การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม - การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม นิยาย การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม : Dek-D.com - Writer

    การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม

    กุญแจสำคัญที่มีบทบาทควบคุมกระบวนการเมตาโบลิซึมของ ร่างกายสิ่งมีชีวิตทุกชนิด คือ กรดนิวคลีอิก (Nucleic acid) หรือ DNA

    ผู้เข้าชมรวม

    19,634

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    3

    ผู้เข้าชมรวม


    19.63K

    ความคิดเห็น


    31

    คนติดตาม


    7
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  14 ส.ค. 49 / 18:49 น.


    ข้อมูลเบื้องต้น
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ

      พันธุกรรมหรือกรรมพันธุ์ (Heredity) หมายถึง การถ่ายทอด ลักษณะต่างๆ ของสิ่งมีชีวิตจากรุ่นหนึ่งไปยังอีกรุ่นหนึ่ง หรือ จากบรรพบุรุษไปสู่ลูกหลาน

      อัลลีน (Allele) หรือ Allelomorps หมายถึง ยีน 2 ยีนซึ่งอยู่ตำ แหน่งเดียวกันบนโครโมโซมคู่เหมือนกันโดยควบคุมลักษณะเดียวกัน ถ้ามี gene เหมือนกันเรียกว่าพันธุ์แท้ (homozygous) ถ้ามี gene ไม่เหมือนอยู่ด้วยกัน เรียกว่าพันธุ์ทาง (heterozygous)

      จีโนไทป์ (Genotype) หมายถึง ชุดของ gene ที่มาเข้าคู่กัน ซึ่งสิ่งมีชีวิตได้รับมาจากพ่อและแม่

      ฟีโนไทป์ (Phenotype) หมายถึง ลักษณะต่าง ๆ ที่สามารถ แสดงออกมาให้เห็นได้ เป็นผลมาจาก genotype และสิ่งแวดล้อม

      ลักษณะเด่นสมบูรณ์ (Complete deominance) หมายถึง ลักษณะที่แสดงออก (phenotype) ที่ gene เด่นสามารถข่ม gene ด้อยได้อย่างสมบูรณ์

      ลักษณะเด่นไม่สมบูรณ์ (Incomplete dominance) หมายถึง การแสดงออกของลักษณะที่ไม่สมบูรณ์เนื่องจากลักษณะด้อยมี อิทธิพลมากพอ สามารถแสดงลักษณะออกมาได้ Monohybrid cross หมายถึง การผสมพันธุ์โดยพิจารณาเพียง ลักษณะเดียว แต่ถ้าเป็นการผสมพันธุ์โดยศึกษาหรือพิจารณาทั้ง 2 ลักษณะควบคู่กัน เรียกว่า Dihybrid cross

      ลักษณะเด่นร่วม (Co-dominant) หมายถึง ลักษณะทาง กรรมพันธุ์ที่ gene แต่ละตัวที่เป็นอัลลีล (allele) กัน มีลักษณะ เด่นทั้งคู่ข่มกันไม่ลง จึงแสดงออกมาทั้ง 2 ลักษณะ เช่น กรรม

      พันธุ์ของหมู่เลือด AB Polygene หรือ Multiple gene หมายถึง ลักษณะทางกรรมพันธุ์ ที่มียีน (gene) หลายคู่(มากกว่า 2 alleles) ที่ทำหน้าที่ร่วมกัน เพื่อ ควบคุม phenotype อย่างเดียวกัน จึงทำให้เกิดลักษณะที่มีความ แปรผันกันแบบต่อเนื่องคือลดหลั่นกันตามความเข้มของยีน เช่น ลักษณะความสูงเตี้ยของคน จะมีตั้งแต่สูงมาก สูงปานกลาง เตี้ย Mutiple alleles หมายถึง ลักษณะใดลักษณะหนึ่งที่ควบคุม โดย alleles มากกว่า 2 alleles ขึ้นไป เช่น พันธุกรรมของหมู่ เลือด ABO ถูกควบคุมโดย alleles 3 alleles Law of probability (กฎของความน่าจะเป็น)

      "โอกาสในการเกิดลักษณะใดลักษณะหนึ่งจะเท่ากับผลคูณของ โอกาสแต่ละโอกาสเหล่านั้น เช่น โอกาสในการเกิดบุตรเพศ ชาย x โอกาสมีบุตรลักษณะผิวเผือก

      ตัวอย่าง สามี-ภรรยาคู่หนึ่งต่างมีลักษณะ heterozygous ของผิวเผือก โอกาสที่สามี-ภรรยา

      - มีบุตรเป็นชาย-หญิง

      - มีบุตรผิวเผือก

      - มีบุตรหญิงผิวเผือก

      - มีบุตรหญิงผิวปกติ

      วิธีทำ กำหนดให้ A = gene ควบคุมผิวปกติ(ลักษณะเด่น)

      a = gene ควบคุมผิวเผือก(ลักษณะด้อย)

      สามี-ภรรยามีลักษณะพันธุ์ทาง (heterozygous)ของผิวเผือก

      genotype จึงเป็น Aa

       

      ผิวปกติ ผิวเผือก

      สามี-ภรรยาคู่นี้มีโอกาสมีบุตรชาย - หญิง (เสมอ)

      สามี-ภรรยาคู่นี้มีโอกาสมีบุตรผิวเผือก

      สามี-ภรรยาคู่นี้มีโอกาสมีบุตรหญิงผิวเผือก

      สามี-ภรรยาคู่นี้มีโอกาสมีบุตรหญิงผิวปกติ

      ยีน เป็นหน่วยพันธุกรรมที่ควบคุมการถ่ายทอด และแสดง ลักษณะของสิ่งมีชีวิต ยีนอยู่บนโครโมโซม ซึ่งอยู่ในส่วน นิวเคลียสของเซลล์ โครโมโซมผิดปกติจะส่งผลให้ลักษณะ ของสิ่งมีชีวิตผิดปกติไปด้วย

      โครโมโซม คือ ร่างแหโครมาตินหรือร่างแหนิวเคลียสที่หดตัว สั้นขณะที่เซลล์มีการแบ่งตัวและเป็นที่อยู่ของยีน

      โครโมโซมประกอบด้วยโครมาติด 2 โครมาติด มีเซนโตเมียร์(centromere) เป็นส่วนยึดให้โครมาติดทั้ง 2 ติดกัน

      ร่างกายของคนมีโครโมโซม 46 เส้น คือ

      - ออโตโซม (autosome) คือ โครโมโซมที่เหมือนกันเป็นคู่ ๆ มี 22 คู่

      - โครโมโซมเพศ (sex chromosome) คือ โครโมโซมที่มี

      ลักษณะแตกต่างกันระหว่างเพศหญิงและเพศชาย

      เพศชาย

      มีออโตโซม 44 เส้น กับโครโมโซม x และโครโมโซม y คือ 22 + x กับ 22 + y

      เพศหญิง

      มีออโตโซม 44 เส้น กับโครโมโซม x อีกคู่หนึ่ง คือ 22 + x

      ความผิดปรกติของโครโมโซม

      กลุ่มอาการคริดูชาด (Cri - du - chat syndrome)

      โครโมโซมคู่ที่ 5 มีบางส่วนหายไป อาการนี้ทำให้เด็กไม่ เจริญเติบโต ศีรษะมีขนาดเล็ก หน้ากลม ใบหูต่ำ หาตาชี้ และอยู่ ห่างกัน ดั้งจมูกแบน ปัญญาอ่อน และมีเสียงร้องเหมือนแมว

      กลุ่มอาการดาวน์ (Down's syndrome)

      เกิดจากโครโมโซมคู่ที่ 21 เกินมา 1 เส้น อาการของกลุ่มนี้จะ มีลักษณะคือ แรกเกิดตัวอ่อน ใบหน้าจะมีดั้งจมูกแฟบ นัยน์ตา ห่าง หาตาชี้ ใบหูผิดรูป ปากปิดไม่สนิท ลิ้นใหญ่จุกปาก ระหว่างนิ้วหัวแม่เท้า และนิ้วชี้มีช่วงกว้าง ปัญญาอ่อน บางรายมีความพิการของหัวใจและทางเดินอาหารทำให้เสียชีวิตได้

      ลิงค์ยีน (linked gene) คือ ยีนที่อยู่บนโครโมโซมเดียวกัน

      ครอสซิงโอเวอร์ (Crossing over)

      คือ ปรากฎการณ์ที่โครมาทิดของโครโมโซมเส้นหนึ่งแลก เปลี่ยนกับโครมาทิดของโครโมโซมอีกเส้นหนึ่ง ซึ่งเป็นโฮโม โลกัสกัน การแลกเปลี่ยนยีนจะไม่มีผลต่อลักษณะของรุ่นลูก แมลง พวกผึ้ง ต่อ แตนและมด ตัวผู้มีโครโมโซมเป็นแฮพพลอยด์ (n) ตัวเมีย มีโครโซมเป็น ดิพลอยด์ (2n)

      ตั๊กแตน

      ตัวผู้มีโครโมโซมเพศคือ x เพียงอันเดียวหรือ xo

      ตัวเมียมีโครโมโซมเพศ คือ xx

      สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำและนก

      จะมีโครโมโซมเพศตรงข้ามกับคน คือ ตัวผู้เป็น xx ส่วนตัว

      เมียเป็น xy

      ยีนที่เกี่ยวเนื่องกับเพศ (sexlinked gene หรือ x - linked gene)

      เป็นพันธุกรรมที่ถูกควบคุมโดยยีนที่อยู่บนโครโมโซม x แต่ไม่

      อยู่บนโครโมโซม y เช่น ยีนที่แสดงสีตาของแมลงหวี่,โรคโลหิต

      ไหลไม่หยุด

      พาหะ (Carrier)

      คือ ผู้ที่มีลักษณะทางพันธุกรรมปกติ แต่มียีนผิดปกติของ ลักษณะนั้นแฝงอยู่

      ฮีโมฟีเลีย (hemophilia)

      คือ โรคพันธุกรรม ซึ่งควบคุมโดยยีนเกี่ยวกับเพศ อาการของ

      โรคนี้ คือ เลือดจะแข็งตัวช้า

      กรดนิวคลีอิก (Nucleic acid) มี 2 ชนิด คือ

      1. DNA - ทำหน้าที่เป็นสารพันธุกรรม

      2. RNA - ทำหน้าที่เกี่ยวกับกระบวนการสังเคราะห์โปรตีน

      1. โครงสร้างของ DNA

      DNA เป็นสารที่มีโมเลกุลขนาดใหญ่ ประกอบด้วยนิวคลีโอ

      ไทด์ (nucleotide) เรียงต่อกันมากมาย นิวคลีโอไทด์ มี 4 ชนิดคือ

      1. นิวคลีโอไทด์ที่มีเบสอะดีนีน (adenine)

      2. นิวคลีโอไทด์ทีมีเบสไทมีน (thymine)

      3. นิวคลีโอไทด์ที่มีเบสไซโทซีน (cytosine)

      4. นิวคลีโอไทด์ที่มีเบสกวานีน (guanine)

      ปริมาณของอะดีนีน = ปริมาณของไทมีนเสมอ

      ปริมาณของไซโทซีน = ปริมาณของกวานีนเสมอ

      ส่วนประกอบของ DNA

      กลุ่มฟอสเฟต

      น้ำตาลดีออกซีไรโบส

      เบสไซโทซีน

      เบสอะดีนีน

      เบสกวานีน

      เบสไทมีน

      2. RNA

      2. กรดไรโบนิวคลีอิก (ribonucleic acid) หรือ RNA จะพบใน

      นิวเคลียสและไซโทพลาสซึม

      RNA ประกอบด้วยนิวคลีโอไทด์ 4 ชนิด ส่วนที่แตกต่างกัน

      ระหว่าง DNA และ RNA คือ น้ำตาลและเบส RNA จะพบใน

      เซลของตับอ่อน และเซลของต่อมไหมของหนอนไหม โมเล

      กุลของ RNA ประกอบด้วยนิวคลีโอไทด์สายเดียว และมีเบส

      ยูราซิลแทนไมมีน

      ส่วนประกอบของ RNA

      กลุ่มฟอสเฟต

      น้ำตาลไรโบส

      เบสไซโทซีน

      เบสอะดีนีน

      เบสกวานีน

      เบสยูราซิล

      มิวเทชัน (mutation)

      คือ การเปลี่ยนแปลงของยีนที่ผิดไปจากเดิม ซึ่งลักษณะนี้

      สามารถถ่ายทอดสืบต่อไปยังรุ่นลูกและรุ่นต่อ ๆ ไป

      ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      ความคิดเห็น

      ×