เมืองสองแควที่หายไป???
เพื่อนๆที่เข้ามาอ่านเคยสังเกตไหมว่าทำไมพิษณุโลกทั้งๆที่เป็นเมืองที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์มาก แต่ทำไมโบราณสถานที่หลงเหลือกลับมีอยู่น้อยมากในปัจจุบัน
ผู้เข้าชมรวม
4,964
ผู้เข้าชมเดือนนี้
2
ผู้เข้าชมรวม
เนื้อเรื่อง
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
เมืองสองแควหรือพิษณุโลกในปัจจุบันเป็นเมืองที่มีความสำคัญมากทั้งในประวัติศาสตร์และในปัจจุบัน เนื่องจากพิษณุโลกเป็นเมืองศูนย์กลางทางภาคเหนือตอนล่าง ในอดีตนั้นพิษณุโลกเคยเป็นทั้งเมืองลูกหลวง เมืองหน้าด่าน หรือแม้กระทั่งราชธานีก็ตาม จากบันทึกราชพงศาสดารหลายฉบับ ปรากฏให้เห็นว่าพิษณุโลกมีทั้งพระราชวัง วัดที่เป็นพระอารามหลวง และสถานที่สำคัญต่างๆมากมายในอดีต ถ้าหากผู้ที่ศึกษาประวัติศาสตร์ก็จะพบได้ดังที่กล่าวมาข้างต้น แต่เมื่อเรามองดูพิษณุโลกในปัจจุบันแล้วพบว่า เป็นเมืองที่มีอาคารบ้านเรื่อนสมัยใหม่เป็นส่วนใหญ่ เหตุผลต่างๆที่น่าจะอธิบายได้ คือ
1.ในสมัยอยุธยานั้น ราชพงศาวดารได้บันทึกไว้ว่า สมเด็จพระนเรศวรมหาราชนั้นทรงอพยพผู้คนจากเมืองเหนือ(ในขณะนั้นคือเมืองพิษณุโลก เพราะล้านนายังไม่ได้รวมเป็นประเทศไทย) มาด้วยเหตุอะไร ถ้าตามการวิเคราะห์จากนักประวัติศาสตร์ กล่าวว่าเหตุที่ต้องอพยพคนจากเมืองเหนือลงมานั้น เพราะเกรงว่าพม่าจะนำพลเมืองเหนือมาตีกรุงศรีอยุธยา แต่จากการวิเคราะห์ของหม่อมเจ้าชาตรี เฉลิม ยุคล ได้กล่าวว่าการที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงอพยพผู้คนนั้น เหตุผลข้างต้นก็เป็นส่วนหนึ่ง แต่เหตุผลหลักในการอพยพผู้คนคือ บ้านเมืองพิษณุโลกในขณะนั้นไดพังพินาศลง??? ถึงตรงนี้หลายๆคนคงสงสัยว่าทำไมเมืองพิษณุโลกจึงพินาศลง เหตุผลจากการวิเคราะห์ของหม่อมเจ้าชาตรี เฉลิม ยุคล คือ ในพระราชพงศาวดารนั้น(ไม่แน่ใจนะครับว่าฉบับไหน) กล่าวว่าเกิดเหตุประหลาดที่เมืองพิษณุโลกคือ ช้างสองเชือกในพระราชวังจันทน์เกิดตกมันแล้วคลุ้มคลั่งชนกันตาย ต้นโพธิ์ใหญ่กิ่งได้หักลงมา แม่น้ำน่านน้ำกระเชาะขึ้นมาสูงจากระดับพื้นดินถึง 5 ศอก ซึ่งน่าจะมาจากเหตุของสึนามิ ที่มีผลกระทบกระเทือนมาถึงพิษณุโลก จากการวิเคราะห์ดังกล่าวมานั้น มีหลักฐานยืนยันคือ รากฐานของพระราชวังจันทน์ และอาคารบางส่วนในวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ พบว่า จะมีรากฐานเป็นสองแบบด้วยกัน โดยรากฐานนั้นจะตัดกันคล้ายเส้นทแยงมุม และรากฐานในสมัยแรกนั้นจะพบแต่เศษอิฐที่หักพัง ไม่สมบูรณ์เหมือนการเรียงอิฐในสมัยหลัง ซึ่งบ่งบอกได้ว่าเมืองพิษณุโลกนั้นถูกแผ่นดินไหวจนอาคารบ้านเรือน ตลอดจนวัดวาอารามที่สำคัญต้องพังทลายลงไป จึงพบว่าโบราณสถานส่วนใหญ่ในเมืองนั้นจะเป็นศิลปกรรมแบบอยุธยาหลังสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราชนั่นเอง
2.หลังจากสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราชนั้น เมืองพิษณุโลกได้มีขุนนางมาดูแลอีกครั้ง แต่อยู่ในฐานะเมืองสมาญทั่วไป แต่ก็มีการก่อสร้างอาคารบ้านเรือนอีกครั้งในสมัยนี้ แต่หลังจากคราวเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สองแล้ว เมืองพิษณุโลกถูกอะแซหวุ่นกี้เผาบ้านเมืองจนพินาศอีกครั้ง หลังจากที่เจ้าพระยาจักรีต้องถอยออกจากเมืองพิษณุโลกไป
3.ในสมัยพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชนั้นพระองค์ทรงมีรับสั่งให้รื้อถอนป้อม อาคารบ้านเรือนและพระราชวังเพื่อนำอิฐไปสร้างพระนครใหม่ และเพื่อป้องกันการใช้เมืองพิษณุโลกเป็นที่ซ่องสุมกำลังของข้าศึกนั่นเอง เมืองพิษณุโลกจึงถูกทำลายลงอีกครั้งในสมัยของรัชกาลที่ 1
4.สมัยต่อมาได้มีการใช้พื้นที่ที่มีโบราณสถานเพื่อเป็นประโยชน์ เช่นการสร้างโรงเรียน อาคารราชการ หรือบ้านเรือน จนทำให้โบราณสถานนั้นถูกทำลายลงไป ซึ่งถ้าผู้ที่สนใจศึกษาเรื่องเมืองพิษณุโลก หากต้องการชมกำแพงเมือง หรือฐานพระราชวังจะต้องดูตามใต้ถุนของอาคารบ้านเรือนต่างๆ
นี่คือสาเหตุของการหายไปของเมืองสองแควหรือพิษณุโลกในอดีต ในปัจจุบันท่านที่มาเยือนเมืองพิษณุโลกจะพบว่าเมืองพิษณุโลกจะมีแต่อาคารบ้านเรือนหลังปีพุทธศักราช 2500 (หลังเหตุการณ์ไฟไหม้เมืองพิษณุโลกนั่นเอง)
ผลงานอื่นๆ ของ สกุลเดิม ดูทั้งหมด
ผลงานอื่นๆ ของ สกุลเดิม
ความคิดเห็น