คู่มือใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพ By… สปสช - คู่มือใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพ By… สปสช นิยาย คู่มือใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพ By… สปสช : Dek-D.com - Writer

    คู่มือใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพ By… สปสช

    คนไทยทุกคนมีสิทธิได้รับบริการสาธารณสุขที่มีมาตรฐานและมีประสิทธิภาพ ตาม พ.ร.บ. หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545

    ผู้เข้าชมรวม

    772

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    9

    ผู้เข้าชมรวม


    772

    ความคิดเห็น


    1

    คนติดตาม


    0
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  22 ก.ค. 58 / 11:51 น.


    ข้อมูลเบื้องต้น

    คู่มือใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพ By… สปสช

     

    หลักประกันสุขภาพ :: สิทธิของคนไทย

                คนไทยทุกคนมีสิทธิได้รับบริการสาธารณสุขที่มีมาตรฐานและมีประสิทธิภาพ ตาม พ.ร.บ. หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 โดยมีสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช) ทำหน้าที่จัดบริหารสาธารณสุขให้แก่บุคคลที่ไม่มีสิทธิสวัสดิการรักษาพยาบาลจากกฎหมายประกันสังคมหรือสิทธิสวัสดิการรักษาพยาบาลของข้าราชการ / รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานชองรัฐอื่น ๆ ภายใต้การควบคุมดูแลของคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ซึ่งมีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า “สิทธิหลักประกันสุขภาพ” หรือที่เคยรู้จักกันในนาม “สิทธิบัตรทอง” เพื่อการเข้าถึงบริการสาธารณสุข การป้องกันโรค การรักษาพยาบาล และการฟื้นฟูสมรรถภาพที่จำเป็นต่อสุขภาพและการดำรงชีวิต

     

    ใครบ้าง? ที่มีสิทธิ หลักประกันสุขภาพ

                ผู้ที่มีสิทธิหลักประกันสุขภาพ คือ คนไทยทุกคนที่มีเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก และไม่มีสิทธิสวัสดิการรักษาพยาบาลตามกฎหมายประกันสังคมหรือสิทธิสวัสดิการรักษาพยาบาลของข้าราชการ / หนักงานรัฐวิสาหกิจ หรือ สวัสดิการรักษาพยาบาลอย่างอื่นที่รัฐจัดให้

     

    ตรวจสอบ สิทธิรักษาพยาบาล

                * ติดต่อด้วยตนเองได้ที่ สถานีอนามัย / โรงพยาบาลของรัฐใกล้บ้านหรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด สำหรับผู้พักอาศัยในกรุงเทพมหานครติดต่อสำนักงานเขตของกรุงเทพมหานคร

                * บริการตรวจสอบสิทธิรักษาพยาบาลด้วยระบบอัตโนมัติ โทร. 1330 กด 2 ตามด้วยเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก (ค่าบริการ 3 บาท/ครั้ง) โดยข้อมูลสิทธิการรักษาพยาบาลจะปรับปรุงให้เป็นปัจจุบันทุกวันที่ 15 และวันที่ 28 ของทุกเดือน

     

    ลงทะเบียน . . . ก่อนใช้สิทธิ

    เอกสารลงทะเบียน

                1) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน สำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ใช้สำเนาสูติบัตร (ใบเกิด)

                2) สำเนาทะเบียนบ้าน หรือ หนังสือรับรองการพักอาศัย

    สถานที่ลงทะเบียน ในวันเวลาราชการ

                * ต่างจังหวัด : สถานีอนามัย / โรงพยาบาลของรัฐใกล้บ้าน หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด

                * กรุงเทพมหานคร : สำนักงานเขตของ กทม.

    คนพิการที่ยังไม่ได้ระบุสิทธิย่อย ท.74 ในระบบหลักประกันสุขภาพต้องนำใบรับรองความพิการจากแพทย์หรือแสดงบัตรคนพิการตาม พ.ร.บ. ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพคนพิการแห่งชาติ พ.ศ. 2550 ลงทะเบียน ณ ที่รับลงทะเบียน เพื่อรัยสิทธิฟื้นฟูสมรรถภาพได้

     

    หน่วยบริการ คืออะไร?

                หน่วยบริการ หมายถึง โรงพยาบาล สถานีอนามัย สถานบริการสาธารณสุขของรัฐ ศูนย์บริการสาธารณสุข สถานพยาบาลของเอกชนที่ขึ้นทะเบียนเป็นหน่วยบริการในระบบหลักประกันสุขภาพ

                หน่วยบริการปฐมภูมิ/หน่วยบริการประจำ หมายถึง หน่วยบริการที่ผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพเลือกลงทะเบียนเพื่อรับบริการสาธารณสุขเป็นประจำ โดยทั่วไปจะเป็นหน่วยบริการที่มีสถานที่ตั้งใกล้เคียงกับที่พักอาศัยของผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพ
     

    บุคคลผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพต้องติดต่อลงทะเบียนเพื่อเลือกหน่วยบริการประจำในระบบหลักประกันสุขภาพก่อนใช้สิทธิรับบริการสาธารณสุขได้ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

    การขอเปลี่ยนหน่วยบริการประจำ

                ติดต่อด้วยตนเองได้ที่สถานีอนามัย / โรงพยาบาลของรัฐใกล้บ้าน หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดหรือสำนักงานเขตของ กทม. ในวันเวลาราชการโดยมีสิทธิเปลี่ยนหน่วยบริการประจำได้ไม่เกิน 2 ครั้งต่อปี (ตุลาคมถึงกันยายนของปีถัดไป)

    การเข้ารับบริการ ณ หน่วยบริการแห่งใหม่สามารถใช้สิทธิไม่เสียค่าใช้จ่ายได้หลังแจ้งความจำนงเปลี่ยนหน่วยบริการประมาณ 1 เดือน

     

    การใช้สิทธิเข้ารับบริการสาธารณสุข

    กรณีทั่วไป

                1. ติดต่อที่หน่วยบริการปฐมภูมิ/หน่วยบริการประจำของผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพ

                2. แจ้งความจำนงใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพก่อนรับบริการ

                3. แสดงบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรประจำตัวที่มีรูปถ่ายที่ทาวราชการออกให้ สำหรับเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 15 ปี แสดงสำเนาสูตบัตร (ใบเกิด)

    คนพิการที่ได้รับการลงทะเบียน ท.74 ในระบบหลักประกันสุขภาพใช้สิทธิเข้ารับบริการสาธารณสุข กรณีที่จำเป็นจากหน่วยบริการของรัฐที่ขึ้นทะเบียนใยระบบหลักประกันสุขภาพได้ทุกแห่ง

    กรณีอุบัติเหตุ หรือเจ็บป่วยฉุกเฉิน

                ถ้าผู้ทีสิทธิหลักประกันสุขภาพเกิดภาวะเจ็บป่วยฉุกเฉิน ด้วยอาการของโรคที่มีลักษณะรุนแรงต้องให้การรักษาหรือผ่านตัดเป็นการเร่งด่วน หากปล่อยทิ้งไว้อาจเป็นอันตรายต่อชีวิตทั้งกับตนเองและผู้อื่น (ทั้งนี้แพทย์จะเป็นผู้พิจารณาจากอาการแรกรับ รวมทั้งคำนึงถึงการรับรู้ของผู้ป่วยร่วมด้วย) สามารถใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพที่เข้าร่วมโครงการที่อยู่ใกล้ที่สุดได้ตามความจำเป็นโดยไม่จำกัดจำนวนครั้ง

     

    บริการสาธารณสุขที่คุ้มครอง*

    การสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค เช่น

                * บริการวางแผนครอบครัว ได้แก่ การให้คำแนะนำปรึกษาแก่คู่สมรส รวมทั้งบริการคุมกำเนิด

                * การดูแลสุขภาพหญิงมีครรภ์ ทารกแรกเกิดและพัฒนาการของเด็ก

                * บริการวัคซีนเสริมสร้างภูมิกันโรคตามแผนงานการให้ภูมิคุ้มกันโรคของประเทศ

                * การตรวจคัดครองความเสี่ยงต่อการเป็นโรค เช่น ตรวจระดับน้ำตาลในเลือด ตรวจมะเร็งปากมดลูก/มะเร็งเต้านม

                * การให้ยาต้านไวรัสเอดส์เพื่อป้องกันการติดเชื้อเอดส์จากแม่สู่ลูก

    *คุ้มครองค่าใช้จ่ายตามการวินิจฉัยทางการแพทย์และประกาศของคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

    การคลอดบุตร รวมกันไม่เกิน 2 ครั้ง กรณีที่บุตรมีชีวิตอยู่

    บริการทันตกรรม ได้แก่ อุดฟัน ถอดฟัน ขูดหินปูน การให้ฟลูออไรด์เสริมในกลุ่มเสี่ยงต่อโรคฟันผุ การรักษาโพรงประสาทฟันน้ำนม การเคลือบหลุมร่องฟัน และการทำฟันปลอมฐานพลาสติก

    การตรวจ การวินิจฉัย การรักษา

                ตั้งแต่โรคทั่วไป เช่น ไข้หวัด จนถึงการรักษาโรคเรื้อรัง / โรคเฉพาะทางที่มีค่าใช้จ่ายสูง เช่นเบาหวาน ความดัน โลหิตสูง มะเร็ง ไตวายเรื้อรัง เอดส์ ผ่าตัดตา ต้อกระจก ผ่าตัดหัวใจ ฯลฯ รวมถึง การฟื้นฟูสมรรถภาพตามข้อชี้ทางการแพทย์

    ค่ายาและเวชภัณฑ์

                ตามกรอบบัญชีบาหลักแห่งชาติ และยาที่มีค่าใช้จ่ายสูง ตามประกาศของคณะกรรมการหลักแระกันสุขภาพแห่งชาติ

    ค่าอาหารและค่าสามัญ ระหว่างรักษาตัว ณ หน่วยบริการ

    การจัดการส่งต่อ เพื่อการรักษาระหว่างหน่วยบริการ

    บริการแพทย์แผนไทย

                ได้แก่ ยาสมุนไพรหรือยาแผนไทย การยวดเพื่อการรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพการอบหรือประคบสมุนไพรเพื่อการรักษา ตามข้อบ่งชี้ทางการแพทย์

    บริการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ

                ตาม พ.ร.บ. ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพคนพิการแห่งชาติ พ.ศ.2550 และได้รับการลงทะเบียน ท.74 ในระบบหลักประกันสุขภาพ สามารถขอรับบริการฟื้นฟูสมรรถภาพได้ เช่น กายภาพบำบัด จิตบำบัด พฤติกรรมบำบัด ฟื้นฟูการได้ยิน ฟื้นฟูการมองเห็น และรับอุปกรณ์เครื่องช่วยตามประเภทความพิการได้ตามเกณฑ์ที่ สปสช. กำหนด

    บริการทดแทนไตสำหรับผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย

                ขั้นตอนการเข้ารับบริการ ผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายต้องไปใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพที่หน่วยบริการตามสิทธิ หน่วยบริการจะลงทะเบียน และให้คณะกรรมการฯ ระดับจังหวัดพิจารณาการให้บริการทดแทนไตที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยในแต่ละรายโดยเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานของสมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย ได้แก่

                1.) การล้างไตผ่านทางช่องท้องอย่างต่อเนื่อง

                2.) การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม

                3.) การผ่าตัดปลูกถ่ายไต

                สำหรับการล้างไตผ่านทางช่องท้องอย่างต่อเนื่อง สปสช. ได้จัดบริการส่งน้ำยาล้างไตให้ผู้ป่วยถึงบ้านโดยไม่มีค่าใช้จ่าย เพื่อให้เข้าถึงบริการทดแทนไตได้ง่ายขึ้น ลดภาระค่าใช้จ่ายในการเดินทาง และได้รับการทดแทนอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะส่งผลถึงคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของผู้ป่วย

    บริการดูแลรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์

                ผู้ที่มีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอดส์สามารถรับบริการให้คำปรึกษาและตรวจเลือดหาการติดเชื้อเอดส์ได้ที่หน่วยบริการตามสิทธิ หากพบว่าติดเชื้อเอดส์จะได้รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัสเอดส์และการรักษาโรคติดเชื้อฉวยโอกาส

                ในกรณีรับยาต้านไวรัสเอดส์กับโรงพยาบาลอื่นที่ไม่ใช่หน่วยบริการตามสิทธิ ควรมีใบส่งตัวจากหน่วยตามสิทธิ

     

    บริการที่ไม่อยู่ใน ความคุ้มครอง

    ·     การรักษาภาวะมีบุตรยาก / การผสมเทียว

    ·     การเปลี่ยนเพศ / การกระทำใด ๆ เพื่อความสวยงามโดยไม่มีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์

    ·     การตรวจวินิจฉัยและรักษาใด ๆ ที่เกินความจำเป็นจากข้อบ่งชี้ทางการแพทย์

    ·     การรักษาที่อยู่ระหว่างการค้นคว้าทดลอง

    ·     การบาดเจ็บจากการประสบภัยจากรถ ซึ่งอยู่ในความคุ้มครองตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ เฉพาะส่วนที่บริษัทหรือกองทุนตามกฎหมายนั้นต้องเป็นผู้จ่าย

    ·     การบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาและสารเสพติดตามกฎหมายว่าด้วยสารเสพติด ยกเว้น ผู้ติดยาเสพติดประเภทเฮโรอีนที่สมัครใจเข้ารับการรักษาและไม่ต้องโทษคดียาเสพติดให้ได้รับสารทดแทนยาเสพติด (เมทาโดน) จากหน่วยบริการที่ขึ้นทะเบียนได้

    ·     โรคเดียวกันที่ต้องใช้ระยะเวลารักษาตัวในโรงพยาบาลประเภทผู้ป่วยในเกินกว่า 180 วัน ยกเว้น กรณีมีความจำเป็นต้องรักษาต่อเนื่องจากภาวะแทรกซ้อนหรือข้อบ่งชี้ทางการแพทย์

    ·     การเปลี่ยนอวัยวะ (Organ Transplantation) ยกเว้น

    - การปลูกถ่ายไตเพื่อรักษาโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย

    - การปลูกถ่ายตับในเด็ก (อายุไม่เกิน 18 ปี) ที่เป็นโรคท่อน้ำดีตีนต้นแต่กำเนิด (เริ่ม 1 ตุลาคม 2554)

    - การปลูกถ่ายหัวใจ (เริ่ม 1 ตุลาคม 2554)


    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ

      การยื่นคำร้อง ขอรับเงินช่วยเหลือเบื้องต้น กรณีได้รับความเสียหายจากบริการรักษาพยาบาล

                  ในกรณีผู้ใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพได้รับความเสียหายจากบริการรักษาพยาบาล ผู้ที่ได้รับความเสียหายหรือทาบาท ฯลฯ สามารถยื่นคำร้องขอรับเงินช่วยเหลือเบื้องต้นได้ภายใน 1 ปี (นับตั้งแต่วันที่ทราบความเสียหาย) โดยมิต้องรอพิสูจน์ถูกผิด การเขียนคำร้องต้องมีสาระสำคัญ ดังนี้

      1.            ชื่อผู้รับบริการที่ได้รับความเสียหาย

      2.            ความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการรักษาพยาบาล

      3.            ชื่อของหน่วยบริการที่ให้การรักษาพยาบาล

      4.            วันที่เข้ารับการรักษาพยาบาล และวันที่ทราบถึงความเสียหายที่เกิดขึ้น

      5.            สถานที่ที่สามารถติดต่อผู้รับบริการที่ได้รับความเสียหายได้โดยสะดวก

      6.            สถานภาพของผู้รับบริการที่ได้รับความเสียหาย เช่น อาชีพ รายได้ เป็นหัวหน้าครอบครัว หรือผลกระทบอื่น ๆ ที่ได้รับความเสียหาย

      หลักฐานประกอบคำร้องของผู้ที่ได้รับความเสียหาย

                  ได้แก่ สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนหรือสูติบัตร สำเนาทะเบียนบ้าน หนังสือมอบอำนาจ (กรณีมีการมองอำนาจ) เอกสารหรือหลักฐานที่แสดงรายละเอียดข้อมูลที่อาจเป็นประโยชน์ประกอบการพิจารณา

      สถานที่ยื่นคำร้อง

      ·     สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (ในจังหวัดที่เกิดเหตุ) หรือ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 13 กรุงเทพมหานคร (กรณีเหตุเกิดในเขต กทม.)

      ·     ศูนย์บริการหลักประกันสุขภาพในหน่วยบริการ

      ·     ศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพประชาชน

      ·     สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่ “สายด่วน สปสช. 1330”

       

      การจัดพื้นที่ในความรับผิดชอบของ สปสช. เขต 1 – 13

      เขต 1 เชียงใหม่

                 เชียงใหม่, เรียงราย, พะเยา, แม่ฮ่องสอน, ลำปาง, ลำพูน, แพร่, น่าน

      เขต 2 พิษณุโลก

                 พิษณุโลก, ตาก, เพชรบูรณ์, สุโขทัย, อุดรดิตถ์

      เขต 3 นครสวรรค์

                 นครสวรรค์, กำแพงเพชร, ชัยนาท, พิจิตร, อุทัยธานี

      เขต 4 สระบุรี

                 สระบุรี, อยุธยา, ลพบุรี, สิงห์บุรี, อ่างทอง, ปทุมธานี, นนทบุรี, นครนายก

      เขต 5 ราชบุรี

                 ราชบุรี, กาญจนบุรี, ประจวบศีริขันธ์, เพชรบุรี, สมุทรสงคราม, นครปฐม, สุพรรณบุรี, สมุทรสาคร

      เขต 6 ระยอง

                 ระยอง, จันทบุรี, ฉะเชิงเทรา, ชลบุรี, ตราด, สระแก้ว, ปราจีนบุรี, สมุทรปราการ

      เขต 7 ขอนแก่น

                 ขอนแก่น, กาฬสินธุ์, มหาสารคาม, ร้อยเอ็ด

      เขต 8 อุดรธานี

                 อุดรธานี, สกลนคร, นครพนม, หนองคาย, หนองบัวลำภู, เลย, บิงกาฬ

      เขต 9 นครราชสีมา

                 นครราชสีมา, ชัยภูมิ, บุรีรัมย์, สุรินทร์

      เขต 10 อุบลราชธานี

                 อุบลราชธานี, มุกดาหาร, ยโสธร, ศรีสะเกษ, อำนาจเจริญ

      เขต 11 สุราษฎร์ธานี

                 สุราษฎร์ธานี, กระบี่, ชุมพร, นครศรีธรรมราช, พังงา, ภูเก็ต, ระนอง

      เขต 12 สงขลา

                 สงขลา, ตรัง, นราธิวาส, ปัตตานี, พัทลุง, สตูล

      เขต 13 กรุงเทพมหานคร

       

      ที่อยู่ สปสช. เขต

      สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

      เขตที่ 1 เชียงใหม่

                 เลขที่ 90 คารแอร์พอร์ต บิสเนส พาร์ค ชั้น 3 ถ.มหิดล อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50100

                 โทรศัพท์ 053 – 203536 – 42 โทรสาร 053 – 203543

      สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

      เขตที่ 2 พิษณุโลก

                 เลขที่ 118 อาคารที่ทำการไปรษณีย์พิษณุโลก ชั้น 4 ถ.พุทธบูชา ต.ในเมือง อ.เมือง จ.พิษณุโลก 65000

                 โทรศัพท์ 055 – 245111 โทรสาร 055 – 247111

      สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

      เขตที่ 3 นครสวรรค์

                 เลขที่ 1045/2 อาคารแว่นกรุงไทย ชั้น 4 ถ.นครสวรรค์ – พิษณุโลก หมู่ 10 ต.นครสวรรค์ตก อ.เมือง จ.นครสวรรค์ 60000

                 โทรศัพท์ 056 – 371831 โทรสาร 056 – 371838

      สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

      เขตที่ 4 สระบุรี

                 เลขที่ 65/3 ซอย 1 ถ.พิชัยรณรงค์สงคราม ต.ปากเพรียว อ.เมือง จ.สระบุรี 18000

                 โทรศัพท์ 036 – 213205 โทรสาร 036 – 213263

      สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

      เขตที่ 5 ราชบุรี

                 เลขที่ 2 อาคารไปรษณีย์ ชั้น 3 ถ.สมุทรศักดารักษ์ ต.หน้าเมือง อ.เมือง จ.ราชบุรี 70000

                 โทรศัพท์ 032 – 332590 โทรสาร 032 – 332593

      สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

      เขตที่ 6 ระยอง

                 เลขที่ 115 อาคารสตาร์พลาซ่า ชั้น 2 ซอยศูนย์การค้า สาย 4 ถ.สุขุมวิท ต.เชิงเนิน อ.เมือง จ.ระยอง 21000

                 โทรศัพท์ 038 – 864313 – 19 โทรสาร 038 – 894320

      สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

      เขตที่ 7 ขอนแก่น

                 เลขที่ 356/1 อาคารซีพี ชั้น 3 ถ.มิตรภาพ อ.เมือง จ.ขอนแก่น 40000

                 โทรศัพท์ 043 – 365200 – 3 โทรสาร 043 – 365111

      สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

      เขตที่ 8 อุดรธานี

                 เลขที่ 2 อาคารสำนักงานไปรษณีย์อุดรธานี ชั้น 3 ถ.วัฒนานุวงศ์ ต.หมากแข้ง อ.เมือง จ.อุดรธานี 410000

                 โทรศัพท์ 042 – 325681 โทรสาร 042 – 325674

      สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

      เขตที่ 9 นครราชสีมา

                 เลขที่ 154/1 อาคารราชสีมาเซ็นเตอร์ ชั้น 3 ถ.มนัส ต.ในเมือง อ.เมือง จ.นครราชสีมา 30000

                 โทรศัพท์ 044 – 248870 – 4 โทรสาร 044 – 248875

      สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

      เขตที่ 10 อุบลราชธานี

                 เลขที่ 145 ที่การไปรษณีย์ ชั้น 3 ถ.ศรีณรงค์ ต.ในเมือง อ.เมือง จ.อุบลราชธานี 34000

                 โทรศัพท์ 045 – 240591, 045 – 240839, 045 – 240974, 045 – 241228, 045 – 241231, 045 – 254080 โทรสาร 045 – 255393, 045 – 255721

      สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

      เขตที่ 11 สุราษฎร์ธานี

                 เลขที่ 91/1 หมู่ 1 อาคารพิชี ทาวเวอร์ ชั้น 10 ต.บางกุ้ง อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี 84000

                 โทรศัพท์ 077 – 274811 โทรสาร 077 – 274818

      สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

      เขตที่ 12 สงขลา

                 เลขที่ 456/2 ถ.เพชรเกษม อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90110

                 โทรศัพท์ 074 – 233888 โทรสาร 074 – 235494

      สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

      เขตที่ 13 กรุงเทพมหานคร

                 “ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550” อาคาร B ชั้น 5 (ตึกที่จอดรถ) ถ.แจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร 10210

                 โทรศัพท์ 02 – 1421000 โทรสาร 02 – 1438772 – 3

       

      บริการสายด่วน สปสช. 1330

      ·     บริการตรวจสอบสิทธิรักษาพยาบาลด้วยระบบอัตโนมัติ โทร. 1330 กด 2 ตามด้วยเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก

      ·     บริการข้อมูล คำปรึกษาเกี่ยวกับการใช้สิทธิหลักประหลักสุขภาพเข้ารับบริการสาธารณสุข

      ·     การรับข้อร้องเรียน ร้องทุกข์

      ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      ความคิดเห็น

      ×