ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    มุ่งสู่ฝันเตรียมอุดม

    ลำดับตอนที่ #15 : เวลานอน - เวลาตื่น (65%) -- new!

    • อัปเดตล่าสุด 20 ก.ค. 51


    น้องๆคนไหนมีพฤติกรรมแบบนี้บ้าง นอนหลังเที่ยงคืนทุกคืน ทำการบ้านจนดึก อ่านหนังสือเตรียมสอบทั้งคืน ชอบกินตอนกลางคืน ตอนเช้าวันไปโรงเรียนก็เป็นหมีแพนด้า ไปหลับที่โรงเรียน หรือวันหยุดก็ตื่นซะสาย สอบเสร็จก็คืนความรู้ครูหมด 

    ถามว่าพี่เป็นแบบนี้ด้วยหรือเปล่า ไม่รู้ว่าโชคดีหรือโชคร้าย พอหลัง4ทุ่มเป็นต้นไป พี่จะรู้สึกหมดแรง สมองจะเบลอๆ จะอ่านอะไรก้ไม่เข้าหัว พี่เลยไปนอนเลย ไม่เสร็จเก็บไว้ก่อน แล้วพี่เอาเวลาที่ไหนมาทำการบ้าน+อ่านหนังสือนั้น พี่จะเปลี่ยนไปทำตอนเช้าแทนค่ะ แต่บางทีก็มีบ้างที่นอนดึกเวลาการบ้านเยอะๆเป็นงานกลุ่มแล้วติดปรึกษากับเพื่อน เวลาเป็นแบบนี้ทีไร ตอนเช้าตื่นมาจะรู้สึกนอนไม่พอ ไม่ปลอดโปร่ง ถ้านอนดึกติดกันหลายๆวัน พี่จะรู้สึกเพลียมาก

    เรามาเปลี่ยนพฤติกรรมกันเถอะ

    พี่เคยอ่านหนังสือเรื่อง"อัจฉริยะเรียนสนุก"ของหนูดี วนิษา เรซ(ผู้เขียนอัจริยะสร้างได้) เขาบอกว่าในสมองเรามีอวัยวะที่ทำหน้าที่ช่วยบันทึกความจำให้เราค่ะ ชื่อว่าฮิปโปแคมปัส ทำหน้าที่ช่วยถ่ายโอนข้อมูลที่เราเรียนรู้ในระหว่างวันเข้าสู่ความทรงจำระยะยาว แต่เจ้าอวัยวะนี้ทำงานในขระที่เรานอนหลับค่ะ ดังนั้น ต่อให้เราเรียนเยอะ ท่องจำเยอะแค่ไหนระหว่างวัน แต่ถ้าเรานอนไม่เพียงพอในตอนกลางคืนก็จะสูญเปล่าค่ะ

    เพราะฉะนั้นอย่าถามพี่ว่านอน6ชั่วโมงพอไหม 5ชั่วโมงพอไหม แต่ให้ถามตัวเองว่าจะลืมตาอย่างไรให้มีคุณภาพ(จากคุณครูสมศรี) หมายความว่าในช่วงเวลาที่น้องลืมตาตื่นอยู่นั้นจะทำยังให้ช่วงเวลานี้มีค่ามากที่สุด ที่ทั้งทำการบ้านทัน อ่านหนังสือทัน ออกกำลังกาย ทำงานบ้าน และมีเวลาคุยเล่นกับเพื่อนอีกด้วย ส่วนเรื่องนอนนั้นให้น้องนอนไปเถอะ ถ้าพี่ขอให้นอนอย่างช้าที่สุด4ทุ่ม จะทำได้ไหมคะ นอนให้ครบ7ชั่วโมง 

    การเปลี่ยนจากคนนอนดึกมานอนให้เร็วขึ้น ช่วงแรกอาจจะลำบากหน่อย นอนไม่หลับ ก็ค่อยฝึกไป ถ้าไม่หลับก็ไม่เป็นไร ขอแค่ได้พักผ่อน นอนหลับตา ไม่ต้องคิดกังวลอะไรล่วงหน้า เดี๋ยวก็จะหลับง่ายขึ้นเองค่ะ

    แล้วลืมตาตื่นอย่างมีคุณภาพทำอย่างไร?

    จริงๆแล้วในวันหนึ่งๆคนเรามีเวลามากพอจะทำอะไรหลายๆอย่างนะ ถ้าจัดเวลาดีๆ รู้คุณค่าของเวลาทุกนาที แล้วจะรู้ว่าเรามีเวลาเพิ่มขึ้นอีกเยอะ รายละเอียดเดี๋ยวไว้พี่มาเขียนต่อนะคะ



    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน
    นิยายแฟร์ 2024

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×