ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    {[]-รวม-[]}->เทคนิคการเรียน<-

    ลำดับตอนที่ #6 : [เทคนิคการสอบ]::ก่อนสอบ-กำลังสอบ

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 164
      0
      24 ก.ย. 50

    เทคนิคการสอบ  
          

    การเตรียมตัวก่อนสอบ
        
    - ศึกษาและทบทวนบ่อย ๆ เพื่อให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ การดูหนังสือวินาทีสุดท้าย เป็นสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงเป็นที่สุด
         
    - อ่านสมุดที่จดบันทึกไว้อย่างตั้งใจ ขณะที่อ่านไปให้นึกถึงคำถามที่อาจจะมีขึ้นแล้วลองตอบ
         
    - ทบทวนอย่างมีจุดประสงค์อยู่ในใจ การทบทวนชนิดเปิดสมุดอย่างสุ่ม จะไม่มีประโยชน์ แต่ให้ทบทวนหลักการ (concept) พื้นฐาน และจุดสำคัญของเนื้อหา
         
    - ลองดูหนังสือทบทวนกับเพื่อน เพื่อจะได้แลกเปลี่ยนคำถาม คำตอบ แต่ถ้าคิดว่าตนเองไม่เหมาะกับการทบทวนวิธีนี้ ก็ควรอ่านทบทวนเฉพาะตนเอง
         
    - ลองสอบถามรุ่นพี่ ๆ เพื่อทราบลักษณะการออกข้อสอบของอาจารย์ (ปรนัย, อัตนัย, ระยะเวลา) นอกจากนี้ ควรหาข้อสอบเก่า ๆ หรือสอบถามรุ่นพี่ว่าอาจารย์เคยถามอะไรบ้าง หากมีข้อสอบเก่า ให้ลองฝึกตอบคำถามดูและควรต้องตอบภายในเวลาที่กำหนด (เหมือนเช่น การลองทำข้อสอบเก่าในการสอบเอ็นทรานซ์)
        
    - พักผ่อนให้เต็มที่ก่อนวันสอบ ไม่ใช่ดูหนังสือจนสว่าง เพราะจะมีผลทำให้สมองของนักศึกษาทำงานได้ไม่เต็มที่
       
    - คืนก่อนสอบ เตรียมอุปกรณ์ให้พร้อม อาจทบทวนอีกเล็กน้อย ไม่ใช่มาเริ่มอ่านสิ่งใหม่ ๆ ในคืนนี้
         
    - อย่าเครียด ! ทำจิตใจให้สบาย ถ้านักศึกษาเตรียมตัวมาดีแล้ว ไม่ควรจะกังวลต่อสิ่งใด แต่หากเตรียมตัวไม่ดีพอ ความกังวลนี้จะยิ่งทำให้เหตุการณ์เลวร้ายหนักเข้าไปอีก
        
    - ในวันสอบ ควรไปถึงห้องสอบก่อนเวลา แต่อย่าไปถึงก่อนเวลามากเกินไปนัก

           ข้อควรปฏิบัติในระหว่างการสอบ
         
    - ตั้งใจอ่านคำสั่งให้ : นักศึกษาบางคนทำข้อสอบจนเสร็จเรียบร้อยแล้ว จึงหัดมาอ่านคำสั่ง และพบว่าสิ่งที่ตนเองทำไปนั้นผิดไปจากคำสั่งที่ปรากฏ นอกจากนี้นักศึกษาจะต้องใส่ใจกับอาจารย์ผู้คุมห้องสอบด้วย เพราะบางครั้งมีการเติมข้อความที่เป็นประโยชน์ต่อผู้สอบ หรือมีการแก้คำผิดหรือการบอกให้เติมคำตอบในกระดาษพิเศษที่แยกต่างหากออกไป
         
    - เลือกข้อสอบอย่างระมัดระวัง : อ่านข้อสอบอย่างระมัดระวังทั้งหมด และเลือกตัดสินใจว่าจะทำข้อใดก่อน
         
    - พิจารณาดูถึงความต้องการของอาจารย์ที่จะให้ท่านตอบ เช่น “อธิบายพอสังเขป” “อธิบายพอสังเขป” “อธิบายอย่างละเอียด” “จงให้ความหมาย” จงเปรียบเทียบ “จงวิเคราะห์” เป็นต้น
         
    - ระมัดระวังเรื่องระยะเวลาที่กำหนด : อย่าเสียเวลามากในการทำข้อสอบบางข้อ ท่านจะต้องแบ่งเวลาสอบแต่ละข้อให้ดี โดยดูจากคะแนน นอกจากนี้ควรมีเวลาสำหรับการตรวจดูความเรียบร้อยก่อนส่งกระดาษคำตอบ
        
    - วางโครงร่างเนื้อหาที่ท่านจะตอบ : ก่อนตอบคำถามแต่ละข้อพยามยามนึกถึงประเด็นสำคัญ จดประเด็นเหล่านั้นลงในขอบกระดาษคำตอบอย่างเป็นระเบียบ เพื่อที่เวลานักศึกษาบรรยายคำตอบจะได้ไม่หลงลืมประเด็นสำคัญที่ควรจะตอบเหล่านี้ อีกทั้งในกรณีที่หมดเวลา อย่างน้อยนักศึกษาก็แสดงให้อาจารย์ได้ทราบถึงความรู้ที่นักศึกษามี แต่ตอบไม่ทัน นักศึกษาอาจจะได้คะแนนเพิ่มมาบ้างก็ได้
         
    - เขียนให้อ่านออก : เขียนให้เร็ว แต่ต้องให้อ่านออก การเขียนขยุกขยิก เขียนอ่านยาก ทำให้อาจารย์ผู้ตรวจข้อสอบต้องมานั่งสะกดว่านักศึกษาเขียนอะไรบ้าง ก่อให้เกิดผลเสียมากกว่าผลดี
         
    - ตอบให้ตรงประเด็นคำถาม : อย่าบรรยายชนิด “น้ำท่วมทุ่งหาผักบุ้งไม่เจอ” สิ่งที่อาจารย์ต้องการคือ คุณภาพของคำตอบ ไม่ใช่ปริมาณความยาวของคำตอบ การเขียนบรรยายมากมาย แต่ไม่เน้นประเด็นคำตอบให้ดี แสดงว่านักศึกษาไม่รู้คำถามนั้นหมายถึงอะไร ต้องการคำตอบอะไร และควรระมัดระวังเรื่องภาษาด้วย ควรเขียนคำตอบโดยใช้ภาษาที่ถูกต้อง การสะกดคำ โดยเฉพาะคำ technical term ที่เป็นภาษาเขียน ต้องถูกต้อง ไม่ใช้คำย่อ (ยกเว้นเป็นที่ยอมรับ)
         
    - อย่ายอมแพ้ : ถึงแม้จะรู้สึก “หมดหวัง” อย่าตกใจ อย่าออกจากห้องสอบ มิฉะนั้นนักศึกษาจะพลาดโอกาสทั้งหมด แต่ถ้านักศึกษาตั้งสติพยายามรวบรวมสิ่งที่พอจะรู้ และนำมาตอบ นักศึกษาอาจจะได้คะแนนบ้าง
         
    - อย่าลืมว่า บางครั้งพอเริ่มเขียน อาจจะนึกบางสิ่งบางอย่างออกขณะที่ครั้งเริ่มแรกคิดว่าตัวเองไม่รู้ อย่าออกจากห้องสอบเร็วเกินควร ใช้เวลาที่เหลือให้เป็นประโยชน์ เพื่อให้แน่ใจว่าได้ทำข้อสอบที่ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้
         
    - การหมดเวลา : ให้เหลือเวลาไว้สัก 10 นาที ก่อนส่งกระดาษหรือหมดเวลา เพื่อที่จะได้ตรวจทานคำตอบและคำสั่งให้ดีเสียก่อน เพื่อแก้ไขสิ่งที่อาจเขียนผิดหรือตกหล่น


    ----------------------------------------------E-N-D---------------------------------------------

    CreDiT-> http://das.wu.ac.th/tdu_students/Tip/article1.html

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×