1610 ข้าวซ้อมมือและข้าวกล้อง
ธัญพืชเป็นอาหารหลักอย่างหนึ่งของคนทั่วโลก คนไทยและคนแถบเอเชียมีข้าวเป็นอาหารหลัก ธัญพืชเป็นแหล่งของสารอาหารพวกคาร์โบไฮเดรต เมื่อรับประทานแล้วจะเผาผลาญให้พลังงาน แต่เนื่องจากเป็นอาหารหลักปริมาณการบริโภคจึงค่อนข้างมาก ทำให้เป็นแหล่งของสารอาหารโปรตีนจากพืชที่สำคัญอีกด้วย
ข้าวกล้อง ข้าวซ้อมมือ และข้าวขัดสี
ข้าวทั้งหมดนี้ก็คือ ข้าวเจ้านั่นเอง แต่แตกต่างกันตรงวิธีการหรือกระบวนการกระเทาะเปลือกและสีข้าวก่อนนำมาใช้รับประทาน กล่าวคือ ข้าวกล้อง (Brown rice) เป็นข้าวที่ผ่านกรรมวิธีการสีข้าวในขั้นต้นเท่านั้นคือ ผ่านข้าวเปลือกเข้าไปในเครื่องสีข้าว เปลือกข้าวจะถูกกระเทาะ แตกออกและหลุดไป เมื่อแยกเปลือกข้าวออกจะได้ข้าวกล้องซึ่งมีเมล็ดข้าวยังสมบูรณ์ โดยมีจมูกข้าวและเยื้อหุ้มเมล็ดข้าวติดอยู่ ซึ่งทำให้ผิวของเมล็ดข้าวมีสีน้ำตาลอ่อน
ข้าวซ้อมมือ มีลักษณะและคุณค่าทางโภชนาการเช่นเดียวกับข้าวกล้อง บางคนเรียกว่า ข้าวกล้อง
ข้าวซ้อมมือ ต่างกับ ข้าวกล้อง ตรงวิธีการกระเทาะเปลือก ที่ทำโดยการตำข้าวเปลือกในครก ปัจจุบันมีทำกันน้อยลงมาก
ส่วนข้าวขัดสี เป็นข้าวเจ้าที่ผ่านกรรมวิธีการขัดสีหลายครั้ง จนเยื้อหุ้มเมล็ดข้าวและจมูกข้าวหลุดออกไปหมดได้เป็นเมล็ดข้าวสีขาว ซึ่งมีส่วนประกอบหลักคือคาร์โบไฮเดรต ส่วนของเยื่อหุ้มเมล็ดข้าที่ขัดออกเรียกว่ารำ จมูกข้าวและรำเป็นส่วนประกอบของเมล็ดข้าวที่มีโปรตีน วิตามิน และแร่ธาตุ ในปริมาณที่สูงกว่าส่วนอื่น ๆ ของเมล็ดข้าว
ดังนั้นข้าวกล้องจึงมีคุณค่าทางโภชนาการสูงกว่าข้าวขัดสีจนขาว กล่าวคือ มีโปรตีน ไขมัน สูงกว่าเล็กน้อย ที่ต่างกันชัดเจน คือ ข้าวกล้องมีใยอาหารเหลืออยู่มากกว่าข้าวขัดสีถึง 3 เท่า รับประทานข้าวกล้องทุกวันร่วมกับผักและผลไม้สด จะช่วยทำให้ระบบขับถ่ายดีขึ้น ข้าวกล้องมีแร่ธาตุ และวิตามิน สูงกว่าข้าวขัดสี โดยเฉพาะแร่ธาตุฟอสฟอรัส แมกนีเซียม วิตามินบีหนึ่ง และไนอะซิน โดยมีมากกว่าข้าวขัดสีถึง 2-3 เท่า
รับประทานข้าวกล้องสุกได้รับสารอาหารเทียบกับความต้องการสารอาหารต่อวันอย่างไร
รับประทานข้าวกล้องทั้ง 3 มื้อ มื้อละ 1 จาน (ประมาณ 3 ทัพพี หรือประมาณ 1 ถ้วยตวง) รวม 3 จาน จะได้รับพลังงานประมาณร้อยละ 40 ของพลังงานที่ควรได้รับใน 1 วัน ได้คาร์โบไฮเดรตประมาณร้อยละ 60 โปรตีนร้อยละ 30 วิตามินบี 1 ร้อยละ 45 และ และไนอะซินร้อยละ 60 ของปริมาณที่แนะนำให้บริโภคต่อวัน นอกจากนี้ยังจะได้แร่ธาตุแมกนีเซียมและฟอสพอรัสสูงและได้ใยอาหารถึงร้อยละ 25 ของปริมาณที่แนะนำให้บริโภคต่อวัน จึงควรมีการรณรงค์ให้มีการบริโภคข้าวกล้องทุกวัน
การหุงข้าวกล้อง โดยทั่วไปใช้ข้าวกล้อง 1 ส่วน ซาวข้าวเบา ๆ 1 ครั้ง รินน้ำทิ้ง แล้วเติมน้ำ 2 เท่า ของข้าวที่ตวงมา ถ้าชอบแฉะอาจใช้น้ำมากกว่านี้เล็กน้อย จะใช้วิธีหุงด้วยหม้อข้าวไฟฟ้าหรือหม้อนึ่งก็ได้ โดยวิธีนี้จะได้ข้าวกล้องที่นุ่มนวลรสชาติดีและยังรักษาคุณค่าทางโภชนราการไว้ได้มากที่สุดด้วย
ข้อความที่โพสจะต้องไม่น้อยกว่า {{min_t_comment}} ตัวอักษรและไม่เกิน {{max_t_comment}} ตัวอักษร
กรอกชื่อด้วยนะ
_________
กรอกข้อมูลในช่องต่อไปนี้ไม่ครบ
หรือข้อมูลผิดพลาดครับ :
_____________________________
ช่วยกรอกอีกครั้งนะครับ
กรุณากรอกรหัสความปลอดภัย
ความคิดเห็น