สัตวศาสตร์&เทคโนฯเกษตร - สัตวศาสตร์&เทคโนฯเกษตร นิยาย สัตวศาสตร์&เทคโนฯเกษตร : Dek-D.com - Writer

    สัตวศาสตร์&เทคโนฯเกษตร

    คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร จัดตั้งขึ้นตามนโยบายของมหาวิทยาลัย ที่ได้จัดตั้งวิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี โดยมีศาสตราจารย์ ดร.ตรึงใจ บูรณสมภพ อธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร

    ผู้เข้าชมรวม

    20,853

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    11

    ผู้เข้าชมรวม


    20.85K

    ความคิดเห็น


    145

    คนติดตาม


    2
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  31 มี.ค. 48 / 17:26 น.


    ข้อมูลเบื้องต้น
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ
      บทความโดย nutthachai7@hotmail.com


      ประวัติความเป็นมา

                คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร จัดตั้งขึ้นตามนโยบายของมหาวิทยาลัย
      ที่ได้จัดตั้งวิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี โดยมีศาสตราจารย์ ดร.ตรึงใจ บูรณสมภพ
      อธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร (พ.ศ.2539 - 2543) เป็นผู้ริเริ่มโครงการฯ
      และก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2543 โดยมี อ.พุฒ วีระประเสริฐ เป็นอธิการบดี
      ซึ่งคณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตรได้ถือกำเนิดขึ้นเป็นคณะที่ 11
      ของมหาวิทยาลัยศิลปากร

      โครงการฯ
      มุ่งมั่นที่จะผลิตบัณฑิตทางสัตวศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตรให้มีพื้นฐานความรู้ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติใน
      4 ภาคการศึกษาแรก และเน้นการปฏิบัติและการศึกษาเฉพาะทางใน 4 ภาคการศึกษาหลัง
      รวมทั้งการฝึกทักษะการปฏิบัติงานให้เกิดความชำนาญในห้องปฏิบัติการของหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน
      ตลอดจนเสริมสร้างประสบการณ์การทำงานในฟาร์มของเกษตรกร
      เพื่อให้บัณฑิตมีความสามารถในการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง
      และพร้อมที่จะปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพเมื่อสำเร็จการศึกษา
      สามารถประกอบอาชีพเป็นเจ้าของฟาร์มเลี้ยงสัตว์ ประกอบธุรกิจปศุสัตว์
      แปรรูปผลิตภัณฑ์สัตว์ ธุรกิจอาหารสัตว์ เป็นนักวิจัย อาจารย์ และนักวิชาการ
      ซึ่งรวมไปถึงการค้นคว้าและประยุกต์ใช้ความรู้ที่เรียนมาในการปรับปรุง
      หรือแก้ไขปัญหาต่างๆ ให้ลุล่วงอย่างมีระบบและมีประสิทธิภาพ
      สามารถรับใช้สังคมและประเทศชาติอย่างดียิ่ง
      ด้วยศักยภาพวิทยาการที่ได้บ่มเพาะจากมหาวิทยาลัยศิลปากรแห่งนี้


      ปณิธานการศึกษา รู้คิด รู้ค้นคว้า รู้วิชา รู้จักใช้ปัญญา ร่วมพัฒนาสังคม

                มหาวิทยาลัยศิลปากรให้จัดตั้งคณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตรขึ้น
      โดยมีจุดมุ่งหมายที่เป็นหลักคือ การแสวงหาที่เหมาะสมในการทำนุบำรุงการศึกษา
      วิจัยและพัฒนาความรู้ในด้านสาขาที่เกี่ยวข้อง
      ประกอบกับการนำเอาเทคโนโลยีแผนใหม่ที่เหมาะสมมาใช้
      เพื่อถ่ายทอดความรู้อย่างมีประสิทธิภาพให้บัณฑิตเป็นผู้เพียบพร้อมด้วยสติปัญญา
      ความรอบรู้ ความเชี่ยวชาญ จิตสำนึก ความรับผิดชอบ คุณธรรม
      และจริยธรรมอันดีงาม เพื่อพัฒนาสังคมและประเทศชาติ
      โดยใช้สรรพวิทยาการที่อำนวยต่อมนุษยชาติ

                คุณสมบัติเสริมเพิ่มที่บัณฑิตพึงมีและโดยมิได้ด้อยกว่าบัณฑิตของสถาบันอื่นใดควรได้แก่ความรู้จักและเชื่อมั่นในตนเอง
      ตระหนักใฝ่รู้เป็นนิจกาล คิดริเริ่มสร้างสรรค์ จรรโลงศิลปวัฒนธรรม
      ไตร่ตรองเหตุผลและเหตุการณ์ถ้วนทั่ว อีกทั้งมีจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ


      สีประจำคณะ สีครีม
          
      ต้นไม้ประจำคณะ ต้นกฤษณา
          
      สถานศึกษาปัจจุบัน นักศึกษาชั้นปีที่ 2
        มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์  
        ต.พระปฐมเจดีย์ อ.เมือง จ.นครปฐม 73000
          
        นักศึกษาชั้นปีที่ 1, 3 - 4
        มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี  
        ต.สามพระยา อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี 76120


      ปรัชญาและวัตถุประสงค์ในการผลิตบัณฑิต

              วิทยาการและการประกอบอาชีพทางสัตว์เป็นองค์ความรู้ที่เกี่ยวเนื่องด้วยศิลปวิทยาการ
      และวิทยาศาสตร์ของการเสาะแสวงหาในการประดิษฐ์ผลผลิตและผลิตภัณฑ์ด้านสัตว์
      ทั้งในเชิงอุตสาหกรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่นจากปศุสัตว์ สัตว์เลี้ยง สัตว์สวยงาม
      แหล่งกำเนิดตามธรรมชาติ รวมถึงสัตวบาล การสืบสายพันธุ์ การพัฒนาพันธุ์
      โดยคำนึงถึงสุขภาพและสวัสดิภาพสัตว์ การจัดการของเสียจากสัตว์
      และผลพลอยได้อื่นๆ ให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ สังคม ชุมชนของประเทศ
      เพื่อสามารถวิจัยค้นคว้าและพัฒนางานด้านอุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์และผลผลิตด้านการเกษตร
      โดยนำเอาความหลากหลายทางชีวภาพ ภูมิปัญญาท้องถิ่น วิทยาศาสตร์ชีวภาพพื้นฐาน
      วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระดับสูง นิเวศวิทยาสิ่งแวดล้อม การสัตวบาล มาบูรณาการ
      และประยุกต์ใช้เป็นประโยชน์ต่อดุลยภาพทางเศรษฐกิจ สังคม
      การพัฒนาให้มีความก้าวหน้าทางวิชาการ การตลาด และสหกรณ์
      เพื่อนำไปสู่การมีเสถียรภาพของการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมที่ยั่งยืน
      สามารถรองรับต่อการแข่งขันในเวทีการค้าโลกได้บนพื้นฐานของแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงและการพึ่งพาตนเองได้ของชุมชน

              วิทยาการทางสัตวศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตรจะครอบคลุมเนื้อหาวิชาการทางวิทยาศาสตร์ชีวภาพพื้นฐานและสุขภาพสัตว์
      นิเวศวิทยาสิ่งแวดล้อม พันธุกรรม อุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์ การแปรรูป
      และการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากสัตว์ โภชนศาสตร์สัตว์
      โดยเน้นการพัฒนาศักยภาพด้านการวิจัย การค้นคว้า การถ่ายทอดเทคโนโลยี
      การให้การบริหารงานวิจัย รวมถึงการนำเอาฐานข้อมูลด้านสัตว์
      และเทคโนโลยีสารสนเทศ
      มาเสริมและสนับสนุนการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพตามหลักการของระบบคุณภาพเชิงการแข่งขัน

      เป้าหมายการศึกษา

                          1.
      เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความรอบรู้ด้านสัตวศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร
      เทคโนโลยีการผลิตสัตว์ ซึ่งรวมถึงสัตว์บกและสัตว์น้ำ
      เทคโนโลยีด้านพันธุกรรม อาหาร โภชนศาสตร์สัตว์ การตลาด ปศุสัตว์
      และธุรกิจครบวงจร
                          2. เพื่อส่งเสริมนักศึกษาให้สนใจงานวิจัยและพัฒนาในการแก้ปัญหา
      และใช้ทรัพยากรท้องถิ่นอันจำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุด
                          3.
      เพื่อส่งเสริมนักศึกษามุ่งสู่การเป็นมืออาชีพในด้านประกอบการเลี้ยงสัตว์
      มีอาชีพรับจ้าง หรือเป็นเจ้าของฟาร์มยุคก้าวหน้า
      มีความรอบรู้ในธุรกิจครบวงจร มีความเข้าใจในวิทยาศาสตร์ชีวภาพ
      นิเวศวิทยาของสัตว์ และรู้รักษาสภาพสิ่งแวดล้อม
                          4.
      เพื่อส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมในการผลิตสัตว์เน้นเชิงปฏิบัติให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพมาตรฐานสูง
      มีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค และไม่เกิดมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม
                          5.
      เพื่อส่งเสริมการยกระดับเทคโนโลยีชุมชนให้มีความสามารถแข่งขันในตลาดสากล

      แผนการศึกษา
      หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2547
      --------------------------------------------------------------------------------

      Back
        
      ปีที่ 1 (ภาคการศึกษาที่ 1)  
        
      รหัสวิชา ชื่อรายวิชา จำนวนหน่วยกิต
      080 177
      511 103
      513 106
      513 107
      512 106
      512 107
      514 100
      710 101 ภาษาอังกฤษ 1
      คณิตศาสตร์สำหรับนักศึกษาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ
      เคมีทั่วไปพื้นฐาน
      ปฏิบัติการเคมีทั่วไปพื้นฐาน
      ชีววิทยา 1
      ปฏิบัติการชีววิทยา 1
      ฟิสิกส์ทั่วไป
      หลักการผลิตสัตว์  3(2-2-5)
      3(3-0-6)
      3(3-0-6)
      1(0-3-0)
      3(3-0-6)
      1(0-3-0)
      4(4-0-8)
      2(2-0-4)
      รวมหน่วยกิต 20

        
      ปีที่ 1 (ภาคการศึกษาที่ 2)  
        
      รหัสวิชา ชื่อรายวิชา จำนวนหน่วยกิต
      080 176
      080 178
      513 151
      513 152
      512 108
      512 109
      711 101
      .......... ภาษาและการสื่อสาร
      ภาษาอังกฤษ 2
      เคมีอินทรีย์พื้นฐาน
      ปฏิบัติการเคมีอินทรีย์พื้นฐาน
      ชีววิทยา 2
      ปฏิบัติการชีววิทยา 2
      หลักการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
      วิชาเลือกในกลุ่มวิชาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ 3(3-0-6)
      3(2-2-5)
      3(3-0-6)
      1(0-3-0)
      3(3-0-6)
      1(0-3-0)
      2(2-0-4)
      4
      รวมหน่วยกิต 20

        
      ปีที่ 2 (ภาคการศึกษาที่ 1)
        
      รหัสวิชา ชื่อรายวิชา จำนวนหน่วยกิต
      700 201
      700 202
      700 206
      700 207
      700 271
      700 281
      712 101
      .......... จุลชีววิทยาสำหรับนักศึกษาวิทยาศาสตร์การเกษตร
      นิเวศวิทยาการเกษตร
      กฎหมายการเกษตร
      ภาษาอังกฤษเชิงวิทยาศาสตร์ 1
      หลักสหกรณ์และการส่งเสริมการเกษตร
      ภูมิปัญญาไทยทางการเกษตร
      เทคโนโลยีการผลิตพืช
      วิชาเลือกในหมวดวิชาเลือกเสรี  3(2-3-4)
      3(2-3-4)
      2(2-0-4)
      3(3-0-6)
      2(2-0-4)
      2(2-0-4)
      2(2-0-4)
      3
      รวมหน่วยกิต 20

        
      ปีที่ 2 (ภาคการเรียนที่ 2)  
        
      รหัสวิชา ชื่อรายวิชา จำนวนหน่วยกิต
      515 206
      700 204
      700 205
      700 208
      700 231
      700 272
      710 211
      710 231 สถิติพื้นฐานเพื่อการวิจัย
      ชีวเคมีสำหรับนักศึกษาวิทยาศาสตร์การเกษตร
      ปฏิบัติการชีวเคมีสำหรับนักศึกษาวิทยาศาสตร์การเกษตร
      ภาษาอังกฤษเชิงวิทยาศาสตร์ 2
      สวัสดิภาพสัตว์และจรรยาบรรณการทดลองในสัตว์
      เศรษฐกิจพอเพียง
      กายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยาของสัตว์เลี้ยง
      วิทยาภูมิคุ้มกันสัตว์ 3(2-3-4)
      3(3-0-6)
      1(0-3-0)
      3(3-0-6)
      2(2-0-4)
      1(1-0-2)
      4(3-3-6)
      2(2-0-4)
      รวมหน่วยกิต 19

        
      ปีที่ 3 (ภาคการเรียนที่ 1)  
        
      รหัสวิชา ชื่อรายวิชา จำนวนหน่วยกิต
      700 301
      700 302
      700 303
      710 321
      710 331
      710 334
      710 343
      710 381 เศรษฐศาสตร์การเกษตร
      พันธุศาสตร์การเกษตร
      ห้องสมุดดิจิตอลและสารสนเทศเพื่อการวิจัย
      โภชนศาสตร์สัตว์
      สุขภาพและสุขอนามัยสัตว์
      ปรสิตวิทยาของสัตว์
      เทคโนโลยีชีวภาพทางสัตว์
      การวิจัยทางสัตวศาสตร์ 2(2-0-4)
      3(3-0-6)
      2(1-3-2)
      3(3-0-6)
      3(3-0-6)
      3(2-3-4)
      2(1-3-2)
      3(2-3-4)  
      รวมหน่วยกิต 21

        
      ปีที่ 3 (ภาคการเรียนที่ 2)  
        
      รหัสวิชา ชื่อรายวิชา จำนวนหน่วยกิต
      710 322
      710 341
      710 351
      710 352
      710 ...
      ..........  อาหารสัตว์
      การปรับปรุงพันธุ์สัตว์
      การผลิตสัตว์ปีก
      การผลิตสุกร
      วิชาเลือกในกลุ่มวิชาชีพเลือก
      วิชาเลือกในหมวดวิชาเลือกเสรี 4(3-3-6)
      3(2-3-4)
      2(1-3-2)
      2(1-3-2)
      6
      3  
      รวมหน่วยกิต 20

        
      ปีที่ 4 (ภาคการศึกษาที่ 1)  
        
      รหัสวิชา ชื่อรายวิชา จำนวนหน่วยกิต
      710 451
      710 453
      710 459
      700 471
      710 491
      710 ... การผลิตโคนมและโคเนื้อในเขตร้อน
      การผลิตเนื้อสัตว์
      การจัดการของเสียทางการเกษตร
      การตลาดสินค้าเกษตรและอาหาร
      สัมมนา
      วิชาเลือกในกลุ่มวิชาชีพเลือก 3(2-3-4)
      2(2-0-4)
      4(3-3-6)
      2(2-0-4)
      2(0-4-2)
      6  
      รวมหน่วยกิต 19

        
      ปีที่ 4 (ภาคการศึกษาที่ 2)  
        
      รหัสวิชา ชื่อรายวิชา จำนวนหน่วยกิต
      710 498
      710 499 สหกิจศึกษา
      จุลนิพนธ์ 6(0-18-0)
      2(0-6-0)  
      รวมหน่วยกิต 8

      บทความโดย nutthachai7@hotmail.com

      ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      ความคิดเห็น

      ×