ประวัติของยาสีฟันดาร์ลี - ประวัติของยาสีฟันดาร์ลี นิยาย ประวัติของยาสีฟันดาร์ลี : Dek-D.com - Writer

    ประวัติของยาสีฟันดาร์ลี

    ประวัติของยาสีฟันดาร์ลี

    ผู้เข้าชมรวม

    3,048

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    19

    ผู้เข้าชมรวม


    3.04K

    ความคิดเห็น


    2

    คนติดตาม


    0
    หมวด :  รักอื่น ๆ
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  13 พ.ย. 49 / 14:17 น.


    ข้อมูลเบื้องต้น
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ
      ประวัติของยาสีฟันดาร์ลี

      คนรุ่นใหม่อาจจำได้ไม่แน่ชัด

      แต่คนรุ่นเก่า (แต่ไม่แก่) คงคุ้นหูกับชื่อยาสีฟัน "ดาร์กี" (Darkie)

      ที่มีรูปโลโก้เป็นชายหน้าดำกำลังยิ้มเป็นอย่างดี
      สินค้าตัวนี้มีชื่อเป็นภาษาจีนแปลว่า "คนดำ"

      "ดาร์กี" ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น "ดาร์ลี" (Darlie)

      หลังจากที่บริษัทฮอว์ลีย์แอนด์ฮาเซิลผู้ผลิต เดิมบนเกาะฮ่องกง ถูกบริษัทสินค้าอุปโภคยักษ์ใหญ่ของโลกอย่าง คอลเกต-ปาล์มโอลีฟ จากสหรัฐ อเมริกา ซื้อกิจการไปเมื่อปี1985

      สาเหตุที่ทำให้ต้องมีการเปลี่ยนชื่อนั้น

      มาจากการที่คอลเกต-ปาล์มโอลีฟถูกกดดันอย่างหนัก จากคนผิวสีและนักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชนที่เห็นว่าการตั้งชื่อผลิตภัณฑ์ที่กล่าวถึงเชื้อชาติของคนนั้นเป็นการเหยียดผิว

      ว่ากันว่าผู้ที่จุดเพลิงให้กระแสความไม่พอใจกระพือขึ้นจนขยายวงกว้าง ก็คือบริษัทคู่แข่งยักษ์ ใหญ่ซึ่งนำยาสีฟันสูตรใหม่ออกวางตลาดในเวลาเดียวกันกับดาร์กีนั่นเอง

      เนื่องจากภาพลักษณ์มีผลกระทบอย่างมากต่อรายได้

      คอลเกต-ปาล์มโอลีฟจึงตัดสินใจเปลี่ยนชื่อยาสีฟันเป็นดาร์ลี และปรับปรุงภาพโลโก้จากเดิมที่เป็นภาพชายผิวดำหน้าตาคล้าย อัล โจลสัน นักร้องนักแสดงชาวอเมริกันชื่อดังแห่งศตวรรษที่ 20 มาเป็นภาพผู้ชายที่ระบุไม่ได้แน่ชัดว่าเป็นคนเชื้อ ชาติใด

      บรรดาผู้วิพากษ์วิจารณ์ชาวตะวันตกรู้สึกพอใจกับการเปลี่ยนชื่อ และอ้างว่ายาสีฟันขายดีขึ้น

      หลังจากนั้น แต่ที่หลายๆ คนไม่รู้ก็คือ ชื่อภาษาจีนของยาสีฟันยี่ห้อนี้คือ "黑人牙膏" ซึ่งแปลว่า "ยาสีฟันคนดำ"

      ยังคงไม่เปลี่ยน โดยมีการออกโฆษณารณรงค์ว่า

      "ยาสีฟันคนดำยังคงเป็นยาสีฟันคนดำอยู่" เนื่องจากคำว่า "黑人" ในภาษาจีนนั่นไม่ได้มีความหมาย ในทางดูถูกดูหมิ่นคนเชื้อสายแอฟริกันแต่อย่างใด

      ทั้งนี้ ปัจจุบันยาสีฟันยี่ห้อนี้

      ยังคงได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในหลายประเทศในทวีปเอเชีย โดยเฉพาะที่ฮ่องกงและไต้หวัน

       

      ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      ความคิดเห็น

      ×