ทางรัก - ทางรัก นิยาย ทางรัก : Dek-D.com - Writer

    ทางรัก

    เรื่องราวของหญิงสาวคนหนึ่งที่หลงรกกับเพื่อนของพี่ชาย ระหว่างที่ไปเยี่ยมพี่ที่เยอรมันนี และความรักของคนสองคนเกิดขึ้นท่ามกลางความสวยงามของสถานที่ที่พวกเขาได้เดินทางไป

    ผู้เข้าชมรวม

    506

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    0

    ผู้เข้าชมรวม


    506

    ความคิดเห็น


    2

    คนติดตาม


    0
    หมวด :  ซึ้งกินใจ
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  7 ม.ค. 50 / 10:03 น.


    ข้อมูลเบื้องต้น
    นิยายแฟร์ 2024
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ

      จดหมายฉบับที่ ๒๔  เมืองเท้า Fussen ที่พัก ฟังซิ (ถึงได้) โอน Pension

                ศุลี ตื่นในตอนเช้าที่อากาศหนาวเย็น และรีบอาบน้ำมีเครื่องทำน้ำอุ่นแต่ก็ยังหนาวอยู่  เธอเห็นเด็กชายคนหนึ่งยืนแก้ผ้าอยู่และรีบวิ่งไปเพราะอายศุลี และเธอเดินชมสวนที่เต็มไปด้วยกุหลาบหินสีสันต่างๆ และมาพบกับตานอง ซึ่งตานองไม่ค่อยสบายเพราะเขาเป็นไซนัสอักเสบ  และได้เล่าถึงร้านขายยาว่าในเมืองนากคนที่จะซื้อยากินได้ต้องมีใบสั่งยาจากแพทย์เท่านั้นเขาจึงจะขายให้ไม่เหมือนในเมืองไทยที่มีขายเหมือนกับร้านขายก๋วยเตี๋ยว  และศุลีก็เดินเล่นในสวนไปกับตานอง ศุลีบ่นไม่อยากกลับแฟรงเฟิร์ต  ซึ่งนายฉายจะพรศุลีเข้ามึนเว่นไปไฮเดลแบร์กต่อและจะบินไปฝรั่งเศส จึงจะกลับกรุงเทพ แต่ไม่รู้ว่านายชยานนท์จะไปด้วยหรือไม่ ตานนท์บอกกับศุลลีว่าเธอเป็นคนๆเดียวที่ทำให้เขานึกถึงบ้านจากนั้นเขาก็พากันไปกินข้าวกัน และออกเดินทางไปยังมึนเช่น แต่ระหว่างทางต้องผ่านภูเขาแอลป์ ซึ่งต้องใช้เวลาบนภูเขาถึง ๖ ชั่งโมงเต็ม บนภูเขาเต็มไปด้วยทางลาดชัน และอากาศหนาวเย็น มีด่านระหว่างเยอรมันกับออสเตรเลียเพื่อตรวจคนเข้าเมือง  และไปถึงเมืองอินบรูก (Innsbruck) ก็ร่วมเที่ยงพอดี ศุลีและตานองรวมทั้งนายฉายพี่ชายของเขาก็ไปกินข้าวกันแต่ในอินบรูกถือเป็นแหล่งรวมนักท่องเที่ยวที่ลงจากเทือกเขาแอลป์จึงทำให้ร้านอาหารทุกร้านแน่นขนัดไปด้วยนักท่องเที่ยว  ทำให้ทั้งสามคนต้องมาหาอะไรกินกันที่ร้านขายไส้กรอก ซึ่งไม่อร่อยเท่ากับไส้กรอกในเบอร์ลิน ในอินบรูกถนนที่คนหลั่งไหลไปมากที่สุดคือที่ถนนแฮร์ซอด เฟรดริช ตราสเซ่ (Herzog Friedrich Strasse)  ซึ่งที่นั่นมีหลังคาที่มุงด้วยสีทองทำให้เป็นที่ตื่นตาตื่นใจของพวกไอ้มัน(คนเยอรมัน)กันเป็นอย่างมาก  และออกจากอินบรูกเมื่อตอยบ่าย เมืงอินบรูกได้ชื่อว่าเป็น ฮาร์ท ออฟ แอลป์ (heart of ale) เพราะเป็นที่ราบเพียงแห่งเดียวในเทือกเขาแอลป์ ก่อนจะถึงหมู่บ้านเซนต์อันโทน (St. Anton) และได้จอดรถแวะที่ลานจอดรถบนเทือกเขาแอลป์ซึ่งถือเป็นจุดชมวิวก็ได้มีเมฆบางๆลอยเข้ามาสามารถสัมผัสได้ถึงความเย็น บนนั้นมีร้านขายของที่ระลึกด้วย เมื่อมาถึงหมู่บ้านเซนต์อันโทน เป็นหมู่บ้านที่เล็กนิดเดียว ด้านหลังหมู่บ้านเป็นเทือกเขาสูงลิบจรดฟ้า มีหิมะและเมฆปกคลุมยอดเขาเป็นทางยาว และแวะพักที่โรงแรม Marmota ในเขตเมือง Nenzing เป็นโรงแรมขนาดเล็ก มีต้นไม้ดอกไม้บานเต็มสวน มีฝนโปรยปรายลงมาเล็กน้อยนายฉายจะพาศุลีไปไฮเดลแบร์ก และจะไปเยี่ยมชมแถวนั้นประมาณ 3-4 วัน และจะบินเข้าแฟรงเฟิร์ต เข้าฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์ แล้วบินตรงเข้ากรุงเทพ

       จดหมายฉบับที่ 25 Marmota Hotel, Nnzing Vorarlberg

                เมื่อศุลีตื่นขึ้นมาหมอกลงจัดเนื่องจากฝนโปรยลงมาทั้งคืน เมื่อสายหน่อยจึงค่อยพากันออกเดินทางต่อและต้องไต่ขึ้นภูเขาแอลป์ที่หมอกลงจัดอีกเช่นกัน แต่จะมีไม้ที่ทาสีสะท้อนแสงปักไว้ทั้งสองข้างทางเพื่อให้มองเห็นขอบถนน  และไปกินข้าวกันที่ริมทะเลสาบซูริค มีทั้งเป็ดป่าและนกนางนวลบินว่อนทั่งท้องฟ้า ตานอกบอกศุลีว่าถ้ามาหน้าหนาวจะสามารถเดินข้ามทะเลสาบไปอีกฟากได้เพราะน้ำในทะเลสาบจะแข็งจนสามารถทำให้เดินข้ามได้เลยทีเดียว ร้านพวกดีพาร์ทเมนท์สโตร์ในซูริชคล้ายกับในเบอร์ลินแต่ราคาแตกต่างกันมากเลยทีเดียว  ตานองกับนายฉายผลัดกันขับรถเข้าไฟร์บวร์กรวดเดียวเรียกว่าขับออกจาออสเตรเลียเข้าสวิสแล้วกลับเข้าเยอรมันเลยก็ว่าได้ จากซูริชพวกเขาเข้าชายแดนเยอรมันที่บาเซล (Bazal) ทางเอาโตบาห์น และจไปแวะกินอาหารจีนกันที่ไฟร์บวร์ก แต่ตานองต้องโทรถามก่อนว่านายจ้างของตานองมาถึงแฟรงเฟิร์ตหรือยังเพราะถ้ามาถึงแล้วตานองต้องรีบไปที่แฟรงเฟิร์ตในคืนนั้น โทรศัพท์ในเยอรมันนั้นสามารถโทรทั้งทางไกล้ทางไกลได้ที่โทรศัพท์สาธารณะไม่เหมือนที่เมืองไทยที่ต้องไปโทรที่องค์การโทรศัพท์ เมื่อตานองโทรถามนายจ้างก็บอกว่ารออยู่ที่แฟรงเฟิร์ตแล้วตานองจึงรีบขับรถเข้าแฟรงเฟิร์ตหลังจากที่กินข้าวกันเสร็จซึ่งก็เป็นเวลาสองทุ่มตรง ศุลีนอนขดอยู่ที่เบาะหลังส่วนนายฉายก็หลับไปไม่นานก็ได้แวะที่ปั้มน้ำมันนายฉายอาสาขับรถให้เพราะตานองทั้งมีไข้และขับรถมาทั้งวัน  นายฉายเกิดหลงทางคือขับรถเข้าโรงเก็บรถรางแทนที่จะเป็นโรงแรมทุกคนหัวเราะคิกคักกันใหญ่  ตานองจึงต้องลุกขึ้นมาขับเอง เมื่อถึงโรงแรมที่จองไว้ทุกคนรีบไปนอนเป็นครั้งแรกที่ศุลีไม่อาบน้ำ เพราะง่วงมาก

                      ศุลีนอนตื่นสายจนนายฉายต้องมาเคาะประตูห้องและบอกว่าจะไปส่งตานอง เดี๋ยวจะกลับมา  โรงแรม ดีโพลแมทเป็นโรงแรมชานเมืองแฟรงเฟิร์ต ไม่ใหญ่นักหากแต่สะดวกสบาย มีผู้จักการเป็นคนเดียวกับคนยกกระเป๋า ส่วนสาวเสิร์ฟก็มีเพียงคนเดียวซึ่งเป็นเด็กนักเรียนมหาวิยาลัยที่มาทำงานในช่วงปิดเทอม นายฉายกลับมาบอกว่านายนนท์เป็นไข้ทำให้ศุลีรู้สึกเป็นห่วงเป็นอย่างมากทีเดียว  นายฉายเอารถไปเช็คทำให้ศุลีต้องอยู่คนเดียวเธอจึงเดินลัดเลาะไปตามริมแม่น้ำไมน์  และเห็นตานองคุยกับนายจ้างอยู่เธอเข้าใจผิดคิดว่าเป็นแฟนของตานอง ทำให้เธอไม่พอใจ พอตานองเห็นเธอจึงรีบเข้ามาหาและไม่เข้าใจกัน  นายฉายกลับมาบอกให้นายนนท์ไปคุยกับศุลีให้รู้เรื่อง และนายชยานนท์ก็ได้สารภาพรักกับศุลี และเรียกศุลีว่า ซื้ดซี่ตั้งแต่นั้นมา และบอกว่าจะรอคำตอบจากศุลี ตานองตัดสินใจยกเลิกงานและบอกว่าจะไปที่ฝรั่งเศสด้วย   และออกเดินทางต่อไปยังไฮเดลเบิร์ก (Heidelberg) และเมื่อมาถึงก็ได้ไปเยี่ยมชมปราสาทไฮเดลเบิร์ก  ซึ่งพังทลายไปแล้วบางส่วนจากผลของสงคราม ที่นี่จะปลูกสมุนไพรต่างๆไว้มากมาย  ปราสาทนี้ว่ากันว่าเป็นปราสาทที่มีความงดงามไม่แพ้ชาโลสแห่งอื่นๆ เพราะลวดลายปูนปั้นที่งดงามยิ่ง ที่นั่นสวยงามจริงๆ ซึ่งมิน่าคนที่แต่งเพลง I lost my heart in Heidelberg จึงได้ทิ้งหัวใจไว้ที่นี่  พวกเขาย้อนไปที่ชาโลส อีกครั้ง เพื่อไปยังห้องเก็บเหล้าซึ่งมีถังเหล้าขนาดใหญ่มากมาย ขาออกทุกคนจะได้ชิมเหล้า มันทำให้ศุลีถึงกับเมา และทุกคนออกจากเมืองนั้นตอนสองทุ่ม และขับรถเข้าเมืองสตุตการ์ทในคืนนั้น

       

      จดหมายฉบับที่ ๒๖   STUTTGART

                STUTTGART เป็นเมืองใหญ่เมืองเดียวที่ตั้งอยู่บนภูเขาจึงทำให้เมืองนี้ทิวทัศสวยงามเป็นพิเศษ และเดินทางต่อไปยังมึนเช่น ก่อนถึงมึนเช่นทุกคนแวะที่ตำบลดักเชา (Dachau)   ซึ่งเป็นที่คุมขังนักโทษชาวยิว สมัยสงครามโลกครั้งที่สอง  ค่ายนี้สร้างขึ้นในเดือนมีนาคม 1933 พอเสร็จก็มีเชลยมาอยู่ประเดิมถึง 4821 คนจนถึงปี 1945 มีเชลยทั้งหมดถึง 206,206 คน ค่าย Dachau เรียกย่อๆ ว่า K.Z. และทุกคนเดินชมที่นี่จนทั่วและเมื่อกลับออกมาทุกคนมีความรู้สึกเดียวกัน คือไม่สบายใจ  และเดินทางเข้ามึนเช่นต่อไป  และเมื่อถึงมึนเช่นก็ได้เข้าไปเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์แห่งชาติของเยอรมัน ซึ่งสมกับเป็นพิพิธภัณฑ์แห่งชาติเพราะมีขนาดใหญ่มาก  ในที่นี้จะรวมรวมทุกสิ่งทุกอย่างไว้ไม่ว่าจะเป็นอาวุธสงครามสมัยสงครามโลกครั้งที่สองที่เป็นของจริงๆ นำมาผ่าซีกให้ดูเลยที่เดียว ที่นี่กว้างมากถ้าจะดูให้ทั่วต้องใช้เวลาทั้งวัน และก็เดินทางต่อไปยังเมืองสตาร์นแบร์ก (Starnberg) เป็นเมืองที่ตั้งอยู่บนภูเขา มีภูมิประเทศที่สวยงามมากทีเดียว และไปกันที่สตาร์นแบร์กเกอร์เซ (starnberger See) เป็นทะเลสาบมีหงส์ขาวบินว่อน มีร้านขายของริมหาดแต่ไม่ว่าหาดทรายที่ไหนก็ไม่สวยเท่าเมืองไทย  และเดินทางไปนอนที่ มิทเทนวาล์ด บนภูเขา  klais    มิทเทนวาล์ด แปลว่า หมู่บ้านกลางดง ที่นี่โรงแรมสวยมากทีเดียว

       

      จดหมายฉบับที่ ๒๗ Gasteheim Rusticana (โรงเตี๊ยม รัสติกานา) Mittenwald (หมู่บ้านกลางดง)

                โรงแรมแห่งนี้สวยงามจริงๆ คือ ตัวโรงเตี้ยมอยู่บนภูเขา ข้างหลังมีดงสนเป็นฉาก  ด้านหน้าเป็นโดมกระจกทรงกลมสามารถมองเห็นไหล่เขาลดหลั่นกันลงไป

                      วันนี้ตานองมีอาการไอ เนื่องจากแกเป็นไข้ยังไม่หาย  ตานองขอสมัครเป็นคนไข้ของศุลีเพราะไม่รู้ว่าศุลีเป็นสัตวแพทย์ ทำให้ทุกคนหัวเราะกันใหญ่จนฝรั่งโต๊ะข้างๆหันมามอง ศุลีและตานองเดินไปด้วยกันระหว่างทางลงไปลานจอดรถ  ซึ่งสองฝั่งมีดอกหญ้าหลากสีขึ้นอย่างสวยงาม  และออกจากโรงแรมรัสติกานาราวๆ 9 โมงเช้า เพื่อไปที่ยอดเขา ซุกสพิทเซ่ (Zugspitze) โดยใช้เคเบิลคาร์  ซึ่งจะแบ่งเป็นสามสถานี เพราะยอดเขานั้นอยู่สูงมาก เมื่อขึ้นไปถึงยอดเขา  ศุลีเห็นคนสองคนเดินผ่านไปทางซอกหิน จึงได้รู้ว่าบนยอดเขานี้มีด่านตรวจคนเข้าเมือง เพราะภูเขาซีกหนึ่งเป็นของเป็นฝั่งเยอรมันนีและอีกซีกเป็นของออสเตรเลีย ชาวบ้านแถบนี้จึงเข้าออกสองประเทศเป็นประจำ  และจากนั้นก็เดินทางต่อไปยังทะเลสาบ อิ๊บเซ่ (Eibsee) เป็นหาดทรายสีคล้ำระยะขาดสั้นไม่เหมือนที่เมืองไทยที่หาดทรายขาว ยาว แต่เต็มไปด้วยขยะ  เพราะที่นี่ไม่มีขยะเลย และไปยังเมือง กามิสซพาร์เท็นเคียร์ (Garmisch Partenkirchen) เป็นเมืองที่สวย และเป็นที่แข่งขันกระโดดสกีในกีฬาโอลิมปิคอีกด้วย  สถานที่แข่งขันอยู่บนเนินเขาสูงลิบลิ่ว ในหน้าหนาวไอ้มันจะประกาศว่าหิมะหนาพอที่จะเล่นสกีได้หรือไม่ ถ้าหิมะหนาพอที่นี่ก็จะเต็มไปด้วยนักเล่นสกีเลยทีเดียว  ทั้งสามออกจากที่นั่นเพื่อไปกินข้าวเที่ยงที่เมืองโมเนา (Murnau)  ซึ่งเป็นเมืองเล็กๆ และออกจากเมืองนั้นวิ่งขึ้น Autobahn กลับ

      แฟรงเฟิร์ต ระหว่างทางศุลีเริ่มเกิดการถามใจตัวเองแล้วว่า เรารักผู้ชายคนนี้หรือเปล่า

       

      จดหมายฉบับที่ ๒๘ โรงแรมดีโพลแมท  แฟรงเฟิร์ต

      ทั้งสามกลับมานอนที่โรงแรมเก่าที่ซึ่งมีผู้จัดการกับคนยกกระเป๋าเป็นคนๆเดียวกัน  และวันต่อมาศุลีกับนายนนท์ก็ไปเดินเที่ยวชมงานแสดงสินค้าที่แฟรงเฟิร์ต ซึ่งจัดเป็นบริเวณกว้างกว่าในเบอร์ลิน มีทั้งแสดงเครื่องหนังที่ราคาสูงลิบลิ่ว และก็มีพวกเครื่องปั้นดินเผาฝีมือหยาบๆไม่เหมือนในเมืองไทย แต่ราคาต่างกันมากเพราะที่นี่เขาสามารถขายได้ในราคาที่สูงกว่าบ้านเรามาก

      ศุลีต้องเดินตามตานองจนหัวขวิดแต่ตามไม่ทันสุดท้ายก็ต้องวิ่งตาม และเมื่อศุลีหิว ตานองจึงไปซื้อไส้กรอกมากิน ทั้งสองคนกินหมดกันไปถึงสามจาน และในที่สุดชยานนท์ก็ขอศุลีพรแต่งงาน แต่ศุลีทำเป็นไม่ใส่ใจ และแกล้งพูดว่าทำไมเขาถึงไม่ยอมรับละ ก็เพราะว่าการที่ผู้ชายจะแต่งงานนั้นเป็นเรื่องที่ยากมากเพราะจะต้องโดนผูกมัดและเป็นหัวหน้าครอบครัวด้วย  สุดท้ายทั้งสองก็ต้องเดินในงานแสดงสินค้าจนเย็น นายฉายจึงเดินหน้าบานมาและชวนทั้งสองไปกินข้าวที่บอน์น ระหว่างทางไปบอน์นนั้นเป็นป่าสนมืดครึ้มละต้องลงเรือขนานยนต์เพื่อข้ามพากไปอีกฝั่ง เมื่อถึงบอน์นทุกคนได้กินเป็ดย่าง หลนเต้าเจี้ยว และอย่างอื่นอีกซึ่งเป็นอาหารไทย และขับรถกลับ ระหว่างทางกลับนายฉายบอกว่าพรุ่งนี้จะพาไปเยี่ยมแฟนเก่าที่วิสบาเด็น  ซึ่งตานองไม่สามารถขัดนายฉายได้อยู่แล้วนี่

       

      จดหมายฉบับที่ ๒๙  โรงแรมดีโพลแมท  แฟรงเฟิร์ต

      ที่วิสบาเด็น (Wiesbaden) มีอะไรที่เหมือนเมืองไทยอย่างหนึ่ง คือ สถานีรถไฟ สถานีรถไฟที่นี่เหมือนที่หัวลำโมงมาก แต่ต่างกันที่ขนาดเท่านั้น เมืองวิสบาเด็นเป็นเมือง อาบ อบ นวด ของทหารโรมัน ใกล้กับ สตัทมิทเต้   มีบ่อนคาสิโนใหญ่ ซึ่งคิดว่าใหญ่พอๆกับมาเก๊า การไปวิสบาเด็นคราวนี้ศุลีไม่ได้สนใจกับสถานที่หากแต่คิดจะไปดูหน้าอดีตพี่สะใภ้ เท่านั้น  เมื่อมาถึงที่ที่พี่สะใภ้เธออยู่ นายฉายก็ลงเข้าไปหา แต่ว่าเธอเปลี่ยนไปมากทีเดียวจนนายฉายจำไม่ได้ ศุลีและตานองเดินออกไป ปล่อยให้นายสุริย์ฉาย อยู่กับแม่ ซื้ดซี่ ของเขา ระหว่างทางมีดอกไม้ขึ้นเต็ม นายนนท์บอกกับศุลีว่า อยากมีบ้านสักหลังปลูกไว้ให้ศุลีไปอยู่  แต่ไม่รูว่าเธอจะยอมไปอยู่ด้วยหรือไม่ ศุลีอ้างว่าขี้เกียจกวาดใบไม้ แต่ที่จริงแล้วศุลีรักนายชยานนท์เข้าเต็มหัวใจแล้ว เมื่อนายฉายเสร็จธุระแล้วก็มาชวนทุกคนไปกินข้าวเช่นเคยแต่คราวนี้ไปที่ร้านอาหารจีนที่เขาเคยมากิน แต่ตอนนี้เจ้าของร้านคนเก่าได้ย้ายออกไปแล้ว และเมื่อกินอิ่มทั้งสามก็เดินทางกลับเข้าแฟรงเฟิร์ตในตอนเย็น เมื่อมาถึงศุลีอาบน้ำเพราะมีนัดกับตานอง เพื่อที่จะเดินเที่ยวในแฟรงเฟิร์ตในตอนกลางคืน และเมื่อค่ำ เหล่าโสเภณีก็เริมออกให้บริการ โดยจะมีทั้งโสเภณีขี่เบนซ์ รถอื่นๆ และพวกที่เดิน ราคาก็ขึ้นอยู่กับยี่ห้อรถ ถ้าต้องการถูกๆก็ต้องพวกที่เดิน  ผมสัญญา ...อีกปีเดียวซื้ดซี่...ผมจะเริ่มนับวันสัญญาทันทีที่เราจากกัน ตานองพูดกับศุลี เพราะตานองจะกลับไปเมื่อเรียนจบพร้อมกับใบปริญญา และไปหาศุลีที่เมืองไทย  และทั้งสองก็เข้านอน

      ในตอนเช้า ทุกคนไปเที่ยวกันที่บัดฮอมบวร์ก ซึ่งอยู่ใกล้กับแฟรงเฟิร์ตมาก ที่บัดฮอมบวร์กมีชาโลสที่ไกเซอร์วิลเฮล์มเคยประทับ แต่ไม่สวยเท่าชาโลสแห่งอื่น แต่เป็นชาโลสแห่งแรกที่พบว่ามีห้องน้ำ ห้องอาบน้ำ ด้านหลังชาโลสเป็นลานกว้าง  ด้านหนึ่งเป็นกำแพงเตี้ยๆ  มองลงไปจะเห็นปาร์คเขียวลดหลั่นตามลาดเขา

      ทุกคนไปนั่งกินกาแฟ เมื่อกินกาแฟหมด ฝนก็ตกลงมาแต่ไม่ยักมีฟ้าแลบฟ้าร้องเหมือนในบ้านเรา

       

      จดหมายฉบับที่ ๓๐ โรงแรมเจ้าเก่า(ดีโพลแม็ท) เมืองเก่า (แฟรงเฟิร์ต)

      ศุลีตื่นแต่เช้าออกไปดูงานแสดงเครื่องหนังตั้งแต่เช้า เครื่องหนังนี้มีหนังทุกชนนิดให้เลือก เครื่องหนังที่นี่ส่วนมากจะมีแค่ชิ้นเดียว เพราะว่าจะทำเฉพาะที่ลูกค้าสั่งเท่านั้น และตานองซื้อกระเป๋าหนังใบหนึ่งให้กับศุลี โดยพูดว่า “Love to give but not take” ศุลียกมือไหว้ตานองเป็นครั้งแรก และทั้งสองไปกินข้าวเที่ยงกันที่รุสเซลไฮม์ ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากแฟรงเฟิร์ต มีโรงงานอุตสาหกรรมทั้งโรงงานทำ Benz, B.M.W., Opel และยังมีโรงกลั่นน้ำมัน Caltex อีกด้วย  และตอนเย็นศุลีมีนัดกับตานอง เสื้อผ้าของศุลีได้แพคลงกระเป๋าเรียบร้อยแล้ว เมื่อถึงตอนเย็นศุลีใส่ชุดพลีทสีขาวเพนท์เป็นรูปดอกไม้สีต่างๆ คาดเอวด้วยไหมเกลียวทองเส้นยาว ซึ่งตานองเพิ่งเคยเห็นเป็นครั้งแรกรู้สึกตะลึงงันในความสวยของศุลี แม้แต่ผู้จัดการโรงแรมก็ออกปากชมว่าศุลีนั้นสวย  และก็ออกไปขึ้นรถราง ไปลงแถบสตัดมิทเต้  และไปกินข้าวกันที่ร้านชเนลอิมบิส และทั้งสองคนก็รีบไปที่บาร์ ทั้งสองร่วมเต้นรำกัน และกลับออกมา ทั้งสองเดินกลับ ตานองบอกกับศุลีว่า สำหรับคุณ.....คือความทรงจำอันสดใสของผม ตั้งแต่ผมพบคุณ ไม่เคยมีเวลาใดเลยที่ผมไม่มีความสุข และรีบวิ่งเพื่อให้ทันรถรางที่กำลังวิ่งมา

       จดหมายฉบับที่ ๓๑  Fughafen (ฟลุ้กฮาเฟ่น คือ Airport) Frankfurt (แฟรงเฟิร์ต)

      วันนี้ทั้งสามคนหอบข้าวของมาที่สนามบิน ซึ่งสนามบินแฟรงเฟิร์ตนั้นนับว่าเป็นสนามบินที่ใหญ่มากจะเป็นรองก็แต่สนามบินนิวยอร์ก การเช็คตั๋ว การจองที่นั่งเครื่องบินจะใช้ระบบคอมพิวเตอร์ทั้งหมด และทั้งสามจะเดินทางไปลงที่สนามบินออร์ลี่ในฝรั่งเศส  นี่เป็นครั้งแรกที่ศุลีรู้สึกดีในการขึ้นเครื่องบินเพราะเธอไม่ได้เดินทางคนเดียวเหมือนตอนที่เธอมา  แต่นี่มีทั้งคนที่เธอรักและพี่ชายเดินทางมาด้วย ทำให้เธอมีความสุขเป็นอย่างมาก  และไม่กี่ชั่วโมงทั้งสามก็เดินทางมาถึงสนามบินออร์ลี่ซึ่งเล็กกว่าแฟรงเฟิร์ตมากที่เดียว  จาก

      สนามบินออร์ลี่ต้องนั่งรถแท็กซี่ ต่อไปยังโรงแรม ซึ่งติดป้ายเป็นโรงแรมชั้นหนึ่งแต่เป็นโรงแรมที่เก่ามากๆ  และทั้งสามคนก็มาทานอาหารกันที่ร้านอาหารแห่งหนึ่งในฝรั่งเศส ทั้งสามอ่านภาษาฝรั่งเศสไม่ออกจึงต้องทำการเดาในการสั่งอาหาร ทั้งสามได้ซุบถ้วยใหญ่และขนมปัง จากนั้นก็ปรึกษากันว่าจะไปดูระบำฟอลลีแบร์แยร์ และได้โทรจองตั๋วระบำไว้ และศุลีกับตานองก็ออกไปเดินเที่ยวชมงานแสดงสินค้า ซึ่งมีลักษณะคล้ายงานแสดงสินค้าในอิตาลี แต่ที่เห็นจะเด่นที่สุดของฝรั่งเศสเห็นจะเป็นน้ำหอม ซึ่งขึ้นชื่อมากของฝรั่งเศส  และในตอนเย็นทั้งสามคนก็ไปที่โรงระบำฟอลลีแบร์แยร์ ไม่ได้ใหญ่โตนักเป็นโรงละครเล็กๆ แต่คับคั่งไปด้วยเศรษฐีที่หลั่งไหลมาชมระบำ ทุกคนหันมามองทั้งสามคนเพราะรู้สึกจะแต่งตำมอมแมมที่สุดแต่กลับจองที่นั่งด้านหน้าเป็นแถวที่สาม  การแสดงจะเริ่มเวลาสองทุ่มครึ่งผู้ชมจะนั่งเต็มหรือยังจะไม่สนใจ แต่จะทำการแสดงตรงเวลา การแสดงแบ่งออกเป็นสามชุด  ชุดแรกจะเป็นการแสดงที่สวยงามมากจนศุลีตื่นเต้นเป็นพิเศษ  และชุดต่อมาเป็นการแสดงตลกซึ่งสามารถทำให้ผู้ชมหัวเราะได้ โดยที่ไม่ต้องใช้คำพูดเลยแม้แต่น้อย  ชุดที่สามเป็นระบำเปลือย ซึ่งเป็นการแสดงที่สวยงาม ไม่น่าเกลียดอย่างที่ศุลีคิด ทุกคนที่ทำการแสดงทั้งผู้หญิงผู้ชายจะไม่ใส่อะไรเลย นอกจากกระจับรูปสามเหลี่ยมเล็กๆ ส่องแสงระยิบระยับยามต้องแสงไฟ  ระบำเลิกเมื่อห้าทุ่มครึ่ง รายการสุดท้ายเป็นการโชว์ตัวระบำทั้งหมดออกมาโค้งให้คนดู เมื่อกลับตานองมาส่งศุลีที่ห้องและบอกให้ศุลีรีบตื่นแต่เช้าหน่อย เพราะตานองอยากมีเวลาอยู่กับศุลีให้มากที่สุด

       

      จดหมายฉบับที่ ๓๒ โรงแรม.....(ชื่ออ่านไม่ออก เลยกลัวว่าจะเขียนไม่ถูก) ปารีส (ขืนเขียน พารี.....จะถูกค่อนอีก)

      อากาศในฝรั่งเศสดูเหมือนจะร้อนกว่าในเยอรมันเพราะสามารถที่จะใส่เสื้อบางๆได้สบาย  ศุลีทำ เซอร์ไพส์ ตานอง คือกล่าวแฮปปี้ เบิร์ธเดย์ ตานองดีใจมากเพราะตั้งแต่เกิดมาไม่เคยมีคนกล่าวคำนี้กับเขาเลย แม้แต่นายฉายเพื่อนสนิทของเขาก็ไม่รู้  ตานองสงสัยมากว่าศุลีรู้ได้ยังไงว่าตานองเกิดวันนี้ (ศุลีรู้จากพาสปอร์ตที่ตานองฝากไว้ ตกกับพื้น ศุลีถึงได้เห็นวันเดือนปีเกิดของตานอง) แต่ศุลีไม่ยอมบอก ทุกคนเดินทากไปยัง   แวร์ซายส์ โดยมีไกด์คนใหม่คือพนักงานเสิร์ฟชาวเขมรเป็นผู้นำทาง  พระราชวังแวร์ซายส์สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 กินเวลาสร้างนานถึง 10 ปี ส่วนที่ศุลีชอบมากที่สุดในแวร์ซายส์คือสวนดอกไม้ซึ่งจัดเป็นลวดลายสลับสีกันน่าดู ในฤดูหนาวต้นไม้เหล่านี้จะตายหมด แต่เขาจะเพาะชุดใหม่ไว้ในเรือนกระจกและจะนำมาปลูกเมื่อสิ้นฤดูหนาว และทุกคนก็ต้องรีบกลับ เพราะต้องเดินทางถึงปารีสก่อนเที่ยง และได้แวะไปกินอาหารก่อนที่จะไปสนามบิน

      เมื่อไปถึงสนามบินออร์ลี่ ก็มีเสียงเรียกหาผู้โดยสารอีก 3 คน เมื่อทุกคนขึ้นไปบนเครื่องบินเครื่องบินก็ออกจากสนามบิน ตานองบอกให้ศุลีคอยเพราะอีกปีเดียวเขาก็จะกลับไปหาศุลีแล้ว เมื่อทุกคนไปถึงอัมสเตอร์ดัม มีฝนตกโปรยปรายลงมา และทั้งสามจะพักที่นี่แค่คืนเดียวตานองจะบินเข้าแฟรงเฟิร์ตและกลับเข้าเบอร์ลิน ส่วนศุลีและสุริย์ฉายก็จะบินกลับเข้ากรุงเทพ นายฉายให้ตานองพาศุลีไปลงเรือกระจก ศุลีกับตานองเดินเล่นตามถนนริมคลองทั้งๆที่ฝนตกปรอยๆ  ระหว่างคลองมีสะพานโค้งๆข้าม ตานองกับศุลียืนโหนราวสะพานมองลงไปในแม่น้ำนั้น ตานองบอกให้ศุลีเขียนจดหมายถึงเขาบ่อยๆ ศุลีก็รับปาก และศุลีก็บอกกับตานองว่า ปีหน้าตานองต้องไปหาเธอที่เมืองไทยพร้อมกับใบปริญญา เมื่อกินข้าวเสร็จ ศุลีกับตานองก็เดินไปลงเรือกระจกแต่กว่าจะหาท่าเรือพบก็เล่นเอาเหนื่อย  ซึ่งอยู่ห่างจากโรงแรมที่พักนิดเดียว คลองในเนเธอร์แลนด์มิได้สวยงามนักห่างแต่สะอาดและไม่มีขยะ  อีกอย่างตามสะพานที่โค้งๆ จะมีไฟประดับตามรูปสะพานไว้แพรวพราว ดังนั้นแสงที่สะท้อนลงน้ำจึงระยิบระยับงามจับตา พอกลับขึ้นท่าเรือจึงได้รู้ว่าอากาศข้างนอกเย็นจับใจ เพราะในเรือกระจกจะมีเครื่องทำความอุ่นจึงทำให้ไม่รู่ว่าข้างนอกนั้นอากาศเย็นลงแล้ว  ทั้งงสองจึงรีบวิ่งต่อไปแต่ต้องหลบลมซึ่งแรงมากตามซอกตึก และรีบวิ่งเข้าคลับ ประตูเข้าคลับเล็กนิดเดียว คลับอยู่สูงกว่าระดับน้ำในคลองนิดเดียว สามารถมองเห็นน้ำผ่านกระจกที่ติดกั้นไว้  ทั้งสองออกจากคลับมาพร้อมกับร้องเพลง Good Night Irene เมื่อจบท่อนสุดท้ายก็ถึงโรงแรมพอดี  แต่ตานองชวนศุลีนั่งคุยกันก่อน ศุลีจึงรับคำเชิญเพราะพรุ่งนี้เครื่องออกราว 5 โมงเช้า  เมื่อคุยกันเสร็จตานองไปซื้อดอกไม้แห้งให้ศุลีไปปักใส่แจกนไว้ที่ ให้เป็นตัวแทนของตานอง แต่เมื่อตานองกลับไปแล้วให้โนมันทิ้งเพราะนั่นแสดงว่าเขาไม่ต้องการตัวแทนอีกแล้ว เมื่อกลับมาถึงโรงแรมศุลีก็รีบขึ้นไปเก็บข้าวของยัดใส่กระเป๋า

       

      จดหมายฉบับที่ ๓๓   K.Z. แอร์ไลน์   เหนือฟากฟ้าอัมสเตอร์ดัม

      เป็นครั้งแรกที่ทั้งสามคนไม่ได้รีบร้อนเพราะมาถึงสนามบินก่อนเวลา ตานองมาส่งศุลีที่สนามบินเพราะเครื่องบินของตานองออกทีหลังเครื่องบินของศุลี ตานองไปซื้อน้ำหอมมาฝากศุลีซึ่งมันแพงมากแต่ตานองก็ยังซื้อมาให้ ซื้ดซี่ เขียนจดหมายถึงผมบ่อยๆ....ผมจะไม่พูดอย่างอื่นอีก เพราะ...ผมบอกทุกอย่างไม่ว่าในความคิด ในหัวใจให้คุณทราบจนหมดแล้ว ผมอาจจะพูดอะไรหวานๆซาบซึ้งกว่านี้ไม่เป็น นอกจากว่าคุณคือของรักชิ้นเดียว ที่ผมใช้หัวใจแลกมา...พรุ่งนี้...ซื้ดซี่....พรุ่งนี้....ผมจะเดินลงจากเครื่องบินไปหาคุณแล้วจะ....ไม่ไปไหนอีกถ้าไม่มีคุณไปด้วย ตานองพูดกับศุลี นายฉายรับปากว่าจะดูแลศุลีให้เป็นอย่างดี และศุลีก็บอกว่าจะเขียนจดหมายหาตานองตั้งแต่อยู่บนเครื่องบิน นี่เป็นจดหมายฉบับสุดท้ายที่ศุลีเขียนถึงแม่ และจะนำไปให้แม่ของเธออ่านด้วยมือของเธอเอง  จากนั้นเธอก็เริ่มเขียนจดหมายถึงตานองเป็นฉบับแรก

                                                      .

       

      .....บ๊วยกี่แอร์ไลน์

                                      คุณนองคะ...

                                      ศุลีคิดว่า ศุลีเล่าให้แม่ฟังทุกอย่างแล้ว  เมื่อกลับมาถึงบ้าน แม่จะเป็นผู้ตัดสินให้ศุลีเองว่า ศุลีจะทำอย่างไรต่อไปดี ถ้าจะมีข้อวิงวอน ศุลีก็ขอประการเดียวว่า ให้ศุลีได้รักษาคำมั่นสัญญาของตนเองคือ

      ฉันจะคอยคุณไม่มากไม่น้อยไปแม้แต่วันเดียว วัน เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์เราทั้งสองให้แม่เห็น....ปีเดียว...

      ศุลีแกล้งบอกว่าปีเดียวแต่ในความรู้สึกของศุลีเองมันช่างยาวนานเหลือเกิน

      ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      ความคิดเห็น

      ×