Dizzy Story : คืนชีพอหังการ์ราชามังกร - นิยาย Dizzy Story : คืนชีพอหังการ์ราชามังกร : Dek-D.com - Writer
×

    Dizzy Story : คืนชีพอหังการ์ราชามังกร

    เมื่อมังกรดำสุดแกร่งชาเดห์ ต้องมนต์สะกดของศิลาผนึกจิตจนร่างกลายเป็นหิน กาลเวลาผ่านสองพันปี บัดนี้มังกรตัวใหญ่ได้คลายออกจากเครื่องพันธนาการ ออกมาโลดแล่นในโลกภายนอก ในโลกภายนอกที่ไม่มีใครรู้จัก "มังกร"

    ผู้เข้าชมรวม

    7,697

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    10

    ผู้เข้าชมรวม


    7.69K

    ความคิดเห็น


    129

    คนติดตาม


    108
    หมวด :  แฟนตาซี
    จำนวนตอน :  15 ตอน (จบแล้ว)
    อัปเดตล่าสุด :  1 ก.พ. 58 / 14:50 น.
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ










    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    คำนิยม Top

    "บทวิจารณ์ Dizzy Story : คืนชีพอหังการ์ราชามังกร"

    (แจ้งลบ)

    นวนิยายแฟนตาซีขนาดสั้น 13 ตอนจบ (รวมบทนำ และตอนพิเศษ 1 ตอน ) เรื่อง Dizzy Story : คืนชีพอหังการ์ราชามังกร ของ VANDOY เป็นเรื่องราวของชาเดย์ มังกรดำอายุสี่พันปี ที่เพิ่งจะเป็นอิสระจากการถูกมนตรร์สะกดของศิลาผลึกจิตทำให้กลายเป็นหินมานานถึงสองพันปีด้วยฝีมือ เลโอนาร์ด อัศวินขาว ผู้เก่งกาจที่สุดในยุคนั้น แต่การกลับมามีชีวิตใหม่ของชาเดย์ในครั้งนี ... อ่านเพิ่มเติม

    นวนิยายแฟนตาซีขนาดสั้น 13 ตอนจบ (รวมบทนำ และตอนพิเศษ 1 ตอน ) เรื่อง Dizzy Story : คืนชีพอหังการ์ราชามังกร ของ VANDOY เป็นเรื่องราวของชาเดย์ มังกรดำอายุสี่พันปี ที่เพิ่งจะเป็นอิสระจากการถูกมนตรร์สะกดของศิลาผลึกจิตทำให้กลายเป็นหินมานานถึงสองพันปีด้วยฝีมือ เลโอนาร์ด อัศวินขาว ผู้เก่งกาจที่สุดในยุคนั้น แต่การกลับมามีชีวิตใหม่ของชาเดย์ในครั้งนี้ โชคชะตาก็นำพาเขาได้กลับไปพบกับเลโอนาร์ด คู่แค้นเก่าของตน ซึ่งบทสรุปการเผชิญหน้าระหว่างคู่อริในครั้งนี้จะเป็นอยางไร ก็คงต้องอ่านนิยายเรื่องนี้กันเอง VANDOY เลือกใช้กลวิธีการเปิดเรื่องที่น่าสนใจ ด้วยฉากที่มนตร์สะกดชาเดย์กำลังค่อยๆ คลายออก จนเขาเป็นอิสระในที่สุด แล้วถึงจะเล่าย้อนถึงสาเหตุที่ทำให้เขาต้องถูกผนึกเป็นหินในครั้งนี้ ก่อนที่จะดำเนินเรื่องต่อไป ซึ่งช่วยทำให้เรื่องดูน่าสนใจและน่าติดตาม ขณะเดียวกันก็ยังทิ้งปริศนาที่ชวยติดตามไว้ด้วย นั้นคือ เมื่อดำเนินไปได้ 1-2 ตอน ชาเดย์ก็สัมผัสดวงจิตของ เลโอนาร์ด ศัตรูคู่แค้นเมื่อสองพันปีก่อนของเขาได้เป็นระยะๆ และบางครั้งก็เห็นเงาร่างของเลโอนาร์ด้วย แต่เขายังไม่มีโอกาสได้เผชิญหน้ากันตรงๆ จนเกือบจบเรื่องที่ VANDOY ค่อยเฉลยว่าแท้ที่จริงแล้ว ดวงจิตของเลโอนาร์ดซ่อนตัวอยู่ที่ใด ซึ่งต้องยอมรับว่า VANDOY สามารถหลอกทั้งชาเดย์ และผู้อ่านได้อย่างแนบเนียบ เพราะไม่เคยคาดคิดมาก่อนว่าดวงจิตของเลโอนาร์ดจะอยู่ที่นั่น การสร้างตัวละครนับเป็นจุดเด่นประการสำคัญที่ทำให้นวนิยายเรื่องนี้น่าติดตาม จะเห็นได้ว่าตัวละครหลักๆ ในเรื่องมีอยู่ไม่กี่ตัว แต่ว่าตัวละครทุกตัวต่างมีลักษณะเฉพาะที่ชัดเจน ชวนจดจำ ไม่ว่าจะเป็น แมร์เซเดส หัวหน้าหน่วยองครักษ์หญิงที่มีหน้าที่ดูแลองค์รัชทายาท ที่กล้าหาญ ยอมตายเพื่อปกป้องรัชทายาท มีฝีมือในการยิงธนูยอดเยี่ยม และมีบุคลิกที่ทำให้ชาเดย์รู้สึกเกรงใจ องค์รัชทายาทจิม เด็กที่อยากรู้อยากเห็น มีพลังเวทสูง เป็นกำลังสำคัญในการต่อสู้ และติดชาเดย์มากจนาขาต้องมาทำหน้าที่พี่เลี้ยงคอยดูแลจิม ฃ อัลแบร์ อัศวินขาว ที่มีคุณสมบัติของการเป็นอัศวินอย่างครบถ้วน รักษาสัจจะ และรักและห่วงใยน้องสาวมาก และ ชาเดย์ มังกรดำ ปากร้าย แต่ใจดี มีฝีมือ รักความยุติธรรม และชอบช่วยเหลือผู้ที่เดือดร้อน โดยเฉพาะชาเดย์ นับได้ว่าเป็นตัวละครที่สร้างสีสันให้เรื่องน่าติดตามได้มากที่สุด นอกจากนี้จะพบว่า VANDOY มีความสามารถในการสร้างทั้งบทสนทนาและบทสนทนา เพราะบทบรรยายที่ละเอียด ทั้งการบรรยายลักษณะของตัวละคร บรรยาย ฉาก บรรยากาศ รวมทั้งการเดินทาง การต่อสู้ และการหลบหนีได้อย่างมีชีวิตชีวา อันช่วยให้ผู้อ่านสามารถจินตนาการภาพตามได้นับเป็นกลวิธีสำคัญอีกประการหนึ่งที่ช่วยให้นิยายแฟนตาซีเรื่องนี้ชวนให้อ่านและน่าติดตาม ขณะเดียวกันบทสนทนาที่ใช้ก็ช่วยให้เสริมให้ผู้อ่านเข้าใจและเข้าถึงตัวละครในเรื่องได้มากขึ้น เพราะบทสนทนาเหล่านี้ส่วนหนึ่งก็ช่วยนำเสนออุปนิสัย ความคิด และอารมณ์ของตัวละครได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะชาเดย์ จะพบว่าส่วนใหญ่ผู้อ่านรู้จักตัวตนของชาเดย์ผ่านบทสนทนามากกว่าบทบรรยาย แต่เป็นที่น่าเสียดายว่า การที่ VANDOY ขึ้นย่อหน้าใหม่บ่อยครั้ง จนทำให้นวนิยายเรื่องนี้เต็มไปด้วยย่อหน้าสั้นๆ ประมาณ 2-3 บรรทัดโดยตลอด และบางครั้งความในย่อหน้าหนึ่งๆ ยังไม่จบขึ้นย่อหน้าใหม่แล้ว จึงเห็นว่า VANDOY ควรจะรอให้ความจบเนื้อความก่อนแล้วจึงจะขึ้นย่อหน้าใหม่ ก็จะช่วยให้การบรรยายเหล่านั้นเรียงร้อยต่อกันไปอย่างลื่นไหล โดยไม่มีการขึ้นย่อหน้าใหม่มาขัดจังหวะให้การบรรยายในตอนนั้นๆ จนทำให้ขาดอรรถรสในการขณะอ่าน Dizzy Story : คืนชีพอหังการ์ราชามังกร มีการดำเนินเรื่องที่กระชับ ฉับไวทำให้เรื่องน่าติดตาม จึงต่างจากนิยายแฟนตาซีเรื่องอื่นๆ ที่มักจะเป็นนิยายขนาดยาว แต่การเขียนที่กระชับเช่นนี้ก็ทำให้เกิดข้อชวนสงสัยสำหรับผู้อ่านด้วยเหมือนกัน เพราะจากที่อ่านมาจนถึงตอนที่ 12 นั้นพบว่าผู้เขียนยังไม่ได้อธิบายเหตุการณ์สำคัญ 2 เหตุการณ์ที่มีผลต่อเรื่องในครั้งนี้ นั่นคือข้อตกลงระหว่างปู่ของชาเดย์ที่ทำไว้กับเลโอนาร์ดคืออะไร และ เหตุใดเผ่าพันธุ์มังกรถึงต้องอาศัยอยู่แต่เฉพาะในเกาะกลางทะเลเหนือ ไม่สามารถข้ามมายังแผ่นดินของมนุษย์ได้ ทั้งนี้ไม่แน่ใจว่า VANDOY อธิบายไว้ในตอนที่ 13 ซึ่งเป็นตอนจบของเรื่องหรือไม่ เนื่องจากตอนที่ 13 ถูกลบไปแล้ว สำหรับชื่อเรื่อง Dizzy Story : คืนชีพอหังการ์ราชามังกร โดยส่วนตัวเห็นว่า VANDOY น่าจะต้องการสื่อความว่า เรื่องยุ่งเหยิงในการคืนชีพของชาเดย์ ราชามังกรจอมอหังการ์ ซึ่งก็นับว่าชื่อเรื่องสามารถสื่อความเรื่องราวที่นำเสนอได้เป็นอย่างดี เพราะนับตั้งแต่ชาเดย์ฟื้นคืนชีพขึ้นมาอีกครั้ง ชีวิตของเขาก็เต็มไปด้วยเรื่องราวที่แสนจะสับสนวุ่นวาย แต่สิ่งที่ยังเป็นข้อกังขาอยู่หลังจากอ่านเรื่องจบ คือ ยังสงสัยความเป็นราชาของชาเดย์ จนรู้สึกว่า ชาเดย์ ดูจะเป็นผู้ที่สถาปนาความเป็นราชามังกรให้กับตนเอง เพราะเขาเองผู้ประกาศว่า “ข้า...ชาเดย์ ราชันห์แห่งมังกรทั้งหลายกลับมาแล้ว” และนอกจากการประกาศของชาเดย์ในตอนต้นแล้วก็ยังไม่มีตอนใดในเรื่องที่แสดงให้เห็นว่าชาเดย์เป็นราชามังกร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ฉากที่ชาเดย์ไปที่เกาะกลางทะเลเหนืออันเป็นที่ชุมนุมของมังกร ซึ่งเดิมครอบครัวเขาก็อาศัยอยู่ที่นั่น แต่บัดนี้คงมีแต่ปู่ของเขาเท่านั้นที่อยู่ที่เกาะแห่งนั้น การเดินทางไปในครั้งนี้ ชาเดย์ได้พาร่างมีสต์ (ลูกมังกรขาวที่ต้องถูกกำจัด เพราะตามความเชื่อของเผ่าพันธุ์มังกรนั้น มังกรขาวเป็นอันตรายต่อเผ่าพันธุ์จึงต้องร่วมกันกำจัดตั้งแต่แรกเกิด) หนีมากับเขาด้วย ทำให้ปู่และมังกรอีกจำนวนหนึ่งออกตามล่าเขา จนเขาต้องหนีตายกลับมาแผ่นดินใหญ่ด้วยร่างกายที่สะบักสะบอม ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความจริงที่ว่าชาเดย์เป็นเพียงมังกรหลงฝูงตัวหนึ่งที่แยกตัวออกมาอยู่ลำพังในแผ่นดินใหญ่เท่านั้น หรือความเป็นราชามังกรของชาเดย์อาจจะเปิดเผยไว้ในบทที่ 13 ซึ่งเป็นตอนจบของเรื่อง แต่เป็นที่น่าเสียดายว่า ความสมบูรณ์ของเรื่องนี้ถูกลบเลือนด้วยคำที่สะกดผิดเป็นจำนวนมาก เช่น ของ เขียนเป็น ข้อง ม้ากมาก เขียนเป็น ม๊ากมาก หน่วย เขียนเป็น หน่อย ตะกละตะกลาม เขียนเป็น ตะกละตะกราม อุตสาห์ เขียนเป็น อุส่าห์ แป๊บ เขียนเป็น แปป ยาม เขียนเป็น ยาว ล็อก เขียนเป็น ล๊อก ตั้งแต่ เขียนเป็น ตั่งแต่ ของ เขียนเป็น ชอง สัญชาตญาณ เขียนเป็น สัญชาติญาณ เหลือบ เขียนเป็น เลหือบ ตะกุย เขียนเป็น ตะกุก โธ่เอ๊ย เขียนเป็น โถ่เอ๊ย อัลแบร์ เขียนเป็น อลัแบร์ เดียว เขียนเป็น เดี๋ยว ถือ เขียนเป็น ถูก อยู่ เขียนเป็น อยุ่ กะพริบ เขียนเป็น กระพริบ กึ่ง เขียนเป็น กิ่ง ผล็อย เขียนเป็น ผล๊อย ประกาย เขียนเป็น กระกาย สับปะรังเค เขียนเป็น สัปปะรังเค กรู เขียนเป็น หรุ เวท เขียนเป็น เวทย์ นอกจากนี้ ยังมีการใช้ คำว่า “กระบือ” แทนคำว่า “วัว” อยู่หลายแห่งในบทที่ 10 (นักจับรับจ้าง) ในที่นี้คำสุภาพของ “วัว” คือ “โค” ส่วน “กระบือ” เป็นคำสุภาพของคำว่า “ควาย” เมื่อใช้สลับกันทำให้ผู้อานสับสนในขณะที่อ่านว่าสัตว์ที่ชฃเดย์กำลังต่อสู้อยู่นั้น แท้ที่จริงแล้วเป็นวัวหรือควายกันแน่ จากเหตุที่กล่าวมาข้างต้นจึงอาจกล่าวได้ว่า Dizzy Story : คืนชีพอหังการ์ราชามังกร เป็นนิยายแฟนตาซีที่สนุกและน่าติดตาม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การที่ VANDOY ทิ้งปมไว้ให้ผู้อ่านติดตามอยากทราบตอนจบว่าสุดท้ายแล้วชาเดย์จะเลือกทางออกอย่างไร และเรื่องนี้จะลงเอยอย่างไร จึงเสียดายที่ลบตอนจบออกแล้ว และไม่ทราบว่าจะติดตามอ่านตอนจบได้ที่ใด ----------------------------------   อ่านน้อยลง

    bluewhale | 22 มี.ค. 56

    • 6

    • 0

    คำนิยมล่าสุด

    "บทวิจารณ์ Dizzy Story : คืนชีพอหังการ์ราชามังกร"

    (แจ้งลบ)

    นวนิยายแฟนตาซีขนาดสั้น 13 ตอนจบ (รวมบทนำ และตอนพิเศษ 1 ตอน ) เรื่อง Dizzy Story : คืนชีพอหังการ์ราชามังกร ของ VANDOY เป็นเรื่องราวของชาเดย์ มังกรดำอายุสี่พันปี ที่เพิ่งจะเป็นอิสระจากการถูกมนตรร์สะกดของศิลาผลึกจิตทำให้กลายเป็นหินมานานถึงสองพันปีด้วยฝีมือ เลโอนาร์ด อัศวินขาว ผู้เก่งกาจที่สุดในยุคนั้น แต่การกลับมามีชีวิตใหม่ของชาเดย์ในครั้งนี ... อ่านเพิ่มเติม

    นวนิยายแฟนตาซีขนาดสั้น 13 ตอนจบ (รวมบทนำ และตอนพิเศษ 1 ตอน ) เรื่อง Dizzy Story : คืนชีพอหังการ์ราชามังกร ของ VANDOY เป็นเรื่องราวของชาเดย์ มังกรดำอายุสี่พันปี ที่เพิ่งจะเป็นอิสระจากการถูกมนตรร์สะกดของศิลาผลึกจิตทำให้กลายเป็นหินมานานถึงสองพันปีด้วยฝีมือ เลโอนาร์ด อัศวินขาว ผู้เก่งกาจที่สุดในยุคนั้น แต่การกลับมามีชีวิตใหม่ของชาเดย์ในครั้งนี้ โชคชะตาก็นำพาเขาได้กลับไปพบกับเลโอนาร์ด คู่แค้นเก่าของตน ซึ่งบทสรุปการเผชิญหน้าระหว่างคู่อริในครั้งนี้จะเป็นอยางไร ก็คงต้องอ่านนิยายเรื่องนี้กันเอง VANDOY เลือกใช้กลวิธีการเปิดเรื่องที่น่าสนใจ ด้วยฉากที่มนตร์สะกดชาเดย์กำลังค่อยๆ คลายออก จนเขาเป็นอิสระในที่สุด แล้วถึงจะเล่าย้อนถึงสาเหตุที่ทำให้เขาต้องถูกผนึกเป็นหินในครั้งนี้ ก่อนที่จะดำเนินเรื่องต่อไป ซึ่งช่วยทำให้เรื่องดูน่าสนใจและน่าติดตาม ขณะเดียวกันก็ยังทิ้งปริศนาที่ชวยติดตามไว้ด้วย นั้นคือ เมื่อดำเนินไปได้ 1-2 ตอน ชาเดย์ก็สัมผัสดวงจิตของ เลโอนาร์ด ศัตรูคู่แค้นเมื่อสองพันปีก่อนของเขาได้เป็นระยะๆ และบางครั้งก็เห็นเงาร่างของเลโอนาร์ด้วย แต่เขายังไม่มีโอกาสได้เผชิญหน้ากันตรงๆ จนเกือบจบเรื่องที่ VANDOY ค่อยเฉลยว่าแท้ที่จริงแล้ว ดวงจิตของเลโอนาร์ดซ่อนตัวอยู่ที่ใด ซึ่งต้องยอมรับว่า VANDOY สามารถหลอกทั้งชาเดย์ และผู้อ่านได้อย่างแนบเนียบ เพราะไม่เคยคาดคิดมาก่อนว่าดวงจิตของเลโอนาร์ดจะอยู่ที่นั่น การสร้างตัวละครนับเป็นจุดเด่นประการสำคัญที่ทำให้นวนิยายเรื่องนี้น่าติดตาม จะเห็นได้ว่าตัวละครหลักๆ ในเรื่องมีอยู่ไม่กี่ตัว แต่ว่าตัวละครทุกตัวต่างมีลักษณะเฉพาะที่ชัดเจน ชวนจดจำ ไม่ว่าจะเป็น แมร์เซเดส หัวหน้าหน่วยองครักษ์หญิงที่มีหน้าที่ดูแลองค์รัชทายาท ที่กล้าหาญ ยอมตายเพื่อปกป้องรัชทายาท มีฝีมือในการยิงธนูยอดเยี่ยม และมีบุคลิกที่ทำให้ชาเดย์รู้สึกเกรงใจ องค์รัชทายาทจิม เด็กที่อยากรู้อยากเห็น มีพลังเวทสูง เป็นกำลังสำคัญในการต่อสู้ และติดชาเดย์มากจนาขาต้องมาทำหน้าที่พี่เลี้ยงคอยดูแลจิม ฃ อัลแบร์ อัศวินขาว ที่มีคุณสมบัติของการเป็นอัศวินอย่างครบถ้วน รักษาสัจจะ และรักและห่วงใยน้องสาวมาก และ ชาเดย์ มังกรดำ ปากร้าย แต่ใจดี มีฝีมือ รักความยุติธรรม และชอบช่วยเหลือผู้ที่เดือดร้อน โดยเฉพาะชาเดย์ นับได้ว่าเป็นตัวละครที่สร้างสีสันให้เรื่องน่าติดตามได้มากที่สุด นอกจากนี้จะพบว่า VANDOY มีความสามารถในการสร้างทั้งบทสนทนาและบทสนทนา เพราะบทบรรยายที่ละเอียด ทั้งการบรรยายลักษณะของตัวละคร บรรยาย ฉาก บรรยากาศ รวมทั้งการเดินทาง การต่อสู้ และการหลบหนีได้อย่างมีชีวิตชีวา อันช่วยให้ผู้อ่านสามารถจินตนาการภาพตามได้นับเป็นกลวิธีสำคัญอีกประการหนึ่งที่ช่วยให้นิยายแฟนตาซีเรื่องนี้ชวนให้อ่านและน่าติดตาม ขณะเดียวกันบทสนทนาที่ใช้ก็ช่วยให้เสริมให้ผู้อ่านเข้าใจและเข้าถึงตัวละครในเรื่องได้มากขึ้น เพราะบทสนทนาเหล่านี้ส่วนหนึ่งก็ช่วยนำเสนออุปนิสัย ความคิด และอารมณ์ของตัวละครได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะชาเดย์ จะพบว่าส่วนใหญ่ผู้อ่านรู้จักตัวตนของชาเดย์ผ่านบทสนทนามากกว่าบทบรรยาย แต่เป็นที่น่าเสียดายว่า การที่ VANDOY ขึ้นย่อหน้าใหม่บ่อยครั้ง จนทำให้นวนิยายเรื่องนี้เต็มไปด้วยย่อหน้าสั้นๆ ประมาณ 2-3 บรรทัดโดยตลอด และบางครั้งความในย่อหน้าหนึ่งๆ ยังไม่จบขึ้นย่อหน้าใหม่แล้ว จึงเห็นว่า VANDOY ควรจะรอให้ความจบเนื้อความก่อนแล้วจึงจะขึ้นย่อหน้าใหม่ ก็จะช่วยให้การบรรยายเหล่านั้นเรียงร้อยต่อกันไปอย่างลื่นไหล โดยไม่มีการขึ้นย่อหน้าใหม่มาขัดจังหวะให้การบรรยายในตอนนั้นๆ จนทำให้ขาดอรรถรสในการขณะอ่าน Dizzy Story : คืนชีพอหังการ์ราชามังกร มีการดำเนินเรื่องที่กระชับ ฉับไวทำให้เรื่องน่าติดตาม จึงต่างจากนิยายแฟนตาซีเรื่องอื่นๆ ที่มักจะเป็นนิยายขนาดยาว แต่การเขียนที่กระชับเช่นนี้ก็ทำให้เกิดข้อชวนสงสัยสำหรับผู้อ่านด้วยเหมือนกัน เพราะจากที่อ่านมาจนถึงตอนที่ 12 นั้นพบว่าผู้เขียนยังไม่ได้อธิบายเหตุการณ์สำคัญ 2 เหตุการณ์ที่มีผลต่อเรื่องในครั้งนี้ นั่นคือข้อตกลงระหว่างปู่ของชาเดย์ที่ทำไว้กับเลโอนาร์ดคืออะไร และ เหตุใดเผ่าพันธุ์มังกรถึงต้องอาศัยอยู่แต่เฉพาะในเกาะกลางทะเลเหนือ ไม่สามารถข้ามมายังแผ่นดินของมนุษย์ได้ ทั้งนี้ไม่แน่ใจว่า VANDOY อธิบายไว้ในตอนที่ 13 ซึ่งเป็นตอนจบของเรื่องหรือไม่ เนื่องจากตอนที่ 13 ถูกลบไปแล้ว สำหรับชื่อเรื่อง Dizzy Story : คืนชีพอหังการ์ราชามังกร โดยส่วนตัวเห็นว่า VANDOY น่าจะต้องการสื่อความว่า เรื่องยุ่งเหยิงในการคืนชีพของชาเดย์ ราชามังกรจอมอหังการ์ ซึ่งก็นับว่าชื่อเรื่องสามารถสื่อความเรื่องราวที่นำเสนอได้เป็นอย่างดี เพราะนับตั้งแต่ชาเดย์ฟื้นคืนชีพขึ้นมาอีกครั้ง ชีวิตของเขาก็เต็มไปด้วยเรื่องราวที่แสนจะสับสนวุ่นวาย แต่สิ่งที่ยังเป็นข้อกังขาอยู่หลังจากอ่านเรื่องจบ คือ ยังสงสัยความเป็นราชาของชาเดย์ จนรู้สึกว่า ชาเดย์ ดูจะเป็นผู้ที่สถาปนาความเป็นราชามังกรให้กับตนเอง เพราะเขาเองผู้ประกาศว่า “ข้า...ชาเดย์ ราชันห์แห่งมังกรทั้งหลายกลับมาแล้ว” และนอกจากการประกาศของชาเดย์ในตอนต้นแล้วก็ยังไม่มีตอนใดในเรื่องที่แสดงให้เห็นว่าชาเดย์เป็นราชามังกร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ฉากที่ชาเดย์ไปที่เกาะกลางทะเลเหนืออันเป็นที่ชุมนุมของมังกร ซึ่งเดิมครอบครัวเขาก็อาศัยอยู่ที่นั่น แต่บัดนี้คงมีแต่ปู่ของเขาเท่านั้นที่อยู่ที่เกาะแห่งนั้น การเดินทางไปในครั้งนี้ ชาเดย์ได้พาร่างมีสต์ (ลูกมังกรขาวที่ต้องถูกกำจัด เพราะตามความเชื่อของเผ่าพันธุ์มังกรนั้น มังกรขาวเป็นอันตรายต่อเผ่าพันธุ์จึงต้องร่วมกันกำจัดตั้งแต่แรกเกิด) หนีมากับเขาด้วย ทำให้ปู่และมังกรอีกจำนวนหนึ่งออกตามล่าเขา จนเขาต้องหนีตายกลับมาแผ่นดินใหญ่ด้วยร่างกายที่สะบักสะบอม ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความจริงที่ว่าชาเดย์เป็นเพียงมังกรหลงฝูงตัวหนึ่งที่แยกตัวออกมาอยู่ลำพังในแผ่นดินใหญ่เท่านั้น หรือความเป็นราชามังกรของชาเดย์อาจจะเปิดเผยไว้ในบทที่ 13 ซึ่งเป็นตอนจบของเรื่อง แต่เป็นที่น่าเสียดายว่า ความสมบูรณ์ของเรื่องนี้ถูกลบเลือนด้วยคำที่สะกดผิดเป็นจำนวนมาก เช่น ของ เขียนเป็น ข้อง ม้ากมาก เขียนเป็น ม๊ากมาก หน่วย เขียนเป็น หน่อย ตะกละตะกลาม เขียนเป็น ตะกละตะกราม อุตสาห์ เขียนเป็น อุส่าห์ แป๊บ เขียนเป็น แปป ยาม เขียนเป็น ยาว ล็อก เขียนเป็น ล๊อก ตั้งแต่ เขียนเป็น ตั่งแต่ ของ เขียนเป็น ชอง สัญชาตญาณ เขียนเป็น สัญชาติญาณ เหลือบ เขียนเป็น เลหือบ ตะกุย เขียนเป็น ตะกุก โธ่เอ๊ย เขียนเป็น โถ่เอ๊ย อัลแบร์ เขียนเป็น อลัแบร์ เดียว เขียนเป็น เดี๋ยว ถือ เขียนเป็น ถูก อยู่ เขียนเป็น อยุ่ กะพริบ เขียนเป็น กระพริบ กึ่ง เขียนเป็น กิ่ง ผล็อย เขียนเป็น ผล๊อย ประกาย เขียนเป็น กระกาย สับปะรังเค เขียนเป็น สัปปะรังเค กรู เขียนเป็น หรุ เวท เขียนเป็น เวทย์ นอกจากนี้ ยังมีการใช้ คำว่า “กระบือ” แทนคำว่า “วัว” อยู่หลายแห่งในบทที่ 10 (นักจับรับจ้าง) ในที่นี้คำสุภาพของ “วัว” คือ “โค” ส่วน “กระบือ” เป็นคำสุภาพของคำว่า “ควาย” เมื่อใช้สลับกันทำให้ผู้อานสับสนในขณะที่อ่านว่าสัตว์ที่ชฃเดย์กำลังต่อสู้อยู่นั้น แท้ที่จริงแล้วเป็นวัวหรือควายกันแน่ จากเหตุที่กล่าวมาข้างต้นจึงอาจกล่าวได้ว่า Dizzy Story : คืนชีพอหังการ์ราชามังกร เป็นนิยายแฟนตาซีที่สนุกและน่าติดตาม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การที่ VANDOY ทิ้งปมไว้ให้ผู้อ่านติดตามอยากทราบตอนจบว่าสุดท้ายแล้วชาเดย์จะเลือกทางออกอย่างไร และเรื่องนี้จะลงเอยอย่างไร จึงเสียดายที่ลบตอนจบออกแล้ว และไม่ทราบว่าจะติดตามอ่านตอนจบได้ที่ใด ----------------------------------   อ่านน้อยลง

    bluewhale | 22 มี.ค. 56

    • 6

    • 0

    ความคิดเห็น