วันมหาวิปโยค - วันมหาวิปโยค นิยาย วันมหาวิปโยค : Dek-D.com - Writer

    วันมหาวิปโยค

    กลอนที่ปรากฎในตอนนั้น

    ผู้เข้าชมรวม

    678

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    1

    ผู้เข้าชมรวม


    678

    ความคิดเห็น


    0

    คนติดตาม


    0
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  2 ม.ค. 50 / 20:22 น.


    ข้อมูลเบื้องต้น
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ

      เป็นกลอนที่แต่งขึ้นในช่วงเหตุการณ์  ...14 ตุลา ... วันมหาวิปโยค

      "...ฉันเยาว์  ฉันเขลา  ฉันทึ่ง

      ฉันจึง  มาหา  ความหมาย

      ฉันหวัง  เก็บอะไร  ไปมากมาย

      แต่สุดท้าย  ให้กระดาษ  ฉันแผ่นเดียว..."


            คงจะไม่มีหนุ่มสาวในยุคแสวงหาคนใด  ไม่รู้จักบทกวี 4 วรรคดังกล่าว  และคงไม่มีใครรู้จัก วิทยากร เชียงกูล  เจ้าของวรรคทอง  ที่ได้ปลุกใจนักแสวงหา  และกระตุ้นให้นักศึกษา  ในรั้วมหาวิทยาลัย  ลุกขึ้นมาตั้งคำถามต่อชีวิต  และบทบาทที่ควรจะเป็น  โดยในยุคที่บ้านเมืองมืดดำ  ด้วยอำนาจเผด็จการ  ขาดสิทธิเสรีภาพ  บทกลอนดังกล่าว  ได้สะท้อนอารมณ์  ความรู้สึก  ให้นักศึกษาในรั้วมหาลัย  ลุกขึ้นมาตั้งคำถามกับนโยบายการทำงานของรัฐบาล  จนกระทั่งส่งผลสะเทือน  ให้เกิดการเรียกร้องประชาธิปไตย  ในเหตุการณ์  14 ตุลา 2516
      จริงๆ แล้ว  กลอน 4 วรรคนี้เป็นเพียงบทหนึ่ง  ของบทกลอนขนาดยาว 7 บท  ที่มีเนื้อหาเต็มต่อไปนี้



      เพลงเถื่อนแห่งสถาบัน

      ดอกหาง นกยูง สีแดงฉาน
      บานอยู่เต็มฟากสวรรค์
      คนเดินผ่าน ไปมากัน
      เขาด้นดั้น หาสิ่งใด 


      ปัญญา มีขาย ที่นี่หรือ
      จะแย่งซื้อ ได้ที่ไหน
      อย่างที่โก้ หรูหรา ราคาเท่าใด
      จะให้พ่อ ขายนา มาแลกเอา

      ฉันมา ฉันเห็น ฉันแพ้
      ยินแต่ เสียงด่า ว่าโง่เง่า
      เพลงที่นี่ ไม่หวาน เหมือนบ้านเรา
      ใครไม่เข้า ถึงพอ เขาเยาะเย้ย

      นี่จะให้ อะไร กันบ้างไหม
      มหาวิทยาลัย ใหญ่โตเหวย
      แม้นท่าน มิอาจให้ อะไรเลย
      วานนิ่งเฉย อย่าบ่นอย่าโวยวาย

      ฉันเยาว์ ฉันเขลา ฉันทึ่ง
      ฉันจึง มาหา ความหมาย
      ฉันหวัง เก็บอะไร ไปมากมาย
      สุดท้ายให้กระดาษฉันแผ่นเดียว

      มืดจริงหนอ สถาบัน อันกว้างขวาง
      ปล่อยฉัน อ้างว้าง ขับเคี่ยว
      เดินหา ซื้อปัญญา จนหน้าเซียว
      เทียวมา เทียวไป ไม่รู้วัน

      ดอกหางนกยูง สีแดงฉาน
      บานอยู่เต็ม ฟากสวรรค์
      เกินพอ ให้เจ้าแบ่งปัน
      จงเก็บกัน อย่าเดิน ผ่านเลยไป


      บทกลอนนี้เขียนขึ้นเมื่อ 33 ปีที่แล้ว โดยนักศึกษาธรรมศาสตร์ ชั้นปีที่ 3 ตีพิมพ์ครั้งแรกในหนังสือพิมพ์ยูงทอง 27 มิถุนายน พ.ศ. 2511 พิมพ์ครั้งต่อมาในหนังสือรวมเรื่องสั้น และบทกวีชื่อ ฉันจึงมาหาความหมาย พ.ศ. 2514 ซึ่งเป็นหนังสือที่มีการพิมพ์ซ้ำอีก 12 ครั้ง ในช่วงปีพ.ศ. 2515-2542

      30 ปี สำหรับการแสวงหาความหมาย ของวิทยากร เชียงกูล คือ การเป็นนักคิด นักเขียน และวิพากษ์วิจารณ์นโยบายการทำงานของรัฐบาล เพื่อหาแนวทางที่เหมาะสมสำหรับประชาชน และพยายามอย่างยิ่ง สำหรับการสร้างวัฒนธรรมการอ่านหนังสือ และการเรียนรู้ให้กับสังคมไทย







      อ้างอิง : http://thecodes.exteen.com/20060625/entry

      ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      ความคิดเห็น

      ×