ตามรอยพ่อหลวง ๑ - ตามรอยพ่อหลวง ๑ นิยาย ตามรอยพ่อหลวง ๑ : Dek-D.com - Writer

    ตามรอยพ่อหลวง ๑

    ตามรอยพ่อหลวง เศรษฐกิจพอเพียง คำตอบที่แท้ แห่งชีวิตทุกสมัย

    ผู้เข้าชมรวม

    1,319

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    1

    ผู้เข้าชมรวม


    1.31K

    ความคิดเห็น


    0

    คนติดตาม


    0
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  5 มี.ค. 50 / 16:41 น.


    ข้อมูลเบื้องต้น
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ

      มิเฉพาะเพียงแนวทางเกษตรทฤษฎีใหม่ สำหรับเกษตรกรเท่านั้น หากหมายรวมถึง การดำเนินชีวิตทางสายกลาง และการยึดหลักการพึ่งพาตนเอง

       [---]ปรัชญา 'เศรษฐกิจพอเพียง' ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ

      ที่พระราชทานให้กับประชาชนคนไทยนั้น

      ยิ่งใหญ่และเปี่ยมคุณค่าต่อการดำรงชีวิตของคนไทยเหลือคณานับ

      มิเฉพาะเพียงแนวทางเกษตรทฤษฎีใหม่ สำหรับเกษตรกรเท่านั้น

      หากหมายรวมถึง การดำเนินชีวิตทางสายกลาง และการยึดหลักการพึ่งพาตนเอง ของ

      'ทุกชีวิต' ที่ต้องเผชิญกับกระแสโลกาภิวัตน์ และความเปลี่ยนต่างๆ อีกด้วย

      โดยเฉพาะการดำรงชีพในยุคสมัยปัจจุบัน เช่น พ.ศ.2549 นี้!!

      จำเป็นเหลือเกินที่ต้องพึ่งหลัก 'เศรษฐกิจพอเพียง'

      ในระดับบุคคลทั่วไปมาใช้ในชีวิตโดยเร่งด่วน

      ด้วยระดับนี้ ถือเป็นความสามารถในการดำรงชีวิตอย่างไม่เดือดร้อน

      มีความเป็นอยู่อย่างพอประมาณตนตามฐานะ ไม่หลงใหลไปตามกระแสวัตถุนิยม

      มีอิสรภาพในการประกอบอาชีพ เดินทางสายกลาง ทำกิจกรรมที่เหมาะสมกับตนเอง

      และสามารถพึ่งพาตนเองได้

      "การกู้เงินที่นำมาใช้ในสิ่งที่ไม่ทำรายได้นั้น ไม่ดี อันนี้เป็นข้อสำคัญ

      เพราะว่าถ้ากู้เงินแล้วทำให้มีรายได้ ก็เท่ากับจะใช้หนี้ได้

      ไม่ต้องติดหนี้ ไม่ต้องเดือดร้อน ไม่ต้องเสียเกียรติ"

      (พระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพรรษา : 4 ธันวาคม 2540)

      แม้บางคนอาจจะพลาดไปแล้ว ไม่ว่าจะใช้จ่ายเกินตัว หนี้สินล้นมือ ฯลฯ

      แต่ไม่มีคำว่าสายเกินไปสำหรับการเริ่มต้นใหม่อีกครั้ง ]

      "เศรษฐกิจพอเพียง เป็นเสมือนรากฐานของชีวิต รากฐานความมั่นคงของแผ่นดิน

      เปรียบเสมือนเสาเข็มที่ถูกตอกรองรับบ้านเรือนตัวอาคารไว้นั่นเอง

      สิ่งก่อสร้างจะมั่นคงได้ก็อยู่ที่เสาเข็ม แต่คนส่วนมากมองไม่เห็นเสาเข็ม

      และลืมเสาเข็มเสียด้วยซ้ำไป"

       [---]เรื่องเศรษฐกิจพอเพียงนี้ ในหลวงทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะมายาวนานกว่า 30

      ปีแล้ว โดยพระองค์ท่านทรงพระราชทานในวโรกาสต่างๆ กัน

      เริ่มต้นในปี พ.ศ.2517 ทรงเน้นย้ำถึง

      ความพอมีพอกินของประชาชนและประเทศชาติเป็นเบื้องต้น

      แต่ปีที่ประชาชนให้ความสนใจมากเป็นช่วงหลังจากเกิดวิกฤตการณ์เศรษฐกิจปี

      พ.ศ.2540 นั่นเอง โดยมีหลักการเกี่ยวกับ 'การใช้เงิน'

      เท่าที่มีตามฐานะของตนเอง และให้รู้จักการวางแผนการใช้เงิน

      "...การจะเป็นเสือนั้น ไม่สำคัญ สำคัญอยู่ที่เรามีเศรษฐกิจแบบ 'พอมีพอกิน'

      แบบพอมีพอกิน หมายความว่า อุ้มชูตัวเองได้ ให้มีพอเพียงกับตัวเอง

      ความพอเพียงนี้ไม่ได้หมายความว่าทุกครอบครัวจะต้องผลิตอาหารของตัว

      จะต้องทอผ้าใส่เอง อย่างนั้น มันเกินไป แต่ว่าในหมู่บ้านหรือในอำเภอ

      จะต้องมีความพอเพียงพอสมควร บางสิ่งบางอย่างที่ผลิตได้มากกว่าความต้องการ ก็ขายได้

      แต่ขายในที่ไม่ห่างไกลเท่าไหร่ ไม่ต้องเสียค่าขนส่งมากนัก.."

      (พระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา : 4 ธันวาคม 2540)

      ในปีนั้น ในหลวงทรงมีรับสั่งถึงนิยามของเศรษฐกิจแนวทางใหม่นี้ด้วย

      "Self-Sufficient Economy คือเศรษฐกิจแบบพอเพียงกับตัวเอง เราก็อยู่ได้

      ไม่ต้องเดือดร้อน"

      "... ที่พูดกลับไปกลับมาในเรื่องการค้า การบริโภค การผลิต และการขายนี้

      ก็นึกว่าท่านทั้งหลายกำลังกลุ้มใจในวิกฤตการณ์ ตั้งแต่คนที่มีเงินน้อย

      จนกระทั่งคนที่มีเงินมากล้วนเดือดร้อน

      แต่ถ้าสามารถที่จะเปลี่ยนไปทำให้กลับเป็นเศรษฐกิจแบบพอเพียง

      ไม่ต้องทั้งหมด แม้แค่ครึ่งก็ไม่ต้อง อาจจะสักเศษหนึ่งส่วนสี่

      ก็จะสามารถอยู่ได้ การแก้ไขอาจจะต้องใช้เวลา ไม่ใช่ง่ายๆ

      โดยมากคนก็ใจร้อน เพราะเดือดร้อน แต่ว่าถ้าทำตั้งแต่เดี๋ยวนี้

      ก็สามารถที่จะแก้ไขได้..."

      ถึงอย่างนั้นยังคงยากต่อความเข้าใจ อีกทั้งตีความผิดๆ

      ในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาปี พ.ศ.2541 จึงมีรับสั่งอธิบายซ้ำอีกครั้ง

      "คำว่าเศรษฐกิจพอเพียงนี้ ไม่มีในตำรา ไม่เคยมีระบบเศรษฐกิจพอเพียง

      มีอย่างอื่น แต่ไม่ใช้คำนี้ ปีที่แล้วพูดว่า 'เศรษฐกิจพอเพียง'

      เพราะหาคำอื่นไม่ได้ และได้พูดอย่างหนึ่งว่า เศรษฐกิจพอเพียงนี้ ให้ปฏิบัติเพียงครึ่งเดียว

      คือไม่ต้องทั้งหมด หรือแม้จะเศษหนึ่งส่วนสี่ก็พอ..."

      "เศรษฐกิจพอเพียงนี้ ให้ปฏิบัติเพียงครึ่งเดียว คือไม่ต้องทั้งหมด

      หรือแม้จะเศษหนึ่งส่วนสี่ก็พอ ไม่ใช่เศษหนึ่งส่วนสี่ของพื้นที่

      แต่เศษหนึ่งส่วนสี่ของการกระทำ.."

      "...คำว่าพอเพียง มีความหมายอีกอย่างหนึ่ง มีความหมายกว้างออกไปอีก

      ไม่ได้หมายถึงการมีพอสำหรับใช้เองเท่านั้น แต่มีความหมายว่าพอมีพอกิน

      พอมีพอกินนี้ ถ้าใครได้มาอยู่ที่นี่ ในศาลานี้ เมื่อปี 2517 เมื่อ 24 ปีมาแล้ว

      วันนั้นได้พูดว่าเราควรจะปฏิบัติให้พอมีพอกิน

      พอมีพอกินนี้ก็แปลว่าเศรษฐกิจพอเพียงนั่นเอง ถ้าแต่ละคนพอมีพอกิน ก็ใช้ได้

      ยิ่งถ้าทั้งประเทศพอมีพอกินก็ยิ่งดี และประเทศไทยเวลานั้นก็เริ่มจะไม่พอมีพอกิน

      บางคนก็มีมาก บางคนก็ไม่มีเลย สมัยก่อนนี้พอมีพอกิน มาสมัยนี้ชักจะไม่พอมีพอกิน

      จึงต้องมีนโยบายที่จะทำเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อที่จะให้ทุกคนมีพอเพียงได้"

      "ให้พอเพียงนี้ก็หมายความว่า มีกินมีอยู่ ไม่ฟุ่มเฟือย ไม่หรูหราก็ได้

      แต่ว่าพอ แม้บางอย่างอาจจะดูฟุ่มเฟือย แต่ถ้าทำให้มีความสุข

      ถ้าทำได้ก็สมควรที่จะทำ สมควรที่จะปฏิบัติ"

       

       [---]ทรงเน้นย้ำว่าพอเพียง คือ ไม่โลภมาก ไม่เบียดเบียน

      "...พอเพียงนี้มีความหมายกว้างขวางยิ่งกว่านี้อีก คือคำว่าพอ ก็เพียงพอ

      เพียงนี้ก็พอดังนั้นเอง คนเราถ้าพอในความต้องการ ก็มีความโลภน้อย

      เมื่อมีความโลภน้อย ก็เบียดเบียนคนอื่นน้อย ถ้าทุกประเทศมีความคิด -

      อันนี้ไม่ใช่เศรษฐกิจ -

      มีความคิดว่าทำอะไรต้องพอเพียง หมายความว่าพอประมาณ ไม่สุดโต่ง

      ไม่โลภอย่างมาก คนเราก็อยู่เป็นสุข พอเพียงนี้อาจจะมีมาก

      อาจจะมีของหรูหราก็ได้ แต่ว่าต้องไม่ไปเบียดเบียนคนอื่น ต้องให้พอประมาณตามอัตภาพ

      พูดจาก็พอเพียง ทำอะไรก็พอเพียง ปฏิบัติตนก็พอเพียง"

      ในด้านพูดจาและความคิดก็ต้องพอเพียงด้วย เพื่อมิให้เกิดการทะเลาะกัน

      ความพอเพียงในความหมายนี้ก็คือ ความพอประมาณ และความมีเหตุผลนั่นเอง

      "ความพอเพียงในความคิดก็คือ แสดงความคิดของตัว ความเห็นของตัว

      และปล่อยให้อีกคนพูดบ้าง และมาพิจารณาว่า ที่เขาพูดกับที่เราพูด อันไหนพอเพียง

      อันไหนเข้าเรื่อง ถ้าไม่เข้าเรื่องก็แก้ไข เพราะว่าถ้าพูดกันโดยที่ไม่รู้เรื่อง

      ก็จะกลายเป็นทะเลาะกัน..."

      (พระราชดำรัส 4 ธันวาคม 2541)

       [---]ในหลวงทรงเน้นย้ำถึงความหมายของ เศรษฐกิจพอเพียง (sufficiency economy)

      ซึ่งเป็นคำใหม่ของพระองค์ท่านอีกครั้งในปี พ.ศ.2543

      "หมายความว่า ประหยัด แต่ไม่ใช่ขี้เหนียว ทำอะไรด้วยความอะลุ้มอล่วยกัน

      ทำอะไรด้วยเหตุและผล จะเป็นเศรษฐกิจพอเพียง แล้วทุกคนจะมีความสุข"

      (พระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา : 4 ธันวาคม 2543)

      อีกทั้งยังมีพระราชดำรัสถึงแนวทาง 'อยู่อย่างประหยัด' ด้วย

      "การใช้จ่ายโดยประหยัดนั้น

      จะเป็นหลักประกันความสมบูรณ์พูนสุขของผู้ประหยัดเอง และ ครอบครัว ช่วยป้องกันความขาดแคลนในวันข้างหน้า

      การประหยัดดังกล่าวนี้ จะมีผลดีไม่เฉพาะแก่ผู้ประหยัดเท่านั้น

      ยังจะเป็นประโยชน์แก่ประเทศชาติด้วย"

      (พระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันขึ้นปีใหม่ : 31 ธันวาคม 2502)

      "การประหยัด เป็นสิ่งที่พึงประสงค์อย่างยิ่งในทุกแห่ง และในกาลทุกเมื่อ

      ขอให้คำนึงถึงผลที่เกิดขึ้นจากการประหยัดนี้ให้มาก"

      (พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าฯ : 30 ตุลาคม 2521)

      'การประหยัด' ควบคู่ไปกับหลักการ 'พออยู่ พอกิน พอใช้'

      จึงใช้ได้ทุกยุคสมัย และเป็นไปตามแนวทางปฏิบัติตนตามเศรษฐกิจพอเพียงโดยแท้

      ที่มา  
       [url]http://http://gotoknow.org/blog/mediaforyouth/34204[/url]

      ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      ความคิดเห็น

      ×