ซิกมันด์ ฟรอยด์ (Sigmund Freud) - ซิกมันด์ ฟรอยด์ (Sigmund Freud) นิยาย ซิกมันด์ ฟรอยด์ (Sigmund Freud) : Dek-D.com - Writer

    ซิกมันด์ ฟรอยด์ (Sigmund Freud)

    ประวัติโดยสังเขปของซิกมันด์ ฟรอยด์ (Sigmund Freud) บิดาแห่งจิตวิเคราะห์ Psychoanalysis

    ผู้เข้าชมรวม

    2,095

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    22

    ผู้เข้าชมรวม


    2.09K

    ความคิดเห็น


    1

    คนติดตาม


    0
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  5 ส.ค. 53 / 15:11 น.


    ข้อมูลเบื้องต้น

    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ

      ซิกมันด์ ฟรอยด์ เกิดที่แคว้นโมราเวีย. ครอบครัวของเขาย้ายไปที่กรุงเวียนนาตอนเขาอายุ 3 ขวบ และเขาใช้ชีวิตอยู่ที่นี่จนกระทั่งปีท้ายๆ ของชีวิต. ฟรอยด์เข้าศึกษาที่สำนักการแพทย์ของมหาวิทยาลัยเวียนนาเมื่อเขามีอายุได้ 17 ปี เขามีความสนใจในความหลากหลายของการวิจัยที่นี่. แม้ว่าฟรอยด์จะมีความสนใจหลักในการวิจัยทางประสาทวิทยา แต่เขาจำเป็นต้องปฏิบัติงานทางคลินิกเพราะปัญหาเรื่องการได้รับการจ้างงาน ของมหาวิทยาลัย ซึ่งเลวร้ายมากในกรณีของเขา จากทัศนคติและการเมืองที่ต่อต้านชาวยิว. หลังจากการทำวิจัยอิสระและทำงานทางคลินิกที่โรงพยาบาลเวียนนามามากพอสมควร ฟรอยด์ออกมาทำงานส่วนตัว โดยเป็นผู้เชี่ยวชาญในการรักษาผู้ป่วยที่มีความผิดปกติทางประสาทและ ฮิสทีเรีย.

      ระหว่างช่วงเวลานี้ ฟรอยด์ได้เรียนรู้เกี่ยวกับวิธี “การปลดปล่อยอารมณ์อย่างรุนแรง” (catharsis) ของโจเซฟ บริวเออร์ (Joseph Breuer) เพื่อนร่วมงานของเขา ในการรักษาอาการฮิสทีเรีย ซึ่งอาการหายไปเมื่อผู้ป่วยระลึกถึงความทรงจำที่เป็นบาดแผลในขณะที่อยู่ภาย ใต้การสะกดจิต และทำให้ผู้ป่วยสามารถแสดงอารมณ์ดั้งเดิมซึ่งถูกเก็บกดไว้และลืมมันไป. ในการค้นคว้าความคิดนี้เพิ่มเติม ฟรอยด์ใช้เวลาหลายเดือนในการศึกษาวิธีการของฌอง-มาร์ติน ชาร์โคต์ (Jean-Martin Chacot) ในการรักษาฮิสทีเรียโดยการสะกดจิต. เมื่อเดินทางกลับเวียนนา ฟรอยด์เริ่มต้นงานในการค้นหาวิธีการที่คล้ายกันในการรักษาโดยไม่ใช้การสะกด จิต ซึ่งมีข้อจำกัดที่เขาพบว่าไม่น่าพึงพอใจ. นอกจากฟรอยด์จะเรียนรู้จากการสังเกตอาการและประสบการณ์ของผู้ป่วยของเขา เขายังใช้การวิเคราะห์ตัวเองจากความฝันอย่างเข้มงวดอีกด้วย. ในปี 1895 เขาและบริวเออร์ตีพิมพ์หนังสือ Studies on Hysteria ซึ่งเป็นตัวบทที่เป็นหมุดหมายสำคัญของจิตวิเคราะห์ และในปี 1900 ผลงานชิ้นสำคัญของฟรอยด์ คือ หนังสือ The Interpretation of Dreams ก็ได้ปรากฎขึ้น.

      ในช่วงเวลานี้ ฟรอยด์ทำงานโดยใช้องค์ประกอบที่สำคัญในระบบจิตวิเคราะห์ของเขา คือ การใช้การระบายออกอิสระ (free association) และการปลดปล่อยอารมณ์อย่างรุนแรง โดยใช้เป็นเครื่องมือในการสำรวจจิตไร้สำนึก ซึ่งเป็นการระบุถึงความทรงจำที่ถูกเก็บกดไว้และเหตุผลสำหรับการเก็บกดพวกมัน ไว้ ซึ่งช่วยให้ผู้ป่วยรู้จักตนเองอย่างสมบูรณ์ยิ่งขึ้น. ผู้ป่วยซึ่งได้รับการผ่อนคลายบนเก้าอี้นอนในออฟฟิตของเขา ได้รับคำสั่งให้ระบายออกทางความคิดอย่างอิสระ ซึ่งช่วยให้เกิดการตระหนักรู้ที่มีประโยชน์ และได้รับคำสั่งให้แสดงออกอย่างตรงไปตรงมาถึงสิ่งที่ปรากฎขึ้นในใจ. จากการรักษากับผู้ป่วยและการวิเคราะห์ตัวเองของเขา ฟรอยด์มีความเชื่อว่าความผิดปกติทางจิตซึ่งไม่ปรากฎสาเหตุทางกายเกิดจากการ ตอบสนองในเชิงสัญลักษณ์ (symbolic reaction) ต่อความกระทบกระเทือนทางจิตใจ (psychological shock) โดยทั่วไปมาจากเรื่องเพศ และความทรงจำที่เกี่ยวข้องกับความกระทบกระเทือนทางจิตใจเหล่านั้นจะส่งผลทาง อ้อมต่อเนื้อหาของความฝันและกิจกรรมของจิตสำนึก แม้มันจะถูกเก็บกดไว้ในจิตไร้สำนึกก็ตาม.

      ฟรอยด์ตีพิมพ์หนังสือ The Psychopathology for Everyday Life ในปี 1904 และอีก 3 เล่มในปีต่อมา เช่น Three Essay on the Theory of Sexuality ซึ่งผลักดันความคิดของเขาเกี่ยวกับพัฒนาการของสัญชาติญาณทางเพศของมนุษย์ หรือลิบิโด (libido) รวมถึงทฤษฎีลักษณะทางเพศในวัยเด็ก (childhood sexuality) และปมออดิปุส (Oedipus complex) ในขณะที่ความสนใจจากแวดวงวิทยาศาสตร์และสาธารณะชนดำเนินไปอย่างเชื่องช้า ในต้นทศวรรษ 1900 ฟรอยด์ได้ดึงดูดกลุ่มคนที่สนใจงานของเขา เช่น คาร์ล ยุง (Carl Jung) อัลเฟรด แอดเลอร์ (Alfred Adler) และออตโต แรงค์ (Otto Rank) มาพบปะเพื่ออภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันเป็นประจำทุกสัปดาห์ที่บ้านของ เขา และต่อมากลายเป็นกลุ่มที่ชื่อว่า Vienna Psychological Society. แม้ว่าในที่สุดยุงและแอดเลอร์จะแยกตัวออกไปตั้งทฤษฎีและสำนักในการวิเคราะห์ ของตัวเอง แต่การสนับสนุนของพวกเขาในช่วงแรกช่วยก่อตั้งจิตวิเคราะห์ให้เป็นกระแสแนว คิด (movement) ที่มีความสำคัญในระดับนานาชาติ. ในปี 1909 ฟรอยด์ได้รับเชิญให้ไปบรรยายที่มหาวิทยาลัยคล๊าก เมืองวอร์เชสเตอร์ รัฐแมซซาชูเซต โดยอธิการบดี เซอร์ จี. แสตนลีย์ ฮอลล์ (1844 – 1924) นักจิตวิทยาผู้มีชื่อเสียง และฟรอยด์ได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิติมศักดิ์จากที่นี่. หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 1 ฟรอยด์ได้รับชื่อเสียงมากขึ้นจากการที่จิตวิเคราะห์ได้รับความสนใจจากแวดวง ปัญญาชนและได้รับความนิยมจากสื่อ.

      ฟรอยด์ยืนยันว่าบุคลิกภาพของมนุษย์ถูกกำหนดโดยพลังที่เรียกว่า “สัญชาติญาณ” (instincts) หรือ “แรงขับ” (drives). ต่อมา เขาเชื่อในการมีอยู่ของสัญชาติญาณแห่งความตาย (death instinct) หรือความปรารถนาในความตาย (death wish [Thanatos]) ที่มุ่งไปยังภายนอก เช่น ความก้าวร้าว หรือมุ่งเข้าสู่ภายใน เช่น พฤติกรรมที่ทำลายตัวเอง (พึงระลึกไว้ด้วยว่าเป็นการทำสิ่งเหล่านี้ซ้ำๆ). เขาสร้างทฤษฎีที่ครอบคลุมในเรื่องโครงสร้างของจิต (psyche structure) ซึ่งเขาแบ่งมันออกเป็น 3 ส่วน. ส่วนแรกคือ อิด (id) ซึ่งทำงานในระดับจิตไร้สำนึก เกี่ยวข้องกับการตอบสนองความพึงพอใจในความปรารถนาขั้นพื้นฐานและการปกป้อง ตัวเอง (self-preservation). มันทำงานโดยเกี่ยวข้องกับหลักแห่งความปรารถนา (pleasure principle) และอยู่นอกขอบเขตของกฎเกณฑ์ทางสังคมและข้อกำหนดทางศีลธรรม. ส่วนต่อมาคือ อีโก (ego) ซึ่งเกี่ยวข้องกับเหตุผล อีโก้ควบคุมพลังของอิดและนำมันเข้าสู่แนวทางของหลักแห่งความจริง (reality principle) และนำพลังของอิดไปสู่พฤติกรรมที่สามารถยอมรับได้. และส่วนสุดท้ายคือ ซุปเปอร์อีโก้ (superego) หรือศีลธรรม ซึ่งพัฒนาขึ้นในวัยเด็ก ซุปเปอร์อีโก้คอยสอดส่องและตรวจสอบอีโก้ ปรับเปลี่ยนค่านิยมภายนอกให้เข้าสู่ภายในบุคคล เป็นกฎแห่งการควบคุมตัวเองซึ่งใช้ในการต่อต้านอิด. ฟรอยด์มองพฤติกรรมของปัจเจกบุคคลว่าเป็นผลของปฏิสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบ ทั้ง 3 ส่วนของจิต.

      แก่นของโครงสร้างทางจิตของฟรอยด์คือการเก็บกดความต้องการทางสัญชาติญาณ ที่ไม่ได้รับการตอบสนอง. ในกระบวนการของจิตไร้สำนึก การเก็บกดเกิดขึ้นผ่านชุดของกลไลป้องกันตัวเอง (defense mechanisms). ฟรอยด์เป็นผู้ตั้งชื่อกลไกหลักๆ เหล่านี้ เช่น การปฏิเสธ (denial) (การไม่สามารถยอมรับสิ่งที่ทำให้เกิดความวิตกกังวล) การหาเหตุผลให้กับตัวเอง (rationalization) (การอธิบายการกระทำของตนเองโดยจุดมุ่งหมายที่สามารถยอมรับได้) การแทนที่ (displacement) (การเปลี่ยนแปลงความรู้สึกที่เก็บกดไว้ไปสู่ความรู้สึกที่สามารถยอมรับได้) การซัดโทษ (projection) (การถ่ายเทความปรารถนาที่ไม่สามารถยอมรับได้ของตนเองไปยังบุคคลอื่น) และการชดเชย (sublimation) (การเปลี่ยนความปรารถนาทางสัญญาติญาณที่ไม่สามารถยอมรับได้ของตนเองไปเป็น พฤติกรรมทางสังคมที่สามารถยอมรับได้).

      ฟรอยด์ปรับปรุงทฤษฎีของเขาอย่างต่อเนื่องในทศวรรษที่ 1920 และเปลี่ยนแปลงแง่มุมพื้นฐานจำนวนหนึ่งของเขา เช่น ทฤษฎีแรงจูงใจและทฤษฎีวิตกกังวล.. ในปี 1923 เขาเป็นมะเร็งที่กราม (เกิดจากการสูบซิการ์อย่างหนักตลอดชีวิตของเขา) และเข้ารับผ่าตัดหลายครั้งตลอดระยะเวลา 16 ปีต่อมา. ชีวิตในเวียนนาของฟรอยด์ไม่ปลอดภัยมากขึ้นจากการเกิดขึ้นของนาซีในทศวรรษ 1930 และเขาอพยพไปยังกรุงลอนดอนในปี 1938 หนึ่งปีก่อนที่เขาจะเสียชีวิต. แนวคิดและทฤษฎีจำนวนมากของฟรอยด์ เช่น บทบาทของจิตไร้สำนึก ผลกระทบจากประสบการณ์ในวัยเด็กต่อพฤติกรรมในวัยผู้ใหญ่ และปฏิบัติการของกลไกป้องกันตัวเอง ยังคงเป็นแหล่งข้อมูลที่ทั้งสร้างความขัดแย้งทางความคิดและสร้างแรงบันดาล ใจ. หนังสือของเขา ได้แก่ Totem and Taboo (1913), General Introduction to Psychoanalysis (1916), The Ego and the Id (1923), and Civilization and Its Discontents (1930)

      หมายเหตุ

      -ฟรอยด์ไม่ใช่จิตแพทย์ เขาเรียนแพทย์ทางด้านประสาทวิทยา และภายหลังการก่อตั้งแนวคิดจิตวิเคราะห์เขาเรียกตัวเองและผู้ปฏิบัติงานด้าน นี้ว่า นักจิตวิเคราะห์ (psychoanalyst)

      -ในยุคที่ฟรอยด์เกิด แคว้นที่เขาเกิดอยู่ในจักรวรรดิออสโตร- ฮังกาเรียน ปัจจุบันคือประเทศสาธารณรัฐเช็ค

      ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      ความคิดเห็น

      ×