คู่มือการเป็นคนที่มีความหลากหลายทางเพศ - นิยาย คู่มือการเป็นคนที่มีความหลากหลายทางเพศ : Dek-D.com - Writer
×

    คู่มือการเป็นคนที่มีความหลากหลายทางเพศ

    เป็นการแบ่งปันประสบการณ์และให้กำลังใจคนที่กำลังสับสนไม่สบายใจกับเพศวิถี/อัตลักษณ์ทางเพศของตัวเอง ซึ่งแม้ผู้อ่านส่วนใหญ่ไม่ได้อยู่ในกลุ่มนี้แต่อาจมีคนรู้จักที่อยากให้อ่าน หรืออยากอ่านเพื่อเข้าใจคนกลุ่มนี้มากขึ้น

    ผู้เข้าชมรวม

    426

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    1

    ผู้เข้าชมรวม


    426

    ความคิดเห็น


    0

    คนติดตาม


    2
    จำนวนตอน :  3 ตอน
    อัปเดตล่าสุด :  4 พ.ค. 63 / 18:13 น.
    e-receipt e-receipt
    loading
    กำลังโหลด...
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ

    เนื่องจากเดือนพฤษภาคมนี้จะมีวันสากลยุติการเกลียดกลัวคนรักเพศเดียวกัน คนข้ามเพศ (International Day Against Homophobia, Transphobia and Biphobia: IDAHOT) เราเลยอยากเขียนให้กำลังใจคนที่กำลังสับสนไม่สบายใจกับเพศวิถี/อัตลักษณ์ทางเพศของตัวเอง ซึ่งแม้ผู้อ่านส่วนใหญ่ไม่ได้อยู่ในกลุ่มนี้แต่อาจมีคนรู้จักที่อยากให้อ่าน หรืออยากอ่านเพื่อเข้าใจคนกลุ่มนี้มากขึ้น

    ความตั้งใจในการเขียนเกิดจากการที่เรามองย้อนกลับไปว่ารู้ตัวว่าชอบเพศเดียวกันมาตั้งแต่อายุ 10 ปี คิดว่าคงจะดีถ้าตอนนั้นมีผู้ใหญ่ที่รักเพศเดียวกันอย่างเปิดเผยสักคนที่เป็นคนธรรมดาๆที่เราพบเห็นได้ในชีวิตประจำวัน ไม่ใช่คนดังหน้าตาดีประสบความสำเร็จอยู่ในทีวี มาพูดคุยแลกเปลี่ยนกับเรา ในวันนี้ เราเลยอยากเป็นผู้ใหญ่คนนั้นมาแชร์มุมมองว่าจะนิยามตัวเองมั้ย เปิดเผยกับคนอื่นอย่างไร ทำเช่นไรเมื่อเจอคนเกลียดกลัว จะขจัดความรู้สึกแย่กับตัวเองได้อย่างไร หรือจะเกิดอะไรขึ้นถ้าตัวตนเราทับซ้อนตัวตนด้านอื่น ๆ ที่มักจะขัดแย้งกันเช่นชุมชนศาสนา/จิตวิญญาณ เป็นต้น

    ผู้อ่านอาจจะสงสัยว่าในศตวรรษที่ 21 ยุคดิจิตอลนี้ทำไมยังต้องมาคุยกันเรื่องความเท่าเทียมทางเพศ หลายประเทศให้คนเพศเดียวกันแต่งงาน มีลูกร่วมกันได้แล้ว คนส่วนใหญ่ในสังคมก็ดูสนับสนุนติดธงสีรุ้ง ยังมีความเกลียดกลัวหลงเหลืออยู่อีกหรือ เมื่อมองย้อนกลับไป เราพบว่าคนที่ homophobic ที่ใกล้ตัวที่สุดก็คือตัวเราที่เคยพยายามกำจัดตัวตนและความรู้สึกของตัวเอง ผู้ปกครองเพศเดียวกันเลี้ยงลูกแบบระวังไม่ให้ลูกโตมาแล้วจะเบี่ยงเบนตามตนเหมือนที่สังคมจ้องจับผิดแทนที่จะถามสังคมกลับว่าครอบครัวที่สมบูรณ์ทำไมผูกขาดที่สามองค์ประกอบคือพ่อ แม่ ลูก เด็กเบี่ยงเบนมีข้อบกพร่องอย่างไร ถ้าการเบี่ยงเบนทางเพศเป็นเหมือนโรคติดต่อที่เด็กเอาไปติดเพื่อนได้จริงแล้วข้อเสียของโรคนี้คืออะไร โรงเรียนให้ครูข้ามเพศระมัดระวังท่าทางของตัวเองเดี๋ยวนักเรียนเห็นตัวอย่างที่‘ไม่ดี’ แต่ไม่คิดในมุมกลับว่ามันจะทำให้นักเรียนข้ามเพศอาจได้ไอดอลว่าคนข้ามเพศแบบเขาก็เป็นครูเจ๋งๆแบบนี้ได้ ทำให้นักเรียนทั้งห้องเรียนรู้ที่จะอยู่กับความหลากหลายทางเพศ เช่นเดียวกับความแตกต่างอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นชาติกำเนิด ศาสนา ฐานะ ความเห็นต่าง คนที่มีความหลากหลายทางเพศเหล่านั้นก็อาจให้เหตุผลที่ฟังขึ้นว่าที่ไม่กล้าภูมิใจในความแตกต่างของตัวเองแบบนั้นก็เพราะโลกนี้ยังมีความเกลียดกลัวคนแบบพวกเค้าอยู่

    แทนที่จะโทษสังคม เราอยากใช้การพูดคุยเพราะเชื่อว่ามันช่วยลดความเกลียดกลัวได้ เนื่องจากหลายๆครั้งคนเราก็มักจะเกลียดกลัวสิ่งที่เรามีอคติในใจจากการได้ยินได้ฟังมาทั้งๆที่ไม่ได้รู้จักคนกลุ่มที่เราเกลียดกลัวมากพอหรือมันไม่ได้เกิดกับตัวเค้าเอง เราเห็นว่าไม่มีเรื่องไหนหรอกที่เป็นหัวข้อต้องห้ามในบทสนทนา ไม่ว่าจะเป็นศาสนา การเมือง เรื่องเพศ ถ้าคู่สนทนาทั้งสองฝ่ายเปิดใจและต้องการที่จะเข้าใจอีกฝ่ายจริงๆ การไม่พูดคุยมีแต่จะปล่อยให้มายาคติต่างๆ ความไม่เข้าใจมีอยู่ต่อไป เราปราถนาที่จะเห็นสังคมพูดคุยกันในเรื่องความหลากหลางเพศได้ได้อย่างอิสระ เหมือนคุยว่าชอบสีอะไร คนที่สงสัยก็กล้าถาม ไม่ต้องปวดหัวหรือสนุกสนานกับการตีความลับหลังว่าใครเป็นไม่เป็น คนตอบก็กล้าซื่อสัตย์กับตัวเองและผู้อื่น ดังนั้น เราเลยอยากมาแลกเปลี่ยนมุมมองและประสบการณ์หัวข้อต่าง ๆ ทั้งนี้ มุมมองส่วนตัวของเราไม่ได้เป็นข้อแนะนำตายตัวแต่อย่างใด ยินดีพูดคุยแลกเปลี่ยนค่ะ : )

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น