52525 - 52525 นิยาย 52525 : Dek-D.com - Writer

    52525

    โดย osree

    222

    ผู้เข้าชมรวม

    4,733

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    13

    ผู้เข้าชมรวม


    4.73K

    ความคิดเห็น


    2

    คนติดตาม


    1
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  22 พ.ค. 50 / 19:07 น.


    ข้อมูลเบื้องต้นของเรื่องนี้
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ

      อวัยวะสืบพันธุ์

      อวัยวะสืบพันธุ์เพศชาย

      อวัยวะสืบพันธุ์เพศชายประกอบด้วย 4ส่วน
      1.อัณฑะ (Testis)
      2.ส่วนที่เป็นท่อ (Accessory ducts)
      3.ส่วนที่เป็นต่อม (Accessory glands)
      4.เพนิส(Penis)

      อัณฑะ (Testis)

      อัณฑะในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมตอนเป็นตัวอ่อนจะอยู่ภายในช่องท้อง ก่อนคลอดประมาณ 2 เดือน อัณทะ จะเคลื่อนตัวเข้าไปอยู่ในถุงอันฑะ(Scrotal pouch) ซึ่งห้อยอยู่นอกตัว ทำให้อุณหภูมิต่ำกว่าภายในลำตัวประมาณ 2 องศาเซลเซียส เป็นอุณหภุมิที่พอเหมาะแก่การเจริญเติบโตของสเปิร์ม

      อัณฑะ มีอยู่ 1 คู่ ทำหน้าที่สร้างสเปิร์ม อัณฑะแต่ละข้างประกอบด้วยหลอดสร้างสเปิร์ม (Seminiferous tube) มากกว่า 800 หลอด ความยาวของหลอดสร้างสเปิร์มในอันฑะทั้ง 2 ข้าง ยาวประมาณ 225 เมตร ผนังของหลอดสร้างสเปิร์มบุด้วยเซลล์ 2 ชนิด คือ เซลล์ที่จะกลายเป็นสเปิร์ม และเซลล์พี่เลี้ยง (Sustentacular cell) ที่ให้อาหารแก่เสเปิร์มในการเจริญเติบโต และยังหลั่งของเหลวเข้าสู่หลอดสร้างสเปิร์มด้วย จำนวน Sustentacular cell จะลดลงหลังจากอายุ 60 ปีแล้ว

      ระหว่างหลอดสร้างสเปิร์มจะมีเซลล์อินเตอร์สติเชียล หรือเลย์ดิกเซลล์ (Interstital cell or Leydig cell) ทำหน้าที่สร้างฮอร์โมนเพศ คือ แอนโดรเจน ซึ่งประกอบด้วยเทสโทสเตอโรนเป็นส่วนใหญ่

      ส่วนที่เป็นท่อ (Accessory ducts)
      ส่วนที่เป็นท่อจะประกอบไปด้วย 4 ส่วน
      1. เอพิดิไดมิส หรือ หลอดเก็บสเปิร์ม (Epididymis) จากหลอดสร้างสเปิร์มก่อนเปิดเข้าหลอดเก็บสเปิร์มจะเป็นท่อตรงเรียกว่า ทูบูลิ เรคติ (Tubulirecti) หลอดเหล่านี้จะมาประสานกันเป็นตาข่ายเรียนกว่า รีตี เทสทิส (Retetestis) แล้ว รีตี เทสทิส จึงเปิดสู่หลอดเล็ก ๆ เรียกว่า ดัคทูไล เอฟเฟอเรนส์ หรือ เฟเฟอเรนต์ ดัคท์ (Ductuli efferent or Efferent duct) หรือ วาส เอฟเฟอเรนส์(Vas efferens) จากหลอดวาสเอฟเฟอเรนส์ จะเข้าหลอดเก็บอสุจิซึ่งแบ่งเป็น 3 ตอนครับ หลอดที่ขดอยู่ด้านบนของอัณฑะ (Head of epididymis) หลอดที่ลงมาด้านล่างของอัณฑะ (Body of epididymis) และวกกลับขึ้นมาเป็นส่วนห่าง (Tail of epididymis) หลังจากนี้จึงเปิดสู่ท่อนำสเปิร์ม (Vas deferns)
      หน้าที่หลักของหลอดเก็บสเปิร์มมี 3 อย่างคือ
      1.เก็บสเปิร์มจนกว่าจะโตเต็มที่ และพร้อมจะขับออกไป
      2.เป็นท่อนำสำหรับให้สเปิร์มผ่านออกจากอัณฑะไปยังท่อขับสเปิร์ม หรือท่อฉีดสเปิร์ม (Ejaculatory duct)
      3.มีกล้ามเนื้อเรียบตามวง (Circular smooth muscle) ช่วยขับให้สเปิร์มที่โตเต็มที่แล้วออกไปโดยวิธีเพอริสทัลซิส

       

       สเปิร์มที่ออกจากหลอดสร้างสเปิร์ม จะเข้ามาอยู่ในหลอดเก็บสเปิร์มนี้จะเดินทางอยู่ในหลอดนี้ประมาณ 10 วัน หรือนานถึง 4-5 สัปดาห์จนกว่าสเปิร์มจะสมบูรณ์ในระหว่างที่อยู่ในหลอดเก็บนี้ จะมีอาหารสำหรับเลี้ยงสเปิร์มด้วย ท่อนำสเปิร์ม (Ductus deferens) ยาวประมาณ 45 cm ต่อจากตอนปลายของหลอดเก็บสเปิร์ม และไปต่อกับท่อฉีดสเปิร์ม (Ejaculatory duct) ท่อนำสเปิร์มจะวกไปเหนือกระดูกเชิงกรานผ่านด้านหลังของกระเพราะปัสสาวะ และผ่านต่อมสร้างน้ำเลี้ยงสเปิร์ม (Seminal vesicle) ท่อนำสเปิร์มจะขยายใหญ่เป็นแอมพูลลา(Ampulla) ซึ่งจะเก็บสเปิร์มไว้ก่อนฉีดออกไปตามท่อ ท่อนำสเปิร์มมีผนังเป็นกล้ามเนื้อเรียบหนาจึงมีลักษณะเป็นหลอดที่คลำได้จากภายนอก

      3.ท่อฉีดสเปิร์ม(Ejaculatory duct) เป็นรอยต่อระหว่างแอมพูลลาของท่อนำสเปิร์มกับท่อของต่อมสร้างน้ำเลี้ยงสเปิร์ม ท่อฉีดสเปิร์มแต่ละท่อยาวประมาณ 2 cm เป็นที่รับสารที่ขับออกจากต่อมสร้างน้ำเลี้ยงสเปิร์มผ่านต่อมลูกหมาก และเปิดเข้าท่อปัสสาวะ

      4.ท่อปัสสาวะ(Urethra) เป็นส่วนสุดท้ายของระบบสืบพันธุ์เพศชาย และเป็นทางออกของน้ำปัสสาวะออกจากกระเพาะปัสสาวะ ผ่านต่อมลูกหมากเข้าสูเพนิสเป็นทางออกของน้ำสเปิร์มด้วย

       

      3.ส่วนที่เป็นต่อม (Accessory glands)
      ส่วนที่เป็นต่อม ได้แก่ ต่อมสร้างน้ำเลี้ยงอสุจิ,ต่อมลูกหมาก และ ต่อมบัลโบยูรีทรัล สารต่าง ๆที่ต่อมเหล่านี้สร้างขึ้นรวบรวม กับอสุจิ เรียกว่า น้ำอสุจิ (Semen หรือ Seminal fluid)

      -ต่อมสร้างน้ำเลี้ยงอสุจิ (Seminal vesicle) มี 1 คู่ สร้างสารมีสภาพเป็นเบสเป็นองค์ประกอบส่วนใหญ๋ของน้ำอสุจิ ประกอบด้วย น้ำ,น้ำตาลฟรุกโตส,โพรสตาแกลนดิน,และวิตามินซี ซึ่งเป็นอาหารให้แก่อสุจิและช่วยปรับความเป็นกรดในช่องคลอดหญิงให้เป็นกลาง
      -ต่อมลูกหมาก (Prostate gland) อยู่ด้านล่างของกระเพาะปัสสาวะ มีลักษณะเป็นก้อนกลม ๆ สร้างสารที่ช่วยให้อสุจิเคลื่อนไหวได้ดี และลดความเป็นกรดในช่องคลอดหญิง
      -ต่อมบัลโบยูรีทรัล (Bulbourethral glands) หรือต่อมคาวเปอร์ (Cowper's glands) ขนาดและลักษณะคล้ายรูปถั่วมี 1 คู่ อยู่ต่ำกว่าต่อมลูกหมาก ทำหน้าที่สร้างสารเป็นเบส ส่งเข้าท่อปัสสาวะเพื่อลดความเป็นกรดของปัสสาวะ และหลั่งสารหล่อลื่นออกมาในขณะที่มีการตื่นตัวทางเพศ
      น้ำอสุจิ (Semen) สารคัดหลั่งจากหลอดเก็บอสุจิ,ต่อมสร้างน้ำเลี้ยงอสุจิ ต่อมลูกหมาก รวมทั้งต่อมคาวเปอร์ รวมเรียกว่า น้ำอสุจิ ในจำนวนนี้มีอสุจิอยู่เพียง 1% ที่เหลือเป็นสารที่ช่วยลดความเป็นกรดในท่อปัสสาวะของชายและในช่องคลอดของหญิง น้ำตาลฟรุกโตสที่เป็นอาหารของอสุจิ และอิเล็กโทรไลต์ และฟอสลิพิดที่ทำให้อสุจิเคลื่อนที่

       

       

       

       

      4.เพนิส (Penis)

       

      เพนิส ช่วยนำน้ำปัสสาวะผ่านท่อปัสสาวะออกสู่ภายนอกและเป็นทางผ่านของน้ำอสุจิ เพนิสประกอบด้วยเนื้อเยื่อที่แข็งตัวได้ เมื่อมีเลือดเข้าไปคั่งอยู่ ประกอบด้วยเนื้อเยื่อ 2 แท่ง คือ คอร์ปัส คาร์เวอร์โนซัม (Corpus carvernosum) เป็นแท่งยาวขนานกัน ภายในมีเส้นเลือดแดง และอีกแท่ง คือ คอร์ปัส สปองจิโอซัม (Corpus spongiosum) หรือ คอร์ปัส คาร์เวอร์โนซัม ยูรีทรา (Corpus carvernosum urethrae) ซึ่งตอนปลายพองออกเป็น แกลนส์ เพนิส (Glands penis) และมีหนังปกคลุมอยู่ (Prepuce)

       

       

       

       

       

       

       

      อสุจิ

       

       

      ในการหลั่งน้ำอสุจิแต่ละครั้ง 15-20% เป็นของเหลว ตากต่อมลูกหมากของเหลวจากต่อมสร้างน้ำเลี้ยงอสุจิราว 75-80% นอกนั้นเป็นของเหลวจากหลอดเก็บอสุจิและตัวอัณฑะเองราว ๆ 2-5% ส่วนน้ำหล่อลื่นจากต่อมคาวเปอร์ออกมาน้อยมาก

      อสุจิ(Sperm,Spermatozoa) ส่วนประกอบของตัวอสุจิ มีส่วนหัวขนาดใหญ่ ปลายสุดทางด้านหน้าของหัวอสุจิ คือ อะโครโซม (Acrosome) สร้างเอนไซม์ทำหน้าที่ย่อยเซลล์ไข่เพื่อให้ตัวอสุจิผสมกับไข่ ถัดเข้ามากินบริเวณเนื้อที่ส่วนใหญ่ของหัว คือ นิวเคลียส ถัดจากหัวเป็นส่วนแรกของหาง (Middel piece) ประกอบด้วยเซนทริโอลสองชนิด คือ เซนทริโอลส่วนต้น (Proximal centriole) กับ เซนทริโอลส่วนปลาย (Distal centriole) และส่วนสำคัญที่เป็นแหล่งให้พลังงานกับตัวอสุจิก็คือ ไมโทคอนเดรีย อสุจิมีความยาวเพียง 0.05 มิลลิเมตร และต้องใช้เวลามากกว่า 2 เดือน จึงจะเจริญพัฒนาเป็นอสุจิที่สมบูรณ์

       

      การปฏิสนธิ (fertilization)

      อสุจิที่สร้างจากอัณฑะของผู้ชาย เมื่อสร้างเสร็จใหม่ๆ จะไม่สามารถทำให้เกิดการปฏิสนธิได้จะต้องผ่านกระบวนการพัฒนาห้เป็นอสุจิที่สมบูรณ์ขึ้นเมื่ออสุจิอยู่ในเอพิดิไดมิสจะมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นทำให้มีความสามารถในการปฏิสนธิได้เมื่ออสุจิถูกหลั่งออกจากผู้ชายและเข้าสู่ช่องคลอด ผ่านเข้าสู่ปากมดลูก คอมดลูกและโพรงมดลูกตามลำดับ ที่โพรงมดลูกจะมีการหดตัวของกล้ามเนื้อและการโบกพัดของขนซีเลียที่ผิวของโพรงมดลูก ทำให้อสุจิเคลื่อนที่ได้และเข้าสู่ท่อนำไข่ซึ่งเป็นบริเวณที่มีการปฏิสนธิ ขณะที่ผ่านโพรงมดลูกอสุจิจะเกิดกระบวนการแคแพซิเทชัน ( capacitation) คือกระบวนการเปลี่ยนแปลงทางชีวเคมีที่เยื่อเซลล์และอะโครโซม เพื่อให้อสุจิมีประสิทธิภาพในการปฏิสนธิเพิ่มขึ้น เมื่ออสุจิพบกับไข่จะเกิดปฏิกิริยาอะโครโซม     (acrosome reaction) คืออะโครโซมของอสุจิปล่อยเอนไซม์หลายชนิด เช่น ไฮอะลูโรนิเดส อะโครซินโพรทีเอส ออกมาย่อยสลายชั้นต่างๆของผนังเซลล์ไข่จนถึงชั้นโซนาเพลลูซิดา (zona pellucida) แล้วอสุจิจะเจาะผ่านชั้นโซนาเพลลูซิตา ต่อจากนั้นเกิดการรวมกันของเมมเบรนของอสุจิและไข่ มีผลกระตุ้นให้เกิดการหลั่งเอนไซม์ของผิวไข่ ทำให้ชั้นโซนาเพลลูซิตาเปลี่ยนแปลงโดยแข็งขึ้น ทำให้อสุจิตัวอื่นไม่สามารถเข้าผสมกับไข่ได้อีก จึงมีการปฏิสนธิระหว่างอสุจิตัวเดียวและเซลล์ไข่เซลล์เดียวเท่านั้น เมื่อเมมเบรนของไข่และอสุจิรวมกันแล้วเซลล์ไข่จะแบ่งตัวแบบไมโอซิสต่อทำให้เซลล์ไข่ที่สมบูรณ์และเซลล์ขั้วที่สอง (secondary polar body) ต่อจากนั้นนิวเคลียสของเซลล์ไข่และนิวเคลียสของอสุจิจะพัฒนาไปเป็นโพรนิวเคลียส (pronucleus) แล้วรวมตัวกันเป็นไซโกต ต่อจากนั้นจะเริ่มแบ่งตัวเป็น 2 เซลล์ ซึ่งเป็นการสิ้นสุดการปฏิสนธิ ไซโกตจะแบ่งตัวต่อจาก 2 เซลล์ เป็น 4, 8, 16 ไปเรื่อยๆจนได้ระยะบลาสโทซิส (blastosis) ซึ่งมีเซลล์ประมาณ 180 เซลล์ และจะฝังตัวที่ผนังมดลูกประมาณวันที่ 5-7 หลังปฏิสนธิหรือประมาณ 7-8 วันหลังการตกไข่ ตำแหน่งที่มีการฝังตัวคือตรงกลางของผนังด้านหลังของตัวมดลูกโดยผนังมดลูกด้านในหรือเรียกว่าเอนโดมีเทรียมมีการเปลี่ยนแปลง เพื่อรองรับการฝังตัวของตัวอ่อนเพื่อการตั้งครรภ์

      ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      ความคิดเห็น

      ×