ลำดับตอนที่ #10
คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #10 : เทคนิค2: วางแผนล่วงหน้า--> ทำตารางเวลาอ่านหนังสือ (100%)
สวัสดีค่ะ^^ Bonjour! เป็นอย่างไรกันบ้างค่ ตอนนี้พี่ก็ใกล้จะเปิดเทอมแล้ว 12 พฤษภาคมค่ะ ตื่นเต้น ตอนนี้ยังพอมีเวลาก็จะมาเขียนเรื่อยๆค่ะ แต่ถ้าเปิดเทอมแล้วก็ไม่รู้ยุ่งสักแค่ไหน แต่สัญญาค่ะว่าจะเข้ามาตอบคำถามน้องๆ แล้วก็จะเขียนต่อแน่นอนค่ะ แต่อาจจะช้าหน่อยนะคะ
บทนี้เกิดขึ้นมาได้เพราะน้องๆอีกแล้ว เรื่องการทำตารางเวลาเนี่ย พี่ก็ไม่รู้จะแนะนำน้องได้สักแค่ไหน เพราะของที่พี่ทำเนี่ย ไม่มีใครแนะนำเลยค่ะ ไม่มีตัวอย่างอะไรเลย พี่ก็ลองผิดลองถูกเอง 55+
อย่างไรก็ตาม ของแบบนี้ไม่มีรูปแบบตายตัวค่ะ ไม่มีถูก ไม่มีผิด สไตล์ใครสไตล์มัน(ส์) น้องอ่านคำแนะนำของพี่ ก็ไม่จำเป็นต้องทำตามพี่นะคะ เอาไปประยุกต์ให้เหมาะกับตัวน้องค่ะ
**การทำตารางเวลาจะทำหลังจากที่น้องซื้อหนังสือสำหรับที่จะอ่านเตรียมสอบมาแล้วนะคะ น้องคนไหนยังไม่ได้ซื้อหนังสือ ก็ไปดูบทแนะนำหนังสือด้วยนะคะ(บทที่8)**
น้องๆหลายคนอาจจะสงสัยว่าทำไมต้องทำตารางเวลา? เราก็อ่านๆไปเรื่อยๆเองไม่ได้หรอ? ได้อยู่แล้วค่ะ^^ แต่การทำตารางเวลาจะช่วยน้องได้เยอะเลย มีประโยชน์หลายอย่าง พี่จะบอกข้อดีให้น้องคร่าวๆละกันนะคะ
ข้อดีของการทำตารางเวลาอ่านหนังสือ
1. เป็นเหมือนเข็มทิศ หรือเป็นเหมือนตัวควบคุมไม่ให้เราสเปะสปะนั่นเอง
2. เป็นการมองภาพรวมอย่างคร่าวๆ ว่าเรามีหนังสือ+ข้อสอบที่ต้องอ่าน ต้องทำกี่เล่ม เราแบ่งเวลาให้กับอะไร? เท่าไหร่? ยังไง?
3. ฝึกทักษะการเป็นนักวางแผน ซึ่งเป็นทักษะที่ดีที่จะติดตัวเราไปในอนาคต
4. เป็นเหมือนกำลังใจ ว่าเราได้กำหนดเป้าหมายแล้วนะ เรากำลังทำเพื่อตัวเองอยู่นะ
6. สร้างแรงจูงใจ ทำให้เราอยากอ่านแหนังสือมากขึ้น ก็นะ อุตส่าห์ตั้งใจทำตารางไว้แล้วนี่นา ยังไงก็ต้องทำตามนั้น
7. พ่อแม่ หรือญาติผู้ใหญ่มาเห็น ก็จะชื่นใจกับเรา ให้อิสระกับเรามากขึ้น เมื่อเห็นว่าเรา(ทำท่า)จะเอาจริง
8. เป็นตัวอย่างที่ดีให้กับเพื่อนๆ น้องๆ และคนอื่นๆ
9. etc.
น้องๆเห็นหรือยังคะว่าข้อดีของการทำตารางเวลานั้นมีมากมายเลย ไม่จำกัดเฉพาะตารางอ่านหนังสือนะคะ จะเป็นตารางกิจวัตรประจำวัน ตารางรายรับรายจ่าย(พี่กำลังทำอยู่ค่ะ^^) ล้วนมีประโยชน์ทั้งนั้น เมื่อน้องๆรู้ถึงประโยชน์แล้ว เรามาเริ่มทำตารางเวลากันเถอะ พี่จะพยายามอธิบายให้เข้าใจง่ายที่สุดนะคะ อ้อ เกือบลืมบอกไป ตารางเวลาอ่านหนังสือนั้นมีหลายแบบค่ะ แต่ที่พี่ทำตอนจะสอบคือ แบบรายเดือน กับ รายอาทิตย์ น้องจะทำทั้งสองแบบเลยก็ได้ค่ะ พี่ทำมาแล้ว สนุกดี55+
พี่ก็จะขออธิบายขั้นตอบทีละแบบๆเลยนะคะ **ขอย้ำน้องๆอีกครั้งนึง ว่าเป็นนี่วิธีที่พี่คิดขึ้นเองนะ-*- ยึดแบบที่พี่เคยทำเป็นหลักซึ่งตอนนั้นไม่มีใครแนะนำพี่ มั่วเอาเอง55+ น้องลองไปประยุกต์ให้เหมาะกับตัวเองนะคะ**
วิธีทำตารางเวลาอ่านหนังสือแบบรายเดือน
ตารางอ่านหนังสือแบบรายเดือนนี้ จะเป็นการกำหนดหนังสือที่เราจะอ่านแบบคร่าวๆค่ะ วิธีการทำก็ง่ายๆ ตามขั้นตอนข้างล่างนี่เลยค่ะ
1. กองหนังสือ/ข้อสอบที่น้องซื้อมาหรือที่มีอยู่แล้วที่น้องตั้งใจเอาไว้ใช้อ่านไว้บนโต๊ะ เตรียมกระดาษ1แผ่น ขนาดและสีตามใจชอบ หรือบ้านใครมีกระดานจะเขียนใส่กระดานก็ได้ค่ะ
2. คัดเลือกหนังสือ เอาหนังสือที่น้องคิดว่าเจ๋ง เหมาะกับตัวน้อง ที่น้องจะอ่านจริงๆ บางทีเราเห็นหนังสืออันไหนปกสวย พลิกๆดูแล้วเหมือนจะดี เราก็ตัดสินใจซื้อมา(พี่เป็นบ่อย- -)แต่พอเรามานั่งอ่าน เปิดดูอย่างละเอียด ปรากฏว่ามันไม่ใช่สเป็คเรา อาจจะยากไป ง่ายไป เฉลยไม่รู้เรื่อง ตัวหนังสืออ่านยาก etc. หนังสือจำพวกนี้ แยกไว้อีกกองหนึ่ง อาจจะเอาไปบริจาคก็ได้ อย่าเสียดายเป็นอันขาด ในเมื่อเรารู้ว่าเราจะไม่อ่านเล่มนี้ เราก้ให้คนอื่นไปเถอะค่ะ หนังสือที่เราคัดเลือกไว้นั้น ต้องเป็นหนังสือที่เราจะอ่านจริงๆ ไม่จำเป็นต้องเหมือนเพื่อน หนังสือดีของเขาอาจจะไม่เหมาะสำหรับเราก็ได้
3. ตีตารางใส่กระดาษที่เตรียมไว้ อ้อ ไม่จำเป็นต้องตารางเสมอไปนะ จะmind mapping หรืออะไรก็ได้ เอาที่น้องชอบ ทำเป็น12อันอะ ใส่ชื่อเดือนลงไป อันที่จริงไม่ใช่12เดือนแล้วค่ะ น้องเริ่มเมื่อไหร่ เหลืออีกกี่เดือน จะอ่านกี่เดือน ก็ใส่ไป สมมุติน้องเริ่มเดือนนี้นะ เดือนนี้ พฤษภาคม ถูกไหม รร.เตรียมสอบเดือนมีนาคม กี่เดือนอะ 11 ใช่ปะ น้องก็ทำเป็น11ช่อง
4. จากนั้น น้องก็จัดการแบ่งหนังสือ/ข้อสอบที่จะอ่านเลยค่ะ แบ่งเป็น11กลุ่ม(หรือตามจำนวนเดือนที่เหลือ) ไม่จำเป็นต้อง เดือนละเล่มนะ น้องอาจจะทำพร้อมกัน5เล่มก็ได้ เป็นวิชาๆก็ได้ จะอธิบายยังไงดี คือน้องก็ลองคำนวณดูอะ สมมุตินะ ว่าน้องมีหนังสือ6เล่ม คือ วิทย์ คณิต ไทย อังกฤษ สังคม แล้วก็ ข้อสอบเก่าอีก1เล่ม ที่จะต้องอ่านภายใน4เดือนที่เหลือใช่ปะ น้องก็กำหนดเอง เช่น เดือนแรก(ธันวาคม) อ่านภาษาไทยบทที่1-7 ทำเลขบทที่5-11 ทำอังกฤษบทที่1-9และทำข้อสอบเก่าอีก3ปี ทั้งหมดคือสิ่งที่น้องต้องทำในเดือนธันวาคม
พอเดือนที่สอง(พฤศจิกายน) น้องอาจจะทำวิทย์ บทที่4-13 อ่านอังกฤษบทที่9-15 อ่านสังคมบทที่1-8 ทำข้อสอบเก่าอีก4ปี เป็นต้น ประมาณเนี้ย ลองกำหนดดู พอเข้าใจใช่ไหมคะ
5. ตกแต่งตามใจชอบ อาจจะเขียนข้อคิด กำลังใจ หรือคำพูดที่เราชอบลงไป จากนั้นก้เอาไปไว้ที่ๆเราจะเห็นชัด อย่างพี่ก็แปะตรงตู้หนังสือของพี่อะ ควรจะเอาไว้ใกล้ๆที่ๆเราจะนั่งอ่านหนังสือค่ะ
เพิ่มเติม น้องจะทำแบบเป็นอาทิตย์ก็ได้นะคะ เปลี่ยนจากเดือน เป็นอาทิตย์ ว่าอาทิตย์ที่1อ่านอะไร อาทิตย์ที่2จะอ่านอะไร วิธีทำเหมือนกันเลยค่ะ
**************************
วิธีทำตารางเวลาอ่านหนังสือแบบรายอาทิตย์
ตารางเวลาอ่านหนังสือแบบรายอาทิตย์นี่จะแตกต่างกับรายเดือนตรงที่มันจะละเอียดกว่า จะบอกว่าในวันหนึ่งๆเราต้องอ่านอะไร ไปเรียนที่ไหน กี่โมง-กี่โมงเหมาะกับเอาไว้ใช้ช่วงมีนา สำหรับน้องที่ลงเรียนพิเศษเยอะ แล้วเวลาซ้อนกันบ้าง ปิดคอร์สไม่พร้อมกัน น้องอาจจะงง แบบวันนี้เราต้องไปที่ไหนบ้าง ตารางแบบรายอาทิตย์จะช่วยได้ค่ะ หรือไม่ก็ใช้ตอนเปิดเทอมก็ได้ผลดีค่ะ แบบกลับมาจากรร.บางคนอาจจะตรงไปเปิดคอมเลย ตอนนั้นตารางก็จะช่วยฉุดเราเอาไว้ บอกว่าเราต้องทำอะไรก่อน ประมารเนี้ย ไว้น้องทำแล้วจะรู้เอง แต่น้องต้องเคารพตารางด้วยนะ^^
1.-2. เหมือนแบบรายเดือนเลยค่ะ
3. ตีตารางเป็นช่วงเวลาเลยค่ะ น้องลองดูนะ ว่าจะอ่านช่วงไหน-ช่วงไหน พี่จะยกตัวอย่างให้ฟัง สมมุติน้องทำตอนเปิดเทอมใช่ปะ ตารางรายอาทิตย์ของน้องก็จะเป็นวันจันทร์-ศุกร์ ถ้าน้องตั้งใจจะอ่านหนังสือตอนเช้า ตารางของน้องก็อาจจะเริ่มตอนตี5 แต่ถ้าน้องจะไม่อ่านตอนเช้า ตารางน้องก็จะเริ่มตอนกลับจากรร.เลย แบบกลับมาแล้วทำอะไร มีพัก มีเล่น อะไรยังไง ตอนเย็นวันไหนมีเรียน ก็เขียนไว้ด้วย วันเสาร์-อาทิตย์ว่างหน่อย ก็แบ่งเวลาอ่านหนังสือเยอะหน่อย เป็นต้น
4. ตกแต่งตามใจชอบ อาจจะเขียนข้อคิด กำลังใจ หรือคำพูดที่เราชอบลงไป จากนั้นก้เอาไปไว้ที่ๆเราจะเห็นชัด อย่างพี่ก็แปะตรงตู้หนังสือของพี่อะ ควรจะเอาไว้ใกล้ๆที่ๆเราจะนั่งอ่านหนังสือค่ะ
******************************
เสร็จแล้วค่ะ ไม่ยากใช่ไหม ทำตารางอะมันง่าย แต่ที่ยากคือ น้องจะปฏิบัติตามที่ตั้งใจได้หรือเปล่านี่สิ พี่มีกฎเหล็กไม่กี่ข้อ(ที่พี่คิดเองอีกแล้ว55+) แต่สำคัญมาก สำหรับการทำตารางเวลา ดูให้ดีๆนะคะ
กฎเหล็กสำหรับการทำตารางเวลา
1. พึงระลึกไว้เสมอ ว่าตารางเวลาที่น้องทำ สามารถใช้ได้จริง พูดง่ายๆ อย่าทำให้มันดีเกินจนเราทำไม่ได้ พี่เคยมาแล้ว-*- แบบทำไว้ซะดีเลยนะ ประมาณว่าวันนึงอ่านเป็น10เล่ม อันนู้นนิด อันนี้หน่อย พอทำได้สัก3วัน ทำไม่ทัน กลายเป็นดินพอกหางหมู แล้วต้องมาทำตารางใหม่หมด- - ที่บ้านพี่ จะมีตารางเวลาเยอะมาก เพราะพอทำไม่ได้ ก็โละใหม่เลย 55+ พี่เลยเตือนน้องด้วยความหวังดี ทำตารางที่เราจะทำได้จริงค่ะ
2. ตารางเวลาของน้องจะไม่มีประโยชน์เลย ถ้าน้องทำเสร็จแล้วก้ปล่อยทิ้งไว้เฉยๆ ฉะนั้นกฎข้อที่2คือ เคารพตารางเวลาที่ตัวเองทำค่ะ
---------------------------------------------------------
เย่ๆ จบแล้วว ไม่เข้าใจตรงไหนหรืออยากถามอะไรเพิ่มเติม โพสถามได้เลยนะคะ
บทนี้เกิดขึ้นมาได้เพราะน้องๆอีกแล้ว เรื่องการทำตารางเวลาเนี่ย พี่ก็ไม่รู้จะแนะนำน้องได้สักแค่ไหน เพราะของที่พี่ทำเนี่ย ไม่มีใครแนะนำเลยค่ะ ไม่มีตัวอย่างอะไรเลย พี่ก็ลองผิดลองถูกเอง 55+
อย่างไรก็ตาม ของแบบนี้ไม่มีรูปแบบตายตัวค่ะ ไม่มีถูก ไม่มีผิด สไตล์ใครสไตล์มัน(ส์) น้องอ่านคำแนะนำของพี่ ก็ไม่จำเป็นต้องทำตามพี่นะคะ เอาไปประยุกต์ให้เหมาะกับตัวน้องค่ะ
**การทำตารางเวลาจะทำหลังจากที่น้องซื้อหนังสือสำหรับที่จะอ่านเตรียมสอบมาแล้วนะคะ น้องคนไหนยังไม่ได้ซื้อหนังสือ ก็ไปดูบทแนะนำหนังสือด้วยนะคะ(บทที่8)**
น้องๆหลายคนอาจจะสงสัยว่าทำไมต้องทำตารางเวลา? เราก็อ่านๆไปเรื่อยๆเองไม่ได้หรอ? ได้อยู่แล้วค่ะ^^ แต่การทำตารางเวลาจะช่วยน้องได้เยอะเลย มีประโยชน์หลายอย่าง พี่จะบอกข้อดีให้น้องคร่าวๆละกันนะคะ
ข้อดีของการทำตารางเวลาอ่านหนังสือ
1. เป็นเหมือนเข็มทิศ หรือเป็นเหมือนตัวควบคุมไม่ให้เราสเปะสปะนั่นเอง
2. เป็นการมองภาพรวมอย่างคร่าวๆ ว่าเรามีหนังสือ+ข้อสอบที่ต้องอ่าน ต้องทำกี่เล่ม เราแบ่งเวลาให้กับอะไร? เท่าไหร่? ยังไง?
3. ฝึกทักษะการเป็นนักวางแผน ซึ่งเป็นทักษะที่ดีที่จะติดตัวเราไปในอนาคต
4. เป็นเหมือนกำลังใจ ว่าเราได้กำหนดเป้าหมายแล้วนะ เรากำลังทำเพื่อตัวเองอยู่นะ
6. สร้างแรงจูงใจ ทำให้เราอยากอ่านแหนังสือมากขึ้น ก็นะ อุตส่าห์ตั้งใจทำตารางไว้แล้วนี่นา ยังไงก็ต้องทำตามนั้น
7. พ่อแม่ หรือญาติผู้ใหญ่มาเห็น ก็จะชื่นใจกับเรา ให้อิสระกับเรามากขึ้น เมื่อเห็นว่าเรา(ทำท่า)จะเอาจริง
8. เป็นตัวอย่างที่ดีให้กับเพื่อนๆ น้องๆ และคนอื่นๆ
9. etc.
น้องๆเห็นหรือยังคะว่าข้อดีของการทำตารางเวลานั้นมีมากมายเลย ไม่จำกัดเฉพาะตารางอ่านหนังสือนะคะ จะเป็นตารางกิจวัตรประจำวัน ตารางรายรับรายจ่าย(พี่กำลังทำอยู่ค่ะ^^) ล้วนมีประโยชน์ทั้งนั้น เมื่อน้องๆรู้ถึงประโยชน์แล้ว เรามาเริ่มทำตารางเวลากันเถอะ พี่จะพยายามอธิบายให้เข้าใจง่ายที่สุดนะคะ อ้อ เกือบลืมบอกไป ตารางเวลาอ่านหนังสือนั้นมีหลายแบบค่ะ แต่ที่พี่ทำตอนจะสอบคือ แบบรายเดือน กับ รายอาทิตย์ น้องจะทำทั้งสองแบบเลยก็ได้ค่ะ พี่ทำมาแล้ว สนุกดี55+
พี่ก็จะขออธิบายขั้นตอบทีละแบบๆเลยนะคะ **ขอย้ำน้องๆอีกครั้งนึง ว่าเป็นนี่วิธีที่พี่คิดขึ้นเองนะ-*- ยึดแบบที่พี่เคยทำเป็นหลักซึ่งตอนนั้นไม่มีใครแนะนำพี่ มั่วเอาเอง55+ น้องลองไปประยุกต์ให้เหมาะกับตัวเองนะคะ**
วิธีทำตารางเวลาอ่านหนังสือแบบรายเดือน
ตารางอ่านหนังสือแบบรายเดือนนี้ จะเป็นการกำหนดหนังสือที่เราจะอ่านแบบคร่าวๆค่ะ วิธีการทำก็ง่ายๆ ตามขั้นตอนข้างล่างนี่เลยค่ะ
1. กองหนังสือ/ข้อสอบที่น้องซื้อมาหรือที่มีอยู่แล้วที่น้องตั้งใจเอาไว้ใช้อ่านไว้บนโต๊ะ เตรียมกระดาษ1แผ่น ขนาดและสีตามใจชอบ หรือบ้านใครมีกระดานจะเขียนใส่กระดานก็ได้ค่ะ
2. คัดเลือกหนังสือ เอาหนังสือที่น้องคิดว่าเจ๋ง เหมาะกับตัวน้อง ที่น้องจะอ่านจริงๆ บางทีเราเห็นหนังสืออันไหนปกสวย พลิกๆดูแล้วเหมือนจะดี เราก็ตัดสินใจซื้อมา(พี่เป็นบ่อย- -)แต่พอเรามานั่งอ่าน เปิดดูอย่างละเอียด ปรากฏว่ามันไม่ใช่สเป็คเรา อาจจะยากไป ง่ายไป เฉลยไม่รู้เรื่อง ตัวหนังสืออ่านยาก etc. หนังสือจำพวกนี้ แยกไว้อีกกองหนึ่ง อาจจะเอาไปบริจาคก็ได้ อย่าเสียดายเป็นอันขาด ในเมื่อเรารู้ว่าเราจะไม่อ่านเล่มนี้ เราก้ให้คนอื่นไปเถอะค่ะ หนังสือที่เราคัดเลือกไว้นั้น ต้องเป็นหนังสือที่เราจะอ่านจริงๆ ไม่จำเป็นต้องเหมือนเพื่อน หนังสือดีของเขาอาจจะไม่เหมาะสำหรับเราก็ได้
3. ตีตารางใส่กระดาษที่เตรียมไว้ อ้อ ไม่จำเป็นต้องตารางเสมอไปนะ จะmind mapping หรืออะไรก็ได้ เอาที่น้องชอบ ทำเป็น12อันอะ ใส่ชื่อเดือนลงไป อันที่จริงไม่ใช่12เดือนแล้วค่ะ น้องเริ่มเมื่อไหร่ เหลืออีกกี่เดือน จะอ่านกี่เดือน ก็ใส่ไป สมมุติน้องเริ่มเดือนนี้นะ เดือนนี้ พฤษภาคม ถูกไหม รร.เตรียมสอบเดือนมีนาคม กี่เดือนอะ 11 ใช่ปะ น้องก็ทำเป็น11ช่อง
4. จากนั้น น้องก็จัดการแบ่งหนังสือ/ข้อสอบที่จะอ่านเลยค่ะ แบ่งเป็น11กลุ่ม(หรือตามจำนวนเดือนที่เหลือ) ไม่จำเป็นต้อง เดือนละเล่มนะ น้องอาจจะทำพร้อมกัน5เล่มก็ได้ เป็นวิชาๆก็ได้ จะอธิบายยังไงดี คือน้องก็ลองคำนวณดูอะ สมมุตินะ ว่าน้องมีหนังสือ6เล่ม คือ วิทย์ คณิต ไทย อังกฤษ สังคม แล้วก็ ข้อสอบเก่าอีก1เล่ม ที่จะต้องอ่านภายใน4เดือนที่เหลือใช่ปะ น้องก็กำหนดเอง เช่น เดือนแรก(ธันวาคม) อ่านภาษาไทยบทที่1-7 ทำเลขบทที่5-11 ทำอังกฤษบทที่1-9และทำข้อสอบเก่าอีก3ปี ทั้งหมดคือสิ่งที่น้องต้องทำในเดือนธันวาคม
พอเดือนที่สอง(พฤศจิกายน) น้องอาจจะทำวิทย์ บทที่4-13 อ่านอังกฤษบทที่9-15 อ่านสังคมบทที่1-8 ทำข้อสอบเก่าอีก4ปี เป็นต้น ประมาณเนี้ย ลองกำหนดดู พอเข้าใจใช่ไหมคะ
5. ตกแต่งตามใจชอบ อาจจะเขียนข้อคิด กำลังใจ หรือคำพูดที่เราชอบลงไป จากนั้นก้เอาไปไว้ที่ๆเราจะเห็นชัด อย่างพี่ก็แปะตรงตู้หนังสือของพี่อะ ควรจะเอาไว้ใกล้ๆที่ๆเราจะนั่งอ่านหนังสือค่ะ
เพิ่มเติม น้องจะทำแบบเป็นอาทิตย์ก็ได้นะคะ เปลี่ยนจากเดือน เป็นอาทิตย์ ว่าอาทิตย์ที่1อ่านอะไร อาทิตย์ที่2จะอ่านอะไร วิธีทำเหมือนกันเลยค่ะ
**************************
วิธีทำตารางเวลาอ่านหนังสือแบบรายอาทิตย์
ตารางเวลาอ่านหนังสือแบบรายอาทิตย์นี่จะแตกต่างกับรายเดือนตรงที่มันจะละเอียดกว่า จะบอกว่าในวันหนึ่งๆเราต้องอ่านอะไร ไปเรียนที่ไหน กี่โมง-กี่โมงเหมาะกับเอาไว้ใช้ช่วงมีนา สำหรับน้องที่ลงเรียนพิเศษเยอะ แล้วเวลาซ้อนกันบ้าง ปิดคอร์สไม่พร้อมกัน น้องอาจจะงง แบบวันนี้เราต้องไปที่ไหนบ้าง ตารางแบบรายอาทิตย์จะช่วยได้ค่ะ หรือไม่ก็ใช้ตอนเปิดเทอมก็ได้ผลดีค่ะ แบบกลับมาจากรร.บางคนอาจจะตรงไปเปิดคอมเลย ตอนนั้นตารางก็จะช่วยฉุดเราเอาไว้ บอกว่าเราต้องทำอะไรก่อน ประมารเนี้ย ไว้น้องทำแล้วจะรู้เอง แต่น้องต้องเคารพตารางด้วยนะ^^
1.-2. เหมือนแบบรายเดือนเลยค่ะ
3. ตีตารางเป็นช่วงเวลาเลยค่ะ น้องลองดูนะ ว่าจะอ่านช่วงไหน-ช่วงไหน พี่จะยกตัวอย่างให้ฟัง สมมุติน้องทำตอนเปิดเทอมใช่ปะ ตารางรายอาทิตย์ของน้องก็จะเป็นวันจันทร์-ศุกร์ ถ้าน้องตั้งใจจะอ่านหนังสือตอนเช้า ตารางของน้องก็อาจจะเริ่มตอนตี5 แต่ถ้าน้องจะไม่อ่านตอนเช้า ตารางน้องก็จะเริ่มตอนกลับจากรร.เลย แบบกลับมาแล้วทำอะไร มีพัก มีเล่น อะไรยังไง ตอนเย็นวันไหนมีเรียน ก็เขียนไว้ด้วย วันเสาร์-อาทิตย์ว่างหน่อย ก็แบ่งเวลาอ่านหนังสือเยอะหน่อย เป็นต้น
4. ตกแต่งตามใจชอบ อาจจะเขียนข้อคิด กำลังใจ หรือคำพูดที่เราชอบลงไป จากนั้นก้เอาไปไว้ที่ๆเราจะเห็นชัด อย่างพี่ก็แปะตรงตู้หนังสือของพี่อะ ควรจะเอาไว้ใกล้ๆที่ๆเราจะนั่งอ่านหนังสือค่ะ
******************************
เสร็จแล้วค่ะ ไม่ยากใช่ไหม ทำตารางอะมันง่าย แต่ที่ยากคือ น้องจะปฏิบัติตามที่ตั้งใจได้หรือเปล่านี่สิ พี่มีกฎเหล็กไม่กี่ข้อ(ที่พี่คิดเองอีกแล้ว55+) แต่สำคัญมาก สำหรับการทำตารางเวลา ดูให้ดีๆนะคะ
กฎเหล็กสำหรับการทำตารางเวลา
1. พึงระลึกไว้เสมอ ว่าตารางเวลาที่น้องทำ สามารถใช้ได้จริง พูดง่ายๆ อย่าทำให้มันดีเกินจนเราทำไม่ได้ พี่เคยมาแล้ว-*- แบบทำไว้ซะดีเลยนะ ประมาณว่าวันนึงอ่านเป็น10เล่ม อันนู้นนิด อันนี้หน่อย พอทำได้สัก3วัน ทำไม่ทัน กลายเป็นดินพอกหางหมู แล้วต้องมาทำตารางใหม่หมด- - ที่บ้านพี่ จะมีตารางเวลาเยอะมาก เพราะพอทำไม่ได้ ก็โละใหม่เลย 55+ พี่เลยเตือนน้องด้วยความหวังดี ทำตารางที่เราจะทำได้จริงค่ะ
2. ตารางเวลาของน้องจะไม่มีประโยชน์เลย ถ้าน้องทำเสร็จแล้วก้ปล่อยทิ้งไว้เฉยๆ ฉะนั้นกฎข้อที่2คือ เคารพตารางเวลาที่ตัวเองทำค่ะ
---------------------------------------------------------
เย่ๆ จบแล้วว ไม่เข้าใจตรงไหนหรืออยากถามอะไรเพิ่มเติม โพสถามได้เลยนะคะ
เก็บเข้าคอลเล็กชัน
ความคิดเห็น