กติกาเปตอง - กติกาเปตอง นิยาย กติกาเปตอง : Dek-D.com - Writer

    กติกาเปตอง

    กติกาการเล่นกีฬาเปตอง

    ผู้เข้าชมรวม

    29,734

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    15

    ผู้เข้าชมรวม


    29.73K

    ความคิดเห็น


    16

    คนติดตาม


    2
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  29 ม.ค. 50 / 02:48 น.


    ข้อมูลเบื้องต้น

    กติกาสากลการเล่นเปตองฉบับนี้ สหพันธ์เปตองนานาชาติได้อนุมัติให้ใช้เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2527 ณ เมือง โรตเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์
    ข้อ 1
    เปตองเป็นกีฬาที่เล่นโดยมีผู้เล่น 2 ฝ่าย และแบ่งการเล่นออกได้ดังนี้

    1.1 ผู้เล่นฝ่ายละ 3 คน (Triples)

    1.2 ผู้เล่นฝ่ายละ 2 คน (Doubles)

    1.3 ผู้เล่นฝ่ายละ 1 คน (Singles)

    1.4 ในการเล่นฝ่ายละ 3 คน ผู้เล่นแต่ละคนต้องมีลูกบูลคนละ 2 ลูก

    1.5 ในการเล่นฝ่ายละ 2 คน ผู้เล่นแต่ละคนต้องมีลูกบูลคนละ 3 ลูก

    1.6 ในการเล่นฝ่ายละ 1 คน ผู้เล่นต้องมีลูกบูลคนละ 3 ลูก

    1.7 ห้ามจัดให้มีการเล่นนอกเหนือจากกฎที่ได้กำหนดไว้ในข้อ 1 นี้

    ข้อ 2
    ลูกบูลที่ใช้ในการเล่นต้องได้รับการรับรองจากสหพันธ์ฯและต้องมีลักษณะดังนี้

    (1) เป็นโลหะ

    (2) มีเส้นผ่าศูนย์กลางระหว่าง 7.05-8.00 ซ . ม .

    (3) มีน้ำหนักระหว่าง 0.650-0.800 ก . ก . และต้องมีเครื่องหมายของโรงงานผู้ผลิต ตัวเลข แสดงน้ำหนักและเลขรหัส ปรากฏบนลูกบูลอย่างชัดเจน .

    (4) เป็นลูกบูลที่ผลิตจากโรงงานที่ได้รับการรับรองจากสหพันธ์ฯ และห้ามเปลี่ยนแปลงสภาพเดิม ไม่ว่าจะใช้ตะกั่วบัดกรีหรือนำเอาดินทรายมาติดเพิ่มหรือใส่ไปในลูกบูล   ในลักษณะที่มีเจตนาส่อไปในทางทุจริต แต่อนุญาตให้เจ้าของสลักชื่อหรือเครื่องหมายบนลูกบูลได้

    2.1 ผู้เล่นที่ฝ่าฝืนหรือละเมิดกฎข้อ 2 (4) จะถูกลงโทษให้ออกจากการแข่งขันทั้งทีมทันที

    2.2 ลูกบูลที่ถูกเปลี่ยนแปลงสภาพ ผู้กระทำผิดจะถูกลงโทษดังนี้

    2.2.1 ผู้เล่นที่ฝ่าฝืนหรือละเมิดกฎข้อ 2 (4) จะถูกถอนใบอนุญาต ( บัตรประจำตัวนักกีฬา ) อย่างน้อย 15 ปี และอาจถูกลงโทษจากคณะกรรมการวินัยอีกด้วย

    2.2.2 การใช้ความร้อนเพื่อเปลี่ยนแปลงสภาพของลูกบูล ผู้กระทำผิดจะถูกถอนใบอนุญาต

    ( บัตรประจำตัวนักกีฬา ) 5 ปี และห้ามเข้าทำการแข่งขันชนะเลิศแห่งชาติ และนานาชาติ 5-10 ปี

    2.3 กรณีหนึ่งกรณีใดที่ได้ระบุไว้ในข้อ 2.2.1 และ 2.2.2 ถ้าผู้เล่นได้ยืมลูกบูลจากผู้อื่นมาเล่น เจ้าของลูกบูลผู้ให้ยืมจะถูกลงโทษภาคภัณฑ์ 5 ปี

    2.4 ถ้าลูกบูลนั้นมิได้ถูกกระทำทุจริต แต่เนื่องจากลูกบูลนั้นเก่ามาก หรือมีการผิดพลาดจากโรงงานผู้ผลิต และเมื่อตรวจสอบแล้วไม่ได้ลักษณะตามที่ได้กำหนดไว้ในข้อ 2 (1), (2) และ (3) จะต้องเปลี่ยนลูกบูลนั้นทันที

    2.5 เพื่อประโยชน์ของฝ่ายตน ก่อนทำการแข่งขันทุกครั้ง ผู้เล่นทั้งสองฝ่ายควรตรวจสอบ ลูกบูลของฝ่ายตนและฝ่ายตรงข้ามให้ถูกต้องตามเงื่อนไขที่ได้กำหนดไว้ในข้อ 2 (1), (2) และ (3)

    2.6 ในกรณีที่มีการผ่าลูกบูลเพื่อตรวจสอบ ถ้าลูกบูลนั้นมิได้ถูกกระทำทุจริต ฝ่ายประท้วงจะต้องรับผิดชอบชดใช้ หรือเปลี่ยนลูกบูลนั้นให้แก่ฝ่ายเสียหาย และเจ้าของลูกบูลไม่มีสิทธิ์ที่จะเรียกร้องค่าเสียหายใดๆ อีก

    2.7 ในระหว่างการแข่งขัน ผู้ตัดสินและกรรมการชี้ขาดอาจตรวจสอบลูกบูลของผู้เล่นทุกคนได้ทุกเวลา

    2.8 การประท้วงของนักกีฬาว่าด้วยเรื่องการตรวจสอบลูกบูลจะกระทำได้ในระหว่างการเล่น 2 เที่ยวแรก เท่านั้น

    2.9 หลังจากเริ่มเล่นเที่ยวที่ 3 แล้ว ถ้ามีการประท้วงเกี่ยวกับลูกบูลของฝ่ายตรงข้าม ฝ่ายที่ประท้วงจะถูกปรับ 3 คะแนน โดยนำไปเพิ่มในป้ายคะแนนของฝ่ายตรงข้าม

    2.10 ลูกเป้าต้องทำด้วยไม้ มีเส้นผ่าศูนย์กลางระหว่าง 25-35 ม . ม . และอาจทาสีได้ แต่ต้องเป็นสีที่สามารถมองเห็นได้ชัดเจนในขอบเขตสนาม

    ข้อ 3
    ก่อนเริ่มการแข่งขัน หากกรรมการผู้ตัดสินหรือผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามขอตรวจสอบใบอนุญาต ( บัตรประจำตัวนักกีฬา ) ผู้เล่นนั้น ๆ จะต้องแสดงให้ดูทันที
                      3.1 ใบอนุญาต ( บัตรประจำตัวนักกีฬา ) ทุกประเภทต้องเป็นของสหพันธ์เปตองแห่งชาติ มีตรานูน ของสหพันธ์ฯ ประทับอยู่ด้านหลัง มีรูปถ่ายขนาด 1 นิ้ว มีลายเซ็นของผู้ถือบัตร และลายเซ็นของผู้ออกบัตร และต้องมีตราของชมรมหรือสมาคมนั้นๆ ประทับคาบอยู่บนรูปถ่ายด้วย

    3.2 ผู้เล่นที่มีใบอนุญาต ( บัตรประจำตัวนักกีฬา ) ไม่ถูกต้องตามข้อ 3.1 ไม่มีสิทธิ์ลงทำการแข่งขัน

    ข้อ 4
    ห้ามผู้เล่นทุกคนเปลี่ยนลูกเป้าหรือลูกบูลในระหว่างการแข่งขัน เว้นแต่ในกรณี ดังนี้

    4.1 ลูกเป้าหาย

    4.2 ลูกบูลหาย

    4.3 ถ้าลูกบูลลูกหนึ่งแตกเป็น 2 ชิ้น หรือหลายชิ้น ให้ปฏิบัติตามกฎข้อย่อย ดังนี้

    4.3.1 ถ้าหมดลูกบูลเล่นแล้ว ให้นับคะแนนจากชิ้นที่ใหญ่ที่สุด

    4.3.2 ถ้ายังมีลูกบูลเหลือเล่นอยู่ ให้นำลูกบูลอื่นที่มีลักษณะใกล้เคียงกันมาเปลี่ยนทันที

    โดยให้นำมาวางแทนที่ตำแหน่งชิ้นที่ใหญ่ที่สุด ของลูกบูลที่แตกนั้น แล้วเล่นต่อไปตามปกติ

    4.4 กฎข้อ 4.3 นี้ ให้ใช้กับลูกเป้าด้วย

    วิธีเล่น

    ข้อ 5

    เปตองเล่นได้กับสนามทุกสภาพ โดยมีคณะกรรมการจัดการแข่งขันหรือผู้ตัดสินเป็นผู้กำหนด ผู้เล่นทุกทีต้องเล่นในสนามที่กำหนดให้ สำหรับการแข่งขันชิงชนะเลิศแห่งชาติ และนานาชาติสนามต้องมีขนาดกว้าง 4 เมตรและยาว 15 เมตร เป็นอย่างน้อย

    5.1 ส่วนการแข่งขันอื่น ๆ สหพันธ์ฯ อาจอนุโลมให้เปลี่ยนแปลงขนาดของสนามได้ ตามความจำเป็นและเหมาะสม

    5.2 เกมหนึ่งกำหนดให้มี 13 คะแนน สำหรับการแข่งขันในรอบแรกและรอบสองจะใช้เพียง   11 คะแนนก็ได้

    ข้อ 6

    ผู้เล่นทุกคนต้องลงสู่สนามแข่งขันตามเวลาที่กำหนดให้ และทำการเสี่ยงว่าฝ่ายใดจะเป็นฝ่ายโยน ลูกเป้า

    6.1 ผู้เล่นคนหนึ่งคนใดในทีมซึ่งเป็นฝ่ายชนะในการเสี่ยง เป็นผู้โยนลูกเป้า เมื่อเลือกจุดเริ่มแล้ว ให้

    เขียนวงกลมบนพื้นมีขนาดพอที่เท้าทั้งสองเข้าไปยืนอยู่ได้ ( เส้นผ่าศูนย์กลางระหว่าง 0.35-0.50 ม .) วงกลมนั้นจะต้องห่างจากสิ่งกีดขวางต่างๆ และเส้นเขตสนามไม่น้อยกว่า 1 เมตร

    6.2 ผู้ที่เตรียมเล่นจะต้องเข้าไปยืนอยู่ภายในวงกลม ห้ามเหยียบเส้นรอบวง ห้ามยกเท้าพ้นพื้น และ

    ห้ามออกจากวงกลมก่อนที่ลูกบูลจะตกถึงพื้น ส่วนอื่นของร่างกายจะถูกพื้นนอก วงกลมไม่ได้ เว้นแต่คนขาพิการ ซึ่งได้รับอนุญาตเป็นกรณีพิเศษให้วางเท้าข้างเดียวใน วงกลมได้

    6.3 ผู้เล่นคนหนึ่งคนใดในทีมซึ่งเป็นผู้โยนลูกเป้า ไม่บังคับว่าจะต้องเป็นผู้โยนลูกบูลลูกแรกเสมอไป

    6.4 ในกรณีที่สนามไม่ดี ( ชำรุด ) ห้ามผู้เล่นตกลงกันเองไปแข่งในสนามอื่น โดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้ตัดสิน

    ลูกเป้า


    ข้อ 7
    ลูกเป้าที่โยนไปแล้วถือว่าดีจะต้องมีกฎเกณฑ์ดังนี้

    7.1 มีระยะห่างระหว่างขอบวงกลมด้านใกล้ที่สุด ถึงลูกเป้า

    7.1.1 ไม่น้อยกว่า 4 เมตร และไม่เกิน 8 เมตร สำหรับเด็กเล็ก

    7.1.2 ไม่น้อยกว่า 5 เมตร และไม่เกิน 9 เมตร สำหรับยุวชน

    7.1.3 ไม่น้อยกว่า 6 เมตร และไม่เกิน 9 เมตร สำหรับเยาวชน

    7.1.4 ไม่น้อยกว่า 6 เมตร และไม่เกิน 10 เมตร สำหรับผู้ใหญ่

    7.2 วงกลมต้องอยู่ห่างจากสิ่งกีดขวางต่างๆ และเส้นเขตสนาม ไม่น้อยกว่า 1 เมตร

    7.3 ตำแหน่งลูกเป้าต้องอยู่ห่างจากจากสิ่งกีดขวางต่างๆ และเส้นเขตสนามไม่น้อยกว่า 1 เมตร

    7.4 ให้ผู้เล่นมองเห็นได้ชัดเจนขณะยืนตัวตรงอยู่ในวงกลม

    ( ถ้ามีการโต้แย้งในกรณีนี้ให้ผู้ตัดสินเป็นผู้ชี้ขาด )

    7.5 การโยนลูกเป้าในเที่ยวต่อๆ ไป ให้เขียนวงกลมรอบตำแหน่งที่ลูกเป้าอยู่เที่ยวที่แล้ว

    เว้นแต่ในกรณีดังนี้

    7.5.1 วงกลมมีระยะห่างจากสิ่งกีดขวางและเส้นสนามน้อยกว่า 1 เมตร

    7.5.2 โยนลูกเป้าไม่ได้ระยะตามที่กติกากำหนด

    7.5.3 ในกรณีตามข้อ 7.5.1 ผู้เล่นต้องเขียนวงกลมให้ห่างจากสิ่งกีดขวางและเส้นเขตสนาม ตามที่กติกาได้กำหนดไว้

    7.5.4 ในกรณีตามข้อ 7.5.2 ผู้เล่นต้องย้ายวงกลม ถอยหลังตามแนวตรงจากตำแหน่งของลูกเป้าจนกว่าจะได้ระยะการโยน กรณีนี้อาจจะกระทำได้ต่อแม้ว่าจะโยนไปในทิศทางใดก็ตาม เท่านั้น

    7.5.5 ถ้าผู้เล่นฝ่ายเดียวกัน โยนลูกเป้าไปแล้ว 3 ครั้ง ยังไม่ดี จะต้องเปลี่ยนให้ผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามเป็นผู้โยน ซึ่งมีสิทธิ์โยน 3 ครั้งเหมือนกัน และอาจย้ายวงกลมถอยหลัง ตามที่ระบุไว้ในข้อ 7.5.4

    ได้ แต่วงกลมนั้นจะเปลี่ยนแปลงอีกไม่ได้ แม้ว่าผู้เล่นของทีมนี้จะโยนลูกเป้าไม่ดีทั้ง 3 ครั้งก็ตาม

    7.5.6 ถึงแม้ทีมที่โยนลูกเป้า 3 ครั้งแรกไม่ได้ดีก็ตาม แต่ทีมนั้นยังมีสิทธิ์เป็นฝ่ายโยนลูกบูลลูกแรก
                ข้อ 8 ลูกเป้าที่โยนไปแล้วถูกผู้ตัดสิน ผู้เล่น ผู้ดู สัตว์ หรือสิ่งที่เคลื่อนไหวอื่นๆ แล้วหยุด ให้นำมาโยนใหม่โดยไม่นับรวมอยู่ในการโยน 3 ครั้ง ที่ได้กำหนดไว้

    8.1 หลังจากการโยนลูกเป้าและลูกบูลลูกแรกไปแล้วฝ่ายตรงยังมีสิทธิ์ประท้วงว่าด้วยตำแหน่งของลูกเป้านั้นได้ ถ้าการประท้วงนั้นถูกต้องให้เริ่มโยนลูกเป้าและลูกบูลใหม่

    8.2 ถ้าฝ่ายตรงข้ามได้โยนลูกไปด้วยแล้ว 1 ลูกให้ถือว่าตำแหน่งลูกเป้านั้นดี และไม่มีสิทธิ์ประท้วงใดๆ ทั้งสิ้น

    ข้อ 9

    ลูกเป้าที่โยนไปแล้วถือว่าฟาล์วมี 5 กรณี ดังนี้

    9.1 เมื่อลูกเป้าที่โยนไปแล้วไม่ได้ตำแหน่งที่ถูกต้องตามที่ได้กำหนดไว้ในข้อ 7

    9.2 เมื่อลูกเป้าเคลื่อนที่ออกนอกเส้นฟาล์ว แต่ลูกเป้าคาบเส้น ยังถือว่าดีอยู่ลูก เป้าที่ถือว่าฟาล์วคือลูกเป้าที่ได้ออกพ้นเส้นฟาล์วเท่านั้น

    9.3 เมื่อลูกเป้าเคลื่อนที่ไปแล้ว ผู้เล่นไม่สามารถมองเห็นจากวงกลมตามที่ กำหนดไว้ในข้อ 7.4 แต่ถ้าลูกเป้าถูกลูกบูลบังอยู่ไม่ถือว่าฟาล์ว

    9.4 เมื่อลูกเป้าเคลื่อนที่ไป มีระยะห่างจากวงกลมเกินกว่า 30 เมตรหรือน้อยกว่า 3 เมตร

    9.5 เมื่อลูกเป้าเคลื่อนที่ไปแล้วหาไม่พบ

    ข้อ 10
    เมื่อโยนลูกเป้าไปแล้ว ห้ามผู้เล่นปรับพื้นที่ หรือเคลื่อนย้ายสิ่งต่าง ๆ เช่น กรวด หิน ดิน ทราย ใบไม้ ฯลฯ ในบริเวณสนามแข่งขันโดยเด็ดขาดเว้นแต่ผู้เตรียมตัวจะลงเล่นเท่านั้นมีสิทธิ์ที่จะปรับสนามที่มีหลุม ซึ่งเกิดจากการโยนลูกบูลของผู้เล่นคนที่แล้ว ผู้เล่นที่ฝ่าฝืนกฎนี้จะต้องถูกลงโทษ ดังนี้

    10.1 ถูกเตือน

    10.2 ปรับลูกที่เล่นไปแล้วนั้นหรือลูกที่กำลังจะเล่น เป็นลูกฟาล์ว

    10.3 ปรับเฉพาะผู้กระทำผิดให้งดเล่น 1 เที่ยว

    10.4 ปรับเป็นแพ้ทั้งทีม

    10.5 ปรับเป็นแพ้ทั้ง 2 ทีม ถ้ากระทำผิดเหมือนกัน

    ข้อ 11

    ในระหว่างการเล่นแต่ละเที่ยว หากมีใบไม้หรือกระดาษมาบังลูกเป้าโดยบังเอิญให้เอาออกได้

    11.1 เมื่อลูกเป้าหยุดนิ่งแล้ว และเคลื่อนที่ไปใหม่โดยแรงลมพัดหรือจากการลาดเอียงของพื้นสนาม จะต้องนำกลับมาวางที่ตำแหน่งเดิม

    11.2 เมื่อลูกเป้าเคลื่อนที่โดยอุบัติเหตุอันเกิดขึ้นจากผู้ตัดสิน ผู้ดู สัตว์ สิ่งเคลื่อนไหวอื่นๆ รวมทั้งลูกเป้าหรือลูกบูลที่เคลื่อนมาจากสนามอื่น ให้นำลูกเป้านั้นมาวางที่ตำแหน่งเดิม

    11.3 เพื่อหลีกเลี่ยงการประท้วงทั้งปวง ผู้เล่นควรทำเครื่องหมายบนพื้นสนามตามตำแหน่ง ของลูกเป้าหรือลูกบูลไว้ มิฉะนั้นจะไม่มีสิทธิ์ประท้วงใดๆ ทั้งสิ้น 11.1 ลูกเป้าที่อยู่บนพื้นสนามซึ่งมีน้ำขังอยู่ถือว่าดี หากลูกเป้านั้นไม่ลอยปนน้ำ

    ข้อ 12
    ในระหว่างการเล่นแต่ละเที่ยว หากลูกเป้าเคลื่อนที่ไปอยู่อีกสนามหนึ่ง ให้ถือว่าลูกเป้านั้นยังดีอยู่

    12.1 ถ้าสนามนั้นมีการแข่งขันอยู่ ฝ่ายที่ต้องใช้ลูกเป้านั้นจะต้องหยุดรอ เพื่อคอยให้ผู้เล่นที่กำลังเล่นอยู่ในสนามนั้นเล่นจบเที่ยวไปก่อน

    12.2 ผู้เล่นที่มีปัญหาตาม ข้อ 12.1 จะต้องแสดงออกถึงความมีน้ำใจ ความอดทนและความเอื้ออารีต่อกัน

    ข้อ 13
    ในระหว่างการเล่นแต่ละเที่ยว ถ้าลูกเป้าเกิดฟาล์วขึ้น ให้ปฏิบัติตามกฎข้อย่อย ดังนี้

    13.1 ถ้าผู้เล่นทั้งสองฝ่ายมีลูกบูลเหลือเล่นอยู่ การเล่นเที่ยวนั้นถือว่าเป็นโมฆะ ต้องเริ่มเล่นใหม่ที่วงเดิม

    13.2 ถ้าฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดมีลูกบูลเหลืออยู่เพียงฝ่ายเดียว ฝ่ายนั้นจะได้คะแนนเท่ากับจำนวนลูกบูลที่เหลืออยู่

    โดยไม่ต้องเล่น

    13.3 ถ้าทั้งสองฝ่ายหมดลูกบูลเหมือนกันให้เริ่มเล่นใหม่ ( ลูกเป้าที่เคลื่อนที่ไปแล้วและหาไม่พบภายใน 5 นาที ถือว่าลูกเป้านั้นฟาล์ว )


    ข้อ 14

    14.1 ถ้าเป้าถูกยิงแล้วเคลื่อนที่ไปถูกผู้ดูหรือผู้ตัดสิน แล้วหยุดให้นำลูกเป้านั้นอยู่ที่ตำแหน่งใหม่

    14.2 ถ้าลูกเป้าถูกยิงแล้วเคลื่อนที่ไปถูกผู้เล่นคนหนึ่งคนใดแล้วหยุด ฝ่ายตรงข้ามที่ทำให้ลูกเป้าหยุด มี

    สิทธิ์เลือกปฏิบัติตามกฎข้อย่อย ดังนี้

    14.2.1 ให้ลูกเป้าอยู่ที่ตำแหน่งใหม่

    14.2.2 นำลูกเป้ามาวางที่ตำแหน่งเดิม

    14.2.3 วางลูกเป้าตามแนวยาวตรงระหว่างตำแหน่งเดิมกับตำแหน่งใหม่ แต่ต้องอยู่ภายในสนามแข่งขัน

    เท่านั้นแล้วเริ่มเล่นต่อไปตามปกติกรณีการนำลูกเป้ามาวางที่ตำแหน่งเดิม และจะกระทำได้ต่อเมื่อผู้เล่นได้ทำเครื่องหมายที่ตำแหน่งลูกเป้าไว้เท่านั้นมิฉะนั้นจะต้องให้ลูกเป้านั้นอยู่ที่ตำแหน่งใหม่


    ข้อ 15
    ในระหว่างการเล่นแต่ละเที่ยว หากลูกเป้าเคลื่อนที่ไปอยู่ในสนามอื่น ถือว่ายังดีอยู่ในเที่ยวต่อไปจะต้องกลับมาเริ่ม

    เล่นที่สนามเดิม แต่ต้องเป็นไปตามที่กำหนดไว้ในข้อ 7.2

    ลูกบูล


    ข้อ 16
    ผู้เล่นคนหนึ่งคนใดในทีมที่ชนะในการเสี่ยงหรือชนะในเที่ยวที่แล้ว เป็นผู้โยนลูกเป้าและลูกบูลลูกแรก

    16.1 ห้ามผู้เล่นใช้เครื่องช่วยอื่นใด หรือแม้แต่ขีดเส้นบนพื้นสนาม เพื่อเป็นที่สังเกตุจุดตกของลูกบูลที่ตน

    จะโยนและไม่อนุญาตให้ผู้เล่นถือลูกบูลหรือสิ่งอื่นใด ในมืออีกข้างหนึ่งในขณะโยนลูกบูลลูกสุดท้ายของตน

    ( ยกเว้นผ้าเช็ดลูกบูล )

    16.2 ห้ามทำให้ลูกบูลเปียก

    16.3 ถ้าลูกบูลลูกแรกที่เล่นไปแล้วเกิดฟาล์ว ต้องเปลี่ยนให้ผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามเป็นผู้เล่น และถ้าลูกโยนไปยัง

    ฟาล์วอยู่จะสลับกันโยนฝ่ายละ 1 ลูก จนกว่าฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดโยนลูกบูลได้ ดีแล้ว จึงเล่นต่อไปตามปกติ

    16.4 ฝ่ายใดที่ทำให้ลูกบูลในสนามฟาล์วทั้งหมดโดยไม่มีลูกบูลเหลืออยู่ในสนาม ฝ่ายที่ทำให้ลูกบูลฟาล์ว

    จะต้องเป็นฝ่ายเล่นลูกต่อไป


    ข้อ 17
    เมื่อผู้เล่นคนหนึ่งคนใดได้เข้าไปยืนอยู่ในวงกลมเพื่อเตรียมเล่นแล้ว ผู้ดูและนักกีฬาทุกคนต้องอยู่ในความสงบ

    17.1 ห้ามผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามเดินหรือแสดงท่าทางอย่างหนึ่งอย่างใดที่เป็นการรบกวนสมาธิของผู้ที่กำลังเล่น

    เว้นแต่ผู้ร่วมทีมเท่านั้นที่มีสิทธิ์เข้าไปอยู่ในสนาม เพื่อแนะแนวการโยนลูกบูลของฝ่ายตนได้

    17.2 ผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามจะต้องยืนอยู่ด้านข้างหรือด้านหลังของผู้เตรียมเล่น และจะต้องอยู่ห่างน้อยกว่า 2

    เมตร

    17.3 ผู้เล่นที่ฝ่าฝืนกฎข้อ 17 ผู้ตัดสินจะเตือน 1 ครั้งและถ้ามีการฝ่าฝืนซ้ำอีก ผู้ตัดสินอาจพิจารณาให้ออก

    จากการแข่งขันก็ได้


    ข้อ 18
    ลูกบูลทุกลูกที่โยนไปแล้ว ห้ามนำมาโยนใหม่เว้นแต่ลูกบูลที่โยนไปแล้วถูกหยุดหรือเปลี่ยนทิศทางโดยบังเอิญ

    เนื่องจากถูกลูกบูลหรือลูกเป้า ซึ่งเคลื่อนที่มาจากสนามอื่นหรือถูกสัตว์และสิ่งเคลื่อนไหวอื่นๆ เช่น ลูกบอล ฯลฯ

    18.1 ห้ามทดลองโยนลูกบูลในระหว่างการแข่งขัน

    18.2 เมื่อคณะกรรมการจัดการแข่งขันได้กำหนดเส้นเขตสนามเรียบร้อยแล้ว ผู้เล่นแต่ละทีมจะต้องลงทำการแข่งขันในสนามที่กำหนดให้ ในระหว่างการเล่นหากลูกบูลออกนอกเส้นเขตสนาม ให้ถือว่ายังดีอยู่ ( เว้นแต่ที่ได้กำหนดไว้ในข้อ 19 )

    18.3 ในกรณีที่สนามแข่งขันทั้งหมดมีขอบกั้นอยู่ ขอบกั้นนั้นจะต้องอยู่รอบนอกของเส้นฟาล์วและต้องห่างกัน

    ไม่น้อยกว่า 0.30 เมตร

    18.4 เส้นฟาล์วจะต้องอยู่รอบนอกเส้นเขตสนามและต้องห่างกันไม่เกิน 1 เมตร


    ข้อ 19
    ลูกบูลทุกลูกที่กลิ้งผ่านเส้นฟาล์ว แล้วย้อนกลับเข้ามาในสนามถือว่าเป็นลูกฟาล์ว

    19.1 ถ้าลูกบูลได้ผ่านพ้นเส้นฟาล์วและไปกระทบกับสิ่งหนึ่งสิ่งใด หรือจากความลาดเอียงของพื้นที่ ทำให้ลูก

    บูลนั้นย้อนกลับเข้ามาในสนามอีกถือว่าเป็นลูกฟาล์ว และทุกสิ่งที่ถูกเคลื่อนที่ โดยลูกบูลที่ฟาล์วนั้น ให้นำกลับมาวาง

    ที่ตำแหน่งเดิมทั้งหมด

    19.2 ลูกบูลที่ฟาล์วแล้ว ต้องนำออกนอกสนามทันที มิฉะนั้นจะถือว่าเป็นลูกดี หลังจากการโยนลูกบูลอีกลูก

    หนึ่งไปแล้ว


    ข้อ 20
    ลูกบูลทุกลูกที่โยนไปแล้วถูกทำให้หยุด ให้ปฏิบัติตามกฎหมายข้อย่อย ดังนี้

    20.1 โดยผู้ดู หรือ ผู้ตัดสิน ให้ลูกบูลนั้นอยู่ในตำแหน่งที่ถูกทำให้หยุด

    20.2 โดยผู้เล่นฝ่ายเดียวกัน ถือว่าเป็นลูกฟาล์ว

    20.3 โดยผู้เล่นฝ่ายตรงข้าม ฝ่ายผู้เล่นจะโยนใหม่หรือรักษาตำแหน่งที่ลูกบูลนั้นหยุดอยู่ก็ได้

    20.4 เมื่อลูกบูลลูกหนึ่งที่ถูกยิงไปแล้ว ถูกทำให้หยุดโดยผู้เล่นคนหนึ่ง ผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามของผู้ที่ทำให้ลูกบูล

    นั้นหยุด อาจเลือกเล่นตามกฎข้อย่อย ดังนี้

    20.4.1 ให้ลูกบูลนั้นอยู่ในตำแหน่งที่ถูกทำให้หยุด

    20.4.1 ให้นำลูกบูลนั้นมาวางตามแนวตรงระหว่างตำแหน่งเดิมกับตำแหน่งใหม่ตามความพอใจ แต่ต้องอยู่ภายในสนาม และได้ทำเครื่องหมายไว้ก่อนเท่านั้นผู้เล่นที่มีเจตนาทำให้ลูกบูลที่เคลื่อนที่หยุด จะถูกปรับให้เป็นแพ้ทั้งทีมทันที


    ข้อ 21
    เมื่อโยนลูกบูลหรือลูกเป้าไปแล้ว ผู้เล่นทุกคนมีเวลาสำหรับโยนลูกบูลภายใน 1 นาที โดยเริ่มจับเวลาตั้งแต่ลูกเป้า

    หรือลูกบูลที่เล่นไปแล้วนั้นหยุด หากมีการวัดเกิดขึ้น ให้เริ่มจับเวลาเมื่อการวัดนั้นเสร็จสิ้นลง

    21.1 กฎกำหนดเวลานี้ ให้ใช้สำหรับการโยนลูกเป้าทุกเที่ยวด้วย

    21.2 ผู้เล่นที่ไม่ปฏิบัติตามกฎกำหนดเวลานี้ จะถูกลงโทษตามที่ได้กำหนดไว้ใน ข้อ 10


    ข้อ 22
    ถ้าลูกบูลลูกหนึ่งหยุดนิ่งแล้วเคลื่อนที่ไปใหม่ เนื่องจากถูกลมพัดหรือเนื่องจากความลาดเอียงของสนามก็ตาม จะ

    ต้องนำลูกบูลนั้นมาวางที่ตำแหน่งเดิม สำหรับลูกบูลที่เคลื่อนที่โดยอุบัติเหตุจากผู้เล่น ผู้ดูสัตว์ หรือสิ่งที่เคลื่อนไหว

    อื่นๆ ก็จะต้องนำกลับมาวางที่ตำแหน่งเดิมเช่นเดียวกัน เพื่อหลีกเลี่ยงการประท้วงทั้งปวง ผู้เล่นคนควรทำเครื่อง

    หมายตามตำแหน่งลูกเป้าและลูกบูลไว้ทั้งหมด

    ข้อ 23
    ผู้เล่นที่นำลูกบูลของผู้อื่นไปเล่น จะถูกเตือน 1 ครั้ง ถึงแม้จะถือว่าลูกนั้นเป็นลูกดีก็ตาม แต่ต้องนำลูกบูลของตนไป

    เปลี่ยนแทนที่ตำแหน่งนั้นทันที

    23.1 ถ้ามีการกระทำผิดซ้ำในเกมเดียวกัน ให้ถือว่าลูกบูลนั้นเป็นลูกฟาล์ว และทุกสิ่งที่ถูกลูกบูลนั้นทำให้

    เคลื่อนที่ไป จะต้องนำมาวางไว้ที่ตำแหน่งเดิม

    23.2 ก่อนการโยนลูกบูลทุกครั้ง ผู้เล่นจะต้องทำความสะอาดลูกบูลของตนมิให้มีสิ่งหนึ่งสิ่งใดติดอยู่ มิฉะนั้น

    จะถูกลงโทษตามที่กำหนดไว้ในข้อ 10


    ข้อ 24
    ลูกบูลทุกลูกที่โยนไปผิดเงื่อนไขตามกติกา ถือว่าเป็นลูกฟาล์ว และทุกสิ่งที่ถูกลูกบูลนั้น ทำให้เคลื่อนที่ไปจะต้องนำ

    มาวางที่ตำแหน่งเดิม กฎนี้ ให้ใช้สำหรับลูกบูลทุกลูกที่ผู้เล่นยืนผิดวงกลม ซึ่งไม่ใช่วงกลมเดิมที่โยนลูกเป้าที่ถูกต้อง

    ในกรณีเช่นนี้ ฝ่ายตรงข้ามมีสิทธิ์ปฏิบัติตามกฎว่าด้วยการได้เปรียบ และยอมให้ลูกบูลที่โยนไปนั้นเป็นลูกดีก็ได้ ถ้า

    เห็นว่าลูกของฝ่ายตนได้เปรียบคู่ต่อสู้

    การวัดคะแนน


    ข้อ 25
    ในการวัดคะแนน อนุญาตให้โยกย้ายลูกบูลหรือสิ่งกีดขวางต่างๆ ที่อยู่ระหว่างลูกเป้าและลูกบูลที่เกี่ยวข้องได้ แต่ต้อง

    ทำเครื่องหมายที่ตำแหน่งสิ่งนั้นๆ ไว้ก่อนโยกย้าย เมื่อการวัดคะแนนเสร็จสิ้นลง ให้นำทุกสิ่งที่โยกย้ายไปนั้น กลับมา

    วางที่ตำแหน่งเดิมทั้งหมด ถ้าสิ่งกีดขวางที่มีปัญหานั้นไม่อาจโยกย้ายได้ ให้ใช้วงเวียนทำการวัด

    ข้อ 26
    ในการวัดคะแนนระหว่างลูกบูล 2 ลูก ซึ่งใกล้เคียงกันมาก ผู้เล่นคนหนึ่งได้วัดไปแล้วและประกาศว่าฝ่ายตนได้เปรียบผู้เล่นฝ่ายตรงกันข้ามมีสิทธิ์ที่จะวัดใหม่เพื่อความแน่ใจและถูกต้อง เมื่อทั้งสองฝ่ายได้วัดคะแนนแล้วหลายครั้งยังตกลง

    ไม่ได้ ต้องให้ผู้ตัดสินเป็นผู้วัดเพื่อตัดสิน

    ข้อ 27
    เมื่อเสร็จสิ้นการแข่งขันแต่ละเที่ยว ลูกบูลทุกลูกที่ถูกนำออกก่อนการวัดคะแนนให้ ถือว่าเป็นการโมฆะ และไม่มีสิทธิ์

    โต้แย้งใดๆ ทั้งสิ้น

    ข้อ 28
    ถ้าผู้เล่นฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดทำการวัดคะแนนแล้วไปทำให้ลูกเป้าหรือลูกบูลที่มีปัญหานั้นเคลื่อนที่จะต้องเป็นฝ่ายเสีย

    คะแนนในการวัดคะแนนแต่ละครั้งก่อนทำการวัด ผู้ตัดสินต้องทำการคาดคะเนเสียก่อนว่าลูกใดได้เปรียบ และถ้าได้วัดไปแล้วบังเอิญผู้ตัดสินไปทำให้ลูกบูลหรือลูกเป้าเคลื่อนที่ ผู้ตัดสินจะต้องทำการวัดใหม่ และภายหลังการวัดปรากฎว่าลูกบูลที่คาดคะเนว่าชนะยังคงชนะอยู่ ให้กรรมการตัดสินตามความเป็นจริง แต่ถ้าการวัดครั้งใหม่แล้วปรากฎว่าลูกบูลที่คาดคะเนว่าชนะกลับแพ้ ให้ผู้ตัดสินตัดสินด้วยความเที่ยงธรรม


    ข้อ 29
    ในกรณีที่ลูกบูลของทั้งสองฝ่าย มีระยะห่างจากลูกเป้าเท่ากัน หรือติดกับลูกเป้าทั้ง 2 ลูก ให้ปฏิบัติตามกฎข้อย่อย

    ดังนี้

    29.1 ถ้าทั้งสองฝ่ายหมดลูกบูลเล่นแล้ว การเล่นเที่ยวนั้นให้ถือว่าเป็นโมฆะจะต้องเริ่มเล่นใหม่ โดยผู้เล่นฝ่ายที่

    ได้คะแนนในเที่ยวที่เป็นผู้โยนลูกเป้า

    29.2 ถ้าฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดมีลูกบูลเหลือเล่นอยู่เพียงฝ่ายเดียว ฝ่ายนั้นจะต้องเล่นจนหมดลูกบูล เพื่อทำคะแนน

    เพิ่มตามจำนวนลูกบูลที่อยู่ใกล้เป้าที่สุด

    29.3 ถ้าทั้งสองฝ่ายยังมีลูกบูลเหลืออยู่ ฝ่ายที่โยนลูกบูลที่หลังจะต้องเป็นฝ่ายเล่นลูกต่อไป

    29.4 ถ้าลูกบูลทั้งสองฝ่ายยังเสมอกันอยู่ ต้องเปลี่ยนให้อีกฝ่ายหนึ่งเป็นผู้เล่น และต้องสลับกันโยนฝ่ายละหนึ่งลูก

    จนกว่าฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดจะได้คะแนนแล้วเล่นต่อไปตามปกติ


    ข้อ 30
    หากมีสิ่งหนึ่งสิ่งใดเกาะติดกับลูกบูลหรือลูกเป้าจะต้องเอาสิ่งนั้นออกก่อนการวัดคะแนน

    ข้อ 31
    การเสนอข้อประท้วงต่อผู้ตัดสิน จะกระทำได้ในระหว่างการแข่งขันของแต่ละเกมเท่านั้น เมื่อเกมการแข่งขันนั้นๆ ได้

    สิ้นสุดลง จะไม่มีสิทธิ์ประท้วงใดๆ ทั้งสิ้นเพื่อประโยชน์ของฝ่ายตน ผู้เล่นทุกคนต้องคอยระวังการละเมิดกติกาของฝ่ายตรงข้าม ( บัตรประจำตัวนักกีฬา รุ่นของผู้เล่น สนามแข่งขัน มาตรฐานของลูกบูล ฯลฯ )


    ข้อ 32
    ในขณะทำการจับสลากและการประกาศผลการจับสลาก ผู้เล่นทุกคนต้องอยู่พร้อมกันที่โต๊ะอำนวยการ หลังจากการ

    ประกาศผลไปแล้ว 15 นาที ทีมที่ไม่ได้ลงสนามแข่งขันจะถูกปรับเสียคะแนนให้แก่ฝ่ายตรงข้าม 1 คะแนน

    32.1 หากเกินกำหนดเวลา 15 นาที ไปแล้ว การปรับคะแนนจะทวีเพิ่มขึ้น 1 คะแนนทุกๆ 5 นาที

    32.2 บทลงโทษ ตามข้อ 32.1 จะมีผลใช้บังคับหลังจากการประกาศให้เริ่มทำการแข่งขันทุกครั้ง

    32.3 หลังจากการประกาศการแข่งขันได้ผ่านพ้นไปแล้ว 1 ชั่วโมง ทีมที่ยังไม่ได้ลงทำการแข่งขัน จะถูกปรับให้

    เป็นแพ้ในเกมนั้น

    32.4 ทีมที่มีผู้เล่นไม่ครบจำนวน ก็ต้องลงทำการแข่งขันตามเวลากำหนดโดยไม่อนุญาตให้รอ ผู้ร่วมทีมที่มาล่า

    ช้าและจะเล่นลูกบูลได้ตามจำนวนที่ผู้ลงเล่นมีสิทธิ์เท่านั้น

    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ

      กติกาสากลการเล่นเปตองฉบับนี้ สหพันธ์เปตองนานาชาติได้อนุมัติให้ใช้เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2527 ณ เมือง โรตเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์
      ข้อ 1
      เปตองเป็นกีฬาที่เล่นโดยมีผู้เล่น 2 ฝ่าย และแบ่งการเล่นออกได้ดังนี้

      1.1 ผู้เล่นฝ่ายละ 3 คน (Triples)

      1.2 ผู้เล่นฝ่ายละ 2 คน (Doubles)

      1.3 ผู้เล่นฝ่ายละ 1 คน (Singles)

      1.4 ในการเล่นฝ่ายละ 3 คน ผู้เล่นแต่ละคนต้องมีลูกบูลคนละ 2 ลูก

      1.5 ในการเล่นฝ่ายละ 2 คน ผู้เล่นแต่ละคนต้องมีลูกบูลคนละ 3 ลูก

      1.6 ในการเล่นฝ่ายละ 1 คน ผู้เล่นต้องมีลูกบูลคนละ 3 ลูก

      1.7 ห้ามจัดให้มีการเล่นนอกเหนือจากกฎที่ได้กำหนดไว้ในข้อ 1 นี้

      ข้อ 2
      ลูกบูลที่ใช้ในการเล่นต้องได้รับการรับรองจากสหพันธ์ฯและต้องมีลักษณะดังนี้

      (1) เป็นโลหะ

      (2) มีเส้นผ่าศูนย์กลางระหว่าง 7.05-8.00 ซ . ม .

      (3) มีน้ำหนักระหว่าง 0.650-0.800 ก . ก . และต้องมีเครื่องหมายของโรงงานผู้ผลิต ตัวเลข แสดงน้ำหนักและเลขรหัส ปรากฏบนลูกบูลอย่างชัดเจน .

      (4) เป็นลูกบูลที่ผลิตจากโรงงานที่ได้รับการรับรองจากสหพันธ์ฯ และห้ามเปลี่ยนแปลงสภาพเดิม ไม่ว่าจะใช้ตะกั่วบัดกรีหรือนำเอาดินทรายมาติดเพิ่มหรือใส่ไปในลูกบูล   ในลักษณะที่มีเจตนาส่อไปในทางทุจริต แต่อนุญาตให้เจ้าของสลักชื่อหรือเครื่องหมายบนลูกบูลได้

      2.1 ผู้เล่นที่ฝ่าฝืนหรือละเมิดกฎข้อ 2 (4) จะถูกลงโทษให้ออกจากการแข่งขันทั้งทีมทันที

      2.2 ลูกบูลที่ถูกเปลี่ยนแปลงสภาพ ผู้กระทำผิดจะถูกลงโทษดังนี้

      2.2.1 ผู้เล่นที่ฝ่าฝืนหรือละเมิดกฎข้อ 2 (4) จะถูกถอนใบอนุญาต ( บัตรประจำตัวนักกีฬา ) อย่างน้อย 15 ปี และอาจถูกลงโทษจากคณะกรรมการวินัยอีกด้วย

      2.2.2 การใช้ความร้อนเพื่อเปลี่ยนแปลงสภาพของลูกบูล ผู้กระทำผิดจะถูกถอนใบอนุญาต

      ( บัตรประจำตัวนักกีฬา ) 5 ปี และห้ามเข้าทำการแข่งขันชนะเลิศแห่งชาติ และนานาชาติ 5-10 ปี

      2.3 กรณีหนึ่งกรณีใดที่ได้ระบุไว้ในข้อ 2.2.1 และ 2.2.2 ถ้าผู้เล่นได้ยืมลูกบูลจากผู้อื่นมาเล่น เจ้าของลูกบูลผู้ให้ยืมจะถูกลงโทษภาคภัณฑ์ 5 ปี

      2.4 ถ้าลูกบูลนั้นมิได้ถูกกระทำทุจริต แต่เนื่องจากลูกบูลนั้นเก่ามาก หรือมีการผิดพลาดจากโรงงานผู้ผลิต และเมื่อตรวจสอบแล้วไม่ได้ลักษณะตามที่ได้กำหนดไว้ในข้อ 2 (1), (2) และ (3) จะต้องเปลี่ยนลูกบูลนั้นทันที

      2.5 เพื่อประโยชน์ของฝ่ายตน ก่อนทำการแข่งขันทุกครั้ง ผู้เล่นทั้งสองฝ่ายควรตรวจสอบ ลูกบูลของฝ่ายตนและฝ่ายตรงข้ามให้ถูกต้องตามเงื่อนไขที่ได้กำหนดไว้ในข้อ 2 (1), (2) และ (3)

      2.6 ในกรณีที่มีการผ่าลูกบูลเพื่อตรวจสอบ ถ้าลูกบูลนั้นมิได้ถูกกระทำทุจริต ฝ่ายประท้วงจะต้องรับผิดชอบชดใช้ หรือเปลี่ยนลูกบูลนั้นให้แก่ฝ่ายเสียหาย และเจ้าของลูกบูลไม่มีสิทธิ์ที่จะเรียกร้องค่าเสียหายใดๆ อีก

      2.7 ในระหว่างการแข่งขัน ผู้ตัดสินและกรรมการชี้ขาดอาจตรวจสอบลูกบูลของผู้เล่นทุกคนได้ทุกเวลา

      2.8 การประท้วงของนักกีฬาว่าด้วยเรื่องการตรวจสอบลูกบูลจะกระทำได้ในระหว่างการเล่น 2 เที่ยวแรก เท่านั้น

      2.9 หลังจากเริ่มเล่นเที่ยวที่ 3 แล้ว ถ้ามีการประท้วงเกี่ยวกับลูกบูลของฝ่ายตรงข้าม ฝ่ายที่ประท้วงจะถูกปรับ 3 คะแนน โดยนำไปเพิ่มในป้ายคะแนนของฝ่ายตรงข้าม

      2.10 ลูกเป้าต้องทำด้วยไม้ มีเส้นผ่าศูนย์กลางระหว่าง 25-35 ม . ม . และอาจทาสีได้ แต่ต้องเป็นสีที่สามารถมองเห็นได้ชัดเจนในขอบเขตสนาม

      ข้อ 3
      ก่อนเริ่มการแข่งขัน หากกรรมการผู้ตัดสินหรือผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามขอตรวจสอบใบอนุญาต ( บัตรประจำตัวนักกีฬา ) ผู้เล่นนั้น ๆ จะต้องแสดงให้ดูทันที
                        3.1 ใบอนุญาต ( บัตรประจำตัวนักกีฬา ) ทุกประเภทต้องเป็นของสหพันธ์เปตองแห่งชาติ มีตรานูน ของสหพันธ์ฯ ประทับอยู่ด้านหลัง มีรูปถ่ายขนาด 1 นิ้ว มีลายเซ็นของผู้ถือบัตร และลายเซ็นของผู้ออกบัตร และต้องมีตราของชมรมหรือสมาคมนั้นๆ ประทับคาบอยู่บนรูปถ่ายด้วย

      3.2 ผู้เล่นที่มีใบอนุญาต ( บัตรประจำตัวนักกีฬา ) ไม่ถูกต้องตามข้อ 3.1 ไม่มีสิทธิ์ลงทำการแข่งขัน

      ข้อ 4
      ห้ามผู้เล่นทุกคนเปลี่ยนลูกเป้าหรือลูกบูลในระหว่างการแข่งขัน เว้นแต่ในกรณี ดังนี้

      4.1 ลูกเป้าหาย

      4.2 ลูกบูลหาย

      4.3 ถ้าลูกบูลลูกหนึ่งแตกเป็น 2 ชิ้น หรือหลายชิ้น ให้ปฏิบัติตามกฎข้อย่อย ดังนี้

      4.3.1 ถ้าหมดลูกบูลเล่นแล้ว ให้นับคะแนนจากชิ้นที่ใหญ่ที่สุด

      4.3.2 ถ้ายังมีลูกบูลเหลือเล่นอยู่ ให้นำลูกบูลอื่นที่มีลักษณะใกล้เคียงกันมาเปลี่ยนทันที

      โดยให้นำมาวางแทนที่ตำแหน่งชิ้นที่ใหญ่ที่สุด ของลูกบูลที่แตกนั้น แล้วเล่นต่อไปตามปกติ

      4.4 กฎข้อ 4.3 นี้ ให้ใช้กับลูกเป้าด้วย

      วิธีเล่น

      ข้อ 5

      เปตองเล่นได้กับสนามทุกสภาพ โดยมีคณะกรรมการจัดการแข่งขันหรือผู้ตัดสินเป็นผู้กำหนด ผู้เล่นทุกทีต้องเล่นในสนามที่กำหนดให้ สำหรับการแข่งขันชิงชนะเลิศแห่งชาติ และนานาชาติสนามต้องมีขนาดกว้าง 4 เมตรและยาว 15 เมตร เป็นอย่างน้อย

      5.1 ส่วนการแข่งขันอื่น ๆ สหพันธ์ฯ อาจอนุโลมให้เปลี่ยนแปลงขนาดของสนามได้ ตามความจำเป็นและเหมาะสม

      5.2 เกมหนึ่งกำหนดให้มี 13 คะแนน สำหรับการแข่งขันในรอบแรกและรอบสองจะใช้เพียง   11 คะแนนก็ได้

      ข้อ 6

      ผู้เล่นทุกคนต้องลงสู่สนามแข่งขันตามเวลาที่กำหนดให้ และทำการเสี่ยงว่าฝ่ายใดจะเป็นฝ่ายโยน ลูกเป้า

      6.1 ผู้เล่นคนหนึ่งคนใดในทีมซึ่งเป็นฝ่ายชนะในการเสี่ยง เป็นผู้โยนลูกเป้า เมื่อเลือกจุดเริ่มแล้ว ให้

      เขียนวงกลมบนพื้นมีขนาดพอที่เท้าทั้งสองเข้าไปยืนอยู่ได้ ( เส้นผ่าศูนย์กลางระหว่าง 0.35-0.50 ม .) วงกลมนั้นจะต้องห่างจากสิ่งกีดขวางต่างๆ และเส้นเขตสนามไม่น้อยกว่า 1 เมตร

      6.2 ผู้ที่เตรียมเล่นจะต้องเข้าไปยืนอยู่ภายในวงกลม ห้ามเหยียบเส้นรอบวง ห้ามยกเท้าพ้นพื้น และ

      ห้ามออกจากวงกลมก่อนที่ลูกบูลจะตกถึงพื้น ส่วนอื่นของร่างกายจะถูกพื้นนอก วงกลมไม่ได้ เว้นแต่คนขาพิการ ซึ่งได้รับอนุญาตเป็นกรณีพิเศษให้วางเท้าข้างเดียวใน วงกลมได้

      6.3 ผู้เล่นคนหนึ่งคนใดในทีมซึ่งเป็นผู้โยนลูกเป้า ไม่บังคับว่าจะต้องเป็นผู้โยนลูกบูลลูกแรกเสมอไป

      6.4 ในกรณีที่สนามไม่ดี ( ชำรุด ) ห้ามผู้เล่นตกลงกันเองไปแข่งในสนามอื่น โดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้ตัดสิน

      ลูกเป้า


      ข้อ 7
      ลูกเป้าที่โยนไปแล้วถือว่าดีจะต้องมีกฎเกณฑ์ดังนี้

      7.1 มีระยะห่างระหว่างขอบวงกลมด้านใกล้ที่สุด ถึงลูกเป้า

      7.1.1 ไม่น้อยกว่า 4 เมตร และไม่เกิน 8 เมตร สำหรับเด็กเล็ก

      7.1.2 ไม่น้อยกว่า 5 เมตร และไม่เกิน 9 เมตร สำหรับยุวชน

      7.1.3 ไม่น้อยกว่า 6 เมตร และไม่เกิน 9 เมตร สำหรับเยาวชน

      7.1.4 ไม่น้อยกว่า 6 เมตร และไม่เกิน 10 เมตร สำหรับผู้ใหญ่

      7.2 วงกลมต้องอยู่ห่างจากสิ่งกีดขวางต่างๆ และเส้นเขตสนาม ไม่น้อยกว่า 1 เมตร

      7.3 ตำแหน่งลูกเป้าต้องอยู่ห่างจากจากสิ่งกีดขวางต่างๆ และเส้นเขตสนามไม่น้อยกว่า 1 เมตร

      7.4 ให้ผู้เล่นมองเห็นได้ชัดเจนขณะยืนตัวตรงอยู่ในวงกลม

      ( ถ้ามีการโต้แย้งในกรณีนี้ให้ผู้ตัดสินเป็นผู้ชี้ขาด )

      7.5 การโยนลูกเป้าในเที่ยวต่อๆ ไป ให้เขียนวงกลมรอบตำแหน่งที่ลูกเป้าอยู่เที่ยวที่แล้ว

      เว้นแต่ในกรณีดังนี้

      7.5.1 วงกลมมีระยะห่างจากสิ่งกีดขวางและเส้นสนามน้อยกว่า 1 เมตร

      7.5.2 โยนลูกเป้าไม่ได้ระยะตามที่กติกากำหนด

      7.5.3 ในกรณีตามข้อ 7.5.1 ผู้เล่นต้องเขียนวงกลมให้ห่างจากสิ่งกีดขวางและเส้นเขตสนาม ตามที่กติกาได้กำหนดไว้

      7.5.4 ในกรณีตามข้อ 7.5.2 ผู้เล่นต้องย้ายวงกลม ถอยหลังตามแนวตรงจากตำแหน่งของลูกเป้าจนกว่าจะได้ระยะการโยน กรณีนี้อาจจะกระทำได้ต่อแม้ว่าจะโยนไปในทิศทางใดก็ตาม เท่านั้น

      7.5.5 ถ้าผู้เล่นฝ่ายเดียวกัน โยนลูกเป้าไปแล้ว 3 ครั้ง ยังไม่ดี จะต้องเปลี่ยนให้ผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามเป็นผู้โยน ซึ่งมีสิทธิ์โยน 3 ครั้งเหมือนกัน และอาจย้ายวงกลมถอยหลัง ตามที่ระบุไว้ในข้อ 7.5.4

      ได้ แต่วงกลมนั้นจะเปลี่ยนแปลงอีกไม่ได้ แม้ว่าผู้เล่นของทีมนี้จะโยนลูกเป้าไม่ดีทั้ง 3 ครั้งก็ตาม

      7.5.6 ถึงแม้ทีมที่โยนลูกเป้า 3 ครั้งแรกไม่ได้ดีก็ตาม แต่ทีมนั้นยังมีสิทธิ์เป็นฝ่ายโยนลูกบูลลูกแรก
                  ข้อ 8 ลูกเป้าที่โยนไปแล้วถูกผู้ตัดสิน ผู้เล่น ผู้ดู สัตว์ หรือสิ่งที่เคลื่อนไหวอื่นๆ แล้วหยุด ให้นำมาโยนใหม่โดยไม่นับรวมอยู่ในการโยน 3 ครั้ง ที่ได้กำหนดไว้

      8.1 หลังจากการโยนลูกเป้าและลูกบูลลูกแรกไปแล้วฝ่ายตรงยังมีสิทธิ์ประท้วงว่าด้วยตำแหน่งของลูกเป้านั้นได้ ถ้าการประท้วงนั้นถูกต้องให้เริ่มโยนลูกเป้าและลูกบูลใหม่

      8.2 ถ้าฝ่ายตรงข้ามได้โยนลูกไปด้วยแล้ว 1 ลูกให้ถือว่าตำแหน่งลูกเป้านั้นดี และไม่มีสิทธิ์ประท้วงใดๆ ทั้งสิ้น

      ข้อ 9

      ลูกเป้าที่โยนไปแล้วถือว่าฟาล์วมี 5 กรณี ดังนี้

      9.1 เมื่อลูกเป้าที่โยนไปแล้วไม่ได้ตำแหน่งที่ถูกต้องตามที่ได้กำหนดไว้ในข้อ 7

      9.2 เมื่อลูกเป้าเคลื่อนที่ออกนอกเส้นฟาล์ว แต่ลูกเป้าคาบเส้น ยังถือว่าดีอยู่ลูก เป้าที่ถือว่าฟาล์วคือลูกเป้าที่ได้ออกพ้นเส้นฟาล์วเท่านั้น

      9.3 เมื่อลูกเป้าเคลื่อนที่ไปแล้ว ผู้เล่นไม่สามารถมองเห็นจากวงกลมตามที่ กำหนดไว้ในข้อ 7.4 แต่ถ้าลูกเป้าถูกลูกบูลบังอยู่ไม่ถือว่าฟาล์ว

      9.4 เมื่อลูกเป้าเคลื่อนที่ไป มีระยะห่างจากวงกลมเกินกว่า 30 เมตรหรือน้อยกว่า 3 เมตร

      9.5 เมื่อลูกเป้าเคลื่อนที่ไปแล้วหาไม่พบ

      ข้อ 10
      เมื่อโยนลูกเป้าไปแล้ว ห้ามผู้เล่นปรับพื้นที่ หรือเคลื่อนย้ายสิ่งต่าง ๆ เช่น กรวด หิน ดิน ทราย ใบไม้ ฯลฯ ในบริเวณสนามแข่งขันโดยเด็ดขาดเว้นแต่ผู้เตรียมตัวจะลงเล่นเท่านั้นมีสิทธิ์ที่จะปรับสนามที่มีหลุม ซึ่งเกิดจากการโยนลูกบูลของผู้เล่นคนที่แล้ว ผู้เล่นที่ฝ่าฝืนกฎนี้จะต้องถูกลงโทษ ดังนี้

      10.1 ถูกเตือน

      10.2 ปรับลูกที่เล่นไปแล้วนั้นหรือลูกที่กำลังจะเล่น เป็นลูกฟาล์ว

      10.3 ปรับเฉพาะผู้กระทำผิดให้งดเล่น 1 เที่ยว

      10.4 ปรับเป็นแพ้ทั้งทีม

      10.5 ปรับเป็นแพ้ทั้ง 2 ทีม ถ้ากระทำผิดเหมือนกัน

      ข้อ 11

      ในระหว่างการเล่นแต่ละเที่ยว หากมีใบไม้หรือกระดาษมาบังลูกเป้าโดยบังเอิญให้เอาออกได้

      11.1 เมื่อลูกเป้าหยุดนิ่งแล้ว และเคลื่อนที่ไปใหม่โดยแรงลมพัดหรือจากการลาดเอียงของพื้นสนาม จะต้องนำกลับมาวางที่ตำแหน่งเดิม

      11.2 เมื่อลูกเป้าเคลื่อนที่โดยอุบัติเหตุอันเกิดขึ้นจากผู้ตัดสิน ผู้ดู สัตว์ สิ่งเคลื่อนไหวอื่นๆ รวมทั้งลูกเป้าหรือลูกบูลที่เคลื่อนมาจากสนามอื่น ให้นำลูกเป้านั้นมาวางที่ตำแหน่งเดิม

      11.3 เพื่อหลีกเลี่ยงการประท้วงทั้งปวง ผู้เล่นควรทำเครื่องหมายบนพื้นสนามตามตำแหน่ง ของลูกเป้าหรือลูกบูลไว้ มิฉะนั้นจะไม่มีสิทธิ์ประท้วงใดๆ ทั้งสิ้น 11.1 ลูกเป้าที่อยู่บนพื้นสนามซึ่งมีน้ำขังอยู่ถือว่าดี หากลูกเป้านั้นไม่ลอยปนน้ำ

      ข้อ 12
      ในระหว่างการเล่นแต่ละเที่ยว หากลูกเป้าเคลื่อนที่ไปอยู่อีกสนามหนึ่ง ให้ถือว่าลูกเป้านั้นยังดีอยู่

      12.1 ถ้าสนามนั้นมีการแข่งขันอยู่ ฝ่ายที่ต้องใช้ลูกเป้านั้นจะต้องหยุดรอ เพื่อคอยให้ผู้เล่นที่กำลังเล่นอยู่ในสนามนั้นเล่นจบเที่ยวไปก่อน

      12.2 ผู้เล่นที่มีปัญหาตาม ข้อ 12.1 จะต้องแสดงออกถึงความมีน้ำใจ ความอดทนและความเอื้ออารีต่อกัน

      ข้อ 13
      ในระหว่างการเล่นแต่ละเที่ยว ถ้าลูกเป้าเกิดฟาล์วขึ้น ให้ปฏิบัติตามกฎข้อย่อย ดังนี้

      13.1 ถ้าผู้เล่นทั้งสองฝ่ายมีลูกบูลเหลือเล่นอยู่ การเล่นเที่ยวนั้นถือว่าเป็นโมฆะ ต้องเริ่มเล่นใหม่ที่วงเดิม

      13.2 ถ้าฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดมีลูกบูลเหลืออยู่เพียงฝ่ายเดียว ฝ่ายนั้นจะได้คะแนนเท่ากับจำนวนลูกบูลที่เหลืออยู่

      โดยไม่ต้องเล่น

      13.3 ถ้าทั้งสองฝ่ายหมดลูกบูลเหมือนกันให้เริ่มเล่นใหม่ ( ลูกเป้าที่เคลื่อนที่ไปแล้วและหาไม่พบภายใน 5 นาที ถือว่าลูกเป้านั้นฟาล์ว )


      ข้อ 14

      14.1 ถ้าเป้าถูกยิงแล้วเคลื่อนที่ไปถูกผู้ดูหรือผู้ตัดสิน แล้วหยุดให้นำลูกเป้านั้นอยู่ที่ตำแหน่งใหม่

      14.2 ถ้าลูกเป้าถูกยิงแล้วเคลื่อนที่ไปถูกผู้เล่นคนหนึ่งคนใดแล้วหยุด ฝ่ายตรงข้ามที่ทำให้ลูกเป้าหยุด มี

      สิทธิ์เลือกปฏิบัติตามกฎข้อย่อย ดังนี้

      14.2.1 ให้ลูกเป้าอยู่ที่ตำแหน่งใหม่

      14.2.2 นำลูกเป้ามาวางที่ตำแหน่งเดิม

      14.2.3 วางลูกเป้าตามแนวยาวตรงระหว่างตำแหน่งเดิมกับตำแหน่งใหม่ แต่ต้องอยู่ภายในสนามแข่งขัน

      เท่านั้นแล้วเริ่มเล่นต่อไปตามปกติกรณีการนำลูกเป้ามาวางที่ตำแหน่งเดิม และจะกระทำได้ต่อเมื่อผู้เล่นได้ทำเครื่องหมายที่ตำแหน่งลูกเป้าไว้เท่านั้นมิฉะนั้นจะต้องให้ลูกเป้านั้นอยู่ที่ตำแหน่งใหม่


      ข้อ 15
      ในระหว่างการเล่นแต่ละเที่ยว หากลูกเป้าเคลื่อนที่ไปอยู่ในสนามอื่น ถือว่ายังดีอยู่ในเที่ยวต่อไปจะต้องกลับมาเริ่ม

      เล่นที่สนามเดิม แต่ต้องเป็นไปตามที่กำหนดไว้ในข้อ 7.2

      ลูกบูล


      ข้อ 16
      ผู้เล่นคนหนึ่งคนใดในทีมที่ชนะในการเสี่ยงหรือชนะในเที่ยวที่แล้ว เป็นผู้โยนลูกเป้าและลูกบูลลูกแรก

      16.1 ห้ามผู้เล่นใช้เครื่องช่วยอื่นใด หรือแม้แต่ขีดเส้นบนพื้นสนาม เพื่อเป็นที่สังเกตุจุดตกของลูกบูลที่ตน

      จะโยนและไม่อนุญาตให้ผู้เล่นถือลูกบูลหรือสิ่งอื่นใด ในมืออีกข้างหนึ่งในขณะโยนลูกบูลลูกสุดท้ายของตน

      ( ยกเว้นผ้าเช็ดลูกบูล )

      16.2 ห้ามทำให้ลูกบูลเปียก

      16.3 ถ้าลูกบูลลูกแรกที่เล่นไปแล้วเกิดฟาล์ว ต้องเปลี่ยนให้ผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามเป็นผู้เล่น และถ้าลูกโยนไปยัง

      ฟาล์วอยู่จะสลับกันโยนฝ่ายละ 1 ลูก จนกว่าฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดโยนลูกบูลได้ ดีแล้ว จึงเล่นต่อไปตามปกติ

      16.4 ฝ่ายใดที่ทำให้ลูกบูลในสนามฟาล์วทั้งหมดโดยไม่มีลูกบูลเหลืออยู่ในสนาม ฝ่ายที่ทำให้ลูกบูลฟาล์ว

      จะต้องเป็นฝ่ายเล่นลูกต่อไป


      ข้อ 17
      เมื่อผู้เล่นคนหนึ่งคนใดได้เข้าไปยืนอยู่ในวงกลมเพื่อเตรียมเล่นแล้ว ผู้ดูและนักกีฬาทุกคนต้องอยู่ในความสงบ

      17.1 ห้ามผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามเดินหรือแสดงท่าทางอย่างหนึ่งอย่างใดที่เป็นการรบกวนสมาธิของผู้ที่กำลังเล่น

      เว้นแต่ผู้ร่วมทีมเท่านั้นที่มีสิทธิ์เข้าไปอยู่ในสนาม เพื่อแนะแนวการโยนลูกบูลของฝ่ายตนได้

      17.2 ผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามจะต้องยืนอยู่ด้านข้างหรือด้านหลังของผู้เตรียมเล่น และจะต้องอยู่ห่างน้อยกว่า 2

      เมตร

      17.3 ผู้เล่นที่ฝ่าฝืนกฎข้อ 17 ผู้ตัดสินจะเตือน 1 ครั้งและถ้ามีการฝ่าฝืนซ้ำอีก ผู้ตัดสินอาจพิจารณาให้ออก

      จากการแข่งขันก็ได้


      ข้อ 18
      ลูกบูลทุกลูกที่โยนไปแล้ว ห้ามนำมาโยนใหม่เว้นแต่ลูกบูลที่โยนไปแล้วถูกหยุดหรือเปลี่ยนทิศทางโดยบังเอิญ

      เนื่องจากถูกลูกบูลหรือลูกเป้า ซึ่งเคลื่อนที่มาจากสนามอื่นหรือถูกสัตว์และสิ่งเคลื่อนไหวอื่นๆ เช่น ลูกบอล ฯลฯ

      18.1 ห้ามทดลองโยนลูกบูลในระหว่างการแข่งขัน

      18.2 เมื่อคณะกรรมการจัดการแข่งขันได้กำหนดเส้นเขตสนามเรียบร้อยแล้ว ผู้เล่นแต่ละทีมจะต้องลงทำการแข่งขันในสนามที่กำหนดให้ ในระหว่างการเล่นหากลูกบูลออกนอกเส้นเขตสนาม ให้ถือว่ายังดีอยู่ ( เว้นแต่ที่ได้กำหนดไว้ในข้อ 19 )

      18.3 ในกรณีที่สนามแข่งขันทั้งหมดมีขอบกั้นอยู่ ขอบกั้นนั้นจะต้องอยู่รอบนอกของเส้นฟาล์วและต้องห่างกัน

      ไม่น้อยกว่า 0.30 เมตร

      18.4 เส้นฟาล์วจะต้องอยู่รอบนอกเส้นเขตสนามและต้องห่างกันไม่เกิน 1 เมตร


      ข้อ 19
      ลูกบูลทุกลูกที่กลิ้งผ่านเส้นฟาล์ว แล้วย้อนกลับเข้ามาในสนามถือว่าเป็นลูกฟาล์ว

      19.1 ถ้าลูกบูลได้ผ่านพ้นเส้นฟาล์วและไปกระทบกับสิ่งหนึ่งสิ่งใด หรือจากความลาดเอียงของพื้นที่ ทำให้ลูก

      บูลนั้นย้อนกลับเข้ามาในสนามอีกถือว่าเป็นลูกฟาล์ว และทุกสิ่งที่ถูกเคลื่อนที่ โดยลูกบูลที่ฟาล์วนั้น ให้นำกลับมาวาง

      ที่ตำแหน่งเดิมทั้งหมด

      19.2 ลูกบูลที่ฟาล์วแล้ว ต้องนำออกนอกสนามทันที มิฉะนั้นจะถือว่าเป็นลูกดี หลังจากการโยนลูกบูลอีกลูก

      หนึ่งไปแล้ว


      ข้อ 20
      ลูกบูลทุกลูกที่โยนไปแล้วถูกทำให้หยุด ให้ปฏิบัติตามกฎหมายข้อย่อย ดังนี้

      20.1 โดยผู้ดู หรือ ผู้ตัดสิน ให้ลูกบูลนั้นอยู่ในตำแหน่งที่ถูกทำให้หยุด

      20.2 โดยผู้เล่นฝ่ายเดียวกัน ถือว่าเป็นลูกฟาล์ว

      20.3 โดยผู้เล่นฝ่ายตรงข้าม ฝ่ายผู้เล่นจะโยนใหม่หรือรักษาตำแหน่งที่ลูกบูลนั้นหยุดอยู่ก็ได้

      20.4 เมื่อลูกบูลลูกหนึ่งที่ถูกยิงไปแล้ว ถูกทำให้หยุดโดยผู้เล่นคนหนึ่ง ผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามของผู้ที่ทำให้ลูกบูล

      นั้นหยุด อาจเลือกเล่นตามกฎข้อย่อย ดังนี้

      20.4.1 ให้ลูกบูลนั้นอยู่ในตำแหน่งที่ถูกทำให้หยุด

      20.4.1 ให้นำลูกบูลนั้นมาวางตามแนวตรงระหว่างตำแหน่งเดิมกับตำแหน่งใหม่ตามความพอใจ แต่ต้องอยู่ภายในสนาม และได้ทำเครื่องหมายไว้ก่อนเท่านั้นผู้เล่นที่มีเจตนาทำให้ลูกบูลที่เคลื่อนที่หยุด จะถูกปรับให้เป็นแพ้ทั้งทีมทันที


      ข้อ 21
      เมื่อโยนลูกบูลหรือลูกเป้าไปแล้ว ผู้เล่นทุกคนมีเวลาสำหรับโยนลูกบูลภายใน 1 นาที โดยเริ่มจับเวลาตั้งแต่ลูกเป้า

      หรือลูกบูลที่เล่นไปแล้วนั้นหยุด หากมีการวัดเกิดขึ้น ให้เริ่มจับเวลาเมื่อการวัดนั้นเสร็จสิ้นลง

      21.1 กฎกำหนดเวลานี้ ให้ใช้สำหรับการโยนลูกเป้าทุกเที่ยวด้วย

      21.2 ผู้เล่นที่ไม่ปฏิบัติตามกฎกำหนดเวลานี้ จะถูกลงโทษตามที่ได้กำหนดไว้ใน ข้อ 10


      ข้อ 22
      ถ้าลูกบูลลูกหนึ่งหยุดนิ่งแล้วเคลื่อนที่ไปใหม่ เนื่องจากถูกลมพัดหรือเนื่องจากความลาดเอียงของสนามก็ตาม จะ

      ต้องนำลูกบูลนั้นมาวางที่ตำแหน่งเดิม สำหรับลูกบูลที่เคลื่อนที่โดยอุบัติเหตุจากผู้เล่น ผู้ดูสัตว์ หรือสิ่งที่เคลื่อนไหว

      อื่นๆ ก็จะต้องนำกลับมาวางที่ตำแหน่งเดิมเช่นเดียวกัน เพื่อหลีกเลี่ยงการประท้วงทั้งปวง ผู้เล่นคนควรทำเครื่อง

      หมายตามตำแหน่งลูกเป้าและลูกบูลไว้ทั้งหมด

      ข้อ 23
      ผู้เล่นที่นำลูกบูลของผู้อื่นไปเล่น จะถูกเตือน 1 ครั้ง ถึงแม้จะถือว่าลูกนั้นเป็นลูกดีก็ตาม แต่ต้องนำลูกบูลของตนไป

      เปลี่ยนแทนที่ตำแหน่งนั้นทันที

      23.1 ถ้ามีการกระทำผิดซ้ำในเกมเดียวกัน ให้ถือว่าลูกบูลนั้นเป็นลูกฟาล์ว และทุกสิ่งที่ถูกลูกบูลนั้นทำให้

      เคลื่อนที่ไป จะต้องนำมาวางไว้ที่ตำแหน่งเดิม

      23.2 ก่อนการโยนลูกบูลทุกครั้ง ผู้เล่นจะต้องทำความสะอาดลูกบูลของตนมิให้มีสิ่งหนึ่งสิ่งใดติดอยู่ มิฉะนั้น

      จะถูกลงโทษตามที่กำหนดไว้ในข้อ 10


      ข้อ 24
      ลูกบูลทุกลูกที่โยนไปผิดเงื่อนไขตามกติกา ถือว่าเป็นลูกฟาล์ว และทุกสิ่งที่ถูกลูกบูลนั้น ทำให้เคลื่อนที่ไปจะต้องนำ

      มาวางที่ตำแหน่งเดิม กฎนี้ ให้ใช้สำหรับลูกบูลทุกลูกที่ผู้เล่นยืนผิดวงกลม ซึ่งไม่ใช่วงกลมเดิมที่โยนลูกเป้าที่ถูกต้อง

      ในกรณีเช่นนี้ ฝ่ายตรงข้ามมีสิทธิ์ปฏิบัติตามกฎว่าด้วยการได้เปรียบ และยอมให้ลูกบูลที่โยนไปนั้นเป็นลูกดีก็ได้ ถ้า

      เห็นว่าลูกของฝ่ายตนได้เปรียบคู่ต่อสู้

      การวัดคะแนน


      ข้อ 25
      ในการวัดคะแนน อนุญาตให้โยกย้ายลูกบูลหรือสิ่งกีดขวางต่างๆ ที่อยู่ระหว่างลูกเป้าและลูกบูลที่เกี่ยวข้องได้ แต่ต้อง

      ทำเครื่องหมายที่ตำแหน่งสิ่งนั้นๆ ไว้ก่อนโยกย้าย เมื่อการวัดคะแนนเสร็จสิ้นลง ให้นำทุกสิ่งที่โยกย้ายไปนั้น กลับมา

      วางที่ตำแหน่งเดิมทั้งหมด ถ้าสิ่งกีดขวางที่มีปัญหานั้นไม่อาจโยกย้ายได้ ให้ใช้วงเวียนทำการวัด

      ข้อ 26
      ในการวัดคะแนนระหว่างลูกบูล 2 ลูก ซึ่งใกล้เคียงกันมาก ผู้เล่นคนหนึ่งได้วัดไปแล้วและประกาศว่าฝ่ายตนได้เปรียบผู้เล่นฝ่ายตรงกันข้ามมีสิทธิ์ที่จะวัดใหม่เพื่อความแน่ใจและถูกต้อง เมื่อทั้งสองฝ่ายได้วัดคะแนนแล้วหลายครั้งยังตกลง

      ไม่ได้ ต้องให้ผู้ตัดสินเป็นผู้วัดเพื่อตัดสิน

      ข้อ 27
      เมื่อเสร็จสิ้นการแข่งขันแต่ละเที่ยว ลูกบูลทุกลูกที่ถูกนำออกก่อนการวัดคะแนนให้ ถือว่าเป็นการโมฆะ และไม่มีสิทธิ์

      โต้แย้งใดๆ ทั้งสิ้น

      ข้อ 28
      ถ้าผู้เล่นฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดทำการวัดคะแนนแล้วไปทำให้ลูกเป้าหรือลูกบูลที่มีปัญหานั้นเคลื่อนที่จะต้องเป็นฝ่ายเสีย

      คะแนนในการวัดคะแนนแต่ละครั้งก่อนทำการวัด ผู้ตัดสินต้องทำการคาดคะเนเสียก่อนว่าลูกใดได้เปรียบ และถ้าได้วัดไปแล้วบังเอิญผู้ตัดสินไปทำให้ลูกบูลหรือลูกเป้าเคลื่อนที่ ผู้ตัดสินจะต้องทำการวัดใหม่ และภายหลังการวัดปรากฎว่าลูกบูลที่คาดคะเนว่าชนะยังคงชนะอยู่ ให้กรรมการตัดสินตามความเป็นจริง แต่ถ้าการวัดครั้งใหม่แล้วปรากฎว่าลูกบูลที่คาดคะเนว่าชนะกลับแพ้ ให้ผู้ตัดสินตัดสินด้วยความเที่ยงธรรม


      ข้อ 29
      ในกรณีที่ลูกบูลของทั้งสองฝ่าย มีระยะห่างจากลูกเป้าเท่ากัน หรือติดกับลูกเป้าทั้ง 2 ลูก ให้ปฏิบัติตามกฎข้อย่อย

      ดังนี้

      29.1 ถ้าทั้งสองฝ่ายหมดลูกบูลเล่นแล้ว การเล่นเที่ยวนั้นให้ถือว่าเป็นโมฆะจะต้องเริ่มเล่นใหม่ โดยผู้เล่นฝ่ายที่

      ได้คะแนนในเที่ยวที่เป็นผู้โยนลูกเป้า

      29.2 ถ้าฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดมีลูกบูลเหลือเล่นอยู่เพียงฝ่ายเดียว ฝ่ายนั้นจะต้องเล่นจนหมดลูกบูล เพื่อทำคะแนน

      เพิ่มตามจำนวนลูกบูลที่อยู่ใกล้เป้าที่สุด

      29.3 ถ้าทั้งสองฝ่ายยังมีลูกบูลเหลืออยู่ ฝ่ายที่โยนลูกบูลที่หลังจะต้องเป็นฝ่ายเล่นลูกต่อไป

      29.4 ถ้าลูกบูลทั้งสองฝ่ายยังเสมอกันอยู่ ต้องเปลี่ยนให้อีกฝ่ายหนึ่งเป็นผู้เล่น และต้องสลับกันโยนฝ่ายละหนึ่งลูก

      จนกว่าฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดจะได้คะแนนแล้วเล่นต่อไปตามปกติ


      ข้อ 30
      หากมีสิ่งหนึ่งสิ่งใดเกาะติดกับลูกบูลหรือลูกเป้าจะต้องเอาสิ่งนั้นออกก่อนการวัดคะแนน

      ข้อ 31
      การเสนอข้อประท้วงต่อผู้ตัดสิน จะกระทำได้ในระหว่างการแข่งขันของแต่ละเกมเท่านั้น เมื่อเกมการแข่งขันนั้นๆ ได้

      สิ้นสุดลง จะไม่มีสิทธิ์ประท้วงใดๆ ทั้งสิ้นเพื่อประโยชน์ของฝ่ายตน ผู้เล่นทุกคนต้องคอยระวังการละเมิดกติกาของฝ่ายตรงข้าม ( บัตรประจำตัวนักกีฬา รุ่นของผู้เล่น สนามแข่งขัน มาตรฐานของลูกบูล ฯลฯ )


      ข้อ 32
      ในขณะทำการจับสลากและการประกาศผลการจับสลาก ผู้เล่นทุกคนต้องอยู่พร้อมกันที่โต๊ะอำนวยการ หลังจากการ

      ประกาศผลไปแล้ว 15 นาที ทีมที่ไม่ได้ลงสนามแข่งขันจะถูกปรับเสียคะแนนให้แก่ฝ่ายตรงข้าม 1 คะแนน

      32.1 หากเกินกำหนดเวลา 15 นาที ไปแล้ว การปรับคะแนนจะทวีเพิ่มขึ้น 1 คะแนนทุกๆ 5 นาที

      32.2 บทลงโทษ ตามข้อ 32.1 จะมีผลใช้บังคับหลังจากการประกาศให้เริ่มทำการแข่งขันทุกครั้ง

      32.3 หลังจากการประกาศการแข่งขันได้ผ่านพ้นไปแล้ว 1 ชั่วโมง ทีมที่ยังไม่ได้ลงทำการแข่งขัน จะถูกปรับให้

      เป็นแพ้ในเกมนั้น

      32.4 ทีมที่มีผู้เล่นไม่ครบจำนวน ก็ต้องลงทำการแข่งขันตามเวลากำหนดโดยไม่อนุญาตให้รอ ผู้ร่วมทีมที่มาล่า

      ช้าและจะเล่นลูกบูลได้ตามจำนวนที่ผู้ลงเล่นมีสิทธิ์เท่านั้น


      ข้อ 33
      เมื่อการแข่งขันในเที่ยวนั้นได้เริ่มเล่นไปแล้ว ผู้เล่นที่มาล่าช้าไม่มีสิทธิ์ลงเล่นในเที่ยวนั้นทันที แต่อนุญาตให้ลงเล่นใน

      เที่ยวต่อไปได้

      33.1 เมื่อการแข่งขันในเกมนั้นได้ดำเนินไปแล้ว 1 ชั่วโมง ผู้เล่นที่มาล่าช้าหมดสิทธิ์ลงทำการแข่งขันในเกม

      นั้น

      33.2 หากทีมที่มีผู้เล่นไม่ครบจำนวนสามารถชนะการแข่งขันในเกมนั้น จะอนุญาตให้ผู้เล่นที่มาล่าช้า ลงแข่ง

      ขันในเกมต่อไปได้ แต่ต้องเป็นผู้เล่นของทีมนั้นและต้องมีชื่อถูกต้องในใบสมัครด้วย

      33.3 ถ้าการแข่งขันนั้นแบ่งเป็นสาย จะอนุญาตให้ผู้เล่นที่มาล่าช้าลงแข่งขันในเกมที่ 2 ได้ไม่ว่าผลการแข่งขัน

      ในเกมแรกจะเป็นชนะหรือแพ้

      33.4 การแข่งขันแต่ละเที่ยวจะถือว่าได้เริ่มขึ้นแล้ว ก็ต่อเมื่อลูกเป้าที่โยนไปในสนาม นั้น ได้ตำแหน่งถูกต้อง

      ตามกติกา


      ข้อ 34
      การเปลี่ยนตัวผู้เล่น จะอนุญาตให้กระทำได้ก่อนการจับสลากการแข่งขันเท่านั้น

      ข้อ 35
                   ในระหว่างการแข่งขัน หากมีฝนตก ให้แข่งขันต่อไปจนจบเที่ยว เว้นแต่มีเหตุสุดวิสัย ไม่สามารถแข่งขันต่อไปได้ ผู้ตัดสินและผู้ชี้ขาดเท่านั้น ที่มีอำนาจให้หยุดพักการแข่งขันชั่วคราว หรือยกเลิกการแข่งขันนั้น

      35.1 หลังจากการประกาศเพื่อเริ่มต้นการแข่งขันในรอบใหม่แล้ว ( รอบสองหรือรอบสาม ฯลฯ ) แต่บางสนามยัง

      แข่งขันไม่เสร็จ ผู้ตัดสินอาจดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใด ตามที่ตนเห็นสมควร ด้วยความเห็นชอบของคณะกรรมการ

      จัดการแข่งขัน เพื่อให้การแข่งขันนั้นดำเนินไปด้วยดี

      35.2 ในระหว่างการแข่งขัน ผู้เล่นทุกคนที่จะออกไปจากสนาม ต้องได้รับอนุญาตจากผู้ตัดสินเสียก่อน มิฉะนั้นจะ

      ถูกลงโทษตามที่กำหนดไว้ในข้อ 32 และข้อ 33


      ข้อ 36
      ในการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศหรือรอบอื่นๆ ก็ตาม ห้ามผู้เล่นทั้งสองฝ่ายสมยอมกัน หรือแบ่งรางวัลกันโดยเด็ดขาด ถ้าผู้เล่นทั้งสองฝ่ายแข่งขันกันไม่สมศักดิ์ศรี เป็นการหลอกลวงผู้ดู ผู้ควบคุมทีมและผู้ตัดสิน ผู้เล่นทั้งสองทีมจะถูกลงโทษให้ออกจากการแข่งขัน และผลการแข่งขันที่ผ่านมาก็ให้ถือเป็นโมฆะด้วย นอกจากนั้นแล้ว ผู้เล่นทั้ง 2 ทีม จะต้องถูกพิจารณาลงโทษตามที่ได้กำหนดไว้ในข้อ 37 อีกด้วย

      ข้อ 37
      ผู้เล่นที่มีพฤติกรรมอันเป็นการผิดมารยาทอย่างรุนแรงต่อผู้ควบคุมทีม ผู้ตัดสิน ผู้เล่นคนอื่นหรือผู้ดู จะถูกลงโทษตาม

      สภาพของความผิด ดังนี้

      (1) ให้ออกจากการแข่งขัน

      (2) ถอนใบอนุญาต ( บัตรประจำตัวนักกีฬา )

      (3) งดให้รางวัล

      37.1 การลงโทษผู้เล่นที่กระทำผิด อาจมีผลถึงผู้ร่วมทีมด้วย

      37.2 บทลงโทษ (1) และ (2) เป็นอำนาจของผู้ตัดสิน

      37.3 บทลงโทษ (3) เป็นอำนาจของคณะกรรมการจัดการแข่งขันที่จะต้องทำรายงานและส่งของรางวัลที่ยึดไว้นั้นให้สหพันธ์ฯ ทราบภายใน 48 ชั่วโมง เพื่อพิจารณาตามที่เห็นสมควรต่อไปการลงโทษทุกกรณี เป็นอำนาจของคณะกรรมการบริหารสหพันธ์ฯ ที่จะพิจารณาเป็นขั้นสุดท้าย


      ข้อ 38
      ผู้ตัดสินทุกคนที่ได้รับแต่งตั้งจากสหพันธ์ฯ มีหน้าที่ควบคุมดูแลให้การแข่งขันดำเนินไปอย่างมีระเบียบและถูกต้อง

      ตามกติกาอย่างเคร่งครัด และมีอำนาจให้ผู้เล่น ทุกคน หรือทุกทีมที่ปฏิเสธไม่ปฏิบัติตามคำตัดสิน ออกจากการ

      แข่งขันได้ หากมีผู้ดูซึ่งเป็นนักกีฬาในสังกัดของสหพันธ์ฯ เป็นต้นเหตุทำให้เกิดการจลาจลในสนามแข่งขัน ผู้

      ตัดสินจะต้องรายงานให้สหพันธ์ฯ ทราบ ทางสหพันธ์ฯจะได้เรียกตัวผู้กระทำผิดนั้นมาชี้แจงต่อคณะกรรมการวินัย

      เพื่อพิจารณาลงโทษต่อไป


      ข้อ 39
      หากมีกรณีอื่นใดที่มิได้กำหนดไว้ในกติกานี้ เป็นหน้าที่ของผู้ตัดสินที่จะต้องขอความร่วมมือคณะกรรมการชี้ขาด

      ของการแขช่งขันครั้งนั้น เพื่อพิจารณาตัดสินชี้ขาดตามควรแก่กรณี ( คณะกรรมการชี้ขาดประกอบด้วย กรรมการ 3

      หรือ 5 คน )

      39.1 การชี้ขาดของคณะกรรมการชี้ขาดถือเป็นที่สิ้นสุด ในกรณีมีเสียงเท่ากันให้ประธานกรรมการชี้ขาดเป็น

      ผู้ชี้ขาด

      39.2 ผู้เล่นทุกคนจะต้องแต่งกายให้เรียบร้อยการไม่สวมเสื้อ ไม่สวมรองเท้าถือว่ามีความผิดผู้เล่นที่ฝ่าฝืนไม่

      ปฏิบัติตามกฎนี้ ถ้าผู้ตัดสินเตือนแล้วยังเพิกเฉยอยู่อีก จะถูกลงโทษให้ออกจากการแข่งขัน

      ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      ความคิดเห็น

      ×