เอกวิทยาการคอมพิวเตอร์ มศว
การเรียนไม่หนักมากนัก สบายๆ อ.ผู้สอนเป็นกันเองมากค่ะ
สำหรับในเอกนี้ ก็จะเน้นวิชา คณิตศาสตร์และคอมพิวเตอร์
เป็นหลัก เราจะเรียนคณิตศาสตร์เทอมละ 4 ตัว เรียน 3 เืืทอม
ส่วนปีต่อๆไปก็จะมีเรียนเคมี กับ ชีวะ ปี 1 เทอม 1 จะมีเรียน
ฟิสิกส์ (ทฤษฏี)
แ่น่นอนค่ะว่า ปี 1 นิสิตทุกคน ทุกคณะจะต้่องมาอยู่รวมกันที่
องครักษ์ จ.นครนายก แต่ปี 2 เราก็ต้องย้ายไปอยู่ประสานมิตร
แล้วค่ะ....
ปีนึงทางมหาวิทยาลัยกำหนดรับคณะวิทยาศาสตร์ เอกวิทยาการ
คอมพิวเตอร์ไว้ 40 คนถ้าใครสนใจก็ลองเลือกดูได้นะคะ
รับน้องไม่หนักค่ะ สนุกด้วยซ้ำ พี่ๆใจดีเปนกันเอง เทคแคร์ดีค่ะ
รับรองได้!!! อบอุ่นๆๆ  เอกเราเปิดมาก็ 17 ปีแล้ว ถึงแม้ว่า
่จะเพิ่งเปิดมาได้แค่ไม่กี่ปี แต่ทุกรุ่นที่จบไปก็มีงานทำกันทุกคน
นะคะ บางคนเงินเดือน ก็ start ที่ 40000 บาท น่าสนมั้ย....อิอิ.
ส่วนเรื่องคะแนน ก็...เท่าที่ทราบ ก็ไม่สูงและไม่ต่ำจนเกินไปค่ะ
ตรวจดูคะแนนปีที่ผ่านๆมาได้ที่ http://www.eduzones.com/zone/admission1/view.php?page=4&id=360 นะคะ
ยังไงก็ฝากคณะวิทยาศาสตร์ เอกวิทยาการคอมพิวเตอร์
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ไว้ด้วยนะคะ.......ขอบคุณค่ะ
ประวัติความเป็นมา
เมื่อวันที่ 16 กันยายน พ.ศ.2497 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ได้ก่อตั้งขึ้นโดยมีฐานะเป็นคณะวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ วิทยาลัยวิชาการศึกษา ประสานมิตร สังกัดกรมการฝึกหัดครู กระทรวงศึกษาธิการ ที่ประกอบด้วย 5 แผนกวิชา คือ คณิตศาสตร์ คหกรรมศาสตร์ เคมี ชีววิทยา และฟิสิกส์ แต่ละแผนกวิชาทำหน้าที่สอนวิชาเอก วิชาโท และวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์พื้นฐาน ให้แก่นิสิตหลักสูตรการศึกษาบัณฑิตในคณะวิชาต่างๆ รวมถึงหลักสูตรประกาศนียบัตรชั้นสูงและหลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต ต่อมาในปี พ.ศ. 2508 ได้เปิดแผนกวิชาใหม่คือ แผนกวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไปโดยคณะวิชาในขณะนั้นมีผู้บริหารสูงสุดเรียกว่า หัวหน้าคณะวิชา และผู้บริหารสูงสุดของคณะวิชาในวิทยาเขตทั้ง 7 แห่ง (วิทยาลัยวิชาการศึกษาปทุมวัน บางแสน พิษณุโลก มหาสารคาม สงขลา บางเขน และพลศึกษา) เรียกว่า รองหัวหน้าคณะวิชา สำหรับหัวหน้าคณะวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์คนแรก คือ ศาสตราจารย์ ดร.พิทักษ์ รักษพลเดช และคนที่สอง คือ รองศาสตราจารย์ ดร.ประยงค์ พงษ์ทองเจริญ ในวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2517 วิทยาลัยวิชาการศึกษาได้รับการยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยโดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณพระราชทานนามเมื่อวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ.2517 ว่า ศรีนครินทรวิโรฒ ซึ่งหมายความว่า มหาวิทยาลัยที่เจริญเป็นศรีสง่าแก่มหานคร คณะวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์จึงได้เปลี่ยนชื่อเป็น “คณะวิทยาศาสตร์” มาจนถึงปัจจุบัน โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะผลิตบัณฑิตในสาขาขาดแคลนทางด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ตลอดจนครูวิทยาศาสตร์และครูคณิตศาสตร์เพื่อเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมและรับใช้สังคม
ตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ พ.ศ. 2541 คณบดีเป็นตำแหน่งผู้บริหารสูงสุดในคณะ โดยดำรงตำแหน่งวาระละสี่ปี และอยู่ในตำแหน่งติดต่อกันได้ไม่เกิน 2 วาระ ผู้ดำรงตำแหน่งคณบดีคณะวิทยาศาสตร์ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันคือ
1. รองศาสตราจารย์ ดร. ประยงค์ พงษ์ทองเจริญ พ.ศ. 2518 - 2526
2. รองศาสตราจารย์ ดร. สุมณฑา พรหมบุญ พ.ศ. 2526 - 2530
3. ศาสตราจารย์ ดร.สุทัศน์ ยกส้าน พ.ศ. 2530 - 2532
4. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดาภรณ์ วีรสาร พ.ศ. 2532 - 2536
5. รองศาสตราจารย์ ดร.บุญเอิญ มิลินทสูต พ.ศ. 2536 - 2538
6. รองศาสตราจารย์ ดร.สุเทพ ทองอยู่ พ.ศ. 2538 - 2540
7. รองศาสตราจารย์ ดร.วิเชียร มากตุ่น พ.ศ. 2540 - 2544
8. ดร. ยุวดี นาคะผดุงรัตน์ พ.ศ. 2544 - ปัจจุบัน
ปรัชญา ปณิธาน วิสัยทัศน์ พันธกิจหลัก วัตถุประสงค์ เป้าหมาย
ปรัชญา
การศึกษาคือความเจริญงอกงาม
ปณิธาน
คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มีความมุ่งมั่นในการผลิตบัณฑิตด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตรศึกษา และคณิตศาสตรศึกษา ให้มีความรู้ รอบรู้ ใฝ่รู้ รู้จักคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ มีความสามารถในการติดต่อสื่อสาร มีบุคลิกภาพที่ดี มีคุณธรรม จริยธรรม จิตสำนึกสูง และเสียสละเพื่อประโยชน์ส่วนรวม
วิสัยทัศน์
คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ จะเป็นประชาคมแห่งภูมิปัญญาที่มีความเป็นเลิศทางวิชาการ สามารถสอนและวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตรศึกษาและคณิตศาสตรศึกษา อย่างมีคุณภาพ เป็นที่ยอมรับทั้งระดับชาติและระดับภูมิภาค สามารถนำไปใช้ในการพัฒนาประเทศได้ มีความพร้อมในการปรับรูปแบบขององค์กรให้เหมาะสม สอดคล้องกับสภาวะเศรษฐกิจและสังคม
พันธกิจหลัก
คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มีพันธกิจหลักดังนี้
1. ผลิตบัณฑิตทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตรศึกษา และคณิตศาสตรศึกษาที่มีคุณภาพ ตรงตามความต้องการของสังคม มีความรู้ความสามารถ มีบุคลิกภาพที่ดีมีคุณธรรม จริยธรรมและเสียสละเพื่อประโยชน์ส่วนรวม
2. ให้ความร่วมมือในการผลิตบัณฑิตกับคณะ และหน่วยงานอื่น
3. ผลิตงานวิจัยที่มีคุณภาพอย่างต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับทั้งในประเทศและนานาชาติ และมีงานวิจัยที่สามารถนำไปประยุกต์ให้เกิดประโยชน์ได้
4. ให้บริการวิชาการแก่สังคม ชุมชน โดยใช้องค์ความรู้จากการเรียนการสอน งานวิจัย และศักยภาพอื่นๆ ของคณะวิทยาศาสตร์ เพื่อเผยแพร่ภาพลักษณ์ของคณะและมหาวิทยาลัย
5. ส่งเสริมให้มีการอนุรักษ์ พัฒนา เผยแพร่ ประยุกต์ใช้ศิลปะ วัฒนธรรม และภูมิปัญญาไทย
6. พัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง เพื่อยกระดับและพัฒนาคุณภาพการศึกษา
วัตถุประสงค์
คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มีวัตถุประสงค์ดังนี้
1. เพื่อให้การศึกษา และส่งเสริมการศึกษาที่นำไปสู่การผลิตบัณฑิตสาขาวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตรศึกษา และคณิตศาสตรศึกษา ที่มีคุณภาพตามมาตรฐานสากลทั้งในด้านความรู้ ทักษะ ความใฝ่รู้ ความสามารถในการเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ความสามารถในการวิเคราะห์ และสังเคราะห์ เป็นผู้มีคุณธรรมและจริยธรรม โดยให้สอดคล้องกับความต้องการของสังคม
2. เพื่อศึกษา วิจัย ค้นคว้า และพัฒนาวิชาการด้านวิทยาศาสตร์พื้นฐาน และวิทยาศาสตร์ ประยุกต์ให้มีความเป็นสากลและเกิดประโยชน์แก่สังคม
3. เพื่อให้บริการวิชาการและความร่วมมือทางด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์กับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาชน
4. เพื่อทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมของท้องถิ่นและชาติ ที่เป็นเอกลักษณ์ของไทยด้วยความรู้ทางวิทยาศาสตร์
5. เพื่อบริหารจัดการทรัพยากรของคณะวิทยาศาสตร์อย่างมีประสิทธิภาพ
เป้าหมายการดำเนินงาน
(1) ด้านการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษา
1. ผลิตบัณฑิตปริญญาตรีไม่ต่ำกว่า 400 คนต่อปี
2. ผลิตบัณฑิตระดับปริญญาโท-เอก ไม่ต่ำกว่า 50 คนต่อปี
3. รับนิสิตเรียนดีเพื่อรับทุนสนับสนุนเข้าศึกษาในหลักสูตรต่างๆ เป็นจำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 ของจำนวนนิสิตในแต่ละปี
4. พัฒนาคุณวุฒิของอาจารย์ให้เป็นไปตามเกณฑ์ของทบวงมหาวิทยาลัย
5. สร้าง/พัฒนาหลักสูตรให้มีความทันสมัยทางวิชาการและสอดคล้องกับความต้องการของประเทศ
6. บัณฑิตของคณะวิทยาศาสตร์ต้องมีความรู้ ทักษะและมีความสามารถในการเรียนรู้สิ่งใหม่ การวิเคราะห์ การตัดสินใจ การถ่ายทอดความรู้ การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
7. บัณฑิตของคณะวิทยาศาสตร์ต้องมีคุณธรรม จริยธรรม มีจิตสำนึกต่อส่วนรวมเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อผู้อื่น และสามารถอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข
(2) ด้านงานวิจัย
1. ส่งเสริมและพัฒนางานวิจัยพื้นฐานและประยุกต์ที่สอดคล้องกับความต้องการของประเทศ
2. ปรับปรุงการบริหารจัดการด้านวิจัยและพัฒนาศักยภาพของผู้วิจัยให้มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง
3. สร้างความร่วมมือในงานวิจัยกับหน่วยงานอื่น และมหาวิทยาลัยชั้นนำในต่างประเทศอย่างน้อย 6 แห่ง
4. ผลิตผลงานวิจัยที่มีคุณภาพเป็นที่ยอมรับในสังคมวิชาการให้มีปริมาณเพิ่มขึ้นร้อยละ 10 ต่อปี
(3) ด้านบริการวิชาการ
1. มีกิจกรรมการบริการวิชาการอย่างต่อเนื่อง และมีคุณภาพ ตามความต้องการของสังคม ไม่น้อยกว่า 8 โครงการ
2. ประสานความร่วมมือกับหน่วยงานอื่นในลักษณะเครือข่ายในการบริการวิชาการ ไม่น้อยกว่า 6 แห่ง
3. ส่งเสริมให้มีการใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์ และบุคลากรให้บริการวิชาการเต็มศักยภาพภายในปี พ.ศ. 2549
4. บุคลากรผู้ให้บริการมีการเพิ่มพูนความรู้ ประสบการณ์และขีดความสามารถอย่างต่อเนื่อง ปีละ 5 คน
(4) ด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม
1. ส่งเสริมและพัฒนานิสิตและบุคลากรให้มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์ พัฒนา เผยแพร่ ทำนุบำรุง และสืบสานศิลปะ วัฒนธรรม และภูมิปัญญาไทย
2. นำความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์มาใช้ในการศึกษาวิจัย และพัฒนาศิลปะวัฒนธรรม และภูมิปัญญาไทย
3. จัดกิจกรรมด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมไม่น้อยกว่า 6 โครงการต่อปี
(5) ด้านบริหาร
1. มีระบบบริหารและจัดการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ อิสระและคล่องตัว เพื่อเตรียมพร้อมเป็นคณะภายใต้มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ
2. มีการปรับปรุงการบริหารที่มีความยืดหยุ่นรองรับการเปลี่ยนแปลงได้ และดำเนินการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด
3. เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ โดยนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information System : MIS) ที่พัฒนาโดยมหาวิทยาลัยมาใช้ในขั้นตอนต่างๆ ตามความเหมาะสม
นโยบายด้านต่างๆ
(1) นโยบายการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษา
ผลิตบัณฑิตสาขาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตรศึกษา และคณิตศาสตรศึกษา ที่มีคุณภาพ คุณธรรม และจริยธรรม สอดคล้องกับความต้องการของสังคม
(2) นโยบายด้านวิจัยระดับอุดมศึกษา
มุ่งพัฒนาให้คณะวิทยาศาสตร์มีศักยภาพสูงทางด้านการวิจัยควบคู่ไปกับการเรียนการสอน
(3) นโยบายด้านบริการวิชาการแก่สังคม
ส่งเสริมและพัฒนาการบริการวิชาการที่มีคุณภาพและต่อเนื่องโดยให้สัมพันธ์กับการเรียนการสอน การวิจัยและศักยภาพของคณะวิทยาศาสตร์
(4) นโยบายด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม
ส่งเสริมและพัฒนานิสิตและบุคลากรให้มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์ พัฒนา เผยแพร่ ทำนุบำรุง และสืบสานศิลปะ วัฒนธรรม และภูมิปัญญาไทย
(5) นโยบายด้านบริหาร
ส่งเสริมให้มีการปรับปรุงโครงสร้างการบริหารจัดการให้เกิดประสิทธิภาพและ ประสิทธิผลสูงสุด โดยพัฒนาบุคลากรให้สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานและเพิ่มการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาให้มากขึ้นครอบคลุมทุกสาขาวิชา
ข้อความที่โพสจะต้องไม่น้อยกว่า {{min_t_comment}} ตัวอักษรและไม่เกิน {{max_t_comment}} ตัวอักษร
กรอกชื่อด้วยนะ
_________
กรอกข้อมูลในช่องต่อไปนี้ไม่ครบ
หรือข้อมูลผิดพลาดครับ :
_____________________________
ช่วยกรอกอีกครั้งนะครับ
กรุณากรอกรหัสความปลอดภัย
ความคิดเห็น