ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    {[]-รวม-[]}->เทคนิคการเรียน<-

    ลำดับตอนที่ #13 : [เทคนิคการจับประเด็น]::เคล็ดลับการจับประเด็นง่ายๆ

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 416
      0
      24 ก.ย. 50

    เคล็ดลับวิธีจับประเด็น และ จดโน้ตย่อนี้เป็นเทคนิคง่าย ๆ นักเรียนนัก

    ศึกษาสามารถนำไปปฏิบัติได้ทุกคน ขอแต่เพียงเข้าใจเคล็ดลับวิธีการ

    เท่านั้นเอง หัวใจสำคัญของการจับประเด็น และ จดโน้ตย่อ คือ หมั่นฝึก

    จับประเด็นทุกครั้งที่ได้อ่านหรือได้ยินได้ฟังอะไรก็ตาม ควรฝึกบ่อยๆจน

    ติดเป็นนิสัย การอ่านเพื่อจับประเด็น เป็นสิ่งที่ฝึกกันได้ทุกคน หากมี

    ความเพียรพยายาม หากท่านสามารถจับหลักนี้ได้ ท่านย่อมพบกับความ

    สำเร็จในการเล่าเรียนศึกษาอย่างแน่นอน


    เคล็ดลับ


                   
    คนเราส่วนใหญ่เมื่ออ่านหนังสือหรือได้ยินได้ฟังอะไรแล้ว มักจะไม่ค่อยรู้จักตั้งคำถาม เพื่อกระตุ้นให้ความคิดทำงาน หลาย ๆ คน อ่านหนังสือแล้วก็อ่านไปเลย จำเรื่องราวได้แค่คร่าว ๆ ไม่ค่อยแม่นยำ จับประเด็นอะไรไม่ค่อยได้ บางคนถึงกับหลงประเด็นไปเลยก็มี 
                   
    หัวใจของการจับประเด็นคือ การฝึกหัดตั้งคำถามกับตัวเองทุกครั้งที่อ่านหนังสือ หรือ เมื่อได้ฟังเรื่องราวต่าง ๆ คำถามที่สำคัญ ได้แก่ คำถามว่า "อะไรคือประเด็นสำคัญของเรื่องนี้" หรือ "หัวใจของเรื่องมันอยู่ที่ตรงไหน" หรือ "คนเขียนหนังสือเรื่องนี้เขาต้องการจะบอกอะไรกับเรา" หรือ " สาระสำคัญของเรื่องมันอยู่ตรงไหน " เป็นต้น

    ท่านสามารถฝึกฝนเทคนิคการจับประเด็นได้ในชีวิตประจำวัน เช่นการอ่านหนังสือ พิมพ์ หรือบทความต่าง ๆ หรือแม้กระทั่งบทความในอินเตอร์เน็ต ยกตัวอย่าง เวลาท่านอ่านหนังสือพิมพ์ ก็อย่าเพิ่งไปดูที่พาดหัวข่าว ให้อ่านเนื้อหาของข่าวไปเลย พออ่านข่าวจบ ให้ท่านตั้งคำถามกับตัวเองว่า "ข่าวนี้ควรจะพาดหัวข่าวว่าอย่างไร" นี้เป็นการฝึกจับประเด็นที่ดีวิธีหนึ่ง 
                   

    หรือในกรณีที่ท่านได้อ่านบทความที่เป็นข้อถกเถียง หรือข้อโต้แย้ง ไม่ว่าจะหนังสือพิมพ์ หรือ จากกระดานข่าวในอินเตอร์เน็ต พอท่านอ่านบทความที่เป็นข้อขัดแย้งนั้นจบและทำความเข้าใจเนื้อหาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ก็ให้ท่านตั้งคำถามกับตัวเองว่า "ประเด็นของปัญหามันอยู่ตรงไหน" คำตอบที่ตอบปรากฏออกมาในใจของท่าน นั่นคือ ประเด็นของปัญหา ทีนี้เมื่อเราจับประเด็นได้แล้ว ในการพูดคุยแลกเปลี่ยนก็จะมีเป้าหมายที่ชัดเจน ไม่คลุมเครือ ไม่หลงประเด็นอีกต่อไป 
                   

    ในกรณีนักเรียนนักศึกษาที่จะต้องดูหนังสือทบทวนเพื่อเตรียมตัวสอบไล่ ควรฝึกหัด จับประเด็นให้คล่องแคล่ว เริ่มต้นด้วยการฝึกทำความเข้าใจในเนื้อหาตำราให้ได้เสียก่อน เมื่อเข้าใจแล้ว ขั้นต่อไปก็ให้ฝึกตั้งคำถามกับตัวเองทุกครั้งที่อ่านหนังสือจบบทว่า "หัวใจสำคัญของบทเรียนแต่ละบทที่อ่านมานั้นมันอยู่ที่ตรงไหน" หรือ ประเด็นที่สำคัญที่สุดของบทเรียนบทนี้คืออะไร " ทีนี้พอจับประเด็นแล้ว ก็ให้จดโน้ตย่อประเด็นนั้นให้เป็นข้อความสั้น ๆ เก็บเอาไว้ ทีนี้เวลาใกล้สอบก็ไม่ต้องไปท่องหนังสือทั้งเล่มอีกต่อไป เพียงแค่ทบทวนประเด็นที่จดโน้ตย่อไว้ในกระดาษเพียงไม่กี่แผ่นก็เข้าใจได้หมดทั้งเล่ม 
                   

    เวลาทบทวน แค่เราดูโน้ตย่อเพียงประโยคเดียว ความจำของเราก็จะทำหน้าที่ขยาย แตกตัวออกเป็นความเข้าใจเนื้อหาได้เป็นหน้า ๆ ทีนี้ถ้าหากมีที่ตรงไหนเราเกิดความรู้สึกคลุมเครือ หรือ ลังเลสงสัย เราก็เพียงแต่หยิบหนังสือมาทบทวนดูเฉพาะตรงบทนั้นอีกครั้งหนึ่ง 
                   

    ปัจจุบันเราอยู่ในยุคข่าวสารข้อมูล เป็นยุคที่ข่าวสารข้อมูลหลั่งไหลมาจากทั่วสารทิศจนท่วมท้นหูตาไปหมด คนที่เข้าใจเนื้อหาสาระและ จับประเด็นแม่น จะเป็นคนที่ได้เปรียบ เพราะสามารถรับข่าวสารข้อมูลได้มากมาย ในขณะที่คนอื่นรับไม่ไหว 
                   

    สาระสำคัญของบทความนี้ คือ ใครต้องการที่จะเป็นคนยุคข่าวสารข้อมูล คือมีความรู้เท่าทันข่าวสารข้อมูลที่หลั่งไหลเข้ามาอยู่ตลอดเวลา ก็ควรจะพัฒนาตนให้เป็นคนที่สามารถทำความเข้าใจเนื้อหาได้รวดเร็วและจับประเด็นเรื่องราวข่าวสารต่าง ๆ ได้แม่นยำ และ "การหมั่นฝึกตั้งคำถาม " คือหัวใจสำคัญที่สุดในการฝึกจับประเด็น 
                   

    ------------------------------------------E-N-D----------------------------------------

    CreDiT--->
                   http://www.budpage.com/patisum002.shtml

                                 

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×