม่จำกัด ตราบเท่าที่การเล่นเป็นไปตามข้อแนะนำที่เหมาะสม ทีมควิดดิชอาชีพถูกจำกัดจำนวนมาตั้งแต่ค.ศ.1674 เมื่อมีการจัดตั้งควิดดิชลีกขึ้น เวลานั้นทีมควิดดิชที่ดีที่สุดสิบสามทีมในเกาะบริเตนและไอร์แลนด์ได้รับคัดเลือกให้เข้าร่วมในลีก และทีมอื่นๆนอกจากนั้นถูกขอร้องให้ยุบเลิกไป ทั้งสิบสามทีมนี้ยังคงแข่งขันชิงถ้วยลีกกันทุกๆปี
แอปเปิ้ลบี้ แอร์โรว์ส (Appleby Arrows)
ทีมจากภาคเหนือของอังกฤษทีมนี้ตั้งขึ้นเมื่อ ค.ศ.1612 เสื้อคลุมประจำทีมเป็นสีน้ำเงินอ่อน และมีตรารูปลูกธนูสีเงินประดับไว้ แฟนๆของแอร์โรว์ส เห็นพ้องต้องกันว่าช่วงเวลาแห่งความรุ่งโรจน์ของทีมคือตอนที่พวกเขาเอาชนะทีมวรัตซ่า วัลเจอส์ แชมป์หลายสมัยของยุโรปได้เมื่อ ค.ศ.1932 การ แข่งขันครั้งนั้นใช้เวลาถึงสิบหกวัน เล่นกันกลางฝนและหมอกหนาทึบ ผู้สนับสนุนสโมสรนี้มีธรรมเนียมเก่าแก่คือ ใช้ไม้กายสิทธิ์ยิงลูกธนูออกไปใน อากาศทุกครั้งที่เชสเซอร์ฝ่ายเขาทำคะแนนได้ แต่ธรรมเนียมนี้ถูกกองควบคุมดูแลเกมและกีฬาเวทมนตร์ห้ามไปใน ค.ศ.1894 เมื่อลูกธนูลูกหนึ่งแทง ทะลุจมูกของกรรมการชื่อนูเจ้นต์ พอตส์ ทีมแอร์โรว์สนี้เป็นคู่ปรับคู่อาฆาตกับทีมวิมบอร์น วอพส์มาต่อเนื่องยาวนาน (ดูเรื่องของวิมบอร์น วอพส์)
บัลลี่แคสเซิล แบตส์ (Ballycastle Bats)
ทีมควิดดิชที่มีชื่อเสียงที่สุดของไอร์แลนด์เหนือ ชนะถ้วยควิดดิชลีกนับถึงวันนี้ได้ทั้งหมดยี่สิบเจ็ดครั้ง ทำให้ทีมนี้เป็นทีมที่ประสบความสำเร็จอย่างสูงเป็นอันดับสองในประวัติศาสตร์ของลีก พวกแบตส์ใส่เสื้อคลุมสีดำมีรูปค้างคาวสีแดงเข้มที่หน้าอก สัตว์เลี้ยงประจำทีมที่มีชื่อเสียงมากคือ บาร์นี่ค้างคาวผลไม้ ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีในฐานะค้างคาวที่เล่นหนังโฆษณาบัตเตอร์เบียร์ (บาร์นี่บอกว่า 'ผมคลั่งไคล้บัตเตอร์เบียร์')
คาร์ฟิลลี่ แคททะพัลส์ (Caerphilly Catapults)
ทีมแคททะพัลส์จากแคว้นเวลส์นี้ก่อตั้งขึ้นเมื่อ ค.ศ.1402 นักกีฬาสวมเสื้อคลุมลายทางสีเขียวอ่อนสลับแดงเลือดหมู ประวัติที่เลื่องลือ ของทีมสโมสรนี้คือได้ถ้วยลีกถึงสิบแปดครั้งและชัยชนะที่มีชื่อเสียง ได้แก่ครั้งที่คว้าแชมป์ยูโรเปี้ยนคัพในปี ค.ศ. 1956 โดยเอาชนะทีมคารัสจ็อก ไคตส์ จากนอร์เวย์ได้ในการแข่งขันนัดชิงชนะเลิศ ผู้เล่นที่มีชื่อเสียงที่สุดของทีมคือ 'ได ลูเอลเลน ตัวอันตราย' เขาถูกตัวไคเมรากินระหว่างพักผ่อนที่ เกาะมิคานอส ประเทศกรีซ จากการตายของไดนี้เอง ส่งผลให้ทางการเวลส์กำหนดวันไว้อาลัยแห่งชาติ เพื่อให้พ่อมดแม่มดชาวเวลส์ทุกคนได้ระลึกถึง เขา ปัจจุบันนี้ เมื่อสิ้นสุดฤดูการแข่งขันของทุกปี จะมีการมอบเหรียญที่ระลึกถึง 'ได ตัวอันตราย' เป็นรางวัลให้แก่ผู้เล่นในควิดดิชลีกที่เล่นได้ตื่นเต้น เร้าใจและบ้าบิ่นเสี่ยงตายที่สุดในการแข่งขัน
ชัดลีย์ แคนนอนส์ (Chudley Cannons)
อาจกล่าวได้ว่าวันเวลาแห่งความรุ่งโรจน์ของทีมชัดลีย์ แคนนอนส์ ได้ผ่านเลยไปเสียแล้ว แต่สำหรับแฟนๆ ที่อุทิศตวเหนียวแน่นให้แก่ทีม นั้น พวกเขายังมีความหวังว่าทีมจะมีโอกาสกลับมาเฟื่องฟูขึ้นอีกหน ทีมแคนนอนส์ชนะเลิศถ้วยลีกถึงยี่สิบหน แต่ครั้งสุดท้ายก็นานตั้งแต่เมื่อปี ค.ศ.1892 และการเล่นของพวกเขาตลอดศตวรรษที่แล้วนั้นไม่เร้าใจเลย ผู้เล่นชัดลีย์ แคนนอนส์สวมเสื้อคลุมสีส้มสด มีตรารูปลูกปืนใหญ่กำลังพรุ่ง เร็วจี๋ ด้านหลังเป็นรูปตัวอักษร ช สีดำสองตัว คำขวัญประจำสโมสรถูกเปลี่ยนเมื่อ ค.ศ.1972 จากเดิมที่ว่า 'เราจะพิชิตแน่ๆ' มาเป็น 'หวังว่าเราจะชนะ แต่ก็สุดแล้วกรรมก็แล้วกัน'
ฟัลมัท ฟอลคอนส์ (Falmouth Falcons)
ผู้เล่นฟอลคอนส์สวมเสื้อคลุมสีเทาเข้มสลับขาว มีรูปหัวนกเหยี่ยวประดับที่หน้าอก ฟอลคอนส์ขึ้นชื่อว่าเล่นแรง ชื่อเสียงนี้ยิ่งเป็นที่เชื่อหนักแน่นมากขึ้น ด้วยฝีมือของบีตเตอร์ชื่อก้องโลกของทีมคือเควิน และคาร์ล บรอดมัวร์ ซึ่งเล่นให้สโมสรระหว่าง ค.ศ.1958 ถึง 1969 กระบวนท่าเล่นพลิกแพลง ของทั้งสองส่งผลให้กองควบคุมดูแลเกมและกีฬาเวทมนตร์ต้องสั่งให้พวกเขาพักการเล่นไม่น้อยกว่าสิบสี่หน คำขวัญของสโมสรนี้คือ 'เอาชนะให้ได้ แต่ถ้าไม่ชนะ ก็ทำให้หัวแตกหลายๆ หัว'
โฮลี่เฮด ฮาร์ปีส์ (Holyhead Harpies)
ทีมโฮลี่เฮด ฮาร์ปีส์ นี้เป็นทีมสโมสรเก่าแก่มากของแคว้นเวลส์ (ตั้งขึ้นเมื่อ ค.ศ.1203) แตกต่างจากทีมควิดดิชอื่นๆ ทั่วโลกเพราะเป็นทีมเดียวที่จ้างแต่แม่มด เสื้อคลุมของฮาร์ปี้ส์เป็นสีเขียวแก่ มีรูปเล็บสัตว์สีทองอยู่ที่หน้าอก ชัยชนะของทีมฮาร์ปีส์ต่อทีมไฮเดลเบิร์ก แฮเรียส์ เมื่อ ค.ศ.1953 เป็นที่ ยอมรับกันทั่วไปว่าเป็นการแช่งขันควิดดิชชั้นเยี่ยมเกมหนึ่งเท่าที่เคยมีการแข่งขันมา การแข่งขันครั้งนั้นใช้เวลาถึงเจ็ดวัน และยุติลงเมื่อซีกเกอร์ของ ทีมฮาร์ปีส์ คือกลินนิส กริฟฟิทส์ จับลูกสนิชได้อย่างน่าตื่นตาตื่นใจ เมื่อสิ้นสุดการแข่งขัน แฮเรียส์ รูดอลฟ์ แบรนด์ กัปตันของทีมกระทำสิ่งที่เลื่องลือ กันไปทั่ว เขากระโดดลงจากไม้กวาดและขอแต่งงานกับเกวนโดลิน มอร์แกน กัปตันทีมฝ่ายตรงข้าม แต่เธอใช้ไม้กวาดคลีนสคีปหมายเลขห้าของเธอ ฟาดหัวเขาจนหมดสติไป
เคนแมร์ เคสเตรลส์ (Kenmare Kestrels)
ทีมสโมสรไอริชนี้ตั้งขึ้นเมื่อ ค.ศ.1291 และเป็นที่นิยมชมชื่นไปทั่วโลก จากการแสดงที่องอาจของบรรดาเลเปรอคอนตัวนำโชคประจำทีม และจากการเล่นพิณที่ไพเราะมากของพวกผู้สนับสนุนทีมทั้งหลาย ทีมเคสเตรลส์สวมเสื้อคลุมสีเขียวมรกตที่หน้าอกมีตัวอักษร ค สีเหลืองสองตัวหัน หลังชนกัน ดาเรน โอแฮร์ คีปเปอร์ของเคสเตรลส์ ระหว่าง ค.ศ.1947-1960 ได้เป็นกัปตันทีมชาติไอริชสามหนและได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้ประดิษฐ์ ท่าหัวเหยี่ยวรุกฆาตสำหรับพวกเชสเซอร์ (ดูบทที่ 10)
มอนโทรส แมกไพส์ (Montrose Magpies)
ทีมแมกไพส์เป็นทีมที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในประวัติศาสตร์ควิดดิชลีกของเกาะบริเตนและไอร์แลนด์ เพราะชนะเลิศถึงสามสิบสองครั้ง ทั้งยัง เป็นแชมป์ยุโรปสองสมัย ทีมแมกไพส์จึงมีแฟนอยู่รอบโลก ผู้เล่นที่เก่งกาจของทีมมีมากมาย รวมทั้งซีกเกอร์ ยูนิส มารี่ (ถึงแก่กรรม ค.ศ.1942 ) ซึ่ง ครั้งหนึ่งเคยยื่นคำร้องขอให้ใช้ 'ลูกสนิชที่เร็วกว่านี้ เพราะว่านี่มันง่ายเกินไป' และแฮมมิช แมกฟาลัน (กัปตันช่วง ค.ศ.1957-68) ซึ่งเมื่อเลิกจากอาชีพ ควิดดิชที่ประสบความสำเร็จมากแล้วก็ไปทำงานที่มีชื่อเสียงเด่นพอๆ กันในฐานะเป็นหัวหน้ากองควบคุมดูแลเกมและกีฬาเวทมนตร์ ทีมแมกไพส์สวม เสื้อคลุมสีดำขาว มีรูปนกแมกไพหรือนกกางเขนตัวหนึ่งที่หน้าอก และอีกตัวที่ด้านหลังเสื้อ
ไพรด์ ออฟ พอร์ตทรี (Pride of Portree)
ทีมนี้มาจากเกาะสกาย ตั้งขึ้นเมื่อ ค.ศ.1292 พวกแฟนๆ เรียกผู้เล่นทีมนี้ว่า 'เดอะ ไพรดส์' พวกเขาสวมเสื้อสีม่วงเข้ม มีรูปดาวสีทองประดับที่หน้าอก เชสเซอร์ที่มีชื่อเสียงที่สุดของทีมคือ คาทรีโอน่า แมกคอร์มิก เป็นกัปตันทีมที่ชนะเลิศถ้วยลีกสองครั้งในช่วงทศวรรษปี ค.ศ.1960 และเล่นให้กับทีม ชาติสกอตแลนด์ถึงสามสิบหกครั้ง แมกันลูกสาวของเธอปัจจุบันนี้เล่นเป็นคีปเปอร์ให้กับทีมนี้ (ส่วน เคอร์ลี่ ลูกชายนั้นเป็นมือกีตาร์นำให้กับวงพ่อมด ที่เป็นที่นิยมมากคือ เดอะ เวียร์ด ซิสเตอร์ส)
พัดเดิลเมียร์ ยูไนเต็ด (Puddlemere United)
ตั้งขึ้นเมื่อ ค.ศ.1163 พัดเดิลเมียร์ ยูไนเต็ด เป็นทีมที่เก่าแก่ที่สุดในลีก พัดเดิลเมียร์ชนะเลิศถึงยี่สิบสองครั้งและมีชัยชนะได้ครองยูโรเปี้ยนคัพสอง ครั้งเป็นเกียรติประวัติของทีม เพลงประจำสโมสรมีชื่อว่า 'ตีบลัดเจอร์ไปไห้ไกลสิหนุ่มๆ แล้วโยนสุ่มลูกควัฟเฟิลมาทางนี้' เซลเลสทีน่า วอร์เบ็กแม่มด สาวนักร้องเพิ่งอัดเพลงประจำทีมนี้ไปเมื่อไม่นานมานี้เอง เพื่อขายหารายได้ให้กองทุนโรงพยาบาลวิเศษเซนต์มังโกเพื่อผู้ป่วยและบาดเจ็บ ผู้เล่นของ พัดเดิลเมียร์ สวมเสื้อคลุมสีน้ำเงินแก่ มีตราประจำสโมสรรูปหญ้าแฝกสีทองสองมัดไขว้กัน
ทัดชิล ทอร์เนโดส์ (Tutshill Tornados)
ทีมทอร์เนโดส์สวมเสื้อคลุมสีฟ้า มีตัวอักษร ท สีน้ำเงินเข้มสองตัวอยู่บนหน้าอกและข้างหลัง ทีมนี้ตั้งขึ้นเมื่อ ค.ศ.1520 แต่ช่วงเวลาแห่งความสำเร็จที่ ยิ่งใหญ่ของทีมอยู่ระหว่างต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 เมื่อซีกเกอร์ชื่อรอดดริก พลัมป์ตัน เป็นกัปตันทีมพวกเขาชนะได้ถ้วยลีกถึงห้าครั้งติดต่อกันเป็น เป็นประวัติการณ์ของทั้งเกาะบริเตนและไอร์แลนด์เลยทีเดียว รอดดริก พลัมป์ตัน เล่นเป็นซีกเกอร์ให้ทีมชาติอังกฤษยี่สิบสองครั้ง และทำสถิติใน ประวัติศาสตร์ของเกาะบริเตนโดยจับลูกสนิชได้เร็วที่สุดเท่าที่เคยมีการแข่งขันกันมา (สามวินาทีครึ่ง แข่งขันกับทีมคาร์ฟิลลี่ แคททะพัลส์ ในปี ค.ศ.1921)
วิกทาวน์ วันเดอเรอส์ (Wigtown Wanderers)
ทีมสโมสรที่ตั้งอยู่บริเวณชายแดนนี้ก่อตั้งเมื่อ ค.ศ.1422 โดยลูกๆ เจ็ดคนของพ่อมดพ่อค้าเนื้อ ชื่อวอลเตอร์ พาร์กิ้น ใครๆ พากันกล่าวว่าทีมของพี่ น้องผู้ชายสี่คนและผู้หญิงสามคนนี้เป็นทีมที่น่าเกรงขามมากและไม่ค่อยจะแพ้ใครเสียด้วย ทั้งนี้เล่ากันว่า ส่วนหนึ่งเนื่องมาจากทีมคู่ต่อสู้รู้สึกหวาดหวั่น ที่เห็นคุณพ่อวอลเตอร์ยืนอยู่ข้างสนาม มือหนึ่งถือไม้กายสิทธิ์อีกมือถือมีดปังตอแล่เนื้อ หลายศตวรรษที่ผ่านมา มีเชื้อสายของตระกูลพาร์กิ้นนี้เล่นอยู่ ในทีมวิกทาวน์เสมอๆ และเพื่อระลึกถึงจุดเริ่มต้นของทีม ผู้เล่นจึงสวมเสื้อคลุมสีแดงเหมือนเลือด มีรูปมีดปังตอสีเงินที่หน้าอก
วิมบอร์น วอพส์ (Wimbourne Wasps)
วิมบอร์น วอพส์ สวมเสื้อคลุมลายขวางสีเหลืองสลับดำ มีรูปตัวต่ออยู่บนหน้าอก ทีมนี้ตั้งขึ้นเมื่อ ค.ศ.1312 ทีมวอพส์ชนะถ้วยลีกสิบแปดครั้ง และได้ เข้ารอบรองชนะเลิศยูโรเปี้ยนคัพสองครั้ง เชื่อกันว่าพวกเขาได้ชื่อนี้มาจากเหตุการณ์ร้ายกาจซึ่งเกิดขึ้นระหว่างการแข่งขันกับทีมแอปเปิ้ลบี้ แอร์โรว์ส ในกลางคริสต์ศตวรรษที่ 17 เมื่อบีตเตอร์ของทีมบินผ่านต้นไม้ที่อยู่ริมสนาม เขาสังเกตเห็นรังตัวต่อยู่ท่ามกลางกิ่งไม้ จึงตีรังต่อนั้นไปทางซีกเกอร์ ของทีมแอร์โรว์ส ซีกเกอร์คนนั้นถูกต่อต่อยปวดแสบปวดร้อนไปทั่วตัวจนต้องออกจากการแข่งขัน วิมบอร์น จึงชนะและตั้งแต่นั้นมาก็รับเอาตัวต่อมา เป็นตรำโชคของทีม เป็นประเพณีว่าแฟนๆ ของทีมวอพส์ (รู้จักกันอีกชื่อว่า สติงเกอร์) จะทำเสียงหึ่งๆ ดังลั่นเพื่อก่อกวนสมาธิของเชสเซอร์ฝ่ายตรง ข้ามเมื่อกำลังจะโยนลูกโทษ
บทที่ 8 การแพร่กระจายของกีฬาควิดดิชไปทั่วโลก
ยุโรป
กีฬาควิดดิชตั้งหลักฐานมั่นคงในไอซ์แลนด์เมื่อราวคริสต์ศตวรรษที่ 14 พิสูจน์ได้จากบันทึกของแซกคาเรียส มัมส์ที่เล่าเรื่องการแข่งขันเมื่อ ค.ศ. 1385 ว่า ‘ทีมพ่อมดจากคอร์กบินมาแข่งถึงแลงคาเชอร์ และทำให้พ่อมดท้องถิ่นไม่พอใจมากเพราะปราบวีรบุรุษของพวกเขาเสียราบคาบ ผู้เล่นชาวไอริชได้รู้จักกลยุทธ์ต่างๆ เกี่ยวกับลูกควัฟเฟิลที่ไม่เคยเห็นมาก่อนในแลงคาเชอร์ และต้องหลบหนีออกจากหมู่บ้านเพราะกลัวเอาชีวิตไม่รอด เมื่อพวกคนดูชักไม้กายสิทธิ์ออกมาและวิ่งไล่พวกเขา’
แหล่งข้อมูลที่หลากหลายแสดงว่ากีฬานี้ได้เผยแพร่ไปยังส่วนต่างๆของยุโรปตั้งแต่ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 15 เรารู้ว่านอร์เวย์เป็นประเทศแรกๆที่รับกีฬานี้มาเล่น (เป็นไปได้ไหมว่าโอลาฟ ลูกพี่ลูกน้องของกู๊ดวิน นีน เป็นคนแรกที่นำกีฬานี้ไปเล่นที่นั่น) สืบเนื่องมาจากกวีนิพนธ์ที่ประพันธ์โดยกวี อินกลอฟ เมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 15 มีใจความว่า
ตื่นเต้นนักหนาเมื่อล่าไล่
แหวกฟ้าไปสูงลิ่วในเวหน
ลูกสนิชเหนือหัวอยู่เบื้องบน
และสายลมโบกสะบัดพัดเส้นผม
เมื่อฉันบินล่าไล่เข้าไปใกล้
ฝูงคนดูเชียร์กันให้เสียงขรม
แต่ทันใดลูกบลัดเจอร์พุ่งเข้าชน
ฉันพลันล้มสลบหมดกำลัง
ในเวลาเดียวกันนั้น มัลเลอครี พ่อมดชาวฝรั่งเศสก็เขียนบทสนทนาต่อไปนี้ในบทละครเรื่อง Helas, Je me suis Transfigure Les Pieds (อนิจจา ฉันเสกคาถาแปลงร่างใส่เท้าของฉัน) ความว่า
เกรอนุย : วันนี้ฉันไปตลาดกับเธอไม่ได้นะคราโปด์
คราโปด์ : แต่เกรอนุย ฉันแบกวัวไปคนเดียวไม่ไหวหรอกนะ
เกรอนุย : เธอก็รู้นี่ คราโปด์ ว่าฉันต้องเล่นเป็นคีปเปอร์เช้านี้ ใครจะหยุกลูกควัฟเฟิลล่ะ ถ้าไม่ใช่ฉัน
ในปีค.ศ. 1473 มีการแข่งขันควิดดิชเวิลด์คัพเป็นครั้งแรก แม้ว่าทีมที่เข้าร่วมการแข่งขัยจะมีแต่ชาติในยุโรปเท่านั้น เหตุที่ไม่มีทีมชาติที่อยู่ห่างไกลมาร่วมแข่งด้วย อาจเนื่องมาจากนกฮูกที่ส่งจดหมายเชิญนั้นหมดแรงเสียก่อนถึงที่หมาย หรืออาจเป็นไปได้ว่าชาติที่ได้รับเชิญไม่เต็มใจเดินทางไกลและลำบากลำบนเช่นนี้ หรือบางทีอาจมีเหตุผลง่ายๆ คืออยากอยู่บ้านมากกว่า
การแข่งขันรอบชิงชนะเลิศระหว่างทีมจากทรานซิลเวเนียและแฟนเดอส์นั้น ได้บันทึกไว้ในประวัติศาสตร์ว่าเป็นการแข่งขันที่รุนแรงที่สุดตลอดหาร และการเล่นผิดกติกาที่จดบันทึกไว้หลายอย่างก็ไม่มีใครเคยเห็นมาก่อนด้วย ตัวอย่างเช่น เปลี่ยนร่างเชสเซอร์คนหนึ่งให้เป็นพังพอน พยายามที่จะตัดหัวคีปเปอร์ด้วยดาบที่มีใบมีดกว้างใหญ่ และกัปตันทีมทรานซิลเวเนียปล่อยค้างคาวดูดเลือดหนึ่งร้อยตัวออกมาจากใต้เสื้อคลุม
หลังจากนั้นมีการแข่งขันควิดดิชเวิลด์คัพกันทุกๆสี่ปีแม้ว่าก่อนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 17 จะไม่มีทีมอื่นนอกเหนือจากทีมยุโรปเข้าร่วมแข่งขันด้วยเลย ส่วนยูโรเปี้ยนคัพก่อตั้งขึ้นในปีค.ศ. 1652 และจัดให้มีการแข่งขันกันทุกๆสามปีนับแค่นั้นมา
ในบรรดาทีมสโมสรของยุโรปที่เก่งฉกาจฉกรรจ์ ทีมวรัตซ่า วัลเจอส์ (Vratsa Vultures) ของบัลแกเรียน่าจะมีชื่อเสียงที่สุด ครองถ้วยยูโรเปี้ยนคัพทั้งหมดเจ็ดครั้งด้วยกัน ไม่ค้องสงสัยเลยว่าทีมวรตซ่า วัลเจอส์นี้เป็นทีมหนึ่งในบรรดาทีมที่เล่นได้ตื่นเต้นระทึกใจที่สุดในโลก เป็นผู้บุกเบิกการทำประตูระยะไกล (โยนลูกไกลนอกเขตทำคะแนน) และทีมนี้ยังตเมใจเสมอที่จะให้โอกาสผู้เล่นหน้าใหม่ได้สร้างชื่อเสียง
สำหรับประเทศฝรั่งเศส ทีมสโมสรที่ชนะบ่อยๆคือ ควีเบอรอน ควัฟเฟิลพันเชอรส์ (Quiberon Quafflepunchers) ซึ่งมีชื่อเสียงเลื่องลือเรื่องการเล่นที่ร่าเริงพอๆกับเสื้อคลุมสีชมพูจัดจ้าของพวกเขา ในประเทศเยอรมนี เราพบทีมไฮด์เบิร์ก แฮร์เรียส์ (Heidelberg Harriers) ทีมนี้ ดาเรน โอแฮร์ กัปตันทีมชาติไอริชเคยให้คำชมที่มีชื่อเสียงว่า ‘ดุร้ายยิ่งกว่ามังกรและฉลาดกว่าเป็นสองเท่าด้วย’ ลักเซมเบิร์กเป็นชาติที่มีทีมควิดดิชแข็งๆเสมอ ทีมเด่นที่ประเทศนี้มอบให้แก่พวกเราคือ บิกอนวิลล์ บอมเบอส์ (Bigonville Bombers) ทีมนี้ขึ้นชื่อมากเรื่องยุทธวิธีการบุกและมักอยู่ในกลุ่มผู้ทำคะแนนได้สูงๆ ส่วนทีมจากประเทศโปรตุเกส คือแบรกก้า บรูมฟลีต (Braga Broomfleet) เมื่อเร็วนี้สามารถแหวกขึ้นมาอยู่อันดับต้นๆ ของวงการควิดดิชได้ เป็นเพราะระบบจับติดบีตเตอร์ของทีมที่ไม่เคยมีใครทำมาก่อน นอกจากนี้เรายังมีซีกเกอร์ที่สามารถสร้างสรรค์กลยุทธใหม่ๆ ได้เก่งที่สุดในโลกโดยไม่มีข้อโต้แย้ง นั่นคือ โจเซฟ รอนสกี้ จากทีมกรอดซิสก์ ก๊อบลินส์ ( Grodzisk Goblins) ของประเทศโปลแลนด์
ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์
มีผู้นำควิดดิชเข้าไปเผยแพร่ในนิวซีแลนด์เมื่อประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 17 เชื่อกันว่าเป็นทีมนักสมุนไพรศาสตร์ชาวยุโรปที่เดินทางไปค้นคว้าเรื่องพืชและเห็ดวิเศษต่างๆ มีเรื่องเล่าว่าหลังจากที่เก็บตัวอย่างพืชและเห็ดต่างๆอย่างคร่ำเคร่งตลอดวันแล้ว พ่อมดแม่มดเหล่านี้ก็ผ่อนคลายความตึงเครียด ด้วยการเล่นควิดดิชภายใต้สายตางงงวยของชุมชนผู้วิเศษชาวพื้นเมือง กระทรวงเวทมนต์แห่งนิวซีแลนด์ต้องเสียเงินและเสียเวลามากมาย ป้องกันไม่ให้มักเกิ้ลได้งานศิลปะของชาวพื้นเมืองเมารีในยุคนั้นไปครอบครอง เพราะงานศิลปะเหล่านี้แสดงให้เห็นรูปพ่อมดผิวขาวเล่นควิดดิชอย่างชัดเจน ( ภาพแกะสลักและภาพวาดเหล่านี้ปัจจุบันแสดงไว้ที่กระทรวงเวทมนตร์ที่เมืองเวลลิงตัน)
การเผยแพร่ควิดดิชไปยังออสเตรเลียเชื่อว่าเกิดขึ้นเมื่อคริสศตวรรษที่ 18 อาจกล่าวได้ว่าออสเตรเลียเป็นดินแดนในอุดมคติสำหรับการเล่นกีฬาควิดดิชที่เดียว เพราะว่ามีพื้นที่ที่อยู่ห่างไกลออกไปดูภายในทวีปกว้างใหญ่ไพศาลและไม่มีคนอยู่อาศัยเลย เหมาะสมที่จะจัดทำสนามควิดดิชได้มากมายหลายแห่ง
ทีมควิดดิชอีกมุมโลกที่ทำให้ผู้ดูชาวยุโรปตื่นเต้นเร้าใจได้เสมอ ด้วยความรวดเร็วและเล่ห์เหลี่ยมความสามารถของผู้เล่น ในบรรดาทีมดีเยี่ยมได้แก่ทีม มูโตโฮรา มาเคาส์ (Moutoohora Macaws)จากนิวซีแลนด์ มีเสื้อคุมสีแดงเหลืองและน้ำเงินที่รู้จักกันดี รวมทั้งสปาร์กี้นกฟีนิกส์ประจำทีม ทีมทันเดอลาร่า ทันเดอเรอส์ (Thundelarra Thunderers)และลูลลองกอง วอร์ริเออส์ (Woollongong Warriors)เป็นสองทีมมี่เก่งกาจเหนือกว่าทีมอื่นๆ ในควิดดิชลีกดของออสเตรเลียเป็นเวลาเกือบสองทศวรรษแล้ว การชิงดีชิงเด่นระหว่างทีมคู่อาฆาตสองทีมนี้เป็นที่เลื่องลืออยู่ในชุมชนผู้วิเศษของออสเตรเลีย จนกระทั่งเวลามีคนคุยโวหรือโอ้อวดเรื่องที่เหลือเชื่อ จึงมีสำนวนคตอบที่นิยมพูดกันแพร่หลายว่า “เออใช่ และฉันว่าฉันก็จะอาสาสมัครไปเป็นกรรมการการแข่งขัน ระหว่างทีมทันเดอเรอส์กับทีมวอร์ริเออส์คราวหน้าด้วย”
แอฟริกา
ไม้กวาดน่าจะเข้าไปในแอฟริกาโดยพ่อมดและแม่มดชาวยุโรปที่เดินทางไปที่นั่น เพื่อค้นหาความรู้เกี่ยวกับการเล่นแร่แปรธาตุและดาราศาสตร์ ศาสตร์สองแขนงที่พ่อมดชาวแอฟริกากันเชี่ยวชาญเป็นพิเศษ แม้ว่าปัจจุบันกีฬาควิดดิชจะไม่ได้เล่นกันแพร่หลายเหมือนในยุโรป แต่กีฬานี้ก็เริ่มเป็นที่นิยมมากขึ้นทุกทึทั่วทวีปแอฟริกา
ปรากฏว่ายูกันดาเป็นประเทศที่สนอกสนใจเล่นกีฬาควิดดิชมาก สโมสรที่มีชื่อมากที่สุดคือ พาตองก้า พราวด์สติกส์(Patonga Proudsticks)ทีมนี้สามารถเล่นเสมอกับทีมมอนโทรสแมกไพส์ ได้ในปีค.ศ.1986 ท่ามกลางความตกตลึงของชาติส่วนใหญ่ในโลกของควิดดิช เมื่อเร็วๆนี้ผู้เล่นจากทีมพราวด์สติกส์ถึงหกคนได้เป็นตัวแทนไปเล่นในทีมชาติยูกันดา ในการแข่งขันควิดดิชเวอร์คัพ ถือเป็นจำนวนพ่อมดนักบินที่มากที่สุดมีมาจากทีมสโมสรทีมเดียวหันและเข้าร่วมการแข่งขันในทีมชาติ ส่วนทีมอื่นๆที่มีชื่อเสียงจากแอฟริกาได้แก่ ทีมซัมบ้า ชาร์มเมอส์(Tchamba Charmers)จากโตโก เจ้าแห่งรีเวิร์สพาส หรือการส่งลูกกลับหลัง ทีมจิมบี้ ไจแอนท์ สเลเยอส์ (Gimbi Giant-Slayers) จาเอทิโอเปีย ชนะการแข่งขันชิงแอฟริกาคัพถึงสองครั้งและทีมซัมบาวันก้า ซันเรส์ (Sumbawanga Sunrays)จากแทนซาเนีย เป็นทีมที่ได้รับความนิยมสูงมาก และท่าบินตีลังการรุกฆาตของทีมนี้สร้างความพึงพอใจให้ผู้ชมไปทั่วโลก
อเมริกาเหนือ
ควิดดิชไปถึงทวีปอเมริกาเหนือเมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17 แต่ทว่าการเผยแพร่เป็นไปอย่างเชื่องช้า เนื่องจากเคราะห์ไม่ดี ที่ความรู้สึกต่อต้านพ่อมดแม่มดแรงมากเป็นพิเศษจากยุโรปได้ติดตามผู้อพยพไปด้วยในเวลาเดียวกัน พ่อมดแม่มดผู้ตั้งถิ่นฐานในยุคนั้นจึงต้องระแวดระวังตัวเป็นพิเศษทั้งๆ ที่พ่อมดแม่มดทั้งหลายคนเคยหวังว่าจะเจออคติน้อยลงในโลกใหม่ ด้วยความระวังมากนี้เองจึงกำจัดความเผยแพร่ของกีฬานี้ในช่วงแรก
อย่างไรก็ตาม ในเวลาต่อมา แคนาดาสร้างทีมควิดดิชที่มีความสามารถสูงเยี่ยมระดับโลกสามทีมได้แก่ มูส จอว์ มีทีโอไรตส์ (Moose Jaw Meteorites)เฮลลี่เบอร์รี่ แฮมเมอส์ (Haileybury Hammers) และสโตนวอลล์ สตอร์มเมอส์ (Stonewall Stormers) ทีมมีทีโอไรตส์นั้นเฉียดฉิวจะถูกสั่งให้ยุบทีมเสียแล้วเมื่อช่วงทศวรรษ 1970 เนื่องจากยังคงดื้อดึงใช้ประเพณีฉลองชัยชนะหลังเกมการแข่งขันด้วยการบินเหนือหมู่บ้านและเมืองใกล้เคียง พร้อมกับปล่อยประกายไฟลุกโชติช่วงเป็นทางยากจากปลายไม้กวาดปัจจุบัน ทีม มีทีโอไรตส์นี้ยอมจำกัดการฉลองตามประเพณีอยู่แต่ในสนามภายหลังการแข่งขัน ผลคือการแข่งขันของทีมมีทีโอไรตส์ยังคงดึงดูดความสนใจพ่อมดแม่มดนักท่องเที่ยวจำนวนมากได้อยู่
ประเทศสหรัฐอเมริกาไม่ได้ผลิตทีมควิดดิชนะระดับโลกหลายทีมเช่นชาติอื่นๆ เพราะกีฬาควิดดิชต้องแข่งขันกับกีฬาไม้กวาดของอเมริกันเองที่ชื่อว่าควอดพ็อต(Quodpot) กีฬาควอดพ็อตนี้แตกแขนงมาจากการเล่นควิดดิช ประดิษฐ์โดยอับราฮัม พีสกู๊ด พ่อมดในคริสต์ศตวรรษที่ 18 เขานำลูกควัฟเฟิลติดตัวมาด้วยจากโลกเก่า และตังใจจะหาสมัครพรรคพวกมาตั้งทีมเล่นควิดดิชกัน เล่ากันว่าลูกควัฟเฟิลของพี่สกู๊ดนั้นเกิดพลั้งเผลอไปกระทบกับปลายไม้กายสิทธิ์ของเขาเมื่อตอนอยู่ในหีบเหล็ก ฉะนั้นในที่สุด เมื่อเขาหยิบเอาลูกควัฟเฟิลออกมาและเริ่มขว้างเล่นไปเรื่อยๆ มันก็ระเบิดตูมใส่หน้าเขา พีสกู๊ดดูจะเป็นคนที่มีอารมณ์ขันเหลือเฟือมาก เขาตั้งต้นผลิตลูกบอลหนังอีกหลายลูกที่ทำปฏิกิริยาแบบเดียวกันนี้ และไม่นานเขาก็ลืมควิดดิชเสียสนิท เมื่อเขาและเพื่อนๆช่วยกันพัฒนาเกมใหม่ขึ้นมา เกมนี้มีจุดสำคัญอยู่ที่คุณสมบัติการระเบิดได้ของลูกบอลที่เพิ่งได้ชื่อใหม่สดว่า ควอด
ในเกมควอดพ็อตนี้ แต่ละข้างมีผู้เล่นสิบเอ็ดคน พวกเขาโยนลูกควอด หรือควัฟเฟิลที่ถูกแก้ไขปรับปรุงแล้วนี้ จากผู้เล่นคนหนึ่งไปยังอีกคนในทีมเดียวกัน พยายามให้พาลูกเข้าไปอยู่ในหม้อที่ปลายสนามก่อนที่มันจะระเบิด ผู้เล่นคนไหนที่ครองลูกควอดอยู่เมื่อมันระเบิดต้องออกไปจากสนามเมื่อลูกควอดปลอดภัยอยู่ในหม้อแล้ว (หม้อขนาดเล็กใส่น้ำป้องกันไม่ให้ลูกควอดระเบิด) ทีมของผู้ที่โยนลูกได้จะได้หนึ่งแต้ม แล้วนำลูกควอดลูกใหม่เข้ามาให้สนามแทน
ควอดพ็อต ประสบความสำเร็จพอควรในยุโรป เป็นกีฬาที่มีกลุ่มคนจำนวนน้อยกลุ่มหนึ่งนิยมเล่น แต่พ่อมดแม่มดจำนวนมากมหาศาลยังคงซื่อสัตย์ต่อกีฬาควิดดิช
ในสหรัฐอเมริกา แม้ว่าเสน่ห์ของเกมควอดพ็อตจะมีแรงดึงดูดแฟนๆมากอยู่ แต่กีฬาควิดดิชเองก็ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ไม่นานมานี้ มีสองทีมจากสหรัฐฯที่สามารถแหวกขึ้นมาอยู่ในระดับนานาชาติได้ นั่นคือ ทีมสวีตวอเตอร์ ออลสตาร์ส (Sweetwater All-Stars) จากเทกซัส เป็นทีมที่มีชัยชนะอย่างสมศักดิ์ศรีเหนือทีมควีเบอรอน ควัฟเฟิลพันเชอร์ ใน ค.ศ.1993 หลังจากที่เล่นกันออย่างตื่นเต้นระทึกใจอยู่ห้าวัน อีกทีมหนึ่งคือ ฟิชเบิร์ก ฟินเชส (Fitchburg Finches) จากรัฐแมสซาชูเซตส์ ซึ่งชนะรางวัลสมาคมสหรัฐฯถึงเจ็ดหน และแมกซิมัส แบรนโควิชที่สาม ซีกเกอร์ของทีม เป็นกัปตันทีมชาติสหรัฐฯ ในการแข่งขันควิดดิชเวิลด์คัพสองครั้งที่ผ่านมา
อเมริกาใต้
กีฬาควิดดิชเล่นกันตลอดทวีปอเมริกาใต้ แม้ว่าเกมนี้จะต้องแข่งขันกับกีฬาควอดพ็อต ที่เป็นที่นิยมกันมากในทวีปนี้เช่นเดียวกับในทวีปอเมริกาเหนือ อาร์เจนติน่าและบราซิล เป็นสองประเทศที่ได้เข้ารอบชิงชนะเลิศในการแข่งขันควิดดิชเวิลด์คัพเมื่อศตวรรษที่แล้ว ไม่ต้องสงสัยเลยว่าชาติที่เชี่ยวชาญเรื่องควิดดิชมาที่สุดในอเมริกาใต้คือเปรู ซึ่งทายกันว่าจะเป็นชาติละตินชาติแรกที่จะสามารถชนะครองถ้วยควิดดิชเวิลด์คัพได้ในอีกสิบปีข้างหน้า เชื่อกันว่าผู้วิเศษชาวเปรูได้ประสบการณ์การเผชิญหน้ากับกีฬาควิดดิชเป็นครั้งแรกจากพ่อมดชาวยุโรป ที่สหพันธ์พ่อมดนานาชาติส่งมาควบคุมตรวจตราจำนวนมังกรพันธ์เปรูเขี้ยวพิษ ควิดดิชได้กลายเป็นความคลั่งไคล้ที่แท้จริงของชุมชนพ่อมดแม่มดที่นั่นตั้งแต่นั้นมา และทีมที่มีชื่อเสียงที่สุดของเปรูคือ ทาราพอตโต ทรีสกิมเมอส์ (Tarapoto Treeskimmers) เมื่อเร็วๆนี้ก็ได้เดินทางไปเล่นทั่วยุโรปทำชื่อเสียงเป็นที่ยกย่องมาก
เอเชีย
ควิดดิชไม่บรรลุถึงความนิยมสุดยอดในดินแดนทางตะวันออก เพราะไม้กวาดบินเป็นของหายากในประเทศแถบนี้ที่ยังคงนิยมใช้พรมเป็นเครื่องช่วยบินมากกว่า กระทรวงเวทมนตร์ของประเทศที่ยังคงส่งพรมเหาะเป็นสินค้าออกที่สำคัญ ได้แก่ ปากีสถาน อินเดีย บังกลาเทศ อิหร่าน มองโกเลีย ต่างก็เฝ้าจับตาดูกีฬาควิดดิชด้วยความระหวาดระแวง อย่างไรก็ตาม กีฬานี้มีแฟนๆอยู่บ้างในกลุ่มพ่อมดทั่วไป
ประเทศที่เป็นข้อยกเว้นจากกฎทั่วไปนี้คือญี่ปุ่น ควิดดิชได้รับความนิยมในญี่ปุ่นมากขึ้นเรื่อยๆ ตลอดช่วงศตวรรษที่แล้ว ทีมญี่ปุ่นที่ประสบความสำเร็จมากคือ โตโยฮาชิ เทนกุ (Toyohashi Tengu) ที่เกือบเอาชนะทีมโกโรด็อก การ์กอยส์ (Gorodok Gargoyles) ของบัลแกเรียได้ในการแข่งขันเมื่อปีค.ศ. 1994 อย่างไรก็ตาม ธรรมเนียมของญี่ปุ่นที่จุดไฟเผาไม้กวาดอย่างเป็นพิธีการเมื่อแข่งแพ้ ถูกคณะกรรมการกีฬาควิดดิชในสหพันธ์พ่อมดนานาชาติจับตามองอย่างไม่สบอารมณ์ โดยตำหนิว่าเป็นการทำลายไม้กวาดดีๆให้เสียไปเปล่าๆ
บทที่ 9 พัฒนาการของไม้กวาดแข่ง
ก่อนต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 กีฬาควิดดิชเล่นกันโดยใช้ไม้กวาดประจำวันที่มีคุณสมบัติแตกต่างกันมาก ไม้กวาดเหล่านี้ที่จริงก็ได้พัฒนาไปไกลจากไม้กวาดในยุคกลางมามากแล้ว การประดิษฐ์คาถาเบาะรองนั่งโดยเอลเลียต สเม็ตวิก เมื่อ ค.ศ.1820 ช่วยทำให้ไม้กวาดนั่งสบายกว่าแต่ก่อนมาก (ดูรูป ฉ.) อย่างไรก็ตาม ไม้กวาดทั่วๆไปในคริสต์ศตวรรษที่ 19 นั้นไม่สามารถบินขึ้นไปด้วยความเร็วสูงได้ และยิ่งยากที่จะควบคุมได้ดีเมื่อบินขึ้นไปถึงระดับที่สูงมากๆได้ ไม้กวาดเหล่านี้มักจะประดิษฐ์ด้วยมือ โดยช่างไม้กวาดแต่ละคน และแม้ว่าไม้กวาดพวกนี้จะเป็นที่นิยมชมชื่นกันในด้านรูปแบบและฝีมือ แต่สมรรถภาพของไม้กวาดนั้นมักจะไม่เท่าเทียมกับรูปร่างที่สวยงามเลย
ตัวอย่างของไม้กวาดประเภทนี้คือ ไม้กวาดโอ๊กชาฟต์ 79 (Oakshaft 79) ซึ่งตั้งชื่อนี้เพราะต้นแบบแรกนั้นสร้างขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1879 ประดิษฐ์โดยอีไลอัส กริมสโตน ช่างทำไม้กวาดแห่งเมืองปอร์ตสมัท ไม้กวาดโอ๊กชาฟต์นี้สวยงามมาก ด้ามทำด้วยไม้โอ๊กหนา ออกแบบมาเพื่อให้บินได้นานและแข็งแรงพอจะต้านกระแสลมแรงๆไ ไม้กวาดโอ๊กชาฟต์ในปัจจุบันถือว่าเป็นไม้กวาดมีระดับชั้นเยี่ยม แต่ความพยายามที่จะใช้ไม้กวาดนี้ในการแข่งขันควิดดิชไม่เคยประสบความสำเร็จเลย เพราะมันอุ้ยอ้ายเกินกว่าจะเลี้ยวโค้งได้เมื่อบินมาด้วยความเร็วสูง ดังนั้นไม้กวาดโอ๊กชาฟต์จึงไม่เคยเป็นที่นิยมของพวกที่ถือความคล่องแคล่วว่องไว สำคัญเหนือกว่าความปลอดภัย กระนั้นไม้กวาดนี้ก็เป็นที่จดจำระลึกถึงเสมอในฐานะไม้กวาดที่ โจคุนด้า ไซกส์ ใช้บินข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกเป็นครั้งแรกเมื่อ ค.ศ1935 (ก่อนหน้านั้นเมื่อต้องเดินทางเป็นระยะไกลๆ พ่อมดแม่มดพอใจที่จะเดินทางด้วยเรือโดยสารมากกว่าจะไว้ใจเดินทางด้วยไม้กวาด การหายตัวก็ไว้ใจไม่ได้ถ้าระยะทางไกลมาก และมีแต่พ่อมดแม่มดที่เชี่ยวชาญมากๆเท่านั้นที่จะกล้าใช้วิธีการหายตัวข้ามทวีป)
ไม้กวาดมูนทริมเมอร์ (Moontrimmer) ซึ่งประดิษฐ์โดยกลาดีส บู๊ตบี้ ในค.ศ. 1901 เป็นตัวแทนให้เห็นว่าวงการสร้างไม้กวาดก้าวกระโดดไกลไปมาก และเป็นเวลานานทีเดียวที่ไท้กวาดซึ่งทำจากไม้แอชรูปร่างเพรียวนี้ จะเป็นที่ต้องการอย่างสูงในฐานะไม้กวาดสำหรับเกมควิดดิช ข้อเด่นที่ทำให้ไม้กวาดมูนทริมเมอร์เหนือกว่าไม้กวาดอื่นๆคือ สามารถบินขึ้นไปได้สูงอย่างที่ไม่เคยมีไม้กวาดไหนทำได้มาก่อน (และที่สำคัญยังสามารถควบคุมได้ดีในระดับความสูงนั้น) กลาดีส บู๊ตบี้ ไม่สามารถผลิตไม้กวาดมูนทริมเมอร์ได้ในจำนวนมากเท่าที่ผู้เล่นควิดดิชทั้งหลายส่งเสียงเรียกร้อง ดังนั้นเมื่อมีการผลิตไม้กวาดใหม่ชื่อ ซิลเวอร์ แอร์โรว์ (Silver Arrow) ออกมา ผู้เล่นจึงรีบต้อนรับทันที ไมท้กวาดนี้ถือว่าเป็นไม้กวาดรุ่นยุกเบิกของไม้กวาดแข่ง มันบินได้เร็วกว่ามูนทริมเมอร์หรือโอ๊กชาฟต์มาก (เมื่อบินตามแรงส่งจากไม้กวาดอันหน้า จะมีความเร็วถึงเจ็ดสิบไมล์ต่อชั่วโมง) แต่นั่นแหละ ไม้กวาดนี้เป็นผลงานของพ่อมดคนเดียว (เลโอนาร์ด จุกส์) และความต้องการไม้กวาดก็มีมากเกินกว่าจะผลิตได้ทัน
ความก้าวหน้าในการผลิตไม้กวาดที่สำคัญยิ่งเกิดขึ้นเมื่อ ค.ศ.1926 เมื่อสามพี่น้องบ๊อบ บิล และยาร์นาบี้ โอลเลอร์ตัน ตั้งบริษัทไม้กวาดควีนสวิปขึ้น ไม้กวาดรุ่นแรก คลีนสวีปวัน (Cleansweep One) ผลิตขึ้นเป็นจำนวนมากอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน และจัดจำหน่ายในฐานะไม้กวาดแข่งที่ออกแบบเป็นพิเศษเฉพาะใช้ในเกมกีฬาเท่านั้น ไม้กวาดคลีนสวีปประสบความสำเร็จอย่างง่ายดายและรวดเร็วทันที มันสามารถเลี้ยวโค้งได้ดีอย่างที่ไม่เคยมีไม้กวาดไหนทำได้ และภายในปีเดียว ทีมควิดดิชทุกทีมในประเทศก็ขึ้นขี่ไม้กวาดคลีนสวีปนี้
พี่น้องตระกูลโอลเลอร์ตัน ไม่ได้ถูกปล่อยให้ครอบครองตลาดไม้กวาดแข่งแต่เพียงผู้เดียวนานนัก ในปีค.ศ.1929 แรนดอลฟ คีตและแบซิล ฮอร์ตัล ตั้งบริษัทผลิตไม้กวาดเจ้าที่สองขึ้น ทั้งสองคนนี้เคยเป็นผู้เล่นในทีมฟัลมัท ฟอลคอนส์มาก่อน ไม้กวาดรุ่นแรกของบริษัทคอมเม็ตเทรตดิ้งนั้นคือ คอมเม็ต 140 (Comet 140) นี่เป็นหมายเลขของไม้กวาดตัวอย่างที่คีตและฮอร์ตัน ทดสอบก่อนที่ผลิตออกจำหน่าย คาถาเบรกของฮอร์ตัน-คีต ที่ขึ้นทะเบียนลิขสิทธิ์แล้วนั้น มีความหมายว่าผู้เล่นควิดดิชจะบินข้ามประตูหรือบินออฟไซด์ไม่ได้ง่ายๆอย่างแต่ก่อน ปัจจุบันทีมควิดดิชหลายทีมในเกาะบิเตนและไอร์แลนด์จึงนิยมใช้ไม้กวาดคอมเม็ต
การแข่งขันระหว่างคลีนสวีปและคอมเม็ตดำเนินไปอย่างเข้มข้น ช่วงที่เด่นๆคือการออกไม้กวาดคลีนสวีปรุ่น 2 และ 3 ที่ปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้นใน ค.ศ. 1934 และ 1937 ตามลำดับ ส่วนคอมเม็ต 180 ออกวางตลาดเมื่อต.ศ. 1938 ในระหว่างนั้นก็มีบริษัทผลิตไม้กวาดแข่งอื่นๆผุดขึ้นมาทั่วทวีปยุโรป
ไม้กวาดแข่งชื่อ ทินเดอร์บลาสต์ (Tinderblast) ออกสู่ตลาดเมื่อ ค.ศ.1940 ไม้กวาดนี้ผลิตโดยบริษัทจากบริเวณป่าดำในเยอรมนีชื่อ แอลเลอร์บี้แอนด์สปัดมอร์ ไม้กวาดทินเดอร์บลาสต์นี้มีคุณสมบัติคืนตัวได้ดีมาก แม้ว่าจะไม่สามารถบินได้เร็วเท่าคลีนสวีปหรือคอมเม็ตก็ตาม เมื่อ ค.ศ.1952 บริษัทแอลเลอร์บี้แอนด์สปัดมอร์ นำไม้กวาดรุ่นใหม่ออกสู่ตลาดนั่นคือ ไม้กวาดสวิฟต์สติ๊ก (Swiftstick) ไม้กวาดนี้บินได้เร็วกว่าทินเดอร์บลาสต์ อย่างไรก็ตาม สวิฟสติ๊กมักจะสูญเสียความเร็วเมื่อบินขึ้นระดับสูง ดังนั้นทีมควิดดิชอาชีพจึงไม่เคยใช้ไม้กวาดนี้เลย
ในค.ศ. 1955 บริษัทยูนิเวอร์ซัลบรูม จำกัด นำเสนอไม้กวาดใหม่ ชูตติ้งสตาร์ (Shooting Star) ซึ่งเป็นไม้กวาดแข่งที่ราคาถูกที่สุดจนทุกวันนี้ แต่โชคไม่ดี หลังจากที่ผู้คนแตกตื่นนิยมซื้อกันมากในตอนแรกที่วางตลาด ต่อมาพบว่าไม้กวาดชูตติ้งสตาร์นี้ เมื่อใช้งานไปนานๆมักจะบินไม่ได้เร็วและสูงเท่าที่เคย บริษัทยูนิเวอร์ซัลบรูมจึงต้องเลิกกิจการไปเมื่อค.ศ.1978
เมื่อค.ศ.1967 โลกของไม้กวาดก็ถูกกระตุ้นให้คึกคักตื่นตัวขึ้นมาอีกหนเมื่อมีการก่อตั้งบริษัทนิมบัสเรสซิ่งบรูมขึ้น ไม่มีใครเคยเห็นไม้กวาดไหนที่เหมือนไม้กวาดนิมบัส 1000 (Nimbus 1000) มาก่อน ไม้กวาดนี้สามารถบินเร็วได้ถึงหนึ่งไมล์ต่อชั่วโมง สามารถหยุดกลางอากาศและหมุนได้สามร้อยหกสิบองศารอบตัว ไม้กวาดนิมบัสนำคุณสมบัติที่วางใจได้ของไม้กวาดรุ่นเก๋าโอ๊กชาฟต์ 79 มาผสมกับการใช้งานง่ายคล่องแคล่วของไม้กวาดคลีนสวีปรุ่นที่ดีที่สุด นิมบัสจึงกลายเป็นไม้กวาดที่ทีมควิดดิชอาชีพทั่วยุโรปเลือกใช้ทันที และไม้กวาดนิมบัสรุ่นต่อๆไป (รุ่น 1001 รุ่น 1500 และรุ่น 1700) ทำให้บริษัทนิมบัสเรสซิ่งบรูมยังคงเป็นบริษัทอันดับหนึ่งในวงการไม้กวาดนี้
ไม้กวาดทวิกเกอร์ 90 (Twigger 90) ผลิตผลิตขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อ ค.ศ.1990 ผู้ผลิตคือ บริษัทไฟลต์แอนด์บาร์เกอร์ ตั้งใจว่าไม้กวาดนี้จะมาเป็นผู้นำในตลอดแทนไม้กวาดนิมบัส อย่างไรก็ตาม แม้ว่าไม้กวาดนี้จะมีคุณสมบัติดีเด่นมาก รวมทั้งมีอุปกรณ์ใหม่ๆที่หลอกล่อใจผู้ซื้อประกอบติดมากับไม้กวาดด้วยอีกหลายอย่าง เช่น มีนกหวีดให้สัญญาณเตือนอยู่ในตัว และมีหางที่ช่วยปรับการบินให้ตรงได้เองแต่ไม้กวาดทวิกเกอร์นี้มักจะโค้งงอเหมือนบินด้วยความเร็วสูง และโชคร้ายที่ไม้กวาดนี้ได้ชื่อว่าไม้กวาดที่พวกพ่อมดที่มีเงินมากกว่ามีสติมักใช้กัน
บทที่ 10 กีฬาควิดดิชในปัจจุบัน
กีฬาควิดดิชยังคงทำให้แฟนๆตื่นเต้นเร้าใจและคลั่งไคล้ไปทั่วโลกปัจจุบัน รับประกันได้ว่าคนที่ซื้อตั๋วดูการแข่งขันควิดดิชทุกคนจะได้เห็นการแข่งขันที่มีชั้นเชิงสูง ระหว่างผู้เล่นที่บินอย่างเชี่ยวชาญยิ่ง (แน่นอน ยกเว้นแต่ว่าจะจับลูกสนิชได้ในห้านาทีแรกของการแข่งขัน ถ้าเป็นเช่นนี้พวกเราทุกคนคงรู้สึกว่าถูกโกงหน่อยๆ เหมือนได้รับเงินทอนไม่ครบทำนองนั้น) ไม่มีอะไรจะพิสูจน์ความดีเด่นของเกมควิดดิชได้ดีไปกว่าท่าเล่นยากๆ ที่บรรดาผู้เล่นพ่อมดแม่มดทั้งหลายสร้างสรรค์ขึ้นมาตลอดในประวัติศาสตร์อันยาวนานของกีฬานี้ พ่อมดแม่มดเหล่านี้กระตือรือร้นที่จะสร้างท่าเล่นยากๆ เพื่อผลักดันผู้เล่นและกีฬานี้ให้ดีขึ้นเท่าที่พวกเขาจะสามารถทำได้ ต่อไปนี้คือ ท่าเล่นพิสดารบางทาที่ยกมาเป็นตัวอย่าง
บลัดเจอร์ แบ็กบีต (Bludger Backbeat)
เป็นท่าที่บีตเตอร์ตีลูกบลัดเจอร์ด้วยไม้ตีในท่าแบ็กแฮนด์ ส่งลูดบลัดเจอร์ลอยไปข้างหลังเขาหรือเธอ แทนที่จะไปข้างหน้า ท่านี้ตีให้เที่ยวตรงแม่นยำได้ยาก แต่ดีเลิศในแง่ทำให้คู่ต่อสู้งุนงง
ด๊อปเปิ้ลบีตเตอร์ ดีเฟนซ์ (Dopplebeater Defence)
บีตเตอร์ทั้งสองคนใช้แรงมากเป็นพิเศษตีลูกบลัดเจอร์พร้อมกัน ผลคือในการรุกครั้งต่อไป ลูกบลัดเจอร์จะโจมตีอย่างดุเดือดรุนแรงมากขึ้นไปอีก
ดับเบิ้ล เอต ลูป (Double Eight Loop)
เป็นท่าป้องกันของคีปเปอร์ ปกติมักใช้ป้องกันการโยนลูกโทษ คีปเปอร์จะบินเลี้ยวโค้งเป็นรูปเลขแปดไปรอบๆห่วงประตูทั้งสาม ห่วงด้วยความเร็วสูงเพื่อคอยกันลูกควิฟเฟิล
ฮอกส์เฮด อะแทกกิ้ง ฟอร์เมชั่น (Hawkshead Attacking Formation)
เชสเซอร์มารวมตัวกันทำเป็นรูปหัวลูกศร บินไปพร้อมๆกันมุ่งไปที่เสาประตู ท่านี้ข่มขวัญทีมคู่ต่อสู้ได้มาก และมีประสิทธิภาพในการบังคับให้ผู้เล่นอื่นต้องบินหลบไปข้างๆ
พาร์กินส์ พินเชอร์ (Parkin's Pincer)
ตั้งชื่อตามผู้เล่นในทีมวิกทาวน์ วันเดอเรอส์ที่ได้ชื่อว่าเป็นคนประดิษฐ์ท่านี้ขึ้นมา เชสเซอร์สองคนช่วยกันบินเข้าไปบีบเชสเซอร์ฝ่ายตรงข้ามจากด้านซ้ายและขวา ชณะที่เชสเซอร์คนที่สามบินพุ่งตรงเข้าไปหาเชสเซอร์ฝ่ายตรงข้ามนั้น
พลัมป์ตัน พาส (Plumpton Pass)
เป็นท่าเลี้ยวโค้งหมุนตัวที่ดูเหมือนไม่ได้ตั้งใจทำของซีกเกอร์ แต่สามารถคว้าจับลูกสนิชที่ลอยอยู่ที่แขนเสื้อไว้ได้ นับเป็นทีเด็ดอย่างหนึ่ง ตั้งชื่อตามรอดดริก พลัมป์ตัน ซีกเกอร์ของทีมทัดชิล ทอร์เนโดส์ ที่ใช้ท่านี้ในการจับลูกสนิชที่โด่งดังเป็นประวัติการณ์ในค.ศ.1921 แม้ว่านักวิจารณ์หลายคนจะกล่าวหาว่าที่เขาทำได้นั้นเป็นเรื่องบังเอิญ แต่พลัมป์ตันยืนกรานจวบจนเขาถึงแก่กรรมว่าเขาตั้งใจทำท่านั้นจับลูกสนิชจริงๆ
พอร์สคอฟ พลอย (Porskoff Ploy)
เชสเซอร์ถือลูกควิฟเฟิลบินทะยานขึ้นไปในอากาศ ล่อให้เชสเซอร์ฝ่ายตรงข้ามเชื่อว่าเขาหรือเธอกำลังพยายามบินหนีไปทำคะแนน แต่แล้วก็โยนควัฟเฟิลลงมาข้างล่างให้เชสเซอร์ทีมเดียวกันที่คอยรับอยู่ เชสเซอร์ทั้งสองต้องกะจังหวะเวลาให้ตรงกันพอดี นี่เป็นหัวใจของท่านี้ ตั้งชื่อของเพ็ตโทรว่า พอร์สคอฟ เชสเซอร์ชาวรัสเซีย
รีเวิร์ส พาส (Reverse Pass)
เชสเซอร์โยนลูกควิฟเฟิลข้ามไหล่ของตนไปให้ผู้เล่นทีมเดียวกันอีกคน การโยนให้ได้แม่นยำนั้นทำได้ยากมาก
สล็อท กริป โรลล์ (Sloth Grip Roll)
ห้อยกลับหัวจากไม้กวาด ยึดไม้กวาดไว้แน่นด้วยมือและเท้าสองข้างเพื่อหลบหลีกลูกบลัดเจอร์
สตาร์ฟิชแอนด์สติ๊ก (Starfish and Stick)
เป็นท่าป้องกันของคีปเปอร์ โดยคีปเปอร์ถือไม้กวาดในแนวนอน ใช้มือและเท้าข้างหนึ่งเกี่ยวจับด้ามไม้กวาดแน่น ในขณะที่กางแขนและขาอีกข้างออกไปตรงๆ (ดูรูป ช.) ท่าปลาดาวแต่ไม่มีไม้นั้นไม่ควรลองทำอย่างยิ่ง
ทรานซิลเวเนียน แท็กเคิล (Transylvianian Tackle)
เป็นท่าต่อยหลอกๆเล็งไปที่จมูก ไม่ถือว่าผิดกติกาจนกว่าจะสัมผัสกันจริงๆ แต่ก็หยุดได้ยากมากเมื่อทั้งสองฝ่ายอยู่บนไม้กวาดที่มีความเร็วสูง ปรากฎครั้งแรกในควิดดิชเวิลด์คัพ ค.ศ.1473
วูลลองกอง ชิมมี่ (Woollongong Shimmy)
เป็นท่าที่ทีมวูลลองกอง วอร์ริเออส์ จากออกเตรเลียทำได้สมบูรณ์แบบมาก นี่เป็นท่าบินซิกแซ็กด้วยความเร็วสูง เพื่อสลัดเชสเซอร์ฝ่ายตรงข้ามไม่ให้ติดตามได้
รอนสกี้ เฟนต์ (Wronski Feint)
ซีกเกอร์บินข้างสิ่งกีดขวางไปที่พื้นสนาม ทำเป็นว่าเห็นลูกสนิชอยู่ไกลๆข้างล่าง แล้วเชิดหัวไม้กวาดขึ้นก่อนจะดิ่งลงไปกระแทกพื้น ท่านี้ตั้งใจหลอกให้ซีกเกอร์อีกฝ่ายทำตามจนดิ่งไปกระแทกพื้น ตั้งชื่อว่าโจเซฟ รอนสกี้ ซีกเกอร์ชาวโปแลนด์
ไม่มีข้อสงสัยเลยว่าควิดดิชได้เปลี่ยนไปมาก จากที่เคยได้รู้เมื่อครั้งที่เกอร์ตี้ ค็ดเดิลเห็น 'พวกกะโหลกทึบ' เล่นกันที่หนองน้ำเควียดิช บางทีถ้าเกอร์ตี้มีชีวิตอยู่ในปัจจุบัน เธอเองก็อาจจะตื่นเต้นเร้าใจไปกับบทกวีและพลังของเกมควิดดิชเหมือนกัน ขอให้กีฬานี้จงพัฒนาก้าวหน้าต่อไปอีกนานเท่านาน และขอให้พ่อมดแม่มดรุ่นต่อไปในอนาคตได้สนุกนานเพลิดเพลินกับกีฬาที่วิเศษที่สุดนี้ชั่วกาลนาน
ผลงานอื่นๆ ของ แพนซี่ พาร์กินสัน ดูทั้งหมด
ผลงานอื่นๆ ของ แพนซี่ พาร์กินสัน
ความคิดเห็น