คุยกับประภาสลำดับที่เจ็ด "เท่าดวงอาทิตย์" - คุยกับประภาสลำดับที่เจ็ด "เท่าดวงอาทิตย์" นิยาย คุยกับประภาสลำดับที่เจ็ด "เท่าดวงอาทิตย์" : Dek-D.com - Writer

    คุยกับประภาสลำดับที่เจ็ด "เท่าดวงอาทิตย์"

    ผลงานพ็อคเก็ตบุ๊คลำดับที่เจ็ดในชุด"คุยกับประภาส" ของประภาส ชลศรานนท์ นักฝัน นักคิด และนักปฏิบัติคนสำคัญของวงการสื่อกระแสหลักของเมืองไทย รวบรวมจากคอลัมน์ยอดนิยมของหนังสือพิมพ์มติชนฉบับวันอาทิตย์

    ผู้เข้าชมรวม

    1,061

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    4

    ผู้เข้าชมรวม


    1.06K

    ความคิดเห็น


    0

    คนติดตาม


    0
    หมวด :  จิตวิทยา
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  16 มิ.ย. 50 / 01:39 น.


    ข้อมูลเบื้องต้น

            "ผมรู้สึกว่าการที่เรามองเห็นดวงจันทร์เท่าดวงอาทิตย์  นี่มันเรื่องบังเอิญที่เหมือนไม่บังเอิญอย่างไรไม่รู้"  ถ้อยคำที่ชวนให้ผู้อ่านนึกคิดตามและมองโลกตามความเป็นจริงเช่นนี้ เป็นจุดหนึ่งที่ทำให้งานเขียนของประภาส ชลศรานนท์ เป็นที่ติดตามของนักอ่านหลายท่าน นับตั้งแต่หนังสือชุดเล่มแรก 'ตัวหนังสือคุยกัน' 'กบเหลาดินสอ' 'มะเฟืองรอฝาน' 'เชือกกล้วยมัดต้นกล้วย' 'ยอดมนุษย์ลำลอง' และ 'หลังตู้เย็น' ซึ่งผลงานแต่ละเล่มได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี จนต้องมีการตีพิมพ์ซ้ำหลายครั้ง และในที่สุดก็ดำเนินมาถึงเล่มที่เจ็ด 'เท่าดวงอาทิตย์'

    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ

      คุยกับประภาสลำดับที่เจ็ด "เท่าดวงอาทิตย์"

       

              "ผมรู้สึกว่าการที่เรามองเห็นดวงจันทร์เท่าดวงอาทิตย์  นี่มันเรื่องบังเอิญที่เหมือนไม่บังเอิญอย่างไรไม่รู้"  ถ้อยคำที่ชวนให้ผู้อ่านนึกคิดตามและมองโลกตามความเป็นจริงเช่นนี้ เป็นจุดหนึ่งที่ทำให้งานเขียนของประภาส ชลศรานนท์ เป็นที่ติดตามของนักอ่านหลายท่าน นับตั้งแต่หนังสือชุดเล่มแรก 'ตัวหนังสือคุยกัน' 'กบเหลาดินสอ' 'มะเฟืองรอฝาน' 'เชือกกล้วยมัดต้นกล้วย' 'ยอดมนุษย์ลำลอง' และ 'หลังตู้เย็น' ซึ่งผลงานแต่ละเล่มได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี จนต้องมีการตีพิมพ์ซ้ำหลายครั้ง และในที่สุดก็ดำเนินมาถึงเล่มที่เจ็ด 'เท่าดวงอาทิตย์'

      "เท่าดวงอาทิตย์"เป็นผลงานพ็อคเก็ตบุ๊คลำดับที่เจ็ดในชุด"คุยกับประภาส" ของประภาส ชลศรานนท์ นักฝัน นักคิด และนักปฏิบัติคนสำคัญของวงการสื่อกระแสหลักของเมืองไทย รวบรวมจากคอลัมน์ยอดนิยมของหนังสือพิมพ์มติชนฉบับวันอาทิตย์ หากใครเป็นแฟนพันธุ์แท้ ชนิดที่ว่าติดตามอ่านมาอย่างต่อเนื่อง ย่อมสังเกตเห็นความเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องทีละเล็กทีละน้อยตามการเปลี่ยนแปลงของประสบการณ์ วันเวลา และยุคสมัย

      แรกเริ่มเดิมทีนั้น ประภาส จะสื่อสารกับผู้อ่านโดยเน้นหนักไปทางการตอบจดหมาย คลอบคลุมในหลายเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นวิทยาศาสตร์ สังคม ปรัชญา ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม และการดำเนินชีวิต ซึ่งในระยะต่อมาคอลัมน์"คุยกับประภาส" ได้เพิ่มความหลากหลายมากขึ้น มีทั้งเรื่องสั้น การ์ตูน ไปจนถึงบทกวี และยังมีบันทึกประสบการณ์การเดินทางไปตามสถานที่ต่างๆ รวมทั้งเหตุการณ์ภัยพิบัติครั้งประวัติศาสตร์ของประเทศไทย อย่างเหตุการณ์ธรณีพิบัติภัย"สินามิ" รวมอยู่ด้วย  กระทั่งผลงานเหล่านี้ ถูกนำมารวบรวมไว้ในหนังสือชุด "คุยกับประภาส" และผลงานหนังสือชุดนี้ก็ได้ดำเนินมาถึงเล่มที่เจ็ดในชื่อ"เท่าดวงอาทิตย์" เล่มนี้

               เนื้อหาตอนหนึ่งที่น่าสนใจในหนังสือเล่มนี้ มีชื่อตอนว่า แหวนโซโลมอน 

               กษัตริย์ของอาณาจักรฮิบรูพระองค์หนึ่งพระนามว่าโซโลมอนได้มีพระราชโองการขึ้นฉบับหนึ่ง ซึ่งต้องนับว่าเป็นโองการที่แปลกเอาการอยู่

      พระบรมราชโองการนั้นสั่งให้เหล่ามหาอำมาตย์ที่ปรึกษาของพระองค์สร้างแหวนวิเศษขึ้นวงหนึ่ง และให้แหวนวิเศษนั้นมีคำจารึกซึ่งไม่เกี่ยงว่าจะเป็นคาถาหรือบทสวดใดๆ ก็ได้ลงบนแหวน และเมื่อใดก็ตามที่พระองค์ทอดพระเนตรแหวน แหวนนั้นจักต้องสามารถเปลี่ยนอารมณ์พระองค์ได้
                              รายละเอียดของพระราชโองการนี้ก็คือ ไม่ว่าพระองค์จะอยู่ในอารมณ์ใดก็ตาม หากพระองค์ทอดพระเนตรไปที่แหวน แหวนนี้จะต้องเปลี่ยนอารมณ์ของพระองค์ได้ ไม่คำนึงว่าพระองค์จะทรงโทมนัสหรือโสมนัสอยู่ หรือต่อให้พระองค์ทรงกริ้วอยู่ แหวนนี้ก็จักต้องสามารถทำให้หายกริ้วได้ ไม่เว้นแม้แต่ตอนที่พระองค์กำลังทรงสำราญ แหวนวงนี้ก็ต้องแสดงอิทธิฤทธิ์ออกมาให้ทรงหายสำราญได้

               เมื่อฟังโองการจบ เหล่าอำมาตย์ต่างก็คิดกันหนักว่าจะไปหาแหวนวิเศษขนาดนั้นจากที่ไหนช่างและกวีทั่วทั้งเยรูซาเล็มถูกตามตัวมารับงานขึ้นเรือนแหวน  นักบวชตามวิหารต่างๆ ถูกตามมาสวดมนต์เพื่อแหวน แล้วก็เป็นอย่างที่เหล่าอำมาตย์คาดไว้ ไม่มีใครสามารถสร้างแหวนที่ทรงพลานุภาพอย่างนั้นได้

                 การประชุมของเหล่าที่ปรึกษาเกี่ยวกับเรื่องนี้มีแทบทุกวัน วันกำหนดที่จะถวายแหวนต่อพระองค์ก็ใกล้เข้ามาทุกที ความกังวลนั้นเข้ามายึดออยู่ในจิตใจของทุกคน แต่ที่หนักที่สุดเห็นจะเป็นปราชญ์เฒ่า ผู้เป็นหัวหน้าคณะที่ปรึกษาของกษัตริย์โซโลมอน เพราะถ้าทำไม่สำเร็จ พระราชอาญาก็ต้องตกกับตัวเองแต่เพียงผู้เดียว

                 ความกังวลเมื่อเกิดขึ้นแล้ว ไม่ว่าใครก็ตามมักจะก่อตัวใหญ่ขึ้น และเมื่อกังวลเรื่องหนึ่งได้ มันก็จะกังวลต่อไปไม่รู้กี่เรื่องต่อกี่เรื่อง ปราชญ์เฒ่าผู้เป็นหัวหน้าก็เช่นกัน ถึงตอนนี้แล้ว ความกังวลมากมายจึงก่อตัววนอยู่รอบๆ ความคิดของปราชญ์เฒ่า ไหนจะเรื่องพระอาญาที่อาจถึงแก่ชีวิต ไหนจะเรื่องครอบครัว ไหนจะเรื่องความจงรักภักดี ฯลฯ

                 และเมื่อถึงที่สุดแล้ว ความเป็นปราชญ์ของเขาก็คิดได้ว่า เขาจะกังวลไปทำไมในเมื่อความมั่นคงในชีวิตมนุษย์อย่างแท้จริงมันไม่เคยมีอยู่ คนเรานั้นจะดีใจหรือหดหู่กับเคราะห์หามยามร้ายมากเกินไปทำไม   ในวินาทีนั้นเองท้องฟ้าก็ดูเหมือนจะเปิดออกให้ได้เห็นแสงสว่าง
                                 ในวันที่ถวายแหวนวิเศษแด่กษัตริย์โซโลมอน ทันทีที่พระองค์หยิบแหวนขึ้นมาทอดพระเนตรคำจารึก พระองค์ถึงกับนิ่งไปพักใหญ่ แล้วจึงทรงแย้มพระโอษฐ์ออกมาอย่างพึงใจ เหล่าอำมาตย์ทั้งปวงจึงพร้อมใจกันเปล่งเสียงถวายพระพร ในแหวนวิเศษนั้น มีคำจารึกไว้ว่า "แล้วสิ่งนี้ก็จะผ่านไปเช่นกัน"

                                 เรื่องนี้ให้ข้อคิดว่า เรื่องราวที่ผ่านมาในชีวิต จะดีจะร้าย จะทุกข์จะสุข อย่างไรเสีย มันก็จะผ่านไปเสมอ  อ่านแล้วรู้สึกประทับใจและทำให้เราเกิดแรงบันดาลใจว่า ทุกครั้งที่เราต้องเจอกับเรื่องราวที่เลวร้ายต่างๆที่เข้ามาในชีวิต หรือไม่ว่าจะเป็นอุปสรรค ปัญหาใด เมื่อเวลาผ่านไป เรื่องเรื่องต่างๆเหล่านั้นมันก็จะผ่านไป เราอาจจะเคยทุกข์ แต่พอมาวันนี้เราก็กลับมามีความสุข ทุกอย่างมันเปลี่ยนไปตามกาลเวลา  เพราะฉะนั้นเราก็ไม่ควรที่จะจมอยู่กับอดีตหรือปัญหาเหล่านั้น

       ประภาส ชลศรานนท์ สะท้อนมุมมอง ความคิด และตัวตนลงบนหนังสือเล่มนี้ได้อย่างลุ่มลึกแหลมคม มุมมองของคุณประภาส เป็นมุมมองการคิดที่ไม่เหมือนใคร และไม่มีใครเหมือน สิ่งที่คนอื่นมองว่าไม่ได้ความ แต่เมื่อผ่านมุมมองความคิดของผู้ชายคนนี้แล้ว มันกลับดูเข้าท่าไปหมด และที่สำคัญทุกๆเรื่องที่อยู่ในหนังสือเล่มนี้ให้แง่คิดได้ดีมาก

                      ล่าสุด  "เท่าดวงอาทิตย์" ผลงานของ ประภาส ชลศรานนท์ ได้จัดพิมพ์เป็นครั้งที่ 3 โดย บริษัท เวิร์คพอยท์ พับลิชชิ่ง จำกัด  ในเดือนมกราคม 2549 ที่ผ่านมา มีจำนวนหน้า  248 หน้า ราคา 195 บาท   

              หากใครชอบที่จะอ่านหนังสือในแบบที่แสดงมุมมองของการคิดนอกกรอบที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของการมองโลกในแง่ดีตามความเป็นจริง และมีเนื้อหาที่กระตุ้นให้เกิดแรงบันดาลใจในการดำเนินชีวิต  ผลงานพ็อคเก็ตบุ๊คลำดับที่เจ็ดในชุด คุยกับประภาส ที่มีชื่อว่า "เท่าดวงอาทิตย์" เล่มนี้อาจเป็นหนังสือเล่มหนึ่งที่คุณไม่ควรพลาด

      ~ รื่ณ์ *^__^

       






      + + + + < +
      + Scrollbar By, MyCuteSpace.com +

      ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      ความคิดเห็น

      ×