Tนกแขกเต้ากับชาวนาT
นิทานสอนใจมีคติธรรม หน้าอ่าน
ผู้เข้าชมรวม
266
ผู้เข้าชมเดือนนี้
0
ผู้เข้าชมรวม
เนื้อเรื่อง
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
นกแขกเต้ากับชาวนา
มีนกแขกเต้าฝูงหนึ่งประมาณ 500 ตัวอาศัยอยู่ในป่างิ้วบนยอดเขาแห่งหนึ่งเมื่อถุงเวลาหากิน ฝูงนกแขกเต้าต่างพากันบินไปกินข้าวสาลีในนาของชาวมคธ เมื่อกินข้าวสาลีอิ่มแล้วต่างก็บินกลับรังด้วยปากเปล่า ๆ ทั้งนั้น
ส่วนพญานกแขกเต้าที่เป็นหัวหน้าเมื่อกิน อิ่มแล้ว ยังต้องคาบข้าวสาลีอีก 3 รวงกลับไปด้วย ชาวนาเห็นก็แปลกใจจึงพยายามดักจับพญานกแขกเต้าให้ได้ด้วยการสังเกตที่ยืนของพญานกนั้นแล้ววางบวงดักไว้
วันหนึ่งพญานกถูกจับได้ชาวนาจึงถามพญานกว่า “นกเอ๋ย ท้องของท่านคงใหญ่กว่าท้องของนกอื่น
เพราะเมื่อท่านกินอิ่มแล้วยังต้องคาบรวงข้าวกลับไป อีกวันละ 3 รวงเป็นเพราะท่านมียุ้งฉางหรือเป็นเพราะเรามีเวรต่อกันมาก่อน” พญานกตอบว่า “ข้าพเจ้าไม่ได้มียุ้งฉาง และเรา ก็ไม่มีเวรต่อกันแต่ที่เราคาบไป 3 รวงนั้น
รวงหนึ่งเอาไปใช้หนี้เก่า รวงหนึ่งเอาไปให้เขา และอีกรวงหนึ่งเอาไปฝังไว้ ”
ชาวนาได้ฟังก็เกิดความสงสัย จึงถามว่า “ท่านเอารวงข้าวไปใช้หนี้ใคร เอาไปให้ใคร และเอาไปฝังไว้ที่ใหน”
พญานกแขกเต้าจึงตอบว่า
“รวงหนึ่งเอาไปใช้หนี้เก่า คือ เอาไปเลี้ยงดูพ่อแม่เพราะท่านแก่แล้ว และเป็นผู้มีพระคุณอย่างมาก ทั้งให้กำเนิดและเลียงดูข้าพเจ้าจนเติบใหญ่ นับว่าข้าพเจ้าเป็นหนี้ท่านจึงสมควรเอาไปใช้หนี้ ”
“ รวงที่สองเอาไปให้เขา คือ เอาไปให้ลูกน้อยทั้งหลายที่ยังเล็กอยู่ไม่สามารถหากินเองได้ เมื่อข้าพเจ้าเลี้ยงเขาในตอนนี้ ต่อไปยามข้าพเจ้าแก่เฒ่าเขาจะเลี้ยงตอบแทนจัดเป็นการให้เขา”
“ รวงที่สามเอาไปฝังไว้ คือ เอาไปทำบุญด้วยการให้ทาน กับนกที่แก่ชรา นกที่พิการหรือเจ็บป่วยไม่สามารถหากินได้เท่ากับเอาไปฝังไว้ เพราะบัณฑิตทั้งหลาย กล่าวว่า การทำบุญเป็นการฝังขุมทรัพย์ไว้ ”
ชาวนาฟังแล้วเกิดความเลื่อมใสว่านกนี้เป็นนกกตัญญูต่อพ่อแม่ เป็นนกที่มีความเมตตาต่อลูกน้อย ใจบุญ
มีปัญญารอบคอบมองการณ์ไกล
พญานกได้อธิบายต่อไปว่า “ข้าวสาลีที่ข้าพเจ้ากินเข้าไปนั้นก็เปรียบเหมือนเอาทิ้งลงไปในเหวที่ไม่รู้จักเต็มเพราะ ข้าพเจ้าต้องมากินทุกวัน วันนี้กินแล้ว พรุ่งนี้ก็ต้องมากินอีก กินเท่าไรก็ไม่รู้จักเต็มจะกินก็ไม่ได้เพราะถ้าท้องหิวก็เป็นทุกข์ ”
ชาวนาฝังแล้วจึงกล่าวว่า “พญานกผู้มมีปัญญา ทีแรกข้าพเจ้าคิดว่า ท่านเป็นนกที่โลภมาก เพราะนกตัวอื่นเขาหากินเสร็จเรียบร้อยแล้วเขาก็ไม่คาบอะไรไปส่วนท่านบินมาหากินแล้วก็ยังคาบรวงข้าวกลับไปอีก
แต่พอฝังท่านแล้วจึงรู้ว่าท่านไม่ได้คาบไปเพราะความโลภ แต่คาบไปเพราะความดี คือเอาไปเลี้ยงพ่อแม่
เอาไปเลี้ยงลูกน้อย และเอาไปทำบุญท่านทำดีจริง ๆ”
ชาวนามีจิตเลื่อมใสในคุณธรรมของพญานกมากจึงแก่เครื่องผูกออกจากเท้าพญานกปล่อยให้เป็นอิสระ
แล้วอบนาข้าวสาลีให้ พญานกรับนาข้าวสาลีไว้เพียงส่วนหนึ่งชึ่งกะคะเนแล้วว่าเพียงพอแก่บริวารจากนั้นจึงให้โอวาท แก่ชาวนาว่า “ ขอให้ท่านเป็นผู้ไม่ประมาทหมั่นสั่งสมกุศลด้วยการทำทานและเลี้ยงดูพ่อแม่ผู่แก่เฒ่าด้วยเถิด” ชาวนาได้คติจากข้อปฏิบัติของพญานกจึงตั้งใจทำบุญกุศลตั้งแต่นั้นมาจนตลอดชีวิต
นกแขกเฒ่าผู้มีปัญญารู้ว่าควรบริหารจัดการทรัพย์อย่างไรจึงจะเกิดประโยชน์สูงสุด ทั้งต่อตนเอง ต่อครอบครัว
และต่อสังคม นับเป็นการใช้ทรัพยากร
นับเป็นการใช้ทรัพย์อย่างชาญชลาดที่ยิ่งใช้ก็ยิ่งมีความสุขความเจริญ สุขทั้งกาย สุขทั้งใจ สุขทั้งในปัจจุบัน และอนาคต
ผลงานอื่นๆ ของ Clow Reed ดูทั้งหมด
ผลงานอื่นๆ ของ Clow Reed
ความคิดเห็น