วิศวกรรมศาสตร์ พระจอมเกล้าพระนครเหนือ - วิศวกรรมศาสตร์ พระจอมเกล้าพระนครเหนือ นิยาย วิศวกรรมศาสตร์ พระจอมเกล้าพระนครเหนือ : Dek-D.com - Writer

    วิศวกรรมศาสตร์ พระจอมเกล้าพระนครเหนือ

    คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

    ผู้เข้าชมรวม

    14,365

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    2

    ผู้เข้าชมรวม


    14.36K

    ความคิดเห็น


    37

    คนติดตาม


    2
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  2 ต.ค. 52 / 02:38 น.


    ข้อมูลเบื้องต้น
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ

      คณะวิศวกรรมศาสตร์   มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

      ประวัติคณะวิศวกรรมศาสตร์ มจพ.
           ได้เริ่มต้นมาจากแผนกวิชา แผนกหนึ่งในโรงเรียนเทคนิคพระนครเหนือ (หรือที่รู้จัก ในนาม "เทคนิคไทย - เยอรมัน") ในปี พ.ศ. 2507  โดยหลักสูตรแรกเป็นหลักสูตรในสาขา วิศวกรรมเครื่องกล  ต่อมาในปี 2514 ซึ่งเป็นปีที่ วิทยาลัยเทคนิคพระนครเหนือ และวิทยาลัยเทคนิคอีกสองแห่ง ได้เปลี่ยนฐานะมาเป็น สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ที่ประกอบด้วย 3 วิทยาเขต คือ วิทยาเขตพระนครเหนือ วิทยาเขตธนบุรี และวิทยาเขตเจ้าคุณทหารลาดกระบัง  คณะวิศวกรรมศาสตร์ จึงได้ถูกจัดตั้งอย่างเป็นทางการ
           ตั้งแต่ปี 2543 คณะฯ ก็ได้เริ่มกิจกรรมในการจัดการศึกษาวิศวกรรมศาสตร์ ร่วมกับอุตสาหกรรม ในโครงการ "สหกิจศึกษา" เป็นหลักสูตร 5 ปี

      ความร่วมมือกับต่างประเทศ
           ปี 2524 รัฐบาลไทย ได้ให้การสนับสนุนในการสร้างอาคารคณะวิศวกรรมศาสตร์ในปัจจุบัน และรัฐบาลสหพันธสาธารณรัฐเยอรมนี ได้ให้การสนับสนุน ด้านผู้เชี่ยวชาญ พัฒนาบุคลากร และอุปกรณ์การศึกษา ในการพัฒนา คณะวิศวกรรมศาสตร์ ในด้านวิศวกรรมไฟฟ้ากำลัง และวิศวกรรมการผลิตในระดับปริญญาตรี
           ปี 2527 คณะฯ ได้ร่วมมือกับสถาบันการศึกษาในเยอรมัน โดยการสนับสนุนทางการเงิน จากสหภาพยุโรป ในการพัฒนา ภาควิชาวิศวกรรมเคมีและกระบวนการ
           ปี 2532 คณะฯ ได้ร่วมมือมหาวิทยาลัยในฝรั่งเศสภายใต้ การสนับสนุนทางการเงิน จากสหภาพยุโรป ในโครงการพัฒนา ห้องปฏิบัติการวิจัย ด้านการสันดาป ในภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล     
           ปี 2534 โครงการความร่วมมือทางวิชาการ กับสถาบันการศึกษา และวิจัยในฝรั่งเศส
           ปัจจุบัน โครงการความร่วมมือทางวิชาการ กับมหาวิทยาลัยชั้นนำทางด้านวิศวกรรมจากประเทศฝรั่งเศส และสหพันธสาธารณรัฐเยอรมนี

      ปรัชญา
      พัฒนาคน พัฒนาวิศวกรรม สร้างนวัตกรรมและนำความรู้สู่สังคม

      ปณิธาน
      มุ่งมั่นพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีความรู้ความสามารถทางวิชาการและวิจัยด้านวิศวกรรมศาสตร์ เป็นคนดีมีคุณธรรมและจริยธรรม เป็นที่พึ่งพาและชี้นำสังคมได้

      วิสัยทัศน์
      เป็นศูนย์กลางความเชี่ยวชาญในการจัดการศึกษา วิจัยและพัฒนาด้านวิศวกรรมศาสตร์เพื่อตอบสนองความต้องการของสังคม ประเทศชาติ และเป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ

      พันธกิจ
      1. จัดการศึกษาและผลิตบัณฑิตด้านวิศวกรรมที่มีความเป็นเลิศ
      2. วิจัยและสร้างสรรค์ผลงานด้านวิศวกรรม และสร้างนวัตกรรม
      3. ให้บริการงานด้านวิศวกรรมที่มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน ถูกต้องและเป็นธรรม สามารถเป็นแหล่งอ้างอิงทางวิชาการได้
      4. ส่งเสริม เผยแพร่ และทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมเพื่อสืบสานความเป็นชาติและสร้างคนที่มีความรู้คู่คุณภาพและจริยธรรม
      5. สร้างองค์กรให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ มีวัฒนธรรมองค์กรที่ดีและมีสิ่งแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้

      เป้าประสงค์
      1. เพื่อผลิตวิศวกร นักอุตสาหกรรม และนักวิจัยที่มีคุณภาพ มีจรรยาบรรณ
      2. เพื่อสร้างสรรค์ผลงานวิจัย พัฒนางานด้านวิศวกรรม สร้างนวัตกรรม ที่มีผลกระทบต่อสังคม
      3. เพื่อมีความเชื่อมโยงกับภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมในการสร้างความรู้และใช้ความรู้อย่างมีระบบ
      4. เพื่อทำนุบำรุง อนุรักษ์และจรรโลงไว้ซึ่งศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย
      5. เพื่อบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ
      6. เพื่อให้มีอันดับความสามารถในการแข่งขันของคณะอยู่ในตำแหน่งไม่ต่ำกว่า 5 อันดับแรก

      ปัจจุบันคณะวิศกรรมศาตร์  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ได้จัดการเรียนการสอนใน 9 ภาควิชา คือ
      ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกลและการบิน-อวกาศ
      ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
      ภาควิชาวิศวกรรมการผลิต
      ภาควิชาวิศวกรรมเคมี
      ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ
      ภาควิชาวิศวกรรมโยธา
      ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องมือวัดและอิเล็กทรอนิกส์
      ภาควิชาวิศวกรรมขนถ่ายวัสดุ
      ภาควิชาวิศวกรรมวัสดุและเทคโนโลยีการผลิต

      เปิดสอนในหลักสูตรปริญญาตรี  11 หลักสูตร คือ
      1. หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล
      2. หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมการบินและอวกาศ
      3. หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
      4. หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ( มจพ.กรุงทพฯ และ ปราจีนบุรี )
      5. หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมการผลิต
      6. หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี
      7. หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมขนถ่ายวัสดุ
      8. หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมวัสดุ
      9. หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมระบบเครื่องมือวัด  ( มจพ.ปราจีนบุรี )
      10. หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา
      11. หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ

      หลักสูตรปริญญาโท 9 หลักสูตร และปริญญาเอก 6 หลักสูตร

      คลิกเข้าไปดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.eng.kmutnb.ac.th

      การเข้าศึกษาต่อ
           โควต้า
           โครงการรับตรง   จำหน่ายใบสมัครประมานเดือนธันวาคมของทุกปี  http://www.admission.kmutnb.ac.th/
           admission

      ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      ความคิดเห็น

      ×