ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ชีวประวัตินักวิทยาศาสตร์

    ลำดับตอนที่ #14 : มาร์ควิส คูกลิเอลโม มาร์โคนี [ผู้ให้กำเนิดวิทยุ]

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 1.36K
      1
      7 ต.ค. 52



                          

                  ไม่ว่าเสียงเพลง  เสียงโฆษณาอันน่ารำคาญหูหรือเสียงโฆษกประกาศข่างสารบ้านเมืองที่กรอกเสียงเข้าเครื่องส่งและออกเครื่องรับตามอาคารบ้านเรือน   ทุกเช้าสายบ่ายค่ำที่เราเรียกว่าวิทยุนั้นแหละ   มันเกิดขึ้นมาได้จากมันมองของคนรุ่นหนุ่มสมัยเมื่อร้อยกว่าปีมาแล้ว   เขาคือ  มาร์ควิส  คูกลิเอลโม  มาร์โคนี   นักประดิษฐ์ชาวอิตาเลียน

     

                    เขาทำให้โลกอันกว้างใหญ่ไพศาลหดแคบเข้าด้วยการติดต่อส่งข่าวสารถึงกันด้วยเครื่องรัยส่งวิทยุ   โลกชื่นชมความสำเร็จของเขา  และไม่เพียงแต่เขาจะเป็นนักประดิษฐ์ของโลกแต่ฝ่ายเดียว  เขายังเป็นนักการเมืองระดับโลกอีกด้วย

     

                    มาร์โคนี  เกิดเมื่อปี  ..1814  (พ..2417) ที่เมือง โบโลนา   อิตาลี  สำเร็จการศึกษาจากการศึกษาขั้นมหาวิทยาลัย   สมัยที่เขายังเรียนอยู่ในโรงเรียนสามัญ  เขาสนใจวิชาไฟฟ้ายิ่งกว่าวิชาอื่น   และจากหนังสือวิทยาศาสตร์ เล่มหนึ่งของไฮร์ริช  เฮอร์ทซ์  ทำให้มาร์โคนีเกิดความคิดที่จะอาศัยธาตุชนิดหนึ่งที่อยู่ในอากาศเรียกว่า อีเทอร์    เป็นตัวกลางให้คลื่นจากกระแสไฟฟ้าจากตำแหน่งหนึ่งไปยังอีกตำแหน่งหนึ่ง  โดยไม่ต้องอาศัยสายไฟต่อเชื่อมให้เกะกะ  ครั้นแล้วประดิษฐ์กรรมชิ้นแรกของมาร์โคนีก็เกิดขึ้น   คือกระดิ่งไฟฟ้า

     

                    ตอนที่เขาประดิษฐ์กระดิ่งไฟฟ้า   มาร์โคนีมีอายุ เพียง 20 ปีเท่านั้น   เขาได้รับรางวัลจากบิดาเป็นเงิน  250 ปอนด์

     

                    ต่อมาเขาหันไปปลุกปล้ำประดิษฐ์เครื่องส่งวิทยุโดยมีพี่ชายเป็นผู้ช่วย  และก็ได้รับความสำเร็จอย่างงดงามเมื่ออายุ  23 ปี

     

                    หลังความสำเร็จเป้นของเขา   มาร์โคนี  ได้เสนอขายลิขสิทธิ์ให้แก้รัฐบาลอิตาลีแต่ทางการไม่สนใจ   เขาจึงหันไปหารัฐบาลอังกฤษ  และก็ได้รับการต้อนรับอย่างภาคภูมิ  เพราะก่อนหน้าที่เขาจะเดินทางไปอังกฤษ  นักวิทยาศาสตร์ที่นั่นหูผึ่งต่อความสำเร็จของเขาแล้ว

     

                    มาร์โคนีได้จดทะเบียนลิขสิทธิ์ประดิษฐ์กรรมของเขาเมื่อปี ค..1896 (พ..2439)

     

    ในระหว่างที่มาร์โคนีเดินทางไปเผยแพร่ประดิษฐ์กรรมคือ วิทยุรับส่งของเขายังต่างแดนนั้น  ได้ปรับปรุงงานของเขาให้มีประสิทธิภาพดีขึ้นตามลำดับ   หมายถึงมีรัศมีส่งในระยะไกลออกไป  คราวที่เขาเดินทางไปอังกฤษเขาได้รับความช่วยเหลือสนับสนุนจากเซอร์วิลเลียม  พรีช   นักวิทยาศาสตร์มือหนึ่งของอังกฤษอย่างดี  เช่น  อนุญาตให้ใช้ห้องทดลอง  ให้ทหาเรือ  ทหาบก และพนักงานไปรษณีย์  ไปดูที่การทดลองของมาร์โคนียังที่ราบสูงซอลซ์เบอรี่   และในคราวแข่งขันเรือชายฝั่งทะเลไอร์แลนด์     มาร์โคนีก็เช่าเรือขนาดใหญ่รายงานผลการแข่งขันให้คนที่อยู่บนฝั่งฟังทุกระยะ   ปรากฏว่าสร้างความตื่นเต้นให้แก่ผู้ฟังเป็นอันมาก  และคราวที่เจ้าชายเฮนรี่ทรงประชวรมาร์โคนีก็ได้รายงานข่างถวายพระนางเจ้าวิคตอเรียจากประดิษฐ์กรรมของเขา  ซึ่งได้ผลเป็นที่พอใจ

     

    ความสำเร็จของเขาทำให้ประเทศอิตาลีต้องดึงตัวเขากลับมา   เขาไม่ใช่คนลืมชาติตระกูล   เขาเดินทางกลับแล้วก็ร่วมมือกับรัฐบาลสร้างสถานีวิทยุโทรเลขและติดตั้งวิทยุรับส่งให้แก่กองทัพเรืออิตาลี   ผลงานที่สร้างประโยชน์แก่ส่วนรวม  ทำให้เขาได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ในปี ค..1909 (พ..2452)  และเหรียญเกียรติยศจากประเทศต่างๆอีกมากมาย  ทางการก็ได้ให้บรรดาศักดิ์ มาควิส  แก่เขา  โดยได้รับพระราชทานจากพระเจ้าวิกเตอร์  เอมมานูเอล

     

    และโดยเหตุที่มาร์โคนีไปจดทะเบียนสงวนลิขสิทธิ์ประดิษฐกรรมของเขาที่อังกฤษ   เขาจึงต้องมีพันธะกับประเทศนี้ด้วยการตั้งบริษัทดำเนินกิจการวิทยุโทรเลข  คือ  บริษัท “Marcori’ Wireless  Telegraph Company  Limited”  และบริษัทนี้ได้กลายเป็นผู้ดูแลผลประโยชน์ให้แก่เขา   และป้องกันมิให้ใครมาลอกเลียนแบบแข่งขันกับเขาได้  เขาได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์จากพระเจ้ายอร์ชที่ 5 ให้เป็น เซอร์  (ขุนนางบรรดาศักดิ์สูงชั้นผู้ใหญ่ของอังกฤษ)

     

    ในสมัยสงคราวโลกครั้งที่ 1 (ระหว่าง  ..1914-..1918)   มาร์โคนีได้มีบทบาทสำคัญในการป้องกันประเทศ  คือช่วยเหลือกองทัพด้วยประดิษฐกรรมของเขาในด้านวิทยุสื่อสาร

     

    ชีวิตบั้นปลายของมาร์ควิส  คูลิเอลโม  มาร์โคนี  ได้โดดเข้าเล่นการเมือง   เขาได้เป็นสมาชิกสภาซีเนทจนตลอดชีวิต   ได้เป็นตัวแทนของรัฐบาลในกาเดินทางไปประชุมกับบุคคลชั้นนำของประเทศต่างๆ หลายประเทศ   เขาถึงแก่กรรมเมื่อปี ค..1937 (พ..2480)  รวมอายุได้ 67 ปี

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×