ตำนานเทพเจ้ากรีก เฮอร์มีส - ตำนานเทพเจ้ากรีก เฮอร์มีส นิยาย ตำนานเทพเจ้ากรีก เฮอร์มีส : Dek-D.com - Writer

    ตำนานเทพเจ้ากรีก เฮอร์มีส

    เฮอร์มีส (Hermes) เป็นชื่อเทพเจ้าในปกรณัมกรีก เรียกชื่อในตำนานเทพเจ้าโรมันว่า เมอร์คิวรี่ เป็น เทพผู้คุ้มครองเหล่านักเดินทาง คนเลี้ยงแกะ โจรผู้เร่ร่อน กวี นักกีฬา นักประดิษฐ์ และพ่อค้า

    ผู้เข้าชมรวม

    1,060

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    15

    ผู้เข้าชมรวม


    1.06K

    ความคิดเห็น


    0

    คนติดตาม


    -1
    หมวด :  รักอื่น ๆ
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  16 พ.ย. 54 / 13:47 น.


    ข้อมูลเบื้องต้น
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ

            เฮอร์มีส (Hermes) เป็นชื่อเทพเจ้าในปกรณัมกรีก เรียกชื่อในตำนานเทพเจ้าโรมันว่า เมอร์คิวรี่ เป็น เทพผู้คุ้มครองเหล่านักเดินทาง คนเลี้ยงแกะ โจรผู้เร่ร่อน กวี นักกีฬา นักประดิษฐ์ และพ่อค้า อาจเรียกได้ว่า เฮอร์มีส เป็นเทพแห่งการสื่อสาร พระองค์เป็นบุตรของเทพซุส เกิดแต่นางเมยา (Maia) มีของวิเศษคือหมวกและรองเท้ามีปีก เรียกว่า เพตตะซัส (Petasus) ซึ่งเป็นของขวัญที่ได้รับจากเทพบิดา เพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่เป็นเทพสื่อสาร

      บุตรของเทพเฮอร์มีสได้แก่ เทพแพน เทพเฮอร์มาโฟรไดทัส และเทพออโตไลคัส

      เมอร์คิวรี่ (Mercury) หรือ เฮอร์มีส (Hermes) เป็นเทพ ที่มีผู้รู้จักมาก เนื่องจากรูปของท่าน ปรากฏคุ้นตาคนมากกว่าเทพองค์อื่น ๆ คนมักนำรูปเทพองค์นี้ หรืออย่างน้อย ก็ของวิเศษอย่างหนึ่งอย่างใด เช่น รองเท้ามีปีก มาแสดงเป็นเครื่องหมายถึงความเร็ว นอกจากรองเท้า หมวก และไม้ถืออันศักดิ์สิทธิ์ก็มีปีกเช่นกัน เมอร์คิวรี่ไปไหนมาไหนได้เร็วถึงขนาดว่ากันว่า “ไปเร็วเพียงความคิด” ทีเดียว

      หมวก และ รองเท้ามีปีกของเฮอร์มีสนั้นเรียกว่า เพตตะซัส (Petasus) และ ทะเลเรีย (Talaria) เป็นของที่ได้รับ ประทานจาก ซุสเทพบิดา ซึ่งโปรดให้ท่านเป็นเทพสื่อสารประจำพระองค์ ส่วนไม้ถือศักดิ์สิทธิ์เรียกว่า กะดูเซียส (Caduceus) เดิมเป็นของเทพอพอลโล ใช้ต้อนวัวควายในครอบครอง ครั้งหนึ่งเฮอร์มีส ขโมยวัวของ อพอลโลไปซ่อน อพอลโลรู้ระแคะระคาย ดังนั้นจึงมาทวงถามให้เฮอร์มีสคืนวัวที่ขโมยไป เฮอร์มีสในตอนนั้นยังเยาว์อยู่แท้ ๆ กลับย้อนถามอย่างหน้าตาเฉยว่า วัวอะไร ที่ไหนกัน ไม่เคยเห็นและไม่เคยได้ยิน อพอลโลก็ไปฟ้อง เทพบิดาซุส ไกล่เกลี่ยให้เฮอร์มีสคืนวัวให้เจ้าของ อพอลโลได้วัวคืนแล้ว ก็ไม่ถือโกรธเทพผู้น้อง แม้ว่าวัวจะขาดจำนวนไป 2 ตัว เพราะ เฮอร์มีสเอาไปทำเครื่องสังเวยเสียแล้วก็ตาม อพอลโลเห็นเฮอร์มีสมีพิณถือคันหนึ่ง เรียกว่า ไลร์ (Lyre) เป็นของเฮอร์มีส ประดิษฐ์ขึ้นเอง ด้วยกระดองเต่า ก็อยากได้ จึงเอาไม้กะดูเซียสแลก ไม้ถือกะดูเซียส จึงเป็นของเฮอร์มีส ด้วยเหตุฉะนี้ และถือกันว่า เป็นสัญลักษณ์ ของเฮอร์มีสตั้งแต่ครั้งนั้นเป็นต้นมา

      ไม้กะดูเซียสนี้ แต่เดิมเป็นไม้ถือมีปีกเพียงอย่างเดียว ต่อมาเฮอร์มีสถือไปพบงู 2 ตัวกำลังต่อสู้กัน จึงเอาไม้ทิ่ม เข้าในระหว่างกลาง เพื่อห้ามความวิวาท งูก็เลื้อยขึ้นมาพันอยู่กับไม้ โดยหันหัวเข้าหากัน ตั้งแต่นั้นมา งูนี้ก็พันอยู่กับไม้ถือกะดูเซียสตลอดมา และไม้ถือกะดูเซียส ก็กลายเป็นสัญลักษณ์ของความเป็นกลางด้วย ภายหลังได้ใช้เป็น สัญลักษณ์ของวงการแพทย์มาจนบัดนี้


              เฮอร์มีส ไม่เพียงแต่จะเป็นเทพสื่อสารของซุสเท่านั้น หากยังเป็นเทพครองการเดินทาง การพาณิชย์ และตลาด เป็นที่บูชาของพวกหัวขโมย และมีหน้าที่เป็นมัคคุเทศก์คอยนำวิญญาณคนตาย ไปสู่ยมโลกด้วย จนได้รับนามกร อีกชื่อหนึ่งว่า เฮอร์มีสไซโคปอมปัส (Hermes Psychopompus) สรุปว่าการสื่อสาร และการเป็นคนกลางในกิจการทุกอย่างตกเป็นภาระของท่าน หรืออยู่ในความสอดส่องของท่านทั้งสิ้น ส่วนการที่เป็นที่นับถือบูชาของพวกขโมย ก็คงเนื่องจากขโมยวัว ของอพอลโลนั่นเอง

      สิ่งที่น่าแปลกประการหนึ่งในตัวของเฮอร์มีส ก็คือ แม้ว่าจะเป็นโอรสของซุส กับนางเมยา ซึ่ง เป็นอนุ แต่ทว่า ทรงเป็นโอรสองค์เดียวของซุสที่ราชินีขี้หึง เทวีฮีร่า ไม่เกลียดชัง กลับเรียกหาให้เฮอร์มีสอยู่ใกล้ ๆ ด้วยเสียอีก ทั้งนี้ อาจเป็นเพราะบุคลิก และนิสัยของเทพเฮอร์มีส ที่ชอบช่วยเหลือทุกคน ไม่ว่าจะเป็นทวยเทพด้วยกัน หรือ มนุษย์ธรรมดา อาทิเช่น

      • ช่วยปราบยักษ์ร้ายฮิปโปไลตุล
      • ช่วยองค์ซุสเทพบิดา ให้พ้นจากพันธนาการของยักษ์ ไทฟีอัส
      • ช่วยอนุองค์หนึ่งของเทพบิดา คือนางไอโอ ให้รอดตายด้วยการช่วยสังหารอาร์กัสอสูรพันตาของฮีร่า
      • ช่วยเหลือเลี้ยงดู ไดโอนิซัส ในยามแรกถือกำเนิดขึ้น
      • เฮอร์มีสเคยช่วยเปอร์ซีอุส สังหารนางการ์กอนเทดูซ่า
      • ช่วยเฮอร์คิวลิสในยามเดินทางสู่แดนบาดาล
      • ช่วยโอดีสซีอัส ให้รอดพ้นเงื้อมมือนางเซอร์ซี
      • ช่วยให้เตเลมาดุสตามหาพ่อจนพบ
        เป็นต้น

                        เฮอร์มีสก็เช่นเดียวกับ เทพบุตรองค์อื่น ๆ ตรงที่ไม่ยกย่องเทวีหรือสตรีนางใดเป็นชายา แต่สมัครรักใคร่ไปเรื่อย ๆ นับไม่ถ้วน ว่ากันว่าการที่ชอบเสด็จลงไปในแดนยมโลกบ่อย ๆ นั้นเป็นเพราะหลงเสน่ห์ของเทวีเพอร์เซโฟนี ผู้เป็นชายา ของฮาเดส จ้าวแดนยมโลก ยามขึ้นมาสู่ผืนดินเฮอร์มีส ก็รักกับสตรีมนุษย์มากหน้า ที่เป็นที่กล่าวขานได้แก่ อคาคัลลิส (Acacallis) ผู้เป็นธิดาของท้าวไมนอส แห่งครีต เมื่อขึ้นไปสู่สวรรค์โอลิมปัส ก็เกิดจิตพิศวาส กับเทวีในทำนองรักข้ามรุ่น โดยเฉพาะกับ เฮเคตี และ อโฟร์ไดท์

                                  รูปภาพของเฮอร์มีส
      .
      .
      .
      .

      Hermes

       

      เฮอร์มีส ถือไม้กะดูเซียส

      เฮอร์มีส ถือไม้กะดูเซียส

      เฮอร์มีส (Hermes) หรือ เมอร์คิวรี่

      เฮอร์มีส (Hermes) หรือ เมอร์คิวรี่

      ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      ความคิดเห็น

      ×