เรียนภาษาภาพยนตร์ - เรียนภาษาภาพยนตร์ นิยาย เรียนภาษาภาพยนตร์ : Dek-D.com - Writer

    เรียนภาษาภาพยนตร์

    พื้นฐานบทภาพยนตร์ ภาษาถ่ายภาพบนกล้อง

    ผู้เข้าชมรวม

    2,843

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    4

    ผู้เข้าชมรวม


    2.84K

    ความคิดเห็น


    0

    คนติดตาม


    0
    หมวด :  รักอื่น ๆ
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  24 ก.ค. 51 / 20:49 น.


    ข้อมูลเบื้องต้น
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ
      การที่ภาพยนตร์สามารถสามารถสื่อสารเรื่องราว   ความรู้ ความคิด ตลอดจนอารมณ์ความรู้สึกต่างๆ ให้คนดูรับรู้และรู้สึกได้ย่อมแสดงว่าภาพยนตร์เป็นภาษาอย่างหนึ่ง แต่ภาษาภาพยนตร์มิได้ใช้ไวยกรณ์อย่างเดียวกับภาษาถ้อยคำ หากมีวิธีการสื่อสารเฉพาะตัวซึ่งได้แก่องค์ประกอบต่อไปนี้
      องค์ประกอบในการสื่อสารของภาพยนตร์
      1.มีล์ ซอง เซน (MISE   EN SCENE)
      1) มีล์ ซอง เซน เป็นภาษฝรั่งเศส แปลว่า การจัดฉากหรือจัดเวที ซึ่งเดิมใช้กำกับการแสดงละครเวทีเมื่อมีภาพยนตร์เกิดขึ้น   งานในขั้นตอนนี้ก็นำมาใช้ในงานสร้างภาพยนตร์ รวมถึงงานผลิตรายการโทรทัศน์ในเวลาต่อมา   สิ่งต้องพิจารณาในการจัดมีล์ ซอง เซน ได้แก่
      1.1 ฉาก   เพื่อบอกข้อมูลกับสถานที่ และ/หรือเวลา นอกจากนั้นยังให้ข้อมูลเกี่ยวกับตัวแสดงได้ด้วยเป็นอย่างดี
      1.2การแต่งกายและแต่งหน้า    เพื่อบอกบุคลิกของตัวละคร   ช่วยให้จำตัวละครได้บางครั้งยังบอกถึงการเปลี่ยนแปลงเวลา
      1.3อุปกรณ์ประกอบฉาก    หมายถึงวัตถุใดๆที่ปรากฎอยู่ในฉากโดยมิใช่ฉากหรือเครื่องแต่งกาย   เป็นสิ่งที่ช่วยให้ข้อมูลเกี่ยวกับนิสัยใจคอหรือความเป็นไปของตัวละคร หรือทำให้เรื่องราวของภาพยนตร์ดำเนินต่อไป
      2)การแสดง   การแสดงภาพยนตร์ไม่ต่อเนื่องเหมือนละคร   ผู้แสดงจะต้องเข้าใจ ผู้แสดงจะต้องเข้าใจเทคนิคการผลิตนักแสดงผู้มีชื่อเสียงของฮอลลีวูดคนหนึ่งเคยสรุปไว้ว่า นักแสดงภาพยนตร์ที่ดี ควรแสดงให้เหมือนกับว่าเป็นคนธรรมดาๆ แต่ในเวลาเดียวกันก็เป็นคนธรรมดาที่มีเพียงหนึ่งเดียวในโลกด้วย
      3)การใช้กล้อง   เป็นองค์ประกอบสำคัญที่สุด เพราะหากไม่มีกล้องภาพยนตร์ก็แทบจะเกิดขึ้นไม่ได้การสื่อสารด้วยการใช้กล้องแบ่งออกเป็น 3 ประเด็นหลัก ได้แก่
      3.1ขนาดภาพ (IMAGE SIZES) มีส่วนสำคัญในการบอกเล่ารูปลักษณ์สภาพแวดล้อม ตลอดจนความสำคัญของสิ่งที่ปรากฎบนจอภาพไม่ว่าจะเป็นคนหรือสิ่งของใดๆก็ตาม
      3.2มุมกล้อง(CAMERA ANGLE)ทำหน้าที่บอกตำแหน่งสิ่งของที่ปรากฏในจอภาพ แล้วยังทราบความรับรู้ทางจิตวิทยาขึ้นใจของคนดูได้ด้วย
      3.3การเคลื่อนกล้อง (CAMERA MOVEMENT) มีด้วยกันหลายลักษณะทั้งในแนวราบ แนวดิ่ง   โดยตัวกล้องอยู่กับที่ หรือการเคลื่อนตัวกล้องไปในทิศทางและลักษณะต่างๆตั้งแต่ดอลลีจนถึงเฮลิคอปเตอร์ช็อต ใช้แสดงมุมมองหรือทัศนะของตัวละครรวมถึงสภาวะของตัวละครที่กำลังเคลื่อนไหวหรือเคลื่อนที่ไปในลักษณะและด้วยพาหนะต่างๆ
      เทคนิคการใช้กล้องหรือเทคนิคภาพยนตร์
      BACKWARD
      MOTION
      SLOW MOTION
      FADE ,
      DESSOLVE ,
      MONTAGB ,
      FREEZE FRAME
      MIRROR SHOT
      4) การจัดแสง การที่แสงเป็นองค์ประกอบหนึ่งในภาษาภาพยนตร์ เนื่องจากการจัดแสงทำหน้าทมี่สำคัญ        2    ประการ
      1. สร้างมิติและบรรยากาศในภาพยนตร์
       2. สร้างผลพิเศษทางอารมณ์ความรู้สึก
      5) การตัดต่อ   เป็นเทคนิคลำดับเนรื่องราวของภาพยนตร์ให้ราบรื่นกลมกลืน หรือสร้างความรู้สึกสะดุดขัดแย้งกับความต้องการของเนื้อหาและสไตล์ในการนำเสนอ
      6) เสียง เป็นองค์ประกอบสุดท้ายที่ทำให้ภาพยนตร์สื่อสารได้อย่างชัดเจนและสมบูรณ์ โดยใช้เสียงดนตรี เสียงประกอบ และเสียงพูด
      เสียงดนตรี ช่วยสร้างอารมณ์และเสริมการรับรู้ในระดับจิตใต้สำนึก
      เสียงประกอบ ช่วยสร้างความรู้สึกสมจริงและอารมณ์ร่วม
      เสียงพูด        ช่วยขยายเรื่องราวที่ภาพไม่อาจเสนอได้และสื่อสารรแนวคิดหลักของเรื่องให้ชัดเจน

      ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      ความคิดเห็น

      ×