ประเทศตุรกี - ประเทศตุรกี นิยาย ประเทศตุรกี : Dek-D.com - Writer

    ประเทศตุรกี

    ลักษณะย่อๆของประเทศตุรกีฮับ

    ผู้เข้าชมรวม

    4,936

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    4

    ผู้เข้าชมรวม


    4.93K

    ความคิดเห็น


    0

    คนติดตาม


    0
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  24 พ.ย. 49 / 22:30 น.


    ข้อมูลเบื้องต้น
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ

      ตุรกี

       

      อยู่ในเอเชียไมเนอร์ ทิศเหนือติดฝั่งทะเลดำ ทิศตะวันออกจดอาเมเนียและอิหร่าน ทิศใต้จดอิรัก ซีเรีย และทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ทิศตะวันตกจดกรีซและทะเลอาเกียน

      เมืองหลวงของตุรกี คืออังการา  ส่วน เมืองที่ใหญ่ที่สุด คือ อิสตันบูล หรือ คอนสแตนติโนเปิล  ภาษาราชการ คือ ภาษาตุรกี  สกุลเงินของตุรกี คือ ลีราตุรกีใหม่

      ที่ตั้งและขนาด

      ที่ตั้ง ตุรกีมีตำแหน่งที่ตั้งอยู่ระหว่างละติจูด 37องศา 43 องศาเหนือ และระหว่างลองติจูด 26 องศา 44 องศาตะวันออก

      เนื้อที่ 780,530 ตร.กม. เป็นพื้นน้ำ 1.3%

      ลักษณะประชากร

      ตุรกีมีประชากร ประมาณ 73,193,000 ในปี 2548    มีความหนาแน่นของประชากร 90/ตร.กม. บริเวณที่มีประชากรอาศัยอยู่หนาแน่น ได้แก่ บริเวณชายฝั่งแถบตะวันตก หรือ แถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ซึ่งเป็นเขตเพาะปลูกผลไม้ที่สำคัญ เช่น ผลไม้ตระกูลส้ม

      ลักษณะภูมิศาสตร์

                      ลักษณะภูมิประเทศ

                มีสภาพแผ่นดินเป็นคาบสมุทร ซึ่งขนาบข้างด้วยทะเลดำและทะเลเมดิเตอร์เรเนียน มีลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบสูง และชายฝั่ง ที่ราบสูงเป็นลักษณะภูมิประเทศที่ปรากฏอยู่มาที่สุดของพื้นที่ทั้งหมด เรียกว่า ที่ราบสูงอนาโตเลีย  ภูมิประเทศย่านชายฝั่งทะเลดำส่วนใหญ่เป็นชายฝั่งลาดชัน ส่วนย่านชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ปรากฏทั้งชายฝั่งลาดชัน ราบเรียบและราบลุ่ม ส่วนภูมิประเทศเกาะแก่งต่างๆ จะปรากฏอยู่ในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนด้านตะวันตกของประเทศ

       

                      ลักษณะภูมิอากาศ

      1.เขตกึ่งทะเลทราย  ร้อนแห้งแล้งและอบอุ่นแห้งแล้ง  ปรากฏอยู่บริเวณพื้นที่ตอนในของประเทศ เป็นด้านหลังเขาของเทือกเขาทอรัส ลักษณะภูมิอากาศทำให้ปรากฏพืชพรรณธรรมชาติเป็นทุ่งหญ้ากึ่งทะเลทราบ และไม้พุ่มเตี้ย ไม้มีหนามต่างๆ

                2.เขตเมดิเตอร์เรเนียน ค่อนข้างชื้นในฤดูหนาว แล้งและอบอุ่นถึงร้อนในฤดูร้อน ปรากฏอยู่ตามชายฝั่งด้านหน้าเขาของเทือกเขาทอรัส(อยู่ทางใต้ที่ราบสูงอนาโตเลีย)

                สังคม

                ผู้ชายตุรกีเป็นคนเจ้าชู้ และเป็นนักรักชั้นเยี่ยม แต่ถ้ารักแล้วรักจริง จริงใจ และรับผิดชอบดีมาก ที่สำคัญต้องซื่อสัตย์ต่อพรหมจรรย์มาก เพราะเขาจะแต่งงานกับผู้หญิงที่ผ่านผู้ชายมาแล้วยากมาก  คนตุรกีส่วนใหญ่จะใส่ใจกับอาหารเช้ามาก และมักจะกินขนมปังตามแบบฝรั่ง

                      วัฒนธรรม

                      รากฐานทางสังคมของตุรกีเป็นแบบครอบครัวขยาย มีความสัมพันธ์แบบทั้งสายเลือดและแต่งงาน โดยยึดถือการสืบทอดจากทางฝ่ายชาย สมาชิกทุกคนยึดถือปฏิบัติตามหลักศาสนา  ผู้ชายจะเป็นหัวหน้าครอบครัว ในปัจจุบันมีความพยายามส่งเสริมเรื่องความเท่าเทียมกันระหว่างผู้หญิงและผู้ชาย โดยผู้หญิงสามารถออกไปทำงานนอกบ้านได้

      ตุรกีเป็นมุสลิมสมัยใหม่ ผู้หญิงไม่ต้องเอาผ้ามาโพกหัว

                      สิ่งที่น่าสนใจ

      ในประเทศตุรกีมีสิ่งที่น่าสนใจหลายสิ่งเช่น กรุงทรอย ,เมืองอิชเมียร์,วิหารอะโปรโคลิส ,วิหารเทพเจ้าซุส ฯลฯ แต่ในตอนนี้จะขออธิบายถึงแค่ 2 สิ่งเท่านั้น คือ

      1..วิหารเซนต์โซเฟีย ตั้งอยู่ที่เมืองคอนสแตนดิโนเบิล ปัจจุบันคือเมืองอิสตันบูล ประเทศตุรกี ผู้สร้างได้สร้างขึ้นและได้ประดับประดาภาพไว้อย่างมากมายภายใน หนึ่งในนั้นคือภาพจักรพรรดิคอนสแตนตินและจัสติเนียนถวายนครอิสตันบูลและวิหารเซนต์โซเฟีย เพื่อบูชาพระแม่กุมาร ซึ่งประดับอยู่บนประตูทางออก ต่อมาพระเจ้าโมฮัมเหม็ดที่ 2 ซึ่งนับถือศาสนาอิสลามได้ดัดแปลงโบสถ์นี้เป็นสุเหร่าอิสลาม แต่ได้คงรูปแบบเดิมไว้

                                                     

      2.สุสานของกษัตริย์มอโซลุสหรือสถานที่เก็บพระศพของพระเจ้ามอโซลุสกษัตริย์แห่งเอเซียไมเนอร์ ซึ่งพระนางเตมีเซีย บรมราชินีได้ขึ้นครองร ออออออออออ อาชย์ ต่อจากพระราชสวามีและได้เป็นผู้สร้างขึ้นไว้เพื่อเป็นที่ฝังพระศพของพระราชสวามี ที่เมืองซาเรีย (เมืองฮาลคาร์นาซัสในปัจจุบัน)โดยใช้ช่างออกแบบ ฟิดิอัส ซาติรัส บรายอาซีส สโคปาส ทิโมทิอัส ที่มีชื่อเสียง ฝีมือเยี่ยมในกรีก ทั้งหมดมาช่วยกันสร้างด้วยหินอ่อน แต่ยังไม่ทันสร้างเสร็จพระนางก็สิ้นพระชนม์เสียก่อน สร้างเมื่อประมาณ 352 ปีก่อนคริสตกาล มีความสูง 140 ฟุต วัดฐานโดยรอบยาว 111 ฟุต แบ่งเป็น 5 ชั้น บนยอดมีรูปปั้นมอโซลุส ประทับบนราชรถเทียมด้วยม้า และปัจจุบันก็ยังมีซากเหลืออยู่ที เมืองฮาลคาร์นาซัส

      ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      ความคิดเห็น

      ×