หน้าใส ไร้สิว ด้วยว่านหางจระเข้ - หน้าใส ไร้สิว ด้วยว่านหางจระเข้ นิยาย หน้าใส ไร้สิว ด้วยว่านหางจระเข้ : Dek-D.com - Writer

    หน้าใส ไร้สิว ด้วยว่านหางจระเข้

    ว่านหางจระเข้า พืชสมุนไพรพืชบ้าน ที่มีสรรพคุณมากกว่าพืชสมุนไพร

    ผู้เข้าชมรวม

    6,230

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    3

    ผู้เข้าชมรวม


    6.23K

    ความคิดเห็น


    6

    คนติดตาม


    3
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  17 ก.พ. 54 / 21:48 น.


    ข้อมูลเบื้องต้น


    รายงานโครงงาน

     

    วิชา โครงงานเพื่อสาธารณะประโยชน์ (ค 31203)

    เรื่อง หน้าใส ไร้สิว ด้วยว่านหางจระเข้

     

    จัดทำโดย

    นางสาวทัศนาพร  นวลโสภา ม.4/2 เลขที่ 15

    นายสุทธิเกียรติ  สุขกิจโสภณ ม.4/2 เลขที่ 35

     

    เสนอ

    คุณครูปราณปรียา  คุณประทุม

     

    โรงเรียนแก้งคร้อวิทยา

    สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 30

    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ

      บทคัดย่อ

       

      สมุนไพรไทยมีอยู่มากมายหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นว่านหางจระเข้ สาบเสือ ใบหญ้านาง ฟ้าทะลายโจร  ฯลฯ หรือแม้กระทั่งพืชผักสวนครัว รั้วกินได้ของเราเองก็เช่นกัน ขิง ข่า ตะไคร้ ใบมะกรูด มะนาว พริก และอีกมากมาย ซึ่งก็ล้วนแล้วแต่เป็นประโยชน์ และมีสรรพคุณทางการแพทย์ทั้งสิ้น

                  ตั้งแต่โบราณก่อน ที่จะมีแพทย์แผนปัจจุบัน ปู่ ย่า ตา ยายของเราก็ได้ใช้พืชสมุนไพรไทยเหล่านั้น ในการรักษาโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ หรือแม้กระทั่งใช้เสริมความงามให้แก่ตนเอง ดังเช่นที่เรารู้ๆกันอยู่ว่า ขมิ้นสามารถนำมาขัดผิวให้ขาวสวยได หรือการนำมะละกอสุกมายีใส่ผม ช่วยให้ผมไม่มันแถมเงางามอีกด้วย

                  แต่ในปัจจุบัน ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่มีส่วนผสมของสารเคมี เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของเรามากขึ้น ทุกเช้าเราล้างหน้าด้วยโฟมล้างหน้า หรือใช้ครีมทาผิที่ผสมสารเคมี ซึ่งอาจก่อให้เกิดสารเคมีตกค้างและเป็นอันตรายต่อสุขภาพของเราก็เป็นได้ ดังนั้น การศึกษาความรู้เกี่ยวกับพืชสมุนไพรพื้นบ้าน สามารถช่วยให้เราใช้ชีวิตประจำวันที่ห่างไกลสารเคมีได้อย่างปลอดภัยไร้กังวล และยังสามารถประหยัดเงินในกระเป๋าได้อีกด้วย


      กิตติกรรมประกาศ

       

      รายงานโครงงานเล่มนี้จัดทำในหัวข้อ หน้าใส ไร้สิว ด้วยว่านหางจระเข้ซึ่งทางผู้จัดทำไดศึกษา และรวบรวมข้อมูลจากหนังสือ และอินเตอร์เน็ต ซึ่งก็สามารถรวบรวมข้อมูลได้มากพอสมควรอยู่ แต่ถึงกระนั้นก็ยังขาดข้อมูลบางส่วน ทางผู้จัดทำจึงได้สอบถามข้อมูลจากผู้ใช้จริง นั่นก็คือ น่ายกัมพล กันสการ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ห้อง 2 ที่ได้เล่าประสบการจริง จากผู้ใช้จริง ซึ่งก็ทำให้ทางผู้จัดทำสามารรถเรียบเรียงเนื้อหาได้ละเอียดยิ่งขึ้น นอกจากนี้ต้องขอขอบคุณ คุณยายละมุด นาหมุด ที่เอื้อเฟื้อสถานที่ และตัวอย่างพืชที่เรานำมาศึกษา ทำให้ผู้จัดทำได้ศึกษาจากของจริง สัมผัสจริง ไม่ใช่แค่เพียงรูปถ่าย ทั้งนี้ต้องขอขอบคุณทั้งสองท่านที่ช่วยให้ความร่วมมือเป็นอย่างยิ่ง

      ขอขอบคุณคุณครูปราณปรียา คุณประทุมที่ช่วยให้คำปรึกษา แนะนำ ติเตือน และให้คำปรึกษาเกี่ยวกับรูปเล่มของรายงานโครงงานเล่มนี้ตลอดจนเสร็จสมบูรณ์ด้วยดี ผู้จัดทำหวังว่า ผู้ที่ศึกษาเนื้อหาของรายงานโครงงานเล่มนี้ จะสามรถนำข้อมูลไปปรับปรุงประยุกต์ใช้ได้จริง และสามารถใช้ได้ในชีวิตปะจำวัน


      บทที่ 1

      บทนำ

       

      ว่านหางจระเข้ คือพืชสมุนไพรที่รู้จักกันทั่วไป เป็นสมุนไพรพื้นฐานที่ทุกบ้านจะต้องมี ซึ่งโดยปกติแล้วว่านหางจระเข้จะถูกใช้ในการรักษาแผลพุพองจากไฟไหม้ น้ำร้อนสวก หรือว่าแผลจากความร้อน สามรถใช้ได้ผลอย่างชะงัดนักแล แต่ว่านอกจากสรรพคุณทางยาที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว ว่านหางจระเข้ยังมีอีกหนึ่งสรรพคุณที่น้อยคนนักจะรู้ คือ สามารถใช้พอกหน้าได้

       

      จุดมุ่งหมาย

      1. เพื่อศึกษาประโยชน์ และสรรพคุณทางการแพทย์

      2. เพื่อศึกษาลักษณะทางกายภาพของว่านหางจระเข้

      3. เพื่อนำความรู้ที่ได้ไปเผยแพร่ต่อชุมชน

       

      ตัวแปรที่ศึกษา

                      ตัวแปรต้น ว่านหางจระเข้

                      ตัวแปรตาม ระยะเวลาในการใช้

                      ตัวแปรควบคุม สภาพผิวหน้าของผู้ใช้

      สมมุติฐาน

      ว่านหางจระเข้สามารถใช้พอกเพื่อทำให้ผิวหน้าใส ไร้สิวได้จริง

       

      สถานที่ที่ศึกษา

      บ้านเลขที่ 126 หมู่ 13 บ้านนาแก ต.นาหนองทุ่ม อ.แก้งคร้อ จ.ชัยภูมิ

       

      ระยะเวลาที่ศึกษา

      1 เดือน


      บทที่ 2

      เอกสารที่เกี่ยวข้อง

       

      ว่านหางจระเข้

      ว่านหางจระเข้เป็นต้นพืชที่มีเนื้ออิ่มอวบ จัดอยู่ในตระกูลลิเลี่ยม (Lilium) แหล่งกำเนิดดั้งเดิมอยู่ในชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและบริเวณตอนใต้ของทวีปแอฟริกา พันธุ์ของว่านหางจระเข้มีมากมายกว่า 300 ชนิด ซึ่งมีทั้งพันธุ์ที่มีขนาดใหญ่มากจนไปถึงพันธุ์ที่มีขนาดเล็กกว่า 10 เซนติเมตร ลักษณะพิเศษของว่านหางจระเข้ก็คือ มีใบแหลมคล้ายกับเข็ม เนื้อหนา และเนื้อในมีน้ำเมือกเหนียว ว่านหางจระเข้ผลิดอกในช่วงฤดูหนาว ดอกจะมีสีต่างๆกัน เช่น เหลือง ขาว และแดง เป็นต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์

      คำว่า " อะโล" (Aloe) เป็นภาษากรีซโบราณ หมายถึง ว่านหางจระเข้ ซึ่งแผลงมาจากคำว่า “Allal” มีความหมายว่า ฝาดหรือขม ในภาษายิว ฉะนั้นเมื่อผู้คนได้ยินชื่อนี้ ก็จะทำให้นึกถึงว่านหางจระเข้ ว่านหางจระเข้เดิมเป็นพืชที่ขึ้นในเขตร้อนต่อมาได้ถูกนำไปแพร่พันธุ์ในยุโรปและเอเชีย และทุกวันนี้ทั่วโลกกำลังเกิดกระแสนิยมว่านหางจระเข้กันเป็นการใหญ่

      ชื่อวิทยาศาสตร์: Aloe vera (Linn.) Burm. f.

      ชื่อพ้อง: Aloe barbardensis Mill. , A. indica Royle

      ชื่อวงศ์: Aloaceae

      ชื่ออังกฤษ: Aloe, Barbados aloe, Crocodile’s tongue, Indian aloe, Jafferbad, Mediteranean aloe, Star cactus, True aloe

      ชื่อท้องถิ่น: ว่านไฟไหม้, หางตะเข้

      ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

      ว่านหางจระเข้เป็นพืชอวบน้ำลำต้นสั้นหรือไม่มีลำต้นสูง 60 - 100 ซม. (24 - 39 นิ้ว) กระจายพันธุ์โดยตะเกียง ใบหนาอ้วนมีสีเขียวถึงเทา-เขียว บางสายพันธุ์มีจุดสีขาวบนและล่างของโคนใบ ขอบใบเป็นหยักและมีฟันเล็กๆสีขาว ออกดอกในฤดูร้อนบนช่อเชิงลด สูงได้ถึง 90 ซม (35 นิ้ว) ดอกเป็นดอกห้อย วงกลีบดอกสีเหลืองรูปหลอด ยาว 2 - 3 ซ.ม. (0.8 - 1.2 นิ้ว) ว่านหางจระเข้ก็เหมือนพืชชนิดอื่นในสกุลที่สร้างอาร์บัสคูลาร์ไมคอร์ไรซา (arbuscular mycorrhiza) ขึ้น ซึ่งเป็นสมชีพที่ทำให้พืชดูดซึมสารอาหารและแร่ธาตุในดินได้ดีขึ้น

      ประวัติความเป็นมาในการใช้ว่านหางจระเข้

      นับเป็นเวลาหลายศตวรรษที่หลายประเทศรู้จักใช้ว่านหางจระเข้รักษาโรคอย่างกว้างขวาง เนื่องจากมีคุณวิเศษในการรักษาแผลไฟลวก รักษาแผลทั่วไป และระงับความเจ็บปวด รวมทั้งรักษาโรคเรื้อนกวาง จากเอกสารทางประวัติศาสตร์ของชาวอียิปต์ โรมัน กรีซ แอลจีเรีย ตูนีเซีย อาหรับ อินเดีย และจีน มีรายงานการใช้พืชชนิดนี้เป็นทั้งยาและเครื่องสำอาง แม้แต่พระนางคลีโอพัตราก็ยังรักษาความงามและความมีเสน่ห์ของพระองค์ด้วยวุ้นของว่านหางจระเข้

      ก่อนคริสตศักราช 1500 ปี (หรือ 957 ปีก่อนพุทธศักราช) มีรายงานของชาวอียิปต์ที่ถือว่าเป็นหลักฐานที่เก่าแก่ที่สุด รายงานถึงสรรพคุณมากมายของว่านหางจระเข้ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการรู้จักใช้พืชชนิดนี้มาเป็นเวลาหลายศตวรรษแล้ว ในตำราสมุนไพรที่มีชื่อเสียงของกรีซเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 1 รายงานถึงวิธีการใช้ว่านหางจระเข้ในการรักษาโรคต่างๆ อย่างละเอียดพิสดาร ตั้งแต่รักษาบาดแผล โรคนอนไม่หลับ กระเพาะอาหารทำงานไม่ปกติ ท้องผูก ริดสีดวงทวาร อาการคันที่ผิวหนัง ปวดหัว ผมร่วง โรคเหงือกและฟัน โรคไต ผิวหนังพอง ผิวถูกแดดเผา ผิวด่างดำ ช่วยบำรุงผิวหนังระงับอาการปวดและอื่นๆ

      วิธีปลูกว่านหางจระเข้

      การเตรียมดิน: ว่านหางจระเข้ชอบดินร่วนซุย ถ้าดินเหนียวมากให้ผสมใบไม้แห้งผุ และทรายลงไป ดินควรใส่ปุ๋ยด้วย ให้ใช้คอกหรือปุ๋ยอินทรีย์ กทม. ๒ ไม้ต้องใช้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ ก่อนนำดินมาผสมต้องย่อยดินเป็นก่อนเล็กที่สุดเสียก่อน เอาดินมา ๓ ส่วน ผสมใบไม้แห้งผุที่ย่อยเป็นชิ้นเล็กๆ ๒ ส่วน ผสมปุ๋ย ๑ ส่วน ผสมทราย ๐.๕ ส่วน คลุกเคล้าให้เข้ากัน จะได้ดินร่วนซุยที่เหมาะกับว่านหางจระเข้

      สถานที่ปลูก:

      - แสงแดด

      ว่านหางจระเข้ไม้ชอบแดดจัด ควรให้ว่านได้ถูกแดดตั้งแต่ตอนเช้าถึงสิบเอ็ดโมงเช้า และได้ร่มตั้งแต่นั้นจนถึงเย็น หรือปลูกในที่ร่มรำไรตลอดวันก็ได้ แต่ระวังอย่าให้ถูกแดดตอนเที่ยงและตอนบ่าย

      - ระดับพื้นที่

      บริเวณที่ปลูกว่านหางจระเข้ไม่ควรเป็นพื้นที่ต่ำกว่าบริเวณที่อยู่รอบๆ ควรสูงกว่าหรืออย่างน้อยก็เสมือนบริเวณที่อยู่รอบๆ เพราะว่านหางจระเข้ไม่ชอบบริเวณพื้นที่มีน้ำขัง ชอบดินที่ระบายน้ำดี

      - น้ำค้าง

      ไม่ควรปลูกใต้ชายคาหรือบริเวณที่น้ำค้างลงไม่ถึง

      - การเลือกต้นปลูก

      ต้นว่านหางจระเข้ยิ่งโตยิ่งปลูกง่าย ถ้าต้นเล็กเกินไปจะปลูกยาก ต้นที่นำมาปลูกได้ควรมีใบที่ยาวที่สุดประมาณ ๑ ฝ่ามือขึ้นไปหรือมีใบ ๘๑๐ ใบแล้ว

      วิธีดูและรักษาว่านหางจระเข้

      การลงดินหรือลงกระถาง:  ถ้าต้นว่านหางจระเข้มีลำต้นยาวมาก ควรตัดลำต้นให้สั้นลงให้เหลือลำตันเพียง 2 - 3 นิ้ว ลำต้นที่ ถูกตัดนี้จะงอกรากใหม่อย่างรวดเร็ว

      การลงดิน: อย่าลงลึกไปหรือตื้นไป คืออย่าลึกจนเวลาลดน้ำดินไปกลบยอดได้ หรืออย่าตื้นจนต้นโยกเยกเวลารดน้ำ

      การรดน้ำ: หน้าฝนไม่จำเป็นต้องรดน้ำ ถ้าหน้าแล้งควรลดวันละ 1 - 2 ครั้ง ให้ดินชุ่มชื้ออยู่เสมอ แต่ต้องระวังอย่ารดจนดินแฉะเกินไป

      การบำรุงรักษา

      หมั่นพรวนดิน เนื่องจากว่านหางจระเข้ชอบดินร่วน ดังนั้นถ้าหากเห็นว่าดินเริ่มแข็งจับเป็นก้อนน้ำซึมผ่านไม่ดี หรือมีน้ำขังให้พรวนดินให้ร่วน คอยกลบโคนต้น เมื่อต้นว่าหางจระเข้โตขึ้นเรื่อย ๆ จะมีลำต้นยืดยาวขึ้นมาเหนือพื้นดินให้คอยเอา ดินกลบต้นเสมอกลบจนดินอยู่ตืดชิดกับใบล่างสุด ถอนต้นเล็ก ๆ ทิ้ง ว่านหางจระเข้แตกต้นใหม่ได้เร็วมากจึงต้องหมั่นถอนต้นใหม่ทิ้งเสมอเพราะ ต้นใหม่จะแย่งอาหารจากต้นแม่แต่อย่าถอนหมด เหลือไว้ขยายพันธุ์บ้าง ใส่ปุ๋ยปีละ1-2ครั้ง เปลี่ยนกระถางหรือปลูกใหม่ ถ้าปลูกในกระถางเมื่อครบปีแล้วควรเปลี่ยนดินใหม่ ต้นว่านหางจระเข้ที่ปลูกลงดิน ถ้าลำต้นอยู่พ้นจากดินมากไป ก็ตัดให้ลำต้นเหลือสั้นลงแล้วปลูกใหม่ ลำต้นที่ถูกตัดจะงอกรากใหม่

      การขยายพันธุ์ว่านหางจระเข้

      ต้นใหม่ที่งอกจากต้นแม่จะโตเร็วกว่าต้นใหม่ที่แยกมาปลูกต่างหาก ดังนั้นจึงควรจะค่อยให้ต้นใหม่โตมากๆ เสียก่อนจึงค่อยแยกปลูกต้นแม่หนึ่งต้น ควรเก็บพันธุ์ไม่เกิดสองต้น เพราะถ้ามีลูกมากไป ลูกจะแย้งอาหารกันเองทำให้โตช้า ลูกว่านหางจระเข้ที่เก็บไว้ขยายพันธุ์ไม่ควรปลูกอยู่ใกล้กัน ควรจะอยู่ตรงข้ามกัน

      ลักษณะต้นไม้ที่เลี้ยงดูไม่ดี

      - ใบเน่าและลำต้นเน่า แสดงว่าน้ำขังมากหรือปุ๋ยมากเกิดไป

      - ใบแบนราบลงแสดงว่ารากเริ่มเน่าหรือต้นมีรากน้อยเกินไป

      - ใบออกสีน้ำตาลอมแดงเป็นเพราะถูกแดดมากเกินไป

      - โตช้าเพราะขาดปุ๋ย ดินไม่ร่วน ขาดน้ำค้าง ถูกต้นไม้อื่นแย่งอาหารถูกแดดมากเกินไปและขาดน้ำ

      ศัตรูพืช

      ว่านหางจระเข้มีศัตรูน้อยมาก เช่นกัน เท่าที่เคยพบมี

      - เพลี้ยกินใบ ทำให้ใบมีจุดขาว

      -  หอยทาก ใบว่านหางจระเข้ที่หอยทากกินจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเหมือนถูกไฟเผา

      การตัดมาใช้

      เมื่อจะตัดใบจากลำต้นไหนก็ควรจะตัดต้นนั้นต้นเดียวไปเลื่อยๆ จนหมดแล้วจึงตัดต้นใหม่ไม่ควรตัดต้นนั้นทีต้นนี้ทีเพราะว่านหางจระเข้ที่ถูกตัดไปจะโตช้าและทำให้ลำต้นยืดยาวพ้นดินมากเกินไปทำให้ต้นว่านล้มได้ การตัดควรตัดใบล่างสุดก่อนเพราะเป็นใบแก่ที่สุดมีสรรพคุณดีที่สุด

      วิธีใช้ว่านหางจระเข้

      ต้นว่านหางจระเข้ที่จะนำมาใช้ควรเป็นต้นที่ปลูกนาน 1 ปีขึ้นไป หรือสังเกตจากใบที่ใหญ่ที่สุดควรมีความกว้างที่โคนใบประมาณ 1-2 นิ้วอย่างไรก็ตามต้นเล็กก็มีสรรพคุณในการรักษาเช่นกันแต่สนนพคุณของมันจะมีมากขึ้นตามอายุ จึงควรมีต้นแก่ๆ สักต้นในบ้าน เวลาใช้ ปกติควรใช้ใบล่างสุด เพราะเป็นใบที่แก่และใหญ่กว่าใบอื่นดังนั้นจึงมีน้ำเมือกมากและมีคุณค่าทางยามากกว่า

      วุ้นและน้ำเมือก: เมื่อเราปอกเปลือกว่านหางจระเข้หมด จะเหลือส่วนที่เป็นแท่งใสๆ ส่วนนี้เราเรียกว่า วุ้น และเมื่อขูดเนื้อวุ้นนี้จะมีน้ำไหลออกมา เรียกว่า น้ำเมือก

       วิธีใช้: ให้เลือกใช้ใบล่างสุด ล้างน้ำให้สะอาด ปอกเปลือกสีเขียวออก ล้างน้ำยางสีเหลืองออกให้หมด เพราะอาจจะระคายเคืองผิวหนัง และทำให้มีอาการแพ้ได้ ขูดเอาวุ้นใสปิดพอกบริเวณแผล หรือฝานเป็นแผ่นบางปิดแผล พันด้วยผ้าพันแผลที่สะอาด เปลี่ยนวันละ 2 ครั้ง เช้าเย็น จนกว่าแผลจะหาย นอกจากนี้ ยังใช้วุ้นเป็นส่วนผสมในเครื่องสำอางหลายประเภท เช่น แชมพูสระผม สบู่ ครีมกันแดด เป็นต้น สารที่ออกฤทธิ์เป็นกลัยโคโปรตีนชื่อ Aloctin A ซึ่งมีฤทธิ์ลดการอักเสบ และเพิ่มการเจริญทดแทนของเนื้อเยื่อที่แผล แต่มีข้อเสีย คือสลายตัวได้ง่ายเมื่อถูกความร้อน ไม่ควรทิ้งวุ้นสดไว้เกิน 24 ชั่วโมง

      วิธีใช้ว่านหางจระเข้เป็นยาทาภายนอก

      น้ำเมือกทา: เอามีดตัดใบว่านหางจระเข้ เฉือนตรงที่มีหนามออกทั้งสองข้าง แล้วผ่ากลางออกเป็นสองซีก เนื้อวุ้นที่ผ่าจะมีน้ำเมือกใสๆ ออกมาพร้อมที่จะใช้ทาได้เลย ทาให้มากๆ น้ำเมือกจะถูกดูดซึมเข้าไปในผิวหนังในเวลาไม่กี่นาที เมื่อทาไปสักครู่จะรู้สึกว่าน้ำเมือกถูกใช้จนหมด ที่จริงหมดเฉพาะผิวหน้า ถ้าหาอะไรไปขูดที่ผิววุ้นน้ำเมือกที่อยู่ข้างในจะไหลออกมาอีกและสามารถดูดแบบนี้ต่อไปเรื่อยๆ จนหมดวุ้น

      เฉือนเป็นแว่นปิดปากแผล: ถ้าเป็นแผลเล็กและเราไม่ต้องการทาแผลบ่อยๆ ให้เอาใบว่านหางจระเข้ตัดหนามออกทั้งสองข้าง แล้วเฉือนตามขวางออกเป็นแว่นบางๆ นำมาปดแผล แว่นบางๆ นี้จะปิดแผลได้ดีและไม่เลื่อนหลุดง่าย เพราะมีขอบใบช่วยยึดผิวหนัง

      เฉือนเนื้อวุ้นเป็นแผ่นบางๆ: ถ้าเป็นแผ่นใหญ่และเราไม่ต้องการทาแผลบ่อยๆ ให้เอาใบว่านหางจระเข้มาแล้วปาดหนามออกทั้งสองข้าง ปอกเปลือกด้านที่แบนออกให้หมด แล้วใช้มีดคมๆ เฉือนวุ้นออกเป็นแผ่นบางๆ ยิ่งบางยิ่งดีนำแผ่นวุ้นที่ได้มาปิดแผล

      ใส่น้ำเมือกลงในผ้าพันแผล: ถ้าเป็นแผลบริเวณที่สกปรกง่าย เช่น บริเวณเท้าให้เอาว่านหางจระเข้ขูดเอาน้ำเมือกใส่ลงในผ้าพันแผล นำมาปิดแผลให้เรียบร้อย ควรเปลี่ยนผ้าพันแผลวันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น

      ปอกเปลือกว่านหางจระเข้ออกให้หมด: ให้รับประทานส่วนที่เป็นวุ้นโดยปอกเปลือกแล้วล้างวุ้นด้วยน้ำให้ยางออกหมดเสียก่อนก็จะใช้รับประทานได้ ให้รับประทานวันระ 2 ครั้ง เช้า-เย็น ครั้งละ 1-2 ช้อนโต๊ะ ปกติวุ้นจะมีรสเฝื่อน ควรเติมน้ำหวานลงไปเพื่อกลบรส ถ้าล้างยางออกไม่หมดจะมีรสขม

      ข้อห้ามใช้และข้อควรระวัง

      ข้อห้ามใช้: ยาง และ ยาดำ ที่ได้จาดยางว่านหางจระเข้ ห้ามใช้กินสำหรับคนที่กำลังมีอาการปวดท้อง อ่อนเพลีย ไตอักเสบ เป็นริดสีดวงทวารหรือหญิงมีครรภ์ และหญิงที่อยู่ระหว่างให้นมลูก เพราะอาจทำให้แท้งลูกและทำให้ลูกที่กินนมแม่ท้องเสีย

      ส่วนวุ้นและน้ำเมือกว่านหางจระเข้ห้ามให้คนที่แพ้ยาต่างๆ ง่าย หรือร่างกายขาดความต้านทานยาต่างๆ เพราะกินว่านหางจระเข้เข้าไปแล้วอาจเกิดผื่นคันที่ผิวหนัง

      ข้อควรระวังในการใช้

      เมื่อเป็นยาทา: บางคนอาจแพ้ยา อาการแพ้ยาจะเกิดขึ้นภายในเวลา 2-3 นาที ดังนั้นก่อนใช้ควรทดลองทาดูเล็กน้อยที่หลังหู หรือที่รักแร้ หากใน 2-3 นาที ไม่มีอาการผิวปกติใดๆ เกิดขึ้นก็แสดงว่าให้ได้

      สำหรับผู้ที่ผิวแห้ง: ไม่ควรใช้น้ำเมือกเพียงอย่างเดียวทาผิวเพราะอาจทำให้ผิวแห้งยิ่งขึ้น ควรผสมน้ำเมือกลงกับครีมหรือน้ำมันทาผิวซึ่งจะช่วยให้ผิวเต่งตึงและชุ่มชื่น

      เมื่อใช้เป็นยากิน: สำหรับ ยางและยาดำ ไม่ควรกินมากเกินไปเพราะสาร อะโลอินที่มีอยู่ในยางว่านหางจระเข้มีฤทธิ์เป็นยาระบาย ถ้ากินมากเกิดไปทำให้ท้องเสียและปวดท้อง เพราะลำไส้เกร็งตัว และถ้ากินติดต่อกันนานอาจทำให้เป็นโรคปวดตามข้อได้


      ข้อควรระวังสำหรับผู้ที่ป่วยเป็นโรคต่างๆ

      ข้อควรระวังสำหรับผู้ที่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน: การดื่มน้ำว่านหางจระเข้ จะทำให้ตับอ่อนสร้างอินสุลินมาก ขึ้น ดังนั้นผู้ที่ใช้ยาอินสุลินอยู่แล้วดื่มน้ำว่านหางจระเข้อาจทำให้มีอินสุลินมากเกินไป ซึ่งมีอันตรายมากอาจทำให้ช็อกได้ ดังนั้นคนที่คิดว่าจะกินว่านหางจระเข้โดยที่ใช้ยาอินสุลินอยู่ ควรจะปรึกษาแพทย์ เพื่อหาวิธีใช้ยาอินสุลินให้เหมาะสม

      ข้อควรระวังสำหรับผู้ที่เป็นโรคกระเพาะและลำไส้อักเสบ: ผู้ที่เป็นโรคกระเพาะและลำไส้อักเสบอยู่แล้ว เมื่อกินวุ้นว่านหางจระเข้สด ควรจะล้างยางให้ออกให้หมดจริงๆ จนไม่มีรสขมเหลืออยู่เลยมิฉะนั้นยางที่ติดค้างอยู่กับวุ้นจะไประคายเคืองกระเพาะและลำไส้ ทำให้อาเจียนและถ่ายอย่างแรง

      ข้อควรระวัง

      ยาง และ ยาดำ ที่ได้จากยางว่านหางจระเข้ ห้ามใช้กินสำหรับคนที่กำลังมีอาการปวดท้อง อ่อนเพลีย ไตอักเสบ เป็นริดสีดวงทวาร หรือหญิงมีครรภ์ และหญิงที่อยู่ระหว่างให้นมลูก เพราะอาจทำให้แท้งลูกและทำให้ลูกที่กินนมแม่ท้องเสีย  ส่วนวุ้นและน้ำเมือกว่านหางจระเข้ห้ามให้คนที่แพ้ยาต่างๆ ง่าย หรือร่างกายขาดความต้านทานยาต่างๆ เพราะกินว่านหางจระเข้เข้าไปแล้วอาจเกิดผื่นคันที่ผิวหนัง


      บทที่ 3

      วิธีการดำเนินงาน

       

      วัสดุอุปกรณ์

      วัสดุ


      1. ใบว่านหางจระเข้ 1 ใบ

      อุปกรณ์

      1. มีด

       

      วิธีใช้

      1. ตัดว่านหางจระเข้มาสดๆ 1 ใบ โดยเลือกตัดที่ใบล่างสุด ล้างน้ำให้เศษดิน เศษฝุ่นออกจากใบ

      2. นำมีดมาล้างน้ำให้สะอาด เลาะหนามเล็กๆข้างๆใบออก แล้วนำไปล้างน้ำประมาณ 10-15 นาที  เพื่อให้ยางสีเหลืองไหลออกมาให้หมด


      3. ปอกเปลือกว่านหางจระเข้ออก  จนเหลือแต่วุ้นใสๆ ล้างยางออกให้หมดอีกครั้ง


      4. นำเฉพาะวุ้นว่านหางจระเข้มาใช้  น้ำล้างหน้าของเราให้สะอาด แล้วนำวุ้นที่เตรียมไว้มาหั่นเป็นชิ้นบางๆค่อยทาให้ทั่วใบหน้าโดยเฉพาะจุดที่มีสิวขึ้น ทาก่อนนอนทุกวัน สามารถเก็บไว้ในตู้เย็นใช้ได้หลายครั้ง (อย่างไรก็ตาม ผู้ที่ไม่สามารถใช้ว่านจากต้นได้ทุกครั้ง ใบว่านหางจระเข้สามารถเก็บไว้ใช้ได้ไม่เกิน
      3-4 วัน หากนำมาแช่ตู้เย็นสามารถเก็บไว้ใช้ได้ไม่เกิน 7 วัน)

      5. ปล่อยทิ้งไว้ให้แห้งแล้วค่อยนอน ตื่นเช้าค่อยล้างหน้าด้วยน้ำสะอาดตามปกติ


      บทที่ 4

      ผลการทดลอง

       
      Before


      After
      จากผู้ใช้จริง

                      ...ผมใช้ว่านหางจระเข้มาได้เกือบ 5 ปีแล้ว

                       ซึ่งได้คำแนะนำจากคุณยายผมเอง ผมใช้วุ้นในว่านหางจระเข้ทาพอกทั่วใบหน้าทุกวันเป็นประจำก่อนนอน แต่ก็มีช่วงหนึ่งไม่ได้ใช้ คือประมาณสองเดือนก่อน ช่วงที่งานท่วมหัวจนเกือบเอาตัวไม่รอดนี่แหละ สิวก็เลยขึ้น แถมหน้ามันอีกต่างหาก (หัวเราะ) ไม่ได้ทาเกือบเดือนกว่าได้มั้ง ก็เลยประจวบเหมาะกับที่เพื่อนผมทำโครงงานเกี่ยวกับเรื่องนี้พอดี เขามาขอความร่วมมือ เขาบอกว่าให้ใช้ว่านหางจระเข้ทาเป็นประจำนะ ห้ามลืม!!  ซึ่งผมก็ร่วมมืออย่างเต็มที่ รูปข้างบนนั้น (BEFORE) เป็นรูปตอนที่ไม่ได้ใช้วุ้นว่านหางจระเข้ ทั้งหน้าคล้ำ มัน แถมมีสิว แต่รูปถัดมา (AFTER) เป็นรูปที่ใช้มาประมาณหนึ่งเดือนซึ่งเป็นช่วงที่เพื่อนผมทำการทดลองพอดี หน้าผมจึงกลับมาเป็นปกติอีกครั้ง...


      บทที่ 5

      อภิปรายและสรุปผล

       

      สรุปผลการทดลอง

                      จากผลการทดลอง สามารถสรุปได้ว่า

                      ว่านหางจระเข้สามารถปรับปรุงสภาพผิวหน้าได้จริง ทั้งยังสามารถรักษาสิวให้ยุบลง รักษารอยฝ้าจากแสงแดดให้ดูจางลงได้ โดยการใช้วุ้นจากว่านหางจระเข้ที่สามารถหาได้ง่ายๆจากตามบ้านเรือน มาพอกหน้าก่อนนอนทุกคืน ปล่อยให้แห้งสบายในตอนนอน ค่อยล้างออกในตอนเช้า ทำแบบนี้วันละ 2 ครั้ง จะช่วยให้ผิวหนาเนียนใส ไม่มีความมันบนใบหน้าซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดสิว

                      นอกจากวุ้นแล้ว ส่วนอื่นๆของว่านหางจระเข้ก็ยังมีสรรพคุณทางยาอีกมากมาย ขึ้นอยู่กับว่าเราจะนำมาปรับประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้มากน้อยเพียงใด

       

      ข้อเสนอแนะ

                      ว่านหางจระเข้สดๆจะมีคุณภาพสูงสุด  เมื่อตัดจากต้นแล้วนำมาใช้ทันที  สำหรับผู้ที่ไม่สามารถหาว่านหางจระเข้สดๆมาใช้ได้ อาจใช้ว่านหางจระเข้ 100 เปอร์เซ็นต์ขององค์การเภสัชกรรมที่บรรจุหลอดขายตามร้านขายยาทั่วไป ก็พอใช้ได้ (นำไปแช่ในตู้เย็น เวลาใช้จะรู้สึกเย็นสบายผิว)


      บรรณานุกรม

       

      http://www.rspg.or.th/plants_data/herbs/herbs_17_3.htm

      http://www.chaiwbi.com/0drem/web_children/2544/502/alovala-001-history.htm

      http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A7%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%88%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B9%89








      ภาคผนวก


















      ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      ความคิดเห็น

      ×