น่ารู้เรื่อง "สิว" - น่ารู้เรื่อง "สิว" นิยาย น่ารู้เรื่อง "สิว" : Dek-D.com - Writer

    น่ารู้เรื่อง "สิว"

    เกี่ยวกับเรื่องสิวๆคร้าบบบ

    ผู้เข้าชมรวม

    19,927

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    7

    ผู้เข้าชมรวม


    19.92K

    ความคิดเห็น


    38

    คนติดตาม


    7
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  2 ก.พ. 53 / 16:35 น.


    ข้อมูลเบื้องต้น
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ





      "
      สิว" เป็นปัญหาทางด้านผิวหนังที่สามารถพบได้บ่อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวัยรุ่น
      เพราะมีอิทธิพลของฮอร์โมนเพศเข้ามาเกี่ยวข้อง มักพบตามบริเวณผิวหนังของร่างกายที่มีต่อมไขมันขนาดใหญ่และมีจำนวนมาก เช่น บริเวณใบหน้า หน้าอก และแผ่นหลัง โดยเกิดจากที่ต่อมไขมันผลิตไขมันออกมามากจนไปอุดตันท่อของต่อมไขมัน เกิดเป็น
      "สิวอุดตัน" (คอมีโดน) ขึ้นมา



      เมื่อเกิดสิวอุดตันขึ้นมาแล้ว อาจมีเชื้อแบคทีเรียที่มีชื่อว่า พีแอคเน่ (P.acne)
      ซึ่งพบได้ตามผิวหนังของคนทั่วไป มากินไขมันที่อุดตัน มันจะย่อยสลายไขมันในท่อของต่อมไขมัน ให้กลายเป็นกรดไขมัน ที่มีฤทธิ์ทำให้สิวบริเวณนั้นเกิดการอักเสบกลายเป็นสิวอักเสบ


      สิวแบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆคือ

      1.       สิวไม่อักเสบ ( สิวอุดตัน, คอมีโดน ) มี 2 ชนิดคือ  

      • สิวหัวปิด ( สิวหัวขาว ) จะไม่มีรูเปิดของท่อต่อมไขมันที่ผิวหนังให้เห็นชัดเจน ร้อยละ 75 ของสิวชนิดนี้จะกลายเป็นเม็ดสิวอักเสบ

      • สิวหัวเปิด ( สิวหัวดำ ) สิวชนิดนี้จะมีรูเปิดบนผิวหนัง เห็นเป็นจุดดำๆ


      2.สิวอักเสบ มักพบหลายลักษณะ เช่น

      • ตุ่มนูนแดงแข็ง

      • ตุ่มหนอง

      • ตุ่มอักเสบแดงนูน

      • ถุงใต้ผิวหนัง ภายในมีหนองอยู่


      สาเหตุที่ทำให้เกิดสิว

      สิวเกิดจากสาเหตุหลายประการร่วมกัน ได้แก่ ระดับของฮอร์โมนเพศที่เพิ่มสูง , แบคทีเรีย ( พีแอคเน่ ) เป็นต้น
      ซึ่งเหล่านี้เป็นสาเหตุหลักในการเกิดสิว แต่สิวยังสามารถเกิดขึ้นได้จากปัจจัยอื่นๆที่เข้ามาเกี่ยวข้องได้อีก



      ปัจจัยอื่นๆที่กระตุ้นให้เกิดสิว

      ·  พันธุกรรม

      ·  ยาบางชนิด เช่น สเตียรอยด์ , ไอโอไดด์ , โบรไมด์ , วิตามินบี 12

      ·  เครื่องสำอาง สบู่ น้ำมันใส่ผม

      ·  ประจำเดือน พบว่า ร้อยละ 60-70 ของผู้หญิงที่เป็นสิว จะเป็นสิวมากขึ้นใน 1 สัปดาห์ก่อนมีประจำเดือน

      ·  ภาวะเครียด

      ·  อาชีพและสิ่งแวดล้อม การทำงานในที่มีอากาศร้อน เหงื่อออกมาก ทำให้เกิดการบวมของท่อไขมันและเกิดสิวตามมาได้

      ·  อาหาร โดยทั่วไปแพทย์ผิวหนังไม่ค่อยเชื่อว่าอาหารมีอิทธิพลต่อการเกิดสิว อย่างไรก็ตามมีคนกุ่ลหนึ่งที่มีความเชื่อว่าอาหารบางอย่างทำให้สิวมีอาการมากขึ้นได้ ซึ่งหากมีความเชื่อเช่นนั้นให้ลองสังเกตดูว่า เมื่อลดอาหารชนิดนั้นที่สงสัยว่าทำให้เกิดสิวสัก 3- 4 สัปดาห์ แล้วจึงรับประทานอาหารนั้นใหม่ ถ้าสิวกำเริบขึ้นมาจริงก็ควรหลีกเลี่ยงอาหารนั้น

      ·  การเช็ดถูหน้าแรงๆหรือบ่อยครั้ง , การขัดหรือนวดหน้า ก็สามารถที่จะกระตุ้นให้เกิดสิวได้เช่นกัน


           การรักษา

      ·  ยาที่ใช้รักษาสิว

      1.       ยาทา จะใช้ในกรณีที่เป็นสิวไม่รุนแรงหรือใช้ร่วมกับยารับประทานเพื่อรักษาสิวชนิดรุนแรง

      • เบนซอยล์เพอร์ออกไซด์ หรือ บีพี (benzoyl peroxide) ยาตัวนี้จะทำให้หัวสิวหลุดลอกเร็วขึ้นและยังมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรียพีแอคเน่ที่เป็นตัวการทำให้สิวอักเสบและยังลดปริมาณไขมันที่ผิวหนัง ป้องกันไม่ให้เกิดไขมันอุดตันต่อมไขมัน

                  ข้อเสียของยาเบนซอยล์เพอร์ออกไซด์ คือ ทำให้หน้าแดง แสบ แห้งเป็นขุย

      • ยาทากรดวิตามินเอ ( retinoid acid ) จะช่วยแก้ไขสิวอุดตันเพราะกรดวิตามินเอจะซึมผ่านลงไปในรูขุมขนแล้วทำให้เซลล์ของรูขุมขนหลวมตัว ไขมันที่อุดตันอยู่จึงหลุดออกมาได้ง่ายขึ้น การใช้ยาจะเห็นผลเมื่อใช้ไปนานประมาณ 3- 4 เดือน นอกจากนี้จะไม่ใช้ยาทากรดวิตามินเอกับสิวอักเสบเพราะจะยิ่งทำให้สิวอักเสบกำเริบมากขึ้น จะใช้กับสิวอุดตันเท่านั้น

      ยาตัวนี้ทำให้เกิดการระคายเคือง หน้าแดง แสบ แห้ง ลอก การทายาในช่วงแรกๆอาจกระตุ้นให้สิวอักเสบกำเริบ ทำให้ดูว่าอาการของสิวเป็นมากขึ้นและยาทากรดวิตามินเอยังทำให้ผิวหนังไวต่อแสงแดด จึงควรใช้ยาทากันแดดทุกครั้งที่ต้องถูกแสงแดด

      • ยาปฏิชีวนะชนิดทา ( ยาทาฆ่าเชื้อโรค ) ได้แก่ คลินดามัยซิน ( clindamycin ) , อิรีโธรมัยซิน ( erhromcin ) เป็นต้น ยาจะไปฆ่าเชื้อแบคทีเรียพีแอคเน่ จึงช่วยรักษาสิวอักเสบได้

                

                 2.ยารับประทาน 

                    ยารับประทานจะใช้ในสิวชนิดรุนแรงปานกลางถึงรุนแรงมาก การรับประทานยาอย่างสม่ำเสมอ  ติดต่อกันประมาณ 6-8 เดือน ยารับประทานที่ใช้บ่อยแบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม คือ ยารับประทานจะใช้ในสิวชนิดรุนแรงปานกลางถึงรุนแรงมาก การรับประทานยาอย่างสม่ำเสมอติดต่อกันประมาณ 6-8 เดือน

                ยารับประทานที่ใช้บ่อยแบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม

                ยาปฏิชีวนะ ได้แก่ เตตราซัยคลิน ( tetracycline ), อีรีโธรมัยซิน ( erythromycin ) เป็นต้น 

               โดยที่นิยมใช้กันมากที่สุด คือ เตตราซัยคลิน การรับประทานตัวนี้ควรรับประทานในขณะที่ท้องว่าง คือ รับ ประทานก่อนอาหาร 1 ชั่วโมง หรืออีกวิธีหนึ่งคือรับประทานยาหลังรับประทานอาหารเสร็จนาน 2 ชั่วโมงไปแล้ว
      ไม่ควรรับประทานยาพร้อมอาหารที่ทำจากนม , พวกแร่ธาตุ เกลือแร่ต่างๆ เพราะลดการดูดซึมของตัวยาได้

      ยาเตตราซัยคลินมีผลต่อกระดูกและฟันของทารกในครรภ์ จึงห้ามหญิงมีครรภ์รับประทานยานี้
      ส่วนยาอิรีโธรมัยซินใช้ได้ผลดีพอๆกับยาเตตราซัยคลินสามารถใช้ได้ในหญิงมีครรภ์ด้วย

      • ยากรดวิตามินเอ ( retinoid )

      ไอโซเทรติโนอิน ( isotretinoin ) ใช้ในคนที่ใช้ยาปฏิชีวนะแล้วไม่ได้ผล ยาตัวนี้จะทำให้ต่อมไขมันมีขนาดเล็กลง การหลั่งไขมันลดลง ลดการอักเสบของสิวและลดปริมาณแบคทีเรียพีแอคเน่ การใช้ยาต้องใช้ติดต่อกันนาน 16-20 สัปดาห์ จะเริ่มเห็นผลเมื่อเวลาผ่านไป 3-4 สัปดาห์ ในบางคนจะมีสิวเห่อมากขึ้นในช่วง 2-4 สัปดาห์แรก แต่ไม่จำเป็นต้องหยุดรับประทานยา ไม่ควรใช้ยาร่วมกับยาปฏิชีวนะกลุ่มเตตราซัยคลินเพราะอาจเกิดอันตรายได้ ยาตัวนี้จะมีผลในการเปลี่ยนแปลงระดับโคเลสเตอรอลในเลือดและมีผลต่อการทำงานในตับ เมื่อมีการใช้ยานี้เป็นระยะเวลานานจึงควรตรวจระดับโคเลลสเตอรอลและตรวจการทำงานของตับร่วมด้วย นอกจากนี้ยากรดวิตามินเอมีผลทำให้ทารกในครรภ์พิการได้ ดังนั้นจะต้องไม่ตั้งครรภ์ในระหว่างการรับประทานยาตัวนี้เด็ดขาดและควรหยุดยานี้อย่างน้อย 2 เดือนก่อนตั้งครรภ์

      ·  ยาคุมกำเนิดหรือฮอร์โมน จะไปลดการทำงานของต่อมไขมันทำให้หลั่งไขมันออกมาน้อย ประสิทธิภาพในการรักษาสิวให้ผลมากน้อยต่างกัน ขึ้นอยู่กับในแต่ละคนจะใช้ในผู้หญิงที่มีสิวเมื่อใกล้มีประจำเดือนหรือในผู้หญิงที่รักษาสิวด้วยยาปฏิชีวนะไม่ได้ผล การรับประทานยาคุมกำเนิดอาจจะทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน น้ำหนักตัวเพิ่ม จะไม่ใช้ยานี้ในผู้ชาย, เด็กผู้หญิงอายุต่ำกว่า 16 ปีหรือหญิงอายุมากมีประวัติสูบบุหรี่จัด



      ข้อควรปฏิบัติในการดูแลตนเอง

                  1.       การล้างหน้า ควรล้างด้วยสบู่อ่อนๆ เช่น สบู่เด็ก

      2.       ไม่ควรล้างหน้าหรือเช็ดหน้าบ่อยๆ

      3.       ไม่ควรใช้เครื่องสำอางที่มีส่วนผสมที่มีผลต่อการทำงานของผิวหนังและต่อมไขมัน เช่น เครื่องสำอางที่มี สเตียรอยด์ผสมอยู่

      4.       อย่าบีบหรือแกะสิว เพราะสิวจะยิ่งอักเสบลุกลามและมีรอยแผลเป็นมากขึ้น

      5.       เลือกใช้ยาทาตามชนิดของสิว ซึ่งแพทย์จะเป็นผู้พิจารณาหรือแนะนำให้

      6.       ถ้ามีสิวอักเสบมากต้องกินยาปฏิชีวนะที่เหมาะสมควบคู่ เพื่อลดปริมาณเชื้อโรคที่ก่อให้เกิดสิวอักเสบ จึง ควรปรึกษาแพทย์ในการรักษา

      7.       กินยาให้สม่ำเสมอ

      8.       หากมีปัญหาหรือข้อสงสัยในเรื่องของสิวและแนวทางการรักษา ควรสอบถามจากแพทย์เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ชัดเจน



      ·  ความเชื่อผิดๆเกี่ยวกับสิว

      ·   สิวเป็นเรื่องของวัยรุ่นเท่านั้น?

      สิวพบได้มากในวัยรุ่น แต่ผู้ใหญ่และผู้สูงอายุก็เป็นได้เช่นกัน ในผู้ใหญ่บางรายมีแนวโน้มที่จะเกิดสิวอยู่แล้ว ดังนั้นเมื่อมีสิ่งมากระตุ้น เช่น เครื่องสำอางที่มีส่วนประกอบที่อาจก่อให้เกิดสิวได้ ความเครียด และอีกหลายปัจจัย ทำให้สิวเกิดขึ้นในผู้ใหญ่ได้ จึงสรุปได้ว่า สิวไม่ได้เป็นเรื่องของวัยรุ่นโดยเฉพาะเท่านั้น


      ความสกปรกและฝุ่นละอองเป็นสาเหตุของสิว
      ?

      สิวหัวดำอาจทำให้เข้าใจว่าสิวเกิดจากความสกปรกหรือฝุ่นละออง สิวหัวดำที่เห็นเป็นจุดดำๆนั้นไม่ได้เกิดจากสิ่ง สกปรกไปอุดตันแต่เกิดจากไขมันอุดตันในท่อต่อมไขมัน มีเม็ดสีมาสะสม ความเชื่อนี้ทำให้ผู้เป็นสิวหลายคนล้างหน้าบ่อยครั้งเกินไปและใช้สบู่ที่แรงหรือสบู่ยา ทำให้หน้าอักเสบ ระคายเคือง และสิวยิ่งกำเริบมากขึ้น



      การบีบสิวเอาหนองออกช่วยให้สิวหายเร็ว?

      สิวที่สามารถกดออกได้ คือ สิวหัวดำ ซึ่งยังไม่มีการอักเสบเกิดขึ้น โดยใช้เครื่องมือกดสิวและกดโดยผู้ชำนาญเท่านั้น การกดหรือบีบสิวระยะอื่นๆทำให้อาการเลวลง และเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดแผลเป็น


      สิวเกิดจากเลือดเสีย?

      บางครั้งอาจพบเลือดออกในสิวที่เป็นตุ่มหนองขนาดใหญ่ได้ ซึ่งอาจเห็นเป็นเลือดดำอยู่ภายใน ทำให้บางคนเชื่อว่าสิวเกิดจากเลือดเสียซึ่งไม่เป็นความจริง


      สิวเกิดจากการรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง?

      มีผู้เชื่อว่ารับประทานอาหารไขมันสูง เช่น มันทอด ถั่วทอด ไอศกรีม ขนมหวาน ทำให้เป็นสิวได้ เพราะไขมันจะถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายและซึมออกมาเป็นไขมันตามใบหน้าได้ ซึ่งไม่เป็นความจริง ไขมันที่รับประทานเข้าไปไม่มีส่วนทำให้ต่อมไขมันผลิตไขมันมากขึ้น แต่การใช้น้ำมันหรือเครื่องสำอางที่มีน้ำมันเป็นส่วนประกอบ อาจทำให้รูขุมขนอุดตันและก่อให้เกิดสิวได้



      การรับประทานช็อคโกแลตจะทำให้เป็นสิว?

      มีผู้เชื่อกันมากว่าการรับประทานช็อคโกแลตจะกระตุ้นให้สิวมากขึ้น แต่เมื่อทำการทดลองตามหลักวิทยาศาสตร์ซึ่งยังไม่มีข้อมูลใดๆที่แสดงว่าช็อคโกแลตทำให้เป็นสิวได้


      เพศสัมพันธ์ทำให้สิวกำเริบหรือดีขึ้นได้?

      บางคนเชื่อว่าเพศสัมพันธ์ทำให้สิวดีขึ้นได้ ความเชื่อนี้สืบเนื่องมาแต่ครั้งยุโรปโบราณที่ว่าการแต่งงานทำให้สิวหายไปได้ อันที่จริงผู้ที่แต่งงานแล้วอาจมีสิวหายไปเพราะวัยที่แต่งงานพ้นช่วงวัยรุ่นไปแล้ว ซึ่งเป็นวัยที่พบสิวน้อยลงตามธรรมชาติ ในทางตรงกันข้ามบางคนเชื่อว่าสิวจะกำเริบเมื่อมีเพศสัมพันธ์ซึ่ไม่เป็นความจริง การมีเพศสัมพันธ์ไม่ได้มีส่วนกระตุ้นฮอร์โมนที่เป็นต้นเหตุของสิวออกมา โดยสรุปการมีเพศสัมพันธ์ไม่ได้ทำให้สิวกำเริบหรือดีขึ้น

      ...................................................
      เอกสารอ้างอิง

      สิวปัญหาผิวหนังที่พบบ่อยที่สุด

      โดย นายแพทย์ประวิตร พิศาลบุตร

      The disease of sebaceous glands : acne

      โดย รัศนี อัครพันธุ์

      รูปภาพจาก
      http://www.siamhealth.net/Health/Photo_teaching/acne.htm

      ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      ความคิดเห็น

      ×