มังคุดช่วยทำลายเซลล์มะเร็ง - มังคุดช่วยทำลายเซลล์มะเร็ง นิยาย มังคุดช่วยทำลายเซลล์มะเร็ง : Dek-D.com - Writer

    มังคุดช่วยทำลายเซลล์มะเร็ง

    มังคุดมีประโยชน์ช่วยทำลายเซลล์มะเร็ง

    ผู้เข้าชมรวม

    250

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    0

    ผู้เข้าชมรวม


    250

    ความคิดเห็น


    0

    คนติดตาม


    0
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  9 ม.ค. 50 / 14:59 น.


    ข้อมูลเบื้องต้น
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ
      มังคุดทำลายเซลล์มะเร็ง

      สตรีนักวิทย์ศึกษาสารสกัดจากเปลือกมังคุด พบฤทธิ์จู่โจมเฉพาะเซลล์มะเร็งในร่างกาย โดยไม่สร้างความเสียหายให้เซลล์ดีที่อยู่รายรอบ มั่นใจงานวิจัยสามารถพัฒนาเป็นยามะเร็งประสิทธิภาพสูงในอนาคต

      รศ.ดร.รมิดา วัฒนโภคาสิน

      ภาควิชาเคมี คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร เปิดเผยว่า ใช้เวลากว่า 2 ปีศึกษาฤทธิ์ต้านมะเร็งจากสมุนไพร หลังจากเชื่อว่าสมุนไพรบางชนิด อาทิ มังคุด ขมิ้นชัน ใบพุทรา สามารถต้านเซลล์มะเร็ง ทั้งนี้ ผลจากการทดสอบพบว่า สารสกัดจากเปลือกมังคุดสามารถจัดการกับเซลล์มะเร็งได้เป็นอย่างดี แม้จะใช้เพียงเล็กน้อยเพียง 4 มิลลิกรัมก็ตาม

      สารสกัดจากเปลือกมังคุดที่นำมาใช้ในการศึกษานี้

      ได้รับการสนับสนุนจากคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ และมหาวิทยาลัยรามคำแหง โดยการทดสอบพบว่า สารสกัดในปริมาณ 4 มิลลิกรัมดังกล่าว สามารถทำลายเซลล์มะเร็งได้กว่า 50% ของเซลล์มะเร็งทั้งหมด และจากการขยายผลนำสารสกัดไปทดสอบกับเซลล์มะเร็งอื่น ก็พบว่าสามารถออกฤทธิ์ดีในการทำลายเซลล์มะเร็งลำไส้และเซลล์มะเร็งตับ
      นอกจากนี้

      นักวิจัยยังได้ศึกษาเทคนิคการรักษามะเร็งด้วยยีนบำบัด โดยนำสารสกัดจากมังคุดใส่ในเม็ดบีดขนาดจิ๋วระดับนาโน จากนั้นอาศัยไวรัสที่ถูกทำให้อ่อนตัวและไม่เป็นอันตราย เป็นตัวนำเม็ดบีดนั้นเข้าสู่ร่างกายมนุษย์ ซึ่งวิธีดังกล่าวสามารถที่จะประยุกต์ใช้ในการรักษาโรคทางพันธุกรรม เช่น ธาลัสซีเมีย หรือโรคเลือดจาง ส่วนสารสกัดจากสมุนไพรขมิ้นชันและใบพุทรา ยังอยู่ระหว่างการศึกษา

      ทั้งนี้ จากผลงานการศึกษาเกี่ยวกับสารสกัดจากสมุนไพร กับการทำลายเซลล์มะเร็ง

      ซึ่งมีความเป็นไปได้ในการผลิตเป็นยามะเร็งประสิทธิภาพสูงต่อไปในอนาคต จึงส่งผลให้ รศ.ดร.รมิดา วัฒนโภคาสิน ผ่านการพิจารณาคัดเลือกให้ได้รับรางวัลสตรีนักวิทยาศาสตร์ ประจำปี 2547 จากลอรีอัล โดยได้รับทุนสนับสนุนการวิจัย 1.5 แสนบาท

      ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      ความคิดเห็น

      ×