ถาปัด ถาปัด ถาปัด - ถาปัด ถาปัด ถาปัด นิยาย ถาปัด ถาปัด ถาปัด : Dek-D.com - Writer

    ถาปัด ถาปัด ถาปัด

    หลายๆคน ตอนเด็กๆก็ไม่ค่อยรู้จักหรอกกับคำว่าถาปัด แต่ก็จำได้ว่าอยากเรียนคณะนี้ๆ

    ผู้เข้าชมรวม

    67,215

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    8

    ผู้เข้าชมรวม


    67.21K

    ความคิดเห็น


    1.31K

    คนติดตาม


    39
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  29 พ.ค. 48 / 13:42 น.


    ข้อมูลเบื้องต้นของเรื่องนี้
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ
      บทความโดย พี่อิง สน.จุฬา

      หลายๆคน ตอนเด็กๆก็ไม่ค่อยรู้จักหรอกกับคำว่าถาปัด  แต่ก็จำได้ว่าอยากเรียนคณะนี้ๆ   หรือบางคนมาสังเกตตัวเองก็พบว่า   เอ....เรานี่ก็ชอบดูบ้านเก๋ๆ  ชอบตกแต่งห้อง  ชอบต้นไม้หรือชอบคิดอะไรใหม่ๆเจ๋งๆ    บางทีเราอาจจะเหมาะกับคณะนี้นะเนี่ย   แต่ก็ยังไม่ค่อยเข้าใจอยู่ดีว่า  พี่ๆที่เรียนคณะนี้เค้าเรียนอะไรกัน  เรียนไปแล้วไปทำงานอะไร   มันใช่อย่างที่เราคิดไว้มั้ย

      ไหนเรามาลองดูกัน

      ก่อนที่จะตัดหมายเลขคณะแล้วแปะลงในใบคัดเลือก  เชื่อว่าบางคนอาจจะผ่านมรสุมจากที่บ้านมาบ้างว่า  อย่าไปเรียนเลยน่า คณะนี้   เรียนไปก็ตกงาน  เรียนก็หนัก  บ้านก็ไม่ได้กลับ   หรือเห็นน้องบางคนก็ได้รับฟังคำกล่าวบอกมาว่า คณะสถาปัตย์เนี่ย  คณะผู้ชายนะ  เป็นผู้หญิงอย่าเรียนเลย   ก็อยากจะบอกว่า  คณะนี้เรียนได้ทั้งหญิงชายนะคะ   เดี๋ยวนี้เค้ามีกัน 50:50 แล้ว!!  ส่วนเรื่องงาน  พอเราเรียนจบไปเนี่ย  เราจะพร้อมด้วยสกิลที่ฝึกฝนมาอย่างดี (ทั้งนี้ความพยายามและความตั้งใจส่วนตัวก็มีส่วนนะจ๊ะ)  เพราะฉะนั้น  งานน่ะ ไม่ตกหรอก    ต่อมาคือ  เรื่องงานหนัก  อันนี้จริง  จะเป็นอารมณ์ประมาณว่าอดหลับอดนอน  คิดแบบ เขียนแบบ  ทำโมเดลส่ง  ส่วนเรื่องบ้านไม่ได้กลับเนี่ย  นานๆที   อาจจะกลับค่ำบ้างเป็นบางวัน  ก็ต้องทำใจเรื่องอดนอนไว้  และก็อย่าเพิ่งท้อถ้าเข้ามาแล้วจะรู้สึกเหนื่อยบ้าง  แต่มันสนุกจริงๆ  เพราะว่าเราได้ทำในสิ่งที่เราชอบไง  

      ที่ไหนบ้างที่มีสอนคณะนี้
      จุฬาฯ  ม.ศิลปากร  ม.เกษตร  สถาบันเทคโนฯพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ม.เชียงใหม่  ม.ขอนแก่น มหาวิทยาลัยเทคโนฯพระจอมเกล้าธนบุรี(บางมด-หลักสูตรอินเตอร์ด้วยนะ) สถาบันราชมงคลต่างๆ  ม.เอแบค  ม.รังสิต
      ม.ธรรมศาสตร์ (หลักสูตร 4+2 เรียน 4 ได้ปริญญาตรี อีก 2 ปีได้ปริญญาโทด้วยเลย) ม.นเรศวร  ม.มหาสารคาม
        
      มีภาควิชาอะไรบ้างในคณะสถาปัตย์  และเค้าเรียนอะไรกันมั่ง  จบแล้วไปทำอะไร

      สถาปัตยกรรม  : เรียนเกี่ยวกับการออกแบบบ้าน อาคารเล็ก-ใหญ่  ให้เป็นไปตามความต้องการของลูกค้า  มีพื้นที่ใช้สอยเหมาะสม  ถูกต้องตามกฎหมาย โครงสร้างแข็งแรง  และที่สำคัญคือ สวยงาม   จบแล้วก็ไปเป็นสถาปนิก  เริ่มแรกอาจจะอยู่ในบริษัทก่อน  ถ้าต่อมาเริ่มมีประสบการณ์สั่งสมมากขึ้น  มีเงินมากขึ้นก็สามารถเปิดออฟฟิศเองก็ได้  

      สถาปัตยกรรมภายใน : เรียนเกี่ยวกับการออกแบบภายในอาคารให้สวยงาม  น่าสนใจ  มีแสงสว่างและสิ่งต่างๆที่เหมาะสมกับความต้องการของแต่ละพื้นที่  จะ ทำงานในลักษณะที่ต้องลงรายละเอียดมากแบบ มากๆ   จริงๆแล้ว สถาปัตยกรรม  ก็มีรายละเอียดมากนะ  แต่จะเป็นคนละแบบกัน   จบไปเป็นสถาปนิกออกแบบตกแต่งภายใน  การทำงานคล้ายๆสถาปนิกเลย  แต่เป็นการทำงานตกแต่งแทนที่จะออกแบบอาคาร

      สถาปัตยกรรมไทย : แน่นอนว่า ต้องเรียนเกี่ยวกะบ้านไทย ศิลปะไทยเช่น วัด  อุโบสถ  ลายไทย  การแกะสลัก ปูนปั้น  การเขียนลายต่างๆ  การอนุรักษ์สถาปัตยกรรมไทยและการบูรณะ ออกแบบวัดขึ้นใหม่  อาจจะ ทำงานกับกรมศิลปากร   แต่ภาคนี้จะรับจากการสอบตรงอย่างเดียวนะจ๊ะ  เพราะว่าคนที่จะมาเรียนด้านนี้ได้  น่าจะเป็นคนที่มีใจรักด้านนี้อย่างแท้จริง   มากๆ

      ภูมิสถาปัตยกรรม : เรียนเกี่ยวกับการออกแบบพื้นที่ภายนอกอาคาร  รู้จักการเลือกใช้ต้นไม้  พืชพันธุ์ที่เหมาะสมกับประเภทอาคาร  การจัดสวนทั้งในพื้นที่เล็กๆทั้งภายนอกภายใน  ไปจนถึงโครงการใหญ่ๆอย่างสนามกอล์ฟ สวนสาธารณะและอุทยานแห่งชาติเลยทีเดียว

      ออกแบบอุตสาหกรรม : เรียนการออกแบบหลายๆอย่างทั้งผลิตภัณฑ์  ก็ประมาณแพคเกจจิ้งต่างๆด้วยแหละ  ออกแบบตกแต่งภายในพวกดิสเพลย์หน้าร้าน   ออกแบบสิ่งทอ  ออกแบบกราฟิค  และเซรามิค  โดยทุกคนจะได้เรียนหมดทุกตัว  และเลือกทำทีสิส (วิทยานิพนธ์) ในตัวที่เราชอบและถนัดเพียงตัวเดียว  จบแล้ว ก็ไปทำงานได้หลายหลายมาก  ตามที่เรียนมา  หรือจะรับงานฟรีแลนซ์ก็ได้  คือ ทำงานอิสระไม่ได้ทำตรงกับบริษัทไหนเฉพาะ   เป็นครีเอทีฟ  ออกแบบสิ่งพิมพ์  ผลิตภัณฑ์ต่างๆ  ออกแบบลายผ้าทำเฟอร์นิเจอร์  โอยย  เยอะมาก  และตอนนี้ภาคนี้ก็กำลังบูมใช้ได้เลย  

      วางแผนภาคและผังเมือง : ภาคนี้เป็นน้องใหม่ของป.ตรีที่จุฬา  แต่เดิมเปิดสอนในระดับ ป.โท  ตอนนี้รับทั้งน้องสายวิทย์ และสายศิลป์อย่างละครึ่ง  เรียนเกี่ยวกับการจัดการผังเมืองให้เป็นระบบ  ทางสัญจร  ระบบการบริการ  การจัดการเมืองให้เป็นสัดส่วน  มีจุดเด่นที่ดี  ทำให้ภาพของเมืองเป็นภาพที่น่าดู เป็นเมืองที่น่าอยู่   การทำงานก็ ประมาณว่า  วางผังเมืองให้กับโครงการที่จะเกิดขึ้นในอนาคต   และปรับปรุงสภาพแวดล้อมของเมืองที่มีอยู่แล้วให้ดีขึ้น

      (ที่จุฬา) การเรียนในปีแรก  ทุกภาคจะเรียนวิชาพื้นฐานร่วมกันก่อน  เช่นวิชาประวัติศาสตร์ศิลป์  พื้นฐานการออกแบบ  ภาษาอังกฤษ   อาจจะมีบางวิชาที่เรียนเฉพาะภาคบ้าง  ต่อมาเทอม 2 ของปีแรก  ภาคผังเมืองจะแยกไปเรียนวิชาของตัวเองแล้ว (เรียกว่า แยกไปก่อนเพื่อนเลย)   ภาคอื่นๆจะได้เริ่มออกแบบบ้านกัน ส่วน สถ.ไทย จะเรียนวิชาการออกแบบของภาคตัวเอง  

      ปี 2 เทอมแรกภาคที่เหลือจะยังเรียนรวมกันอยู่   ยังคงทำบ้านกัน  ส่วนออกแบบอุตสาหกรรมจะเริ่มไปเรียนวิชาภาคกันมากขึ้น  มีการปั้นเซรามิคกันสนุกสนาน  ต่อมาเทอมหลังเพื่อนๆภูมิสถาปัตยกรรมก็จะไปเรียนวิชาออกแบบของเค้าเอง  ออกแบบบริเวณและจัดต้นไม้  สถ.ไทย ก็เรียนของตัวเองอยู่แล้ว  ส่วน สถาปัตย์ กับ สถาปัตย์ภายในก็ยังเรียนเหมือนกันอยู่  จะเริ่มทำอาคารสาธารณะเล็กๆ  ส่วนออกแบบอุตสาหกรรมก็จะแยกไปเรียนวิชาของภาคเค้าเองอย่างเต็มตัว  ทั้งกราฟิค  ออกแบบภายใน  และสิ่งทอ

      ปี3 ภาคสถาปัตย์กะสถาปัตย์ภายในยังเรียนด้วยกันอยู่  แต่สถาปัตย์ภายใน จะเริ่มเรียนวิชาของภาค  และจะแยกไปในตอนปี 4 ดังนั้นทุกภาคก็จะเรียนวิชาของตัวเอง  ถึงตอนนั้นก็จะมีสกิลมากขึ้น  ขยันมากขึ้น  รู้อะไรๆมากขึ้น  และต้องเตรียมพร้อมเพื่อไปฝีกงานก่อนจะขึ้นปี 5  และในปี 5 ทุกคนก็จะได้ทำทีสิส (วิทยานิพนธ์) คนละชิ้น  ซึ่งหากผ่านไปได้ด้วยดี  ก็จะเรียนจบรับปริญญามาให้พ่อแม่ได้ชื่นใจ


      การปรับตัวเมื่อเข้ามาเรียนในคณะ  อย่างที่สำคัญที่สุดคือ  เราต้องขยันขึ้น  ไม่ว่าจะเป็นคณะไหน  มหาลัยไหนก็ตาม  เพราะอาจารย์ท่านจะถือว่าเราโตแล้ว ควรจะมีความรับผิดชอบต่อตัวเองได้แล้ว     อย่างที่สำคัญไม่น้อยไปกว่ากันคือ  ถ้าเรียนคณะนี้แล้ว  ควรจะรับได้กับการอดนอน  เพราะงานเราเยอะจริงๆนะ  และต้องรู้จักการแบ่งเวลาให้ดี

      การเรียนมหาวิทยาลัยให้ได้ผลดีนั้นจะต้องมีทั้งการเรียนที่ดีและการทำกิจกรรมที่เหมาะสม  ถ้าเรียนอย่างเดียว  เราอาจขาดทักษะทางการเข้าสังคม ซึ่งเป็นสิ่งที่เราจะต้องการแน่นอนเมื่อเราเรียนจบไปและต้องทำงานเลี้ยงครอบครัว   แต่หากทำกิจกรรมมากไปจนลืมเรื่องเรียนแล้วเนี่ยนะ.......เหอะๆ  บางทีเราอาจจะ  เรียนไม่จบก็ได้เน้อ   ส่วนสังคมในคณะ  พี่ๆน้องๆก็จะมีการช่วยเหลือกันอบอุ่นน่ารักดี  มีกิจกรรมให้เราได้มารวมกันอยู่เสมอ  เรียกว่าพลาดไม่ได้เลยซักงานละ   กิจกรรมอาจจะต่างกันไปในแต่ละมหาลัย  แต่ก็สนุกไม่แพ้กันเลย  


      สุดท้ายแล้ว  อยากจะบอกน้องๆที่อยากเรียนสถาปัตย์ว่า  ไม่ว่าจะเรียนที่ไหนนั้น  ไม่ใช่เรื่องสำคัญ  แต่ที่สำคัญอยู่ที่เราตั้งใจจริงในสิ่งที่เราทำ  เรามีความพยายาม  มีน้ำใจ  มีคุณค่าในตัวเอง  นั่นหละที่จะพาเราไปสู่ความสำเร็จ.....

      แล้วเจอกันนะ   ขอให้น้องทุกคนโชคดีสมหวังได้คณะ ภาค มหาลัยที่อยากเรียน .....เอ้า รับพรซะ !!!

      บทความโดย พี่อิง สน.จุฬา

      นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      คำนิยม Top

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      คำนิยมล่าสุด

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      ความคิดเห็น

      ×