เหตุแห่งรัก...???
(",) จุดเริ่มต้นของการศึกษาและความเป็นเลิศ
ผู้เข้าชมรวม
238
ผู้เข้าชมเดือนนี้
3
ผู้เข้าชมรวม
ข้อมูลเบื้องต้น
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
เหตุแห่งรักNaked
จุดเริ่มต้นของความเป็นเลิศ...
ที่เรามองข้ามไป...
สวัสดีค่ะ สำหรับนักอ่านทุกท่าน เป็นบทความตอนแรก ที่จะคุยกันเกี่ยวกับการศึกษา ที่จะนำพาลูกๆหรือหลานๆ ของเรา ไปสู่ความเป็นเลิศของตัวเขาเอง และตัวท่านเองด้วย สำหรับฉบับนี้เราก็จะคุยในเรื่องที่เป็นจุดเริ่มต้นของความเป็นเลิศและขณะเดียวกันก็เป็นจุดที่เป็นปัญหาใหญ่ในการศึกษา นั่นก็คือ รักในการเรียนรู้ ฟังแล้วอาจน่าเบื่อ แต่เราคงต้องเปิดใจรับฟังกันใหม่ว่าที่จริงแล้วปัญหานี้มันเป็นเช่นไร และมันสำคัญเพียงไร หาไม่แล้ว ตัวเราเองอาจกลายเป็นคนที่มีปัญหาเรื่องนี้แทนก็ได้ งั้นเราลองมาดูกันเลยค่ะว่าเกิดอะไรขึ้นบ้าง
คำถามแรก ๆ ที่เด็กเริ่มจะเบื่อในการเรียน(รู้) คือ ทำไมต้องเรียน... แล้วถ้าเราทำลายความสงสัยนี้ไม่ได้ ในที่สุดเด็ก ๆ เหล่านี้ก็จะกลายเป็นเด็กที่ปฏิเสธที่จะเรียนรู้ไปเลย หรือถ้าเรียนรู้ ก็ไม่ได้มาจากความรัก แต่รู้สึกแค่ว่าจำเป็นต้องทำ ทนทำไปเรื่อย ๆ และถ้าทนไม่ได้ ในที่สุดก็จะไม่เรียนรู้อะไรเลย แล้วจะทำอย่างไรถ้าเกิดปัญหานี้ การป้องกันย่อมดีกว่าการแก้ไขค่ะ จริงๆ แล้วแค่อย่าทำให้รักในการเรียนรู้ของเขาหายไปเท่านั้นเองค่ะ ให้เขายังสนุกที่จะเรียนรู้ก่อน แล้วถ้าหายไปมันหายไปตอนไหน แล้วรักในการเรียนรู้มีอยู่ในตัวเรา แล้วจริง ๆ หรือ รู้ได้อย่างไร อาจสังเกตได้จากตัวเรา เมื่อเรายังเล็ก เราเริ่มเรียนรู้ที่จะออกเสียงต่าง ๆ ถึงมันจะแปลก ประหลาด หรือ ไม่มีความหมายก็ตาม แต่เราพยายามจะเรียนรู้อย่างตั้งใจและสนุกกับสิ่งนั้นมาก เริ่มหัดคลาน กลิ้งตัว เดินหลายๆ อย่างทำได้เอง ลงมือที่จะทำ โดยไม่มีความอายที่จะปฏิบัติแม้แต่น้อย แต่ก็แปลกว่า ยิ่งเราโตขึ้นมากเท่าไหร่ ความรู้สึกเหล่านั้นก็ค่อยหายไปตามอายุที่มากขึ้น (ที่เป็นอย่างนั้นเพราะความคิดเรา เริ่มทำงาน ก็ทำให้เรารู้จักคำว่าอาย เมื่อเราไม่รู้ หรือผิดพลาด) ทำให้เราลืมไปว่า รักในการเรียนรู้มันหายไป จริง ๆ แล้วอาจไม่ได้สร้างขึ้น แต่เป็นการนำกลับมาอีกครั้งเท่านั้นเอง เพราะสิ่งนั้นอยู่ในตัวเราตั้งแต่ต้นแล้วค่ะ และต้องให้ผิดซ้ำผิดซากมากแค่ไหน ที่ต้องให้สิ่งนั้นหายไปก่อนจึงรู้คุณค่า ถ้าเราไม่แน่ใจว่าสิ่งนั้นมีคุณค่าหรือความหมายมากพอหรือเปล่า ก็ให้ลองเติมนิเสธ (คือ การปฏิเสธ) ให้กับสิ่งนั้น แล้วตั้งคำถามว่าเราจะเลือกแบบไหน ระหว่าง มีรักในการเรียนรู้ หรือ ไม่รักในการเรียนรู้ ดังนั้นถ้าไม่ต้องการผิดซ้ำซาก ก็คือ ต้องเรียนรู้ให้เป็น และ การเรียนรู้ที่แท้จริง คือ การแก้ไขสิ่งที่ผิดพลาดในอดีตนั่นเอง แต่การจะแก้ไขสิ่งนั้นได้ เราต้องยอมรับก่อนว่าเกิดความผิดพลาด เกิดปัญหาขึ้น เมื่อไม่ยอมรับก็ยากจะแก้ไข ปัญหาของการแก้ไขปัญหาที่ยากที่สุด ไม่ใช่เราไม่รู้วิธีแก้ปัญหา แต่เราไม่ยอมรับว่าเป็นปัญหาต่างหาก อาจกล่าวได้ว่า ที่เรามีปัญหาเรื่อง รักในการเรียนรู้ ก็คือเรามีปัญหาเรื่อง การยอมรับ (ซึ่งการยอมรับในที่นี้ ก็คือ รัก ) เพราะฉะนั้น รักในการเรียนรู้ คือ การยอมรับที่จะแก้ไขข้อผิดพลาดในอดีตของตน นั่นเอง และสิ่งที่จำเป็นต่อการเตือนตนเองให้ยอมรับนั้น ก็คือ การไม่โกหกตัวเอง และ ไม่ปฏิเสธสิ่งที่ตนรู้สึกก่อน ไม่อย่างนั้นจะทำได้ยาก เพราะเมื่อไหร่ที่เรารู้ ก็จะได้บอกว่าเรารู้ และไม่รู้ในสิ่งใด ก็จะบอกว่าไม่รู้ ยอมรับในความไม่รู้ของตน ยิ่งเราปกปิดความไม่รู้ของตน สิ่งที่เราได้กลับไปก็คือ ความไม่รู้ แทนที่จะมาคอยบอกว่าเรารู้อะไรมากมาย ก็เปลี่ยนเป็นคนที่พร้อมจะโง่อยู่ตลอดเวลา เมื่อไหร่ที่เราพร้อมที่จะโง่ เราจะเป็นคนรอฟัง มากกว่ารอพูด เนื่องจากการรอฟังได้ประโยชน์ในหลายมิติกว่าการอพูด เช่น ถ้าเป็นมิติของการรับข้อมูล ก็จะเห็นว่าถ้าเรามัวแต่พูดไม่ฟัง คลื่นเสียงจากเราก็จะไปรบกวนคลื่นเสียงที่ส่งมาจากที่อื่น เราก็จะไม่ได้ยิน แต่ถ้าเรารอฟังก่อน ก็เหมือนเครื่องรับสัญญาณที่ไม่มีตัวรบกวน ข้อมูลหรือชุดความรู้ก็จะสมบูรณ์มากขึ้น ไม่ขาด ๆ หาย ๆ หรือมิติส่วนบุคคล เราจะชอบคนที่รอแต่จะพูด หรือ รอจะฟังเรากันแน่ แต่ถ้าใครไม่ทราบว่าเป็นอย่างไร ให้ลองถามผู้หญิงว่า ชอบผู้ชายแบบไหน ระหว่างผู้ชายที่รอฟังว่าเราต้องการอะไร เราเป็นแบบไหน มีปัญหาอะไร หรือ รอแต่พูดเรื่องของตนเอง (อันนี้หลักการแรก ๆ เลยค่ะ ในการยอมรับ ยอมรับที่จะฟังความเป็นเขา) และข้อด้อยของการรอพูดอีกอย่าง ก็คือ ทำให้เราใจจดจ่อกับเรื่องของตนเองที่จะพูด สมาธิและสติในการฟังก็จะลดลง แม้ฟังก็ฟังได้ยินแต่เสียง หาได้ยินไปถึงความหมายของเสียงนั้นไม่
ดังนั้น หัวใจจริง ๆ ของการทำให้รักในการเรียนรู้ ก็คือ การยอมรับนั่นเอง ซึ่งแท้จริงแล้วก็ตรงกับหัวใจของการศึกษา คือ ยอมรับแล้วศึกษา หาใช่ ศึกษาไปเพื่อให้คนอื่นยอมรับ แต่ก็ยังมีคนเคยถามว่า แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่า ที่กล่าวมาทั้งหมดเป็นจริง ก็ต้องบอกก่อนว่า อย่าพึ่งเชื่อ เพราะจะรู้ได้ว่าจริงหรือไม่จริงเราต้องลงมือปฏิบัติค่ะ บางครั้งคนเราทำตามไม่ใช่เพราะเราเชื่อหรอกค่ะ แต่เราอาจทำไปเพราะอยากพิสูจน์ว่าจริงหรือเปล่า เหมือนเดิมค่ะ ก็ทำลายสิ่งที่สงสัยนั้นให้หมดไปค่ะ และมันคุ้มที่จะทำ เพราะจริง ๆ เราไม่ได้เสียดายกับสิ่งที่ทำ แต่หากเสียดายที่เราไม่ได้มากกว่าค่ะ
สำหรับฉบับนี้ก็เป็นฉบับแรก และเป็นฉบับต้นปี ก็ถือโอกาสอวยพรปีใหม่ด้วยค่ะ
ขอให้พรอันประเสริฐ มีแด่ทุกๆคน และ ทุกคนที่เชื่อประโยชน์ในการฝึกตนสู่ความเจริญค่ะ
คนโง่ คือ คนที่คิดว่าตนรู้ทุกเรื่องแล้ว
คนฉลาด คือ คนที่ยอมรับว่าตนไม่ได้รู้ทุกเรื่อง
คนมีปัญญา คือ คนยอมรับในความไม่รู้ของตน และแก้ไขอดีตที่ผิดพลาดของตน
ผลงานอื่นๆ ของ น้ำผึ้งพระจันทร์ ดูทั้งหมด
ผลงานอื่นๆ ของ น้ำผึ้งพระจันทร์
ความคิดเห็น