ตามล่าแม่มด - ตามล่าแม่มด นิยาย ตามล่าแม่มด : Dek-D.com - Writer

    ตามล่าแม่มด

    แม่มด? ทำไมถึงอมากเป็นแม่มดกัน ทั้งๆที่แม่มดนั้นถูกหาว่าเป็นตัวแทนแห่งความชั่วร้าย

    ผู้เข้าชมรวม

    1,099

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    2

    ผู้เข้าชมรวม


    1.09K

    ความคิดเห็น


    7

    คนติดตาม


    4
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  17 เม.ย. 52 / 18:14 น.


    ข้อมูลเบื้องต้น
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ

      ปลายเดือนตุลาคมของทุกปี ประเทศแถบยุโรปมีงานเทศกาล ฮัลโลวีน (Halloween : เป็นเทศกาลชุมนุมนักบุญตรงกับวันที่ 31 ตุลาคม) เทศกาลนี้มีส่วนเกี่ยวข้องกับ แม่มดอยู่ด้วย เชื่อกันว่า ผู้ที่มาเคาะประตูขอขนม เล่น เกมจะโดนหลอกหรือให้ขนม (Trick or Treat) นั้นเป็นแม่มด ถ้าเราไล่ไปและไม่ให้ขนมแม่มดจะดลบันดาลให้มีสิ่งร้ายเกิดขึ้น

      แน่นอนในสายตาของเด็กทั่วไป แม่มดมีเพียงในนิทานและเป็นส่วนหนึ่งของการแต่งชุดแฟนซีในเทศกาล ฮัลโลวีน เท่านั้น มีเพียงบางคนที่พอจะรู้เรื่องประวัติศาสตร์ตะวันตกสมัยที่แม่มดถูกแขวนคอและถูกฆ่า การกวาดล้างแม่มดในครั้งนั้นไม่ไดทำให้แม่มดหายไป แต่กลับมีการฝึกฝนพลังแม่มดมากกว่าเมื่อสมัยพุทธศตวรรษที่ 16-17 ที่มีการคลั่งแม่มดเสียอีก

      จำนวนของแม่มดในสหรัฐอเมริกา มีมากถึง 50,000 คน สหรัฐอเมริกา เป้ฯดินแดนที่วิชา ว่าด้วย การทำคุณไสย (witchcraft) เป็นที่รู้จักอย่างเป็นทางการ จำนวนของแม่มดในออสเตรเลีย และยุโรป อาจจะมีจำนวนมากพอๆ กันก็ได้ แต่ไม่เป็นที่เปิดเผย

      ครั้งหนึ่งที่โบสถ์และโรงเรียนแห่งวิกแคน เปิดหลักสูตรสอนวิชา การของแม่มดทางจดหมาย มีผู้สนใจเข้าร่วมมากกว่า 40,000 คน ความคิดเห็นของผู้คนต่อ คุณไสยของแม่มดมีแตกต่างกันไป มีทั้งกลุ่มที่เห็นว่า เป้นความสนุกสนานรื่นเริง และผู้ที่เกลียดชังลัทธินี้ อย่างไรก็ตาม ความนิยมในคุณไสยของแม่มดก็ยังมีอยู่ เห็นได้จากความสำเร็จของหนังสือและนิตยสรเกี่ยวกับเรื่องนี้ที่มียอดขายสูงพอสมควร

      ในสมัยก่อผู้คนต่างเชื่อว่า การเจ็บป่วยและโชคร้ายนั้นไม่ได้เกิดขึ้นเอง เชื่อกันว่า การเจ็บป่วยและอุบัติเหตุต่างๆ เป็นความตั้งใจของแม่มดทั้งสิ้น แม่มดเป้ฯผลพวงของศาสนาคริสต์กับลัทธิป่าเถื่อน แม่มดใช้คุณไสยช่วยเหลือผู้คน รักษาโรค นำโชค แต่คุณไสยสามารถนำมาใช้ในทางไม่ดีได้ด้วย ในสังคม อัฟริกา นั้นเชื่อว่า อุบัติเหตุขึ้นเนื่องจากแม่มดทั้งสิ้น

      ในซูดาน และซาอีร์ เชื่อว่า การเป็นแม่มดนั้นเป็นคุณสมบัติที่ติดตัวมาตั้งแต่เกิด ผู้ที่เป็นอาจไม่รู้ด้วยซ้ำว่าตนเป็นแม่มด สังคมนี้เชื่อว่าความเจ็บป่วยเกิดจากเชื้อโรค ซึ่งตรงกับนิยามทางวิทยาศาสตร์ ผิดแต่เพียงว่าแม่มดเป็นผู้ควบคุมเชื้อดรคเพื่อสร้างความเจ็บป่วยให้กับคนบางคนเท่านั้น

      ส่วนภาพลักษณ์ของแม่มดในสังคมยุโรปไม่ค่อยชัดเจน แม่มดอาจจะเลวร้อยหรืออาจเป็นผู้วิเศาที่ช่วยรักษาโรคและนำโชคดีมาให้กับได้พวกเขารักษาโรคโดยใช้ความรู้ทางยาและสมุนไพรประกอบกับเวทมนตร์ คาถา ภาษา ละติน และฮีบรู ที่โดยมากสืบทอดจากพวก เคลต์ (Celtic : ชาติวงศ์เมื่อพันกว่าปีของยุโรปกลางและยุโรปตะวันตก) นอกจาคุณไสยจะถูกนำมาใช้ในทางรักษาโรคแล้ว ยังอาจนำไปใช้ในการสาปแช่งและทำเสน่ห์ได้ด้วย บุคคลใดเชื่อว่าตนถูกสาป จะต้องไปหาแม่มดเพื่อแก้คำสาปนั้น

      เรื่องของคุณไสยและเรื่องเหนือธรรมชาติเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตคนในยุคกลาง แม้ในศาสนาคริสต์พลังเหนือธรรมชาติถือว่า ถูกแสดงได้โดยพระเจ้า เรื่องราวของการต่อต้านแม่มดและการใช้คุณไสยเริ่มมีขึ้นเมื่อก่อนยุคกลางที่มีผู้วิเศษกล่าวหาว่า พระเยซู เจ้าไม่ได้ต่างอะไรกับผู้วิเศษคนหนึ่งเท่านั้น ไม่ได้มีอำนาจสูงสุดอย่างองค์กรทางศาสนาอ้าง ตั้งแต่นั้นมา องค์การศาสนา ก็ทำการต่อต้านผู้วิเศษรวมทั้ง แม่มดฐานแสดงความขัดแย้งต่อพลังอำนาจของพระเจ้า

      พ.ศ. 2027 องค์กรทางศาสนาโรมันคาทอลิก ประกาศว่าผู้ใดก็ตามที่ไม่ใช้สมาชิกของศาสนาแต่ปฏิบัติพิธีกรรม การใช้เวทมนตร์ คาถา และมีพลรังเหนือธรรมชาติ ถือว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับซาตานและปิศาจ พลังที่ได้มาไม่ใช้มาจาก พระเจ้า แต่ได้มาจากซาตานและ ปิศาจ ต่อมาผู้คนเริ่มสงสัยว่า ปิศาจ และซาตาน ที่องค์กรทางศาสนา กล่าวว่า เป็นศัตรูกับพรเจ้านั้นมีรู้ร่างลักษณะอย่างไร ทำให้สาวกของศาสนาต้องทำการศึกษาค้นคว้าอย่างจริงจัง เพื่อนำข้อมูลออกเผยแพร่ก่อนที่ผู้คนจะหมดศรัทธาในศาสนา

      เนื่องจากสร้างภาพลักษณ์ที่ไม่ดีให้กับ แม่มด และผู้วิเศษ ในปี พ.ศ. 2124 หนังสือเกี่ยวกับปิศาจถูกพิมพ์ขึ้น เพื่อให้ข้อมูลเป็นที่ประจักษ์และเมื่อช่วงปลายุคกลางปิศาจก็เริ่มมีรูปร่างลักษณะชัดเจนมากขึ้นด้วยภาพวาดของพี่น้องลิมเบอร์ก (Limbourg) แสดงให้เห็นว่า ปิศาจนั้น มีเขา มีหาง และเท้าเป็นกีบ ปีศาจอาจมาในรูปลักษณะอื่นเพื่อหลอกลวงและซักน้ำผู้ที่อ่อนแอไปในทางที่ผิด ดังนั้น ใครก้ตามที่นำทางให้กลุ่มคนเกิดควมเชื่อที่ไม่เกี่ยวขอ้งกับศาสนาแล้วผู้นั้นเป็นสาวกของปิศาจ แม่มดก็ถือว่าเป็นผู้หนึ่งที่ยอมรับและลุ่มหลงในพลังอนาจของปิศาจและถือว่าเป็นสาวกของมัน นั้นเป็นเหตุให้มีการล่าและกำจัดแม่มดในเวลาต่อมา

      ในปี พ.ศ. 2133 พรเจ้าเจมส์ที่ 6 แห่งสกอตแลนด์ (ภายหลังขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้าเจมส์ที่ 1 แห่งอังกฤษ) ได้รับทราบแผนการลอยปลงพระชนม์ที่ เอิร์ล แห่ง โบธเวลล์ (Bothwell) เป็นผู้วางแผนโดยใช้คุณไสยอขงแม่มดเป็นเครื่องมือ พระเจ้าเจมส์ มีความเชื่อในเรื่องอำนาจของปิศาจอยู่แล้วจึงเชื่อว่าคุณไสยของแม่มด น่าจะมีจริง พระองค์ทรงตัดสินพระทัยว่า จะค้นหาความจริงเริ่ม

      โดยการสืบสวน แม่มด ฐานเป็นกบฏ แอกเนส ซิมพ์สัน (Agnes Simpson) หัวหน้าแม่มดถูกนำมาพิจารณาคดีที่ นอร์ธ เบอร์วิก (North Berwick) หลังจากถูกทรมาน แอกเนส สารภาพถึงกรรมวิธีต่างๆ ที่ใช้เพื่อพยายามปลงพระชนม์แต่ไม่สำเร็จ เนื่องจากพระเจ้าเจมส์ ทรงเป้ฯสาวกของพระผู้เป็นเจ้า เป็นผลให้พลังอำนาจของปิศาจไม่สามารถทำอันตรายต่อพระองค์ได้จากคำสารภาพทำให้เหล่าแม่มดมีความผิดจริงจึงถูกประหารโดยการเผาที่ เอดินเบิร์ก (Edinberg) ส่วนเอิร์ล แห่งโบธเวลล์ ผู้เป็นราชนัดดาที่ก่อการทั้งหมดได้ลี้ภัยไปอยู่ประเทศ ชิชิลีเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นที่ นอร์ธ เบอร์วิก เป็นจุดเริ่มจ้นของการล่าแม่มด แม่มดกลายเป้ฯบุคคลชั่วร้ายและอันตราย สมควรแก่การล่า และสังหารโดยการแขวนคอ หรือเผาทั้งเป็น เรื่องราวาของ แม่มด กลายมาเป็นหัวข้อของศิลปินแขนงต่างๆ ในสมัยนั้นมีการแต่งกลอนหรืองานเขียนเกี่ยวกับแม่มด

      นักประพันธ์ผู้ยิ่งใหญ่อย่าง วิลเลียม เชกส์เปียร์ (Wiliam Shakespeare) ก็ได้นำเหตุการณ์ที่ นอร์ธ เบอร์วิก มาเขียนเป้ฯละครและจัดแสดงต่อหน้าพระพักตร์ที่พระราชวัง แฮมพ์ตัน (Hampton)เนื้อหาของละครเป็นไปตามเหตุการณ์จริงที่ แอกเนส สารภาพ

      หลายปีผ่านไป พระเจ้าเจมส์ เริ่มสงสัยว่า ข้อกล่าวหาต่างๆ ที่มีต่อแม่มดอาจมีขึ้นเนื่องจากต้องการให้แม่มดเป็นแพะรับบาปของยุทธวิธีทางการเมือง เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอาจเป็นเรื่องเข้าใจผิดก็ได้ ปัญหา คือ การหาข้อเท็จจริงและการพิสูจน์นั้นไม่ใช่เรื่องง่าย เมื่อผู้คนปักใจเชื่อแล้วว่าแม่มด เป็นปิศาจร้ายก็ยากที่ลบเลือน

      ในปี พ.ศ. 2029 มีการพิมพ์ คู่มือพฤติกรรมแม่มดเพื่อช่วยให้การจับและล่า แม่มด เป็นไปอย่างถูกต้องมากขึ้น ห้องกันไม่ให้ผู้บริสุทธิ์ต้องมารับโทษด้วย ในคู่มืออธิบายว่า แม่มดโดยมากเป็นผู้หญิง เนื่องจากผู้หญิงอ่อนแดกว่าผู้ชายจึงถูกปีศาจหลอกล่อให้ไปเป็นสาวกได้ง่ายกว่า การล่องหนหายตัวก็เป็นอีกคุณสมบัติหนึ่งของแม่มด วิธีที่จะทำให้ แม่มด สารภาพคือ การทรมานด้วยวิธีต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการตอกเล็บหรือการทรมานทางร่างกายอื่นๆ ผู้ที่ถูกเชื่อว่าเป็ฯแม่มดจะถูกทรมานจนกบ่าจะยอมรับสารภาพว่าเป็ฯแม่มดจริง ซึ่งการกระทเช่นนี้เไม่สามารถหาความจริงได้เนื่องจากบางคนต้องยอมรับสารภาพเพระาทนความเจ็บปวดไม่ไหว

      และด้วยอีกความเชื่อที่ว่า แม่มด ไม่อยู่โดดเดี่ยว แต่มีกันเป็นกลุ่มทำให้แม่มดที่ถูกจับต้องยอมบอกชื่อของแม่มดอื่นๆ ด้วยและผู้หญิงที่ถูกเอ่ยชื่อก็จะถูกจับมาทรมานอีกเป็นวงจรอยู่อย่างนี้ไม่มีที่สิ้นสุด

      ผู้หญิงคนใดถูกจับแล้วก็ยากที่จะหลุดพ้นข้อกล่าวหนา หนทางที่จะพ้นความทรมาน คือยอมรับและยอมเอ่ยชื่อคนอื่นออกมา ในบางสังคม วงจรนี้เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่าจนแทบไม่เหลือใครให้กล่าวหาอีกแล้ว ในบางหมู่บ้านมีผู้หญิงเหลือเพียงคนเดียวเท่านั้น บางสมัยมีการสังหารหมู่เหล่าแม่มดในคราวเดียวถึง 600-900 คน วันหนึ่งๆ มีผู้หญิงต้องตายเนื่องจากการล่า แม่มด นับพันคน มีบางคนเหมือนกันที่เห็นว่า การกระทำเช่นนี้ไม่ถูกต้องเพราะทำให้ผู้บริสุทธิ์ต้องตาย แต่การต่อต้านก็จะจบลงด้วยการถูกกล่าวหาว่าเป็นแม่มดเสียเอง และถูกฆ่าในที่สุด

      มีตัวอย่างดังในสมัยพระเจ้าโยฮันน์ จอร์จ ที่ 2 (Johann Georg ll) แห่งเยอรมัน มีผู้ไม่เห็นด้วยชื่อ โยฮันเนส จูนิอุส (Johannes Junius) ไม่เห็นด้วยกับการสร้างโรงสำหรับทรมาน แม่มด โดยเฉพาะ ผลาคือ จูนิอุสถูกจับและหลังจากความทรมานแสนสาหัสเธอจำเป็นต้องยอมรับว่าเป็นแม่มด และถูกฆ่าในที่สุด ก่อนตาย จูนิอุส ได้เขียนจดหมายถึงลูกสาวบรรยายความทุกข์ทรมานที่ได้รับและการที่ต้องโกหกเพ่อที่จะพ้นควาทุกข์ทรมานนี้ เป็นจดหมายที่สร้างความสะเทือนใจให้กับผู้คนสมัยนั้นเป็นอย่างมาก

      ไม่มีหลักฐานที่แน่ชัดว่า อะไรทำให้การล่าและความเชื่อเกี่ยวกับแม่มดลดลงและเสื่อมสลายไป อาจเป็นไปได้ว่า ความเจริญทางวิทยาศาสตร์ในพุทธศตวรรษที่ 23 เบี่ยงเบนความสนใจ หลังจากนั้น แม่มดไม่ค่อยเป็นที่พบเห็น มีเพียงคุณไสยขอผู้วิเศษหรือคนทรงต่างๆ ที่ยังคงอยู่ต่อไปความเชื่อในพลังเหนือธรรมชาติคงมีอยู่ต่อไป แม้ไม่เป็นที่บ้าคลั่งเหมือนเดิม ดังเช่น ในยุคพุทธศตวรรษที่ 21-22

      http://www.aksorn.com/Lib/libshow.asp?sid=370&sara=soc_04&level=s

      ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      ความคิดเห็น

      ×