ในปี พ.ศ.2062 เออร์นานโด คอร์เตส แห่งสเปน ได้บุกเข้าโจมตีเม็กซิโก กองทัพของสเปนได้บุกยึดเมืองหลวง แต่เนื่องจากความเหน็ดเหนื่อย ทำให้ทหารสเปนอ่อนเพลียไปตามๆ กัน แต่ระหว่างการเดินทาง คอร์เตสได้รับเครื่องดื่มสีดำ จากชาวเม็กซิโก ที่เรียกว่า
ช็อกโกลาธ์ล+
+
ชาวเม็กซิโกได้นำเครื่องดื่ม ช็อกโกลาธ์ล นี้ มาให้ และบอกว่า ได้มาจากการบดเม็ดของลูกคาเคา และละลายน้ำ ถือกันว่า เป็นเครื่องดื่มของพระเจ้า
เมื่อคอร์เตสทดลองดื่มดู ก็แทบจะอาเจียน เพราะรสชาติขมมาก แต่เพราะการเดินทางมาด้วยความเมื่อยล้า จึงต้องดื่ม และแจกจ่ายให้ทหารทุกคน ผลปรากฎว่า ทหารกระปรี้กระเปร่าขึ้นมากันทุกคน คอร์เตสจึงคิดว่า อาจจะเป็นเพราะ ช็อกโกลาธ์ล ที่ทำให้ทหารทุกคน กระปรี้กระเปร่า +
+
เมื่อยึดเม็กซิโกได้ จึงนำลูกคาเคากลับไปเป็นจำนวนมาก และเวลารับประทานก็เติมน้ำตาลลงไป ทำให้ไม่ขม และเป็นที่นิยมกันมาก เพราะมีรสชาติอร่อยขึ้น จากนั้นก็มีวิวัฒนาการ ไปผสมกับส่วนอื่นๆ ที่สามารถเพิ่มรสชาติให้อร่อยขึ้น และนำมาทำเป็นแท่ง หรือรูปแบบต่างๆ และกลายมาเป็นช็อกโกแลต อย่างที่เห็นกันในปัจจุบันนั่นเอง !!!
“
ช็อกโกแลต” ขนมหวานสุดโปรดปรานของใครหลายคนประกอบไปด้วยโกโก้ลิเคอร์ (Cocoaliqour) เนยโกโก้ (Cocoa butter) น้ำตาล เลซิทิน และสารแต่งกลิ่นต่าง ๆ โดยทั่วไปแล้วเราสามารถแบ่งช็อกโกแลตออกได้ 3 ชนิดค่ะ ได้แก่ ช็อกโกแลตดำ (Dark Chocolate) ช็อกโกแลตขาว (White Chocolate) และช็อกโกแลตรสนม (Milk Chocolate) ความแตกต่างของช็อกโกแลตทั้งสามชนิดอยู่ที่ ส่วนผสม อย่างเช่น ช็อกโกแลตขาวจะมีส่วนผสมเหมือนดาร์กช็อกโกแลต แต่ใช้เนยโกโก้ลิเคอร์ จึงทำให้มีลักษณะเป็นสีขาวและมีรสหวานมาก ในขณะที่ช็อกโกแลตนมจะลดปริมาณโกโก้ลิเคอร์และเติมนมผงเข้าไป
-
- แต่กว่าที่จะได้ช็อกโกแลตออกมานั้น ต้องผ่านกระบวนการผลิตที่มีขั้นตอนยุ่งยากซับซ้อน เริ่มจากการบดส่วนผสมต่าง ๆ เพื่อทำให้ละเอียดโดยใช้ลูกกลิ้งบดถึง 6 ตัว เพื่อลดขนาดอนุภาค ว่ากันว่าขนาดอนุภาคของช็อกโกแลตต้องมีขนาดที่เล็กมากไม่ควรเกิน 35 ไมครอน จากนั้นก็นำมานวดโดยใช้เวลาประมาณ 24-48 ชั่วโมง หรือ 1-2 วันทีเดียว และจะต้องควบคุมอุณหภูมิของช็อกโกแลตให้คงที่ เสร็จแล้วก็นำมาขึ้นเป็นรูปต่าง ๆ โดยใช้แม่พิมพ์ที่มีอุณหภูมิประมาณ 30 องศาเซลเซียส ทั้งนี้ เพื่อไม่ให้ช็อกโกแลตติดแม่พิมพ์ จากนั้นเขาก็จะเคาะแม่พิมพ์เพื่อไล่ฟองอากาศออก และทำให้เย็นลง เพื่อกำจัดความร้อนจากการควบคุมผลึก เพราะหากกำจัดความร้อนไม่สมบูรณ์ จะเกิดการหลอมเหลวของ ไขมันเป็นคราบขาวที่บริเวณผิวหน้าซึ่งเรียกว่า “Fat bloom” ทำให้ช็อกโกแลตไม่น่ารับประทาน
ช็อกโกแลตเป็นขนมที่มีคุณค่าทางโภชนาการ เพราะนอกจากจะให้พลังงานจากคาร์โบไฮเดรตและไขมันแล้ว ก็ยังมีวิตามิน เอ ดี เค และธาตุเหล็กค่อนข้างสูง ช็อกโกแลตร้อน 1 ถ้วยมีปริมาณของสารคาเฟอีนประมาณ 10 มิลลิกรัม ซึ่งแม้ว่าจะมีน้อยกว่าสารคาเฟอีนในกาแฟถึง 10 เท่า แต่เจ้าสารคาเฟอีนในช็อกโกแลตนี้เองที่สามารถช่วยกระตุ้นร่างกายให้มีความรู้สึกกระปรี้กระเปร่าขึ้นได้ เช่นเดียวกับกาแฟ แถมช็อกโกแลตยังช่วยลดความเครียดได้อีกด้วย เพราะในช็อกโกแลตมีสารบางชนิดที่ไปกระตุ้นให้สมองหลั่งสารเคมีแห่งความสุขที่ชื่อ “เอ็นดอร์ฟิน” (Endorphin) ออกมา ซึ่งช่วยปรับอารมณ์ทำให้เรามีอารมณ์ดี ไม่หงุดหงิดง่าย
ยิ่งไปกว่านั้นเมื่อไม่นานมานี้ ยังมีรายงานผลการวิจัยเกี่ยวกับการบริโภคช็อกโกแลตพบว่า ในช็อกโกแลตมีสารต้านอนุมูลอิสระ ที่เรียกว่า “ฟลาโวนอยด์” (Flavonoid) เป็นส่วนประกอบสำคัญ เช่นเดียวกับที่พบในพืชผัก ผลไม้ ไวน์แดง และใบชา ดังนั้นการรับประทานช็อกโกแลตในปริมาณที่เหมาะสมไม่มากไม่น้อยจนเกินไป จะมีส่วนช่วยป้องกันการเกิดโรคหัวใจ หรือแม้กระทั่งให้ คุณประโยชน์ในการป้องกันโรคมะเร็งบางชนิดได้อีกด้วย อย่างไรก็ตาม รายงานล่าสุดของจุลสาร American Journal of Clinical Nutrition ระบุว่า มนุษย์จะได้รับประโยชน์จากช็อกโกแลตหากได้ รับประทานในปริมาณที่เหมาะสมเท่านั้น โดยการรับประทานช็อกโกแลตดำประมาณครึ่งออนซ์ จะทำให้ความสามารถในการต่อต้านอนุมูลอิสระของร่างกายเราเพิ่มขึ้นประมาณ 4 เปอร์เซ็นต์ และปริมาณของ LDL หรือ Low-density Lipoprotein Cholesterol ซึ่งเป็นคอเลสเตอรอลที่เป็นพิษก็จะลดลงเช่นกัน
ข้อมูลจากคณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ข้อความที่โพสจะต้องไม่น้อยกว่า {{min_t_comment}} ตัวอักษรและไม่เกิน {{max_t_comment}} ตัวอักษร
กรอกชื่อด้วยนะ
_________
กรอกข้อมูลในช่องต่อไปนี้ไม่ครบ
หรือข้อมูลผิดพลาดครับ :
_____________________________
ช่วยกรอกอีกครั้งนะครับ
กรุณากรอกรหัสความปลอดภัย
ความคิดเห็น