ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    {[]-รวม-[]}->เทคนิคการเรียน<-

    ลำดับตอนที่ #7 : [เทคนิคการจำ]::วิธีปฏิบัติ 11ข้อ เพื่อเพิ่มพูนความจำในบทเรียน

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 192
      0
      24 ก.ย. 50

    เทคนิคการจำ  
         
    วิธีปฏิบัติ 11ข้อ เพื่อเพิ่มพูนความจำในบทเรียน มีดังนี้
         
    1) ตั้งใจ และเอาใจใส่ขณะเรียนในชั้น
          การจะจำอะไรก็ตามให้ได้ดี ต้องสนใจสิ่งนั้นเสียก่อน หากความสนใจยังไม่เกิดขึ้นในขณะเดียวกันยังมีความรู้สึกเบื่อหน่ายอีกด้วย ต้องพยายามสร้างความสนใจขึ้นมาให้ได้ เช่น
       
      - หาเพื่อนคู่คิด เพื่อปรึกษาหารือในวิชาที่เรียน
         
    - ทำความรู้จักอาจารย์ทีสอนให้มากขึ้น
         
    - ฝึกทำงานในห้องปฏิบัติการหรือหาความรู้ให้มากขึ้น
        
    - หาวิธีการที่จะทำให้หัวข้อเรื่องที่เรียนมีชีวิตชีวามากขึ้น

         2) ฟังอาจารย์สอนให้เข้าใจ
         ถ้าไม่เข้าใจแล้ว จะจำได้อย่างไร เพราะหากท่องจำเป็นนกแก้ว นกขุนทอง ชั่วครั้งชั่วคราวก็จะลืม นอกจากนี้ถ้าเข้าใจผิดตั้งแต่ครั้งแรก และจำสิ่งที่ผิดไว้ในสมองจะทำให้รบกวนการจำสิ่งที่ถูกต้อง ในภายหลัง การเข้าใจนี้ต้องเข้าใจอย่างถ่องแท้ ลึกซึ้งสามารถจะถอดออกมาเป็นคำพูดของนักศึกษาเองได้ วิธีทดสอบ อาจจะทำโดยการอธิบายให้เพื่อนฟัง ถ้าเพื่อนเข้าใจ แสดงว่านิสิตประสบผลสำเร็จในการเรียนและความเข้าใจ
        

    3) รวบรวมเนื้อหาอย่างมีระบบ และมีความหมาย
        
    - โดยปกติคนเราสามารถจำสิ่งต่างๆ ได้เพียง 5-7 อย่างเท่านั้นในช่วงเวลาหนึ่ง
        
    - เทคนิคของการจำที่ดีวิธีหนึ่ง คือการจัดรวบรวมให้เนื้อหาที่มีประมาณ 25 อย่าง ให้มารวมเป็นกลุ่มก้อนเพียง 5 กลุ่ม ก็จะจำได้ง่ายขึ้น

    4) สร้างมโนภาพ 

    พวกเราส่วนใหญ่จะจำได้ดีขึ้น โดยการมองเห็น มากกว่าการอ่าน หรือ
    การได้ยินดังนั้น สิ่งที่เรียนมานี้เรามาทำเป็นแผนภูมิ หรือ วาดรูปได้หรือไม่ ถ้าจะต้องเรียนเกี่ยวกับบุคคลในประวัติศาสตร์ วาดภาพคนที่จะต้องท่องจำขึ้นมาจัดภาพเหล่านี้ขึ้นในสมองจะช่วยให้เกิดมโนภาพ และทำให้จดจำได้ง่ายขึ้น
        

    5) สร้างความเชื่อมโยง 

    สามารถเชื่อมโยง สิ่งที่เรียนมาใหม่กับสิ่งเก่าที่เคยรู้เรื่องมาแล้ว ก็เหมือนกับการจัดแฟ้มข้อมูลบรรจุไว้ในความจำ หากจะต้องจำสิ่งใหม่ ลองถามตัวเอง
         
    - สิ่งนี้เหมือนบางอย่างที่เราเคยรู้หรือไม่?
         
    - ตัวเลขนี้คล้ายคลึงกับตัวเลขที่เราเคยรู้หรือไม่?
    บางครั้งนักศึกษาจะเห็นว่า เทคนิคการจำอาจต้องใช้หลายวิธีผสมผสานกัน เช่น ใช้การเชื่อมโยง การจัดกลุ่ม การวาดภาพในใจ ความตั้งใจ ฯลฯ
    (ลองทดสอบตัวเอง : วิธีจำหมายเลขโทรศัพท์ ที่จอดรถ รหัสประจำตัว)
         
    6) รวบรวมข้อมูล :
     
    ความทรงจำมี 2 ประเภทคือ ความจำชั่วระยะสั้น ซึ่งเป็นการจำเพียง
    ไม่กี่วันก็ลืม 
        

    7) ส่วนอีกชนิดหนึ่งคือความจำถาวร 

    ซึ่งเป็นความจำที่ฝังลึกเป็นเวลายาวนานข้อมูลใหม่ๆ ที่ได้รับในแต่ละชั่วโมงเรียนจะต้องการเวลาสำหรับซึมซับเข้าสู่ระบบความจำ ถ้ามีข้อมูลมากๆ เราคงจะซึมซับเก็บเอาไว้ได้ยาก ในแต่ละวันจะได้รับข้อมูล (ที่จะต้องจำ) จากอาจารย์ตลอดเวลา ควรหาวิธีรวบรวมจัดข้อมูลให้เข้าที่เข้าทางเสียใหม่ เช่น
         
    - จดบันทึกในห้องเรียน
         
    - ถามคำถามในห้องเรียน
         
    - ทบทวนสิ่งที่จดบันทึก
         
    - ในแต่ละหัวข้อ ถ้าอ่านและตั้งคำถามได้ให้จดไว้ขอบกระดาษ
        
    - จับประเด็นคำบรรยายของอาจารย์
        
    - วาดภาพในใจ และพยายามกับตนเอง
         
    8) พูดปากเปล่า
        
          การพูดปากเปล่ากับตนเอง มีผลดี :
         
    - เมื่อรู้ตัวจะต้องอธิบายสิ่งใดก็ตามด้วยคำพูดของตนเองจะทำให้นักศึกษาตั้งใจทำงานมากขึ้น (นี่เป็นข้อหนึ่งของเทคนิคการจำ…ตั้งใจจะจำ)
        
    - ถ้านักศึกษาสามารถพูดอธิบายสิ่งใดก็ตามออกมาดังๆ แสดงว่านักศึกษาเข้าใจ มิฉะนั้นคงพูดเองไม่ได้
         
    - เมื่อหูได้ยิน ข้อมูลนี้ก็ส่งไปยังสมองเพื่อจดจำสิ่งที่ได้ยิน แสดงว่าขณะนี้นักศึกษากำลังใช้สมองเพื่อฝึกความจำ
         
    - เมื่อนักศึกษาอ่านเนื้อหาในแต่ละตอน ลองหยุดและพูดออกมา นักศึกษาจะเห็นว่าการเข้าใจสิ่งที่อ่านและการอธิบายออกมาเป็นคำพูดนั้นแตกต่างกัน ถ้าสามารถอธิบายออกมาได้ แสดงว่านักศึกษาเข้าใจ
         
    - การฝึกพูดปากเปล่า อาจอาศัย การจดบันทึกคำที่สำคัญเพื่อเป็นเครื่องมือช่วยจำ หรืออาจอาศัยเพื่อนผลัดกัน ถาม-ตอบ ฯลฯ

         
    9) รู้จักเลือก
         
    ความสามารถในการจดจำมีขีดจำกัด นักศึกษาไม่สามารถจดจำเนื้อหา ทั้งหมดที่เรียนมา นักศึกษาอาจจะถาม…แล้วผมควรทำอย่างไร? คำตอบคือ นักศึกษาควรต้องรู้จักเลือกว่าเนื้อหาใดสำคัญมีค่าควรต่อการจดจำ
    เลือกอย่างไร?
         
    - เวลาอ่านหนังสือในหัวข้อที่อาจารย์มอบหมาย ลองสำรวจดูให้ดีก่อนจะอ่าน ดูหัวข้อ ภาพกราฟ หนังสือตัวเข้ม ส่วนสรุปท้ายบท และหากมีคำถามท้ายบท คำถามนั้นถามเกี่ยวกับสิ่งใดบ้าง สิ่งต่างๆ เหล่านี้สามารถบอกเป็นนัยได้ถึงประเด็นสำคัญที่ควรจดจำ
         
    - ระหว่างการฟังบรรยาย อาจารย์ได้พูดเน้น พูดย้ำอะไรบ้าง สังเกตท่าทางอาจารย์ เอกสารประกอบ ที่อาจารย์แจกให้ สิ่งที่อาจารย์เขียนบนกระดานหรือแผ่นใส
         
    - ทำตัวเหมือนเป็นอาจารย์ผู้ออกข้อสอบ ถามตัวเองว่า “ถ้าเป็นคนออกข้อสอบ เราจะถามเรื่องอะไรดี”?
         
    10) รู้จักกระจายเวลา
         
    ปกติคนเราจะได้ดี เมื่อเริ่มชั่วโมงสอน หรือหัวข้อแรกๆ และจากนั้นจำได้น้อยลงมาเมื่อถึงช่วงท้ายๆ ของการสอน และจำไม่ได้มากที่สุดตอนช่วงกลางๆ ของการสอน
    ถ้าเรียนวันละ 1 ชั่วโมง ช่วง 20 นาทีแรก และ 20 นาทีสุดท้าย สามารถจดจำได้ดี ถ้าเป็นเช่นนี้ก็คงไม่มีปัญหาอะไรมากนักหรือเรียนตั้งแต่ 8 โมงเช้า ถึงเที่ยง วันละ 4 ชั่วโมง โดยช่วงบ่ายมีปฏิบัติการก็คงยังไม่เป็นกระไรนัก แต่ถ้าต้องเรียนวิชาบรรยายทั้งวัน คราวนี้คงมีปัญหาเหมือนกัน
         
    ลองทดลองวิธีการต่อไปนี้ :-
         
    - เนื่องจากช่วงกลางชั่วโมงสอน เป็นช่วงที่จำได้น้อยที่สุด ดังนั้นควรพยายามใส่ใจ สนใจต่อการสอนของอาจารย์ในช่วงกลางนี้ให้มากที่สุด
         
    - ช่วงว่าง 10 นาทีก่อนชั่วโมงเรียน (หากมีเวลา) ลองทบทวนเนื้อหาของวิชานั้นที่เพิ่งเรียนผ่านไปก่อนเข้าห้องเรียน
         
    - ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ เช่น อ่านทบทวนเนื้อหาของบทเรียน จดคำถาม หรือทำเครื่องหมายในแต่ละส่วนของบทเรียน วิธีนี้นักศึกษาจะอ่านครั้งละนิดหน่อย ไม่หนักเกินควร
        
    - อ่านคำบรรยายที่จดมาทันที ก่อนและหลังชั่วโมงเรียน

         
    11) ต้องมีพื้นฐาน (background)
         
    ลองนึกดูว่า…..นักศึกษาเก่งทางใดบ้าง เช่น ฟุตบอล วาดภาพ คอมพิวเตอร์ เย็บปักถักร้อย ทำอาหาร….นักศึกษาจะเก่งขึ้นมาไม่ได้ หากไม่รู้จักหัดทำ (ปฏิบัติ) มาก่อน ดังนั้นถ้านักศึกษาเรียนคณะอุตสาหกรรมเกษตร เมื่อฟังเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับการแปรรูปผลิตผลเกษตรนักศึกษาย่อมเข้าใจได้ดีกว่านักศึกษาคณะอื่น แสดงว่าการมีพื้นฐานของวิชาจะทำให้จดจำได้ง่ายขึ้น
    ลองทดลองวิธีการต่อไปนี้ :
        
    - ก่อนจะอ่านงานที่อาจารย์ มอบหมาย ให้ทบทวนข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว
         
    - ดูชื่อหนังสือ หัวข้อ รูปภาพ บทสรุป ก่อนลงมืออ่าน
         
    - ตั้งคำถามถามตนเองว่ามีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับ เนื้อหาในหนังสือมากน้อยเพียงใด ก่อนลงมืออ่าน
         
    - ก่อนเข้าชั้นเรียนฝึกทำแบบฝึกหัดและอ่านล่วงหน้า จะช่วยปูพื้นฐาน ให้มีความรู้ความเข้าใจได้ดีขึ้น
         
    - วิชาพื้นฐานที่ต้องเรียนเรียนมาก่อน (Prerequisiter) จะทำให้นักศึกษาสามารถเรียนวิชาต่อเนื่องได้อย่างดี ดังนั้นไม่ควรข้ามขั้นตอน


    ------------------------------------E-N-D----------------------------------------

    CrediT->http://das.wu.ac.th/tdu_students/Tip/article1.html

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×