คือ การกำหนดเนื้อหา ลักษณะฉาก โดยการขยายความคิด สร้างสรรค์อย่างมีจินตนาการ ปรุงแต่งให้เกิดสีสันในรูปแบบของการนำเสนออย่างมีศิลป์
ขั้นตอนที่สำคัญในการเขียนบท
1. เนื้อหา /งานเขียน /เรื่องเดิม /งานเขียนใหม่
จัดฉาก กำหนดเวลาในเรื่อง เพิ่มและลดบทบาทของตัวละครขึ้นใหม่ หรือคัดลอก
2.สร้างจินตนาการให้เกิด Plot เรื่อง โดยใช้จินตนาการเป็นโครงเรื่อง
3. กำหนดจุดประสงค์ของเรื่อง ต้องวางแนวหลักของเรื่องให้ลงตัว จะเป็นเรื่อง ความรัก เป็นเรื่องaction หรือเรื่องลึกลับ แล้วกำหนดพฤติกรรม Character ไว้ในบท
4.กำหนดลำดับเหตุการณ์ วันเวลา ต้องให้สัมพันธ์กับเหตุการณ์ของเรื่องและตัวละครแต่ละตัว
5.กำหนดลักษณะนิสัย บุคลิกของการแสดงที่แตกต่างกัน
6.กำหนดพฤติกรรม เหตุการณ์ จุดขัดแย้ง หากไม่มีประเด็นขัดแย้ง การแสดงไม่เป็นละคร
7.อารมณ์ขัดแย้งที่เกิดขึ้นต้องต้องเป็นเหตุการณ์ 3 เศร้า คือ ขัดแย้งทางอารมณ์ จิตใจ และการกระทำ เพื่อกลับไปสู่จุดเด่นของเรื่องและเหตุการณ์
8.กำหนดแนวเรื่องผูกเป็นปม ที่ขมวดเหตุการณ์ทั้งคาดเดาได้และไม่ได้ และมีลูกเล่น
9. ต้องมีการคลี่คลายจุดวิกฤติ
10.กำหนดฉาก เวลาในฉากให้สัมพันธ์กับเหตุผลของตัวละครอย่างเหมาะสม
ฉาก( Scene )
จำนวนฉากและระยะเวลาของฉาก
n การกำหนดฉาก และเวลาในฉากให้สัมพันธ์กับเหตุผลของตัวละครอย่างเหมาะสม
n การเขียนบทต้องกำหนดเหตุการณ์กับตัวละครให้กระจ่าง ต้องกระชับและสามารถเข้าใจได้อย่างรวดเร็ว
n การจะกำหนดว่าควรจะมีกี่ฉากต้องคำนึงถึงเหตุการณ์ในแต่ละสถานที่ เพื่อให้ได้เนื้อหาที่มีสาระและเข้มข้นที่สุด
รายละเอียดของฉาก
n มีรูปแบบดังนี้
1. ฉากอะไร กลางวัน กลางคืน
2. สถานที่เกิดเหตุการณ์ ทีผู้แสดงจะแสดง
3. เวลา ระบุตามสถานการณ์ของเหตุการณ์และบรรยากาศ
4. ผู้แสดงในแต่ละฉากมีใครบ้างระบุให้ครบ
ความต่อเนื่องของแต่ละฉาก
n การลำดับฉากเป็นสิ่งสำคัญเพราะเหตุการณ์ของเนื้อเรื่องต้องสอดคล้องว่ามาจากเหตุการณ์อะไร ต้องระบุความต่อเนื่องไว้ เพราะอาจจะผิดพลาดในเรื่องอารมณ์ และเครื่องแต่งของผู้แสดงที่ต่อเนื่องกัน
การเขียนบทในแต่ละฉาก
n การเขียนบทแบ่งลักษณะการเขียนดังนี้
แบ่งกระดาษออกเป็นสองส่วน ซ้าย ขวา
• ด้านซ้ายมือของบท คือจะบรรจุให้เป็นการกระทำหรือการแสดงของนักแสดง ทั้งความรู้สึก อารมณ์ หรือพฤติกรรมทางการแสดง
• ส่วนทางด้านขวามือของบท จะบรรจุ เนื้อหาของบทพูด(Dialogue)
ตัวอย่าง
n ฉากที่ 3.
ในห้องรับแขก
เริ่มภาพ อ๊อบนอนอยู่บนเก้าอี้ยาว
แม่เอาผ้าขนหนูเช็ดหน้าอ๊อบ พ่อนั่งอยู่
ที่มุมห้อง จากนั้นแม่ลุกเดินมาคุยกับพ่อ พ่อ เมื่อวานคุณพาไปหา
หมอรึเปล่า
แม่ พาไป ฉันยังเล่าอาการให้หมอฟัง
เลยว่า ตาอ๊อบชอบคลื่นไส้ อาเจียน ปวดหัว ปวดท้อง ตอนไปโรงเรียนเสมอ
Character ของตัวแสดง
n การกำหนด Character ของตัวแสดง ผู้เขียนบทต้องกำหนด
บุคลิกโดยรวมของตัวแสดงแต่ละตัวในบทไว้ อาทิเช่น
• บุคลิก เป็นคนอ้วน สูง ผอม หุ่นดี สง่างาม เป็นต้น
• เครื่องแต่งกาย เสื้อผ้าอาภรณ์ที่สวมใส่ เป็นต้น
• อารมณ์ ของตัวแสดง เป็นคนใจดี ใจเร็ว โมโหง่าย คุยสนุก ชอบคุย เป็นต้น
คุณสมบัติของผู้เขียนบท
n 1. มีความเข้าใจในการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารทั้งภาษาท้องถิ่น และภาษาที่ทันสมัยทันต่อเหตุการณ์ทั้งอดีตและปัจจุบัน
n 2. มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ นำสิ่งแปลกใหม่เพื่อการสื่อความหมายที่เหมาะสมสอดคล้องกับเรื่องราว
n 3.เป็นนักคิด มีวิสัยทัศน์กว้างไกลมีจินตนาการ
n 4. เป็นนักค้นคว้าทั้งข้อมูลและเหตุการณ์ทั้งในอดีตและปัจจุบันเพื่อนำมาเป็นเรื่องราวในการแสดง
n 5.มีความเข้าใจในเรื่ององค์ประกอบของภาพที่ใช้ในการสื่อความหมาย รวมทั้งบรรยากาศของการแสดงที่สอดคล้องกับฉากและเวลาในเหตุการณ์ต่างๆ
n 6. มีความเข้าใจในเรื่องของอารมณ์ของแสงในบรรยากาศต่างๆ
n 7. มีความเข้าใจในจิตวิทยาของผู้ชมในเรื่องของระยะเวลาที่จะสื่อสารที่สอดคล้องกับความรู้สึก
n 8. เป็นผู้ที่มีวิสัยทัศน์ที่จะหาสิ่งใหม่ๆที่แปลกมาทดแทนความจำเจที่ผู้ชมเบื่อหน่าย
n 9. มีความเข้าใจกับบทบาทการแสดงในแต่ละฉากแต่ละเหตุการณ์ เนื้อหาของเรื่องอย่างมีเหตุผล
n 10. ผู้เขียนบทต้องมีความเข้าใจในเรื่องของการแสดงเพื่อสร้างสีสันของภายนตร์หรือละครเป็นอย่างดี
ข้อความที่โพสจะต้องไม่น้อยกว่า {{min_t_comment}} ตัวอักษรและไม่เกิน {{max_t_comment}} ตัวอักษร
กรอกชื่อด้วยนะ
_________
กรอกข้อมูลในช่องต่อไปนี้ไม่ครบ
หรือข้อมูลผิดพลาดครับ :
_____________________________
ช่วยกรอกอีกครั้งนะครับ
กรุณากรอกรหัสความปลอดภัย
ความคิดเห็น