เรียนรู้การแต่งผลงาน ตอน การแต่งเพลง - เรียนรู้การแต่งผลงาน ตอน การแต่งเพลง นิยาย เรียนรู้การแต่งผลงาน ตอน การแต่งเพลง : Dek-D.com - Writer

    เรียนรู้การแต่งผลงาน ตอน การแต่งเพลง

    หนังสือ เรียนรู้การแต่งผลงาน ตอน การแต่งเพลง สาระโดยตรง จาก Google.COM จัดทำโดย ชายนักแต่งผลงาน การ ไชยการ

    ผู้เข้าชมรวม

    1,086

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    34

    ผู้เข้าชมรวม


    1.08K

    ความคิดเห็น


    1

    คนติดตาม


    3
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  10 พ.ย. 55 / 11:32 น.


    ข้อมูลเบื้องต้น

                      เพลง  หมายถึงถ้อยคำที่นักประพันธ์เรียงร้อยหรือเรียบเรียงขึ้นซึ่งประกอบด้วย เนื้อร้อง ทำนอง จังหวะ ทำให้เกิดความไพเราะสร้างความเพลิดเพลินให้แก่ผู้ฟัง มีคุณค่าด้านวรรณศิลป์ทั้งด้านการเลือกสรรคำที่ใช้ในการแต่ง การเรียบเรียงประโยค และการใช้โวหาร เพลงนั้นอาจให้ข้อคิดแก่ผู้ฟังในการดำเนินชีวิตด้วยสำเนียงขับร้อง ทำนองดนตรี กระบวนวิธีรำระบำ โดยเพลงสร้างสรรค์จากเครื่องดนตรีหรือการขับร้อง


    สุนทราภรณ์ การรวมกลุ่มของนักดนตรีวงสุนทราภรณ์ เกิดขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2479 โดยเอื้อ สุนทรสนาน กับเพื่อนๆ ร่วมกันตั้งวงดนตรีไทยฟิล์ม เป็นวงดนตรีประจำบริษัทไทยฟิล์ม ของพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธ์ยุคล เมื่อบริษัทไทยฟิล์มเลิกกิจการในปี พ.ศ. 2482 ประจวบกับ วิลาศ โอสถานนท์ อธิบดีกรมโฆษณาการ ดำริให้มีวงดนตรีประจำกรม เอื้อ สุนทรสนาน และเพื่อนนักดนตรีวงไทยฟิล์ม จึงเข้ามาประจำเป็น วงหัสดนตรี กรมโฆษณาการ และเปลี่ยนชื่อวงเป็น วงดนตรีกรมประชาสัมพันธ์

    เพลงไทยสากล เป็นเพลงที่ขับร้องในภาษาไทย โดยเริ่มจากนำทำนองไทยเดิมใส่เนื้อร้องบรรเลงและขับร้อง โดยใช้มาตรฐานของโน้ตเพลงแบบสากล จนเป็นเพลงไทยแนวใหม่ โดยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2476 มีละครเวที ละครวิทยุ และภาพยนตร์ไทย มีบทบาทสำคัญทำให้เพลงไทยสากลได้รับความนิยม จนในปัจจุบันแตกสาขาไปอีกหลากหลายแนวเพลง

    เพลงลูกทุ่ง คือเพลงที่สะท้อนวิถีชีวิต สภาพสังคมอุดมคติและวัฒนธรรมไทย โดยมีท่วงทำนองคำร้อง สำเนียง และลีลาการร้องการบรรเลงที่เป็นแบบแผน มีลักษณะเฉพาะซึ่งให้บรรยากาศ ความเป็นลูกทุ่ง ขุนวิจิตรมาตราบันทึกไว้ในหนังสือเรื่องของละครและเพลง ว่าเพลงลูกทุ่งเป็นวงดนตรีแบบสากลที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ประมาณปีหรือสองปี ลักษณะเพลงลูกทุ่งในระยะเริ่มแรก มาจากการร้องรำทำเพลงของไทยดั้งเดิม อาทิ แหล่เทศน์ สวดคฤหัสถ์ จำอวด ลิเก (ทรงเครื่อง) ลิเกลูกหมด (ไม่แต่งเครื่อง) ลิเกบันตน ลำตัด เพลงขอทาน เพลงพื้นเมืองบางเพลง ฯลฯ โดยเพลงลูกทุ่งนำมาดัดแปลงแล้วใส่ดนตรีแบบสากล เป็นลักษณะเพลงแบบใหม่
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ



      คำแนะนำการแต่งเพลง

       ถ้าไม่เข้าใจเรื่องอารมณ์เพลง บอกตรงนี้เลยว่า ไม่มีทางที่จะแต่งเพลงได้ดี เพราะผมเคยมาก่อนครับ เคยหาคอร์ดดีๆ มาใส่ในเพลง ใส่โซโลเจ๋งๆ เขียนเนื้อคล้องกันสะอย่างดี ต่อพอเอาไปให้เพื่อนฟัง มันบอกว่า เหมือนกราฟเส้นตรงในจอกมอร์นิเตอร์ของห้องไอซียูที่คนตายไปแล้ว คือเรียบเอาสะมากๆ ฟ้งแล้วไม่มีอารมณ์ร่วมเลย ดังนี้ หัวใจสำคัญของการแต่เพลงคือ อารมณ์เพลง ไม่ว่าจะเป็นอารมณ์เศร้าหรืออารมณ์สนุกก็ตามต้องเค้นมันออกมาให้ได้ แล้วเพลงจะดีเอง
      - วิธีฝึกเรื่องอารณ์เพลง ให้ลองนั่งอยู่ห้องคนเดียว(อยู่กับคนอื่นเดียวเขาจะหาว่าเราบ้า) แล้วนึกเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่มันเศร้าถ้าต้องการแต่งเพลงเศร้า แล้วทำอารมณ์ออกมาให้น้ำตาของเรามันไหลออกมาให้ได้ (ตอนนี้ยังไม่ต้องหยิบเครื่องดนตรีมาเล่นก่อนเพราะเป็นเพียงการฝึกเรื่องอารมณ์เพลง) ในตอนที่น้ำตาคุณไหลนั้นแหละ อารมณ์เพลงหรือความรูสึกของเพลง และก็อย่ารอช้า -บรร - ละ - ยาย - มันออกมาเลยครับ เพลงจากใจ

       

      เทคนิคการเขียนเนื้อเพลง ผมจะพูดเกี่ยวกับภาษาไทยเสียเป็นส่วนมากนะครับ ในเรื่องของเมโลดี้หรือ DEMO เป็นเรื่องในส่วนของคนที่มีความรู้ด้านดนตรี ซึ่งก็จะเป็นคนละเรื่องกับส่วนนี้ อาชีพของนักแต่งเพลง แบ่งออกเป็นหลายตำแหน่งครับ แต่การแต่งเพลงแบ่งออกได้เป็น 3 ส่วน คือส่วนของ

       
      เขียนทำนอง(DEMO & Melody) เขียนเนื้อร้อง หรือเรียกว่า คนเขียนคำร้อง เรียบเรียงซึ่งในค่ายเพลงต่างๆในบ้านเรา ก็จะจ่ายเงิน ในการแต่งเพลง แบ่งออกเป็น 3 ส่วนนั้นตามเรตราคา ต่างๆกันตามแต่ละบริษัทเพลงบางเพลงไม่จำเป็นต้องมีเนื้อร้องก็ได้ความไพเราะที่สมบูรณ์ แต่เพลงบางเพลงจำเป็นต้องมีเนื้อร้อง ถึงจะได้ความไพเราะ และสมบูรณ์


      ทั้งนี้ทั้งนั้น ก็ขึ้นอยู่กับ รสนิยมและการดีไซน์อย่างที่เคยว่าไว้ เพลงที่ดีบางที่ก็ว่า ต้องเมโลดี้ดี ทำนองเพราะ บางที่ก็ว่า เนื้อร้องต้องกินใจ โดนใจ แต่บางที่ก็ให้ความสำคัญกับเสียงดนตรี ซาวน์ต้องแน่น ต้องสร้างอารมณ์และโชว์เทคนิค หรือความเก่งกาจทางดนตรีได้ มันก็ไม่มีอะไรถูกผิดตายตัว ขึ้นอยู่กับว่าเรามีรสนิยมทางไหน 

       

       

      ในการทำ DEMO หรือเรียบเรียง จำเป็นต้องมีความรู้ด้านดนตรี แต่การเขียนคำร้อง ไม่จำเป็นต้องมีก็ได้ แต่ถึงอย่างนั้น การมีความรู้ด้านดนตรีก็ถือเป็นเรื่องที่เป็นประโยชน์ครับ การเขียนคำร้อง จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีความรู้ทางด้านภาษา ไม่ต้องถึงขนาดจบปริญญาทางด้านภาษาศาสตร์ แต่ต้องเข้าใจเรื่องพื้นฐานทางภาษา มีภาษาส่วนตัว รู้จักใช้คำ  ลูกเล่นทางภาษา ใช้รูปประโยคการสื่อสารให้เกิดความเข้าใจได้ เทคนิคต่างๆ อาจจะเป็นเพียงส่วนหนึ่งของการแต่งเพลง ในชีวิตจริงอาจจะมีมากกว่านี้ ก็ขึ้นอยู่กับเทคนิคเฉพาะตนของแต่ละคน แต่เรื่องพื้นฐานต่อไปนี้ก็ช่วยให้เราเขียนเพลงได้ง่ายขึ้นพอสมควรเลยล่ะครับ

        

      1. ควรเขียนให้มีสัมผัส  จริงๆแล้วในปัจจุบัน เพลงที่คำนึงถึงสัมผัสมีน้อยลงมากครับ เดี๋ยวนี้ มีแต่เพลงที่แต่งตามใจฉันไม่สนใจสัมผัส ทั้งที่การมีสัมผัส ช่วยให้เพลงจำง่าย ฟังลื่นไหลเป็นธรรมชาติ อันนี้ผมเดาว่า เป็นเพราะรูปแบบของคนสมัยนี้เปลี่ยนไปคนที่เข้าใจในเรื่องสัมผัสมีน้อยลง จึงไม่คิดว่ามันเป็นเรื่องสำคัญและไม่ให้ความสนใจ ซึ่งมันก็ไม่ใช่เรื่องผิดครับ ทุกอย่างเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย เพลงที่เพราะหลายๆเพลง ก็ไม่มีสัมผัสเช่นกัน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ความจริงในเรื่องของคำสัมผัส ช่วยให้จำง่ายและฟังลื่นไหล ก็ยังคงเป็นความจริงอยู่ดี และผมคิดว่า นี่ก็เป็นเทคนิคอย่างหนึ่ง ที่ทำให้เพลง ฟังดูเป็นธรรมชาติอีกด้วย

        

      เช่น

      Ex 1 ไม่คิดสักครั้งว่ารักที่เราเคยทุ่มเทใจ แต่ว่ามัน...ก็จบ จุดหมายที่หวังวาดไว้มันกลายเป็นสิ่งเลือนลาง เมื่อเธอลืมกันลง

      Ex 2 ไม่คิดสักครั้งว่ารักที่เราเคยทุ่มเทใจ จบกันไป...ทุกอย่าง จุดหมายที่หวังวาดไว้มันกลายเป็นสิ่งเลือนลาง เมื่อเธอลากันไป

      จากตัวอย่างเราจะเห็นความ ความลื่นไหล แหละจำง่ายของตัวอย่างที่สอง มีมากกว่าตัวอย่างแรก เพราะฉะนั้นแล้ว กลวิธีนี้ก็เป็นทางเลือกหนึ่ง ที่สามารถจะเพิ่มเสน่ห์ให้กับเนื้อเพลงของเราได้วิธีหนึ่งด้วย

        

        

      2. ย้ายจุดสัมผัสให้เป็น เช่น ฉันโง่ใช่ไหม ที่งมงายยอมทนอย่างนี้เป็นคนดีที่เธอไม่แคร์ ตามใจเธอ ไม่เห็นเธอดูแล มีแต่ทำให้ช้ำใจ อยู่ได้ทุกวัน ฉันโง่ใช่ไหม ที่ยังคงงมงายอย่างนี้ยอมเป็นคนที่เธอไม่แคร์" เลื่อนสัมผัสก็เป็นอีกวิธีนึงครับ ที่เราจะสร้างสรรค์ประโยค อย่างที่เราอยากได้ยินได้

         

      3. เลือกใช้สระง่ายๆ เลือกใช้สระไอ สระอา สระอี สระอำ หรือลากเสียงให้ยาวขึ้นเช่น สระไอ เป็น สระอาย / อำ เป็น อาม / อัน เป้น อาน เหล่านี้ไม่ใช่กฎข้อบังคับนะครับ แต่เป็นเทคนิคในการเพิ่มตัวเลือกของคำสัมผัสให้มากขึ้น ทำให้เรามีคำให้เลือกใช้มากขึ้นครับ

        

      4. อย่าใช้คำซ้ำเยอะ ภาษาไทยเรามีข้อดีอย่างหนึ่งครับ คือมีหลายคำที่ให้ความหมายเดียวกัน เราสามารถเลือกและหาคำเหล่านั้นมาใช้แทนกันได้ เราไม่ควรจะใช้คำซ้ำเยอะครับ เพราะจะทำให้เรื่องดูน่าเบื่อ อย่างเช่นคำว่าพระจันทร์ ก็ยังมีคำว่า เดือน อีก พระอาทิตย์ ก็มี ตะวัน ฯลฯ เราสามารถเติมคำเข้าไปในคลังคำในสมองของเราก็ด้วยการอ่านหนังสือเยอะๆครับ อ่านเยอะๆ ฟังเยอะๆ เราก็จะมีคำสะสมเยอะ ช่วยให้เพลงของเรา ดูดีขึ้นอีกจมเลย

        

        

      5. เขียนถูกโน๊ต (ครบโน๊ต ไม่เพี๊ยน ไม่เหน่อ ถูกคำสั้น-ยาว) เราต้องเขียนให้ถูกโน๊ต ครบ โน๊ต ไม่เพี๊ยน ไม่เหน่อครับ เราควรจะให้ความเคารพเมโลดี้ ถ้าไม่จำเป็นจริงๆ เราไม่ควรจะแก้เมโลดี้ครับ ยกเว้นในบางกรณี เราสามารถเสนอความคิดเห็นเราได้ ว่าอยากให้เพิ่มหรือ ลดตรงไหน แต่ไม่ใช่ว่าเราตั้งหน้าตั้งตาจะแก้เมโลดี้เขาอย่างเดียวนะครับ มันไม่ใช่มารยาท เขียนให้ครบโน๊ตก็คือ ในแต่ละท่อนมีกี่โน๊ต หรือมีเสียงอยู่กีครั้ง เราก็ควรจะเขียนให้ได้ตามนั้น  เช่นในประโยคหนึ่งมี เมโลดี้อยู่ 7 ตัว เราก็ควรจะเขียนให้ได้เสียงในภาษา 7 เสียง หรือที่เรียกว่า 7 พยางค์ก็ได้ เช่น

        

      เมื่อมั่งมีมิตรมุ่งหมายมอง ( 7 คำ)

      เมื่อสหายอยากกินบะหมี่ ( 6 คำ แต่ 7 พยางค์)

      อยากสบายก็ไปสปา ( 5 คำ แต่ 7 พยางค์)

      ทั้งนี้ทั้งนั้น ต้องให้เสียงมันตรงกับเมโลดี้ด้วยนะครับ ถึงจะใช้ได้ และที่สำคัญ เราก็ควรจะเขียนให้ร้องได้ สื่อสารได้เข้าใจ ไม่เพี๊ยนโน๊ต จนความหมายเปลี่ยนหรือ ประโยคฟังแล้วขำไปเลย อย่างที่เคยได้กล่าวไว้ในหัวข้อ

        

      วิธีการเขียนเพลง 

      อีกเรื่องหนึ่งที่เราต้องระวังก็คือ คำสั้น  ยาว เราต้องฟังเสียงโน๊ต โน๊ตบางตัวสั้น บางตัวยาว เราต้องเขียนให้ถูกตามนั้น
      จะช่วยให้เพลงฟังดู สบายหู และลื่นขึ้นเป็นกองเลย อย่างคำว่า


      สบาย (สั้น-ยาว)

      ข้าวเปล่า (ยาว-ยาว)

      สปา (สั้น  ยาว)

      กระตุก (สั้น  สั้น)

      ประจุไฟฟ้า (สั้น  สั้น  ยาว  ยาว)


      อย่างถ้า เสียงเมโลดี้มัน สั้น ยาว เราไปใส่คำว่า ปวดท้องซึ่งเป็นเสียง ยาว - ยาว  ก็ไม่ถูกครับ แถมยังทำให้ร้องยากขึ้นด้วย เช่น จากเสียงที่ได้ยิน เราอาจจะร้อยประโยคใส่ได้ว่า

        

      โอ๊ย...อยากกินติ่มซำกับเขาบ่อยบ่อย

      แต่ถ้าเรา ใส่ประโยคว่า

       
      คุก....อยากชวนให้มาติดคุกสักหน่อย เสียงก็จะไม่ถูก แค่คำว่า คุก คำแรก ก็ออกเสียงลำบากแล้ว เพราะเมโลดี้มันลากเสียงยาว ถ้าเรายังไม่คล่องหรือยังไม่ค่อยเข้าใจเสียง สั้น ยาว เอาง่ายๆว่า ถ้าปากเปิด เราสามารถลากเสียงได้ยาว แต่ถ้ามันเป็นคำที่ปากปิด หรือลิ้นมันดันเพดานทำให้ช่องปากปิด เราจะไม่สามารถลากเสียงได้ ใช้เกณฑ์นี้ อาจจะไม่ถูกหลักภาษาไทยนักแต่มันเป็นการช่วยให้เรารู้ว่า เราจะเลือกใช้คำไหน แล้วร้องสบายปาก ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ไม่ใช่กฎตายตัวอย่างที่บอก ถ้าคำมันเจ๋งจริงๆ ได้ความหมายมากๆ เราสามารถยอมได้ แล้วใช้การร้องช่วยเข้ามาแก้ปัญหา แต่ยังไง ถ้าเป็นไปได้ เราก็น่าจะทำอย่างต้นแบบให้ได้ก่อน นี่ก็เป็นเทคนิคหนึ่งที่เราอาจจะคำนึงถึงในการแต่งเพลงครับ



      6. คิดคจากเมโลดี้เด่นๆ เราฟังเมโลดี้ในเพลง เสียงไหนที่มันสะดุดหูเรา เราชอบและเกิดไอเดีย เราสามารถเอาตรงนั้นมาขยายเป็นเพลงได้ครับ นี่ก็เป็นอีกเทคนิคหนึ่ง ที่ช่วยให้เราแต่งเพลงง่ายขึ้น

        7. คิดท่อน Hook ก่อน อันนี้เป็นวิธีที่ได้ผลค่อนข้างดีกับตัวผมเลยครับ เป็นวิธีของครูผมที่แนะนำมา เราฟัง Hook ก่อนเลย จำมันให้ขึ้นใจ ฟังเสียงหัว Hook แล้ว List คำออกมาดูว่า คำใดที่น่าสนใจ และเรื่องราวที่เราจะมาสร้างต่อมันแข็งแรง  ให้เลือกออกมาสร้างเป็นเรื่องและเขียนเป็นเพลง 

       


      8. ล้อคำ ล้อโน๊ต การล้อคำ ล้อโน๊ต จะทำให้เพลง สละสลวยจำง่ายขึ้น ยกตัวอย่างเช่น เพลง นินจา”  ของคริสติน่า ตรงท่อน เดี๋ยวผลุบ เดี่ยวโผล่ ไม่โผล่ ก็ผลุบ ไม่ผลุบ ก็โผล่โน๊ตค่อนข้างชัดเจน ก็ใช้คำล้อโน๊ตตามไปเลย ทำให้เพลง สละสลวย จำง่ายขึ้นด้วย

      เมื่อคุณต้องการจะเขียนเพลงสักเพลงหนึ่ง
      เมื่อคุณต้องการเขียนเพลงขึ้นมาสัก 1 เพลง สิ่งที่คุณควรคำนึงถึงก่อนการเริ่มเขียนเพลงคือ
      มีทำนองเพลงแล้ว คุณต้องจำเมโลดี้เพลงนั้นให้ได้ก่อน (กรณีที่คุณไม่ได้เป็นคนแต่งทำนองขึ้นมา) ถ้าทำนองเพลงนั้นๆอัดใส่เทปไว้ คุณควรเปิดฟังไปเรื่อยๆ (อย่างต่ำ 10 รอบ) ขณะที่ฟัง คุณลองวิเคราะห์ว่าทำนองเพลงนั้นสื่ออารมณ์แบบไหน เช่น เศร้า , สนุก , มีความหวัง , ให้กำลังใจ ฯ (ใช้อารมณ์ของคุณเป็นเกณฑ์ แต่คุณต้องฟังหลายๆ รอบจริงๆ) ถ้าคุณวิเคราะห์ได้จะทำให้คุณเขียนเพลงได้ง่ายขึ้น แต่ถ้าคุณวิเคราะห์ผิดจะทำให้คุณเสียเวลามาก เพราะต้องมาแก้ที่จุดวิเคราะห์ทำนองอีกครั้ง เมื่อคุณได้อารมณ์เพลงแล้ว พอจำเมโลดี้ของเพลงได้แล้ว คราวนี้ฟังพิจารณาดูว่าเมโลดี้ท่อนไหนของเพลงที่สะดุดหู(ฟังดูดี) หรือ ฟังแล้วจำง่าย ให้เอาท่อนนั้นมาใส่คำร้องโดยให้ยึดเมโลดี้และอารมณ์เป็นหลัก อย่าให้คำเพี้ยนจากความเป็นจริง แล้วทำท่อนนั้นขยายออกไป ส่วนเทคนิคในการเขียนจะขออธิบายต่อจากอีกข้อนะครับ
      ไม่มีทำนองเพลง อันนี้ง่ายครับ เขียนไปเลยเหมือนเขียนบทกลอน ไม่มีทำนองและอารมณ์มาบังคับในการเขียน แต่จากประสบการณ์ส่วนตัวนะครับ เพลงที่ไพเราะจะต้องเขียนทำนองขึ้นมาก่อนเขียนเนื้อร้องครับ ข้อสังเกตของการฟังเพลงว่าเพลงนั้นเขียนทำนองหรือเขียนเนื้อร้องก่อน ลองวิเคราะห์ตามนี้ครับ เพลงที่มีเมโลดี้สูงต่ำบ่อยๆ หรือ มีเมโลดี้สูงต่ำในส่วนของเพลงที่มีไม่ใช่ท่อนฮุก เพลงนั้นจะเป็นการเขียนทำนองก่อนเขียนเนื้อร้อง ส่วนเพลงที่มีเมโลดี้ในเพลงเป็นเสียงเดียวกันบ่อยๆ (โน๊ตซ้ำ) เพลงนั้นเป็นการเขียนคำร้องขึ้นมาก่อน แล้วหาทำนองใส่ลงไปโดยใช้คำพูดเป็นตัวกำหนดเสียงสูงต่ำ
      เทคนิคการเขียนเพลง เมื่อคุณจะลงมือเขียนเพลงเทคนิคเหล่านี้เป็นส่วนสำคัญและจะทำให้เพลงมีคุณภาพได้
      1. กำหนดเรื่องราวในบทเพลง ตั้งแต่ต้นจนจบ (อารมณ์เพลงที่ได้จากการฟังทำนอง) 
      2. กำหนดเหตุการณ์ขึ้นมาว่ามีเหตุการณ์อะไรในเพลงบ้าง (คล้ายละครสั้น)
      3. กำหนดตัวละครขึ้นมาว่าในเหตุการณ์นั้นมีไครเข้ามาเกี่ยวข้องบ้าง
      4. ผู้ถ่ายทอดออกมาเป็นตัวละครตัวไหนในเหตุการณ์ หรือ เป็นอะไรกับเหตุการณ์นั้นๆ
      5. กำหนด เวลา , สถานที่ ในการถ่ายทอด เช่น การบอกรักในอารมณ์ตอนเช้า หรือ ตอนเย็น จะต่างกัน หรือ บอกรักในบ้านกับบอกรักที่ริมทะเลก็ต่างกัน (อารมณ์มันต่างกัน)
      6. การสัมผัสนอกสัมผัสในเป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้เพลงนั้นฟังแล้วเสนาะหู แต่ไม่จำเป็นต้องมีทุกช่วงเหมือนแต่งบทกลอนก็ได้ 
      7. คำขึ้นต้นต้องแข็งแรง คือ คำร้องท่อนแรกของเพลงพอฟังแล้วรู้สึกอยากฟังต่อ หรือ อยากรู้ว่ามีอะไรเกิดขึ้นในเหตุการณ์นั้น ส่วนนี้ถือเป็นส่วนสำคัญที่คนฟังเพลงนั้นครั้งแรกจะยอมฟังเพลงนั้นจบหรือไป
      8. กระชับ เข้าใจ , ได้ใจความ และสรุปจบแบบลงตัว ต้องสรุปนะครับ(จบแบบไหน เช่น สมหวัง หรือ ผิดหวัง ฯ) ถ้าไม่มีสรุปก็เหมือนดูหนังแล้วไม่มีจบ (จบแบบงงๆ ว่ามันจะเป็นยังไงต่อไป หนังยังสร้างภาค 2 ได้ แต่เพลงไม่มีภาค 2 นะครับ)
      9. ใช้ธรรมชาติมาช่วยในการบรรยาย หรือ เปรียบเปรยกับธรรมชาติ เช่น สายลม แสงแดด ท้องฟ้า ลำธาร ฯลฯ เลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง อย่าให้มันมากเกินไปจนฟังแล้วเลี่ยนหู
      10. ยึดมั่นในอารมณ์เพลง อย่าให้อารมณ์เปลี่ยนไป และไม่ควรมีหลายอารมณ์ใน 1 เพลง เช่น เพลงนี้เป็นเพลงสร้างกำลังใจฟังแล้วรู้สึกมีกำลังใจในการต่อสู้ชีวิต รู้สึกฮึกเหิมขึ้นมา แต่พอใกล้จบเพลง เนื้อเพลงกลับเป็นการไม่แน่ใจในการทำสิ่งนั้นลงไป ไม่กล้าที่จะทำ (อารมณ์ในการฟังเปลี่ยนทันที ถือเป็นเพลงที่แย่มากครับ)
      11. เนื้อร้องต้องเป็นคำที่ทุกคนฟังแล้วเข้าใจ ไม่ใช่เป็นคำเฉพาะกลุ่ม หรือ ฟังแล้วกลุ่มส่วนน้อยเข้าใจ แต่คนส่วนใหญ่ฟังแล้วไม่เข้าใจ
      12. เพลงที่เขียนขึ้นมา ศิลปินผู้ถ่ายทอดเป็นใคร เด็ก วัยรุ่น ผู้ใหญ่ ผู้ชาย หรือ ผู้หญิง เช่นศิลปินเป็นเด็กแต่เพลงบอกรักถี่ยิบเลยก็คงไม่เหมาะสม หรือ ศิลปินผู้หญิงอ่อนหวานแต่เพลงมีคำพูดดูแข็งกร้าว ดุเดือด ก็คงดูไม่ดี เป็นต้นครับ แต่จะมีข้อติงที่ว่า แล้วจะเขียนอย่างไรถ้ายังไม่รู้ว่าศิลปินผู้ถ่ายทอดเป็นใคร ไม่เป็นไรครับ เขียนไปเลยโดยให้ยึดอารมณ์ของเพลงเป็นข้อสำคัญนะครับ เพลงที่ได้จะไปเกลาให้เข้ากับศิลปินอีกที (กรณีเป็นนักเขียนไม่มีค่ายเพลง กรณีมีค่ายเพลงเขาจะรู้ล่วงหน้าครับว่าเพลงที่จะแต่ง ศิลปินคนไหนจะเป็นคนถ่ายทอด)
      นี่คงเป็นเทคนิคเล็กน้อยที่จะทำให้คุณเขียนเพลงได้ง่ายขึ้น และทำให้เพลงของคุณมีคุณภาพมากขึ้นนะครับ

      ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      ความคิดเห็น

      ×