ทำอย่างไร เมื่อฉันเป็น “เนื้องอกมดลูก” - ทำอย่างไร เมื่อฉันเป็น “เนื้องอกมดลูก” นิยาย ทำอย่างไร เมื่อฉันเป็น “เนื้องอกมดลูก” : Dek-D.com - Writer

    ทำอย่างไร เมื่อฉันเป็น “เนื้องอกมดลูก”

    ทำอย่างไร เมื่อฉันเป็น เนื้องอกมดลูก

    ผู้เข้าชมรวม

    559

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    4

    ผู้เข้าชมรวม


    559

    ความคิดเห็น


    0

    คนติดตาม


    0
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  10 ต.ค. 49 / 17:54 น.


    ข้อมูลเบื้องต้นของเรื่องนี้
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ
      หากกล่าวถึง “เนื้องอกมดลูก” เรามักนึกเลยไปถึงเนื้อร้ายที่สตรีมักกลัวกัน เห็นทีวันนี้ คุณหมอต้องเล่าให้ฟังกันเสียทีว่า เนื้องอกมดลูกนั้น น้อยมากที่จะกลายเป็นเนื้อร้าย

      เนื้องอกมดลูก เป็นเนื้องอกที่พบบ่อยของอวัยวะสืบพันธุ์สตรี ส่วนมากจะพบในสตรีที่อยู่ในช่วงอายุ 40 - 50 ปี การเกิดเนื้องอกมดลูกเชื่อว่าเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของเซลล์กล้ามเนื้อปกติของมดลูก โดยไม่ทราบสาเหตุแน่นอน สันนิษฐานว่าอาจเกิดจากพันธุกรรม เนื่องจากพบการสืบทอดในครอบครัวค่อนข้างบ่อย นอกจากนี้ยังสันนิษฐานว่า ฮอร์โมนเพศหญิงและตัวเร่งการเจริญเติบโตที่มดลูก มีส่วนเร่งให้เนื้องอกนี้โตขึ้น เพราะพบว่าส่วนใหญ่เนื้องอกจะมีขนาดเล็กลงหลังวัยหมดระดู

      เนื้องอกมดลูกเป็นเนื้องอกชนิดไม่ร้ายแรง มีโอกาสเปลี่ยนแปลงเป็นเนื้อร้ายเพียงร้อยละ 0.25 – 1.08 ซึ่งเมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงนี้ ขนาดของเนื้องอกจะโตเร็วและมีอาการตกเลือดร่วมด้วย เนื้องอกชนิดนี้มักเกิดหลายก้อนในกล้ามเนื้อมดลูก ทำให้มดลูกโตไม่สม่ำเสมอ ผิวมักจะเป็นลอน ลักษณะค่อนข้างแข็ง มีขนาดแตกต่างกันได้มาก มีบางมดลูกอาจโตได้เท่ามดลูกของสตรีตั้งครรภ์ 6 – 7 เดือน เนื้องอกที่มีขนาดเล็กมักไม่ก่อให้เกิดอาการ สตรีที่มีเนื้องอกชนิดนี้เพียงร้อยละ 20 – 30 เท่านั้นที่มีอาการผิดปกติ

      สัญญาณอันตรายและอาการที่พบบ่อย
      1. เลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด ส่วนใหญ่มักจะมีเลือดระดูออกมากขึ้น บางรายอาจละเลยเนื่องจากเลือดระดูที่ออกมากเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป เมื่อปล่อยทิ้งไว้เป็นเวลานาน ๆ จะทำให้ร่างกายสูญเสียเลือดเป็นจำนวนมากจนซีด มีอาการเหนื่อยง่าย หรือหน้ามืดเป็นลมได้บ่อย ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการเลือดออกผิดปกติระหว่างรอบระดู ซึ่งมักจะพบความผิดปกติอื่นร่วมด้วย เช่น การอักเสบติดเชื้อ การเปลี่ยนเป็นเนื้อร้าย หรือมีมะเร็งของเยื่อบุมดลูก เป็นต้น

      2. อาการจากการกดเบียดของมดลูกที่โตขึ้น ทำให้ผู้ป่วยมีอาการไม่สบายบริเวณหัวเหน่า ปัสสาวะบ่อยขึ้น หรืออาจกดบริเวณทวารหนักทำให้ท้องผูก

      3. ผู้ป่วยบางรายอาจคลำพบก้อนในท้อง หรือรู้สึกท้องโตขึ้นโดยไม่มีอาการผิดปกติอื่น ๆ ร่วมด้วย

      4. เจ็บปวดบริเวณท้องน้อย แต่โดยทั่วไปเนื้องอกมดลูกจะไม่ก่อให้เกิดอาการเจ็บปวด นอกจากจะเกิดภาวะแทรกซ้อนอื่น เช่น เลือดออกภายในก้อน หรือเกิดการอักเสบของก้อนเนื้องอก เป็นต้น
      ................................

      เป็นแล้วมีโอกาสตั้งครรภ์หรือไม่
      เนื้องอกมดลูกมีผลต่อการตั้งครรภ์และคลอด พบว่าร้อยละ 25 - 35 ของสตรีที่มีเนื้องอกมดลูกจะพบร่วมกับภาวะมีบุตรยาก ถ้าตั้งครรภ์อาจเกิดการแท้งหรือคลอดก่อนกำหนดได้ เนื่องจากการฝังของไข่ที่ได้รับการผสมจากเชื้ออสุจิแล้วกับเยื่อบุมดลูกไม่ดี และก้อนเนื้องอกไปขัดขวางการเจริญเติบโตของมดลูกขณะตั้งครรภ์

      หรือทำให้เกิดการบีบตัวอย่างผิดปกติของมดลูก นอกจากนี้ทารกในครรภ์อาจอยู่ในตำแหน่งหรือท่าผิดปกติ เนื้องอกมดลูกอาจไปขัดขวางทางคลอด ทำให้คลอดยากและอาจตกเลือดภายหลังการคลอดได้

      นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      คำนิยม Top

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      คำนิยมล่าสุด

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      ความคิดเห็น

      ×