อารยธรรมลุ่มแม่นำไทกรีสและยูเฟรทีส - อารยธรรมลุ่มแม่นำไทกรีสและยูเฟรทีส นิยาย อารยธรรมลุ่มแม่นำไทกรีสและยูเฟรทีส : Dek-D.com - Writer

    อารยธรรมลุ่มแม่นำไทกรีสและยูเฟรทีส

    สวัสดีค่ะเพื่อนๆ วันนี้เราไปรื้อชีทสมัย ม 4 ดู แล้วเจอชีทเกี่ยวกับอารยธรรมลุ่มแม่น้ำไทกรีส-ยูเฟรทีส หรือเมโสโปเตเมียนั่นเอง เราหวังว่าจะเป็นประโยชน์ต่อเพื่อนๆที่ต้องการศึกษาเรื่องนี้นะคะ

    ผู้เข้าชมรวม

    1,041

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    9

    ผู้เข้าชมรวม


    1.04K

    ความคิดเห็น


    0

    คนติดตาม


    6
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  4 เม.ย. 58 / 17:48 น.


    ข้อมูลเบื้องต้น

    อารยธรรมลุ่มแม่น้ำไทกรีสและยูเฟรทีส

     

               อารยธรรมลุ่มแม่น้ำไทกรีสและยูเฟรทีสหรืออารยธรรมเมโสโปเตเมีย  ถือกำเนิดขึ้นบริเวณลุ่มแม่น้ำ 2 สาย คือ แม่น้ำไทกรีสและแม่น้ำยูเฟรทีส โดยแม่น้ำไทกรีสมีต้นกำเนิดจากเทือกเขาซากรอส ในประเทศอิหร่านปัจจุบัน  และแม่น้ำยูเฟรทีสมีต้นกำเนิดในเขตภูเขาบริเวณอาร์เมเนีย  ในประเทศตุรกีปัจจุบัน  แม่น้ำทั้งสองไหลลงทะเลที่อ่าวเปอร์เซีย คำว่า “เมโสโปเตเมีย” เป็นคำในภาษากรีก  มีความหมายว่า  ดินแดนระหว่างแม่น้ำทั้งสอง  ซึ่งมีพื้นที่ครอบคลุมอาณาเขตอย่างกว้างขวาง 

               

    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ

      อารยธรรมลุ่มแม่น้ำไทกรีสและยูเฟรทีส

       

                อารยธรรมลุ่มแม่น้ำไทกรีสและยูเฟรทีสหรืออารยธรรมเมโสโปเตเมีย  ถือกำเนิดขึ้นบริเวณลุ่มแม่น้ำ 2 สาย คือ แม่น้ำไทกรีสและแม่น้ำยูเฟรทีส โดยแม่น้ำไทกรีสมีต้นกำเนิดจากเทือกเขาซากรอส ในประเทศอิหร่านปัจจุบัน  และแม่น้ำยูเฟรทีสมีต้นกำเนิดในเขตภูเขาบริเวณอาร์เมเนีย  ในประเทศตุรกีปัจจุบัน  แม่น้ำทั้งสองไหลลงทะเลที่อ่าวเปอร์เซีย คำว่า “เมโสโปเตเมีย” เป็นคำในภาษากรีก  มีความหมายว่า  ดินแดนระหว่างแม่น้ำทั้งสอง  ซึ่งมีพื้นที่ครอบคลุมอาณาเขตอย่างกว้างขวาง 

                 โดยบริเวณที่ราบตอนบนของแม่น้ำทั้งสองสายจะเป็นพื้นที่ที่สูงกว่าบริเวณทางตอนล่างและมีความแห้งแล้ง  การทำการเกษตรจึงต้องใช้ระบบชลประทานเข้าช่วย  ส่วนบริเวณที่ราบตอนล่างของแม่น้ำจะเป็นที่ราบที่เกิดจากการทับถมของดินตะกอนของแม่น้ำที่พัดเอาโคลนตมมาทับถมกันบริเวณปากแม่น้ำ  เรียกว่า บาบิโลน (
      Babylonia) ซึ่งพื้นที่บริเวณนี้จะมีความอุดมสมบูรณ์ ส่วนภูมิอากาศในฤดูร้อนมีอากาศร้อนจัด ไม่มีฝน ฤดูหนาวอากาศกำลังสบาย แต่เป็นเพียงช่วงสั้นๆ จากสภาพภูมิศาสตร์ของเมโสโปเตเมียมีความสำคัญต่อการสร้างอารยธรรมมาก  ความอุดมสมบูรณ์ของแผ่นดินระหว่างลุ่มแม่น้ำเป็นที่ดึงดูดให้มนุษย์ชนเผ่าต่างๆ ผลัดกันขึ้นมามีอำนาจ

                 การตั้งถิ่นฐานของชนเผ่าต่างๆ ในเมโสโปเตเมีย มีดังนี้

                 1. ชาวสุเมเรียน (Sumerians) เป็นชนเผ่าแรกที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานในเมโสโปเตเมียบริเวณทางใต้ของบาบิโลเนียติดกับอ่าวเปอร์เซีย เรียกว่า ซูเมอร์ (Sumer) เมื่อประมาณ 3,500 ปีก่อนคริสต์ศักราช โดยผู้คนได้สร้างหมู่บ้านขึ้นเป็นหย่อมๆ และเริ่มสร้างความเจริญขึ้นเป็นลำดับ ต่อมาได้รวมตัวกันเป็นเมือง แต่ละเมืองเป็นอิสระต่อกัน  มีลักษณะเป็นนครรัฐ แต่ละนครรัฐเป็นอิสระไม่ขึ้นต่อกัน มีกษัตริย์เป็นผู้นำ และมักจะแย่งชิงความเป็นใหญ่เสมอ นครรัฐเหล่านี้ ได้แก่ อีรีดู (Eridu) คิช (Kish) บาบิลอน (Babylon) เออร์ (Ur) เออรุค (Eruk) ประมาณ 2,500 ปีก่อนคริสต์ศักราช เมืองเออร์มีอำนาจครอบคลุมเมืองงต่างๆ ในบาบิโลเนีย ต่อมาเมื่อประมาณ 2,275 ปีก่อนคริสต์ศักราช เมืองเออรุคได้ครอบครองดินแดนส่วนใหญ่และแผ่ขยายไปจนถึงทะเลเมดิเตอร์เรเนียน

                  ความเจริญของชาวสุเมเรียน ได้แก่

                  
      1) การประดิษฐ์ตัวอักษร  ชาวสุเมเรียนเป็นชนชาติแรกในเมโสโปเตเมียที่ประดิษฐ์ตัวอักษรได้เมื่อ 3,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช เริ่มแรกตัวอักษรของชาวสุเมเรียนเป็นตัวอักษรภาพ ต่อมาได้มีการดัดแปลงคิดสัญลักษณ์ต่างๆ ใช้แทนภาพ  ทำให้ง่ายต่อการบันทึกยิ่งขึ้น เครื่องหมายบางตัวใช้แทนเสียงในการผสมคำ  มีจำนวนมากกว่า 350 เครื่องหมาย  หลักฐานตัวอักษรของชาวสุเมเรียนพบในแผ่นดินเผา  ตัวอักษรเขียนด้วยก้านอ้อในขณะที่ดินเหนียวยังอ่อนตัวแล้วนำไปตากแดดหรือเผาให้แห้ง  ตัวอักษรจึงมีลักษณะคล้ายลิ่ม  จึงเรียกว่า อักษรลิ่มหรือคูนิฟอร์ม (Cuneiform) เนื่องจากคำว่า Cuneiform มาจากภาษาละตินว่า Cuneus แปลว่า ลิ่ม   

                 
      2) วรรณกรรม วิธีการเขียนตัวอักษรลิ่มไม่สะดวกต่องานเขียนที่มีลักษณะยาวๆ เพราะแผ่นดินเหนียวแผ่นหนึ่งบรรจุข้อความได้เพียงเล็กน้อย  แต่ชาวสุเมเรียนมีวรรณกรรมที่ท่องจำสืบต่อกันมา เช่น นิยาย กาพย์ กลอน ส่วนเรื่องสั้นมีจารึกไว้ในแผ่นดินเผา งานเขียนส่วนใหญ่เขียนโดยนักบวช  จึงเป็นเรื่องเกี่ยวกับความเชื่อศาสนาเป็นส่วนใหญ่ เช่น โคลงสดุดีเทพเจ้า เพลงสวด เป็นต้น  วรรณกรรมที่มีชื่อเสียง คือ มหากาพย์กิลกาเมช (Gilgamesh Epic) กล่าวถึงการผจญภัยของกษัตริย์ของนครเออรุค ซึ่งสันนิษฐานว่าคงมีอิทธิพลต่อพระคัมภีร์เก่าเล่มแรกๆ ของพวกฮิบรู

                
       3) สถาปัตยกรรม การก่อสร้างของชาวสุเมเรียนส่วนใหญ่มักทำด้วยอิฐ ซึ่งทำจากดินเหนียวที่ตากแห้ง เรียกว่า sun-dried brick หรืออิฐตากแห้ง อิฐบางชนิดเป็นอิฐเผาหรืออบให้แห้ง เรียกว่า baked – brick จะทนทานและป้องกันความชื้นได้ดีกว่าอิฐตากแห้ง  จึงใช้ในการก่อสร้างที่ต้องการความมั่นคงถาวร เช่น กำแพงที่นครคิช ที่มีซากพระราชวังที่ก่อสร้างด้วยอิฐ  สถาปัตยกรรมที่มีชื่อเสียงของชาวสุเมเรียน คือ ซิกกูแรต (Ziggurat) ซึ่งมีลักษณะคล้ายพีระมิดของอียิปต์ สร้างขึ้นบนฐานที่ยกสูงจากระดับพื้นดิน มีบันไดทอดยาวขึ้นไป ข้างบนเป็นวิหารเทพเจ้า พบที่นครเออร์ เป็นซิกกูแรตที่มีฐานยาว 200 ฟุต กว้าง 150 ฟุต สูง 70 ฟุต สันนิษฐานว่าอาจเป็น ทาวเวอร์ ออฟ บาเบิล  (Tower of Bable) ตามที่ปรากฏในพระคัมภีร์ของชาวฮิบรู


                 
      4) ปฏิทินและการชั่งตวงวัด ปฏิทินของชาวสุเมเรียนเป็นปฏิทินแบบจันทรคติ คือ เดือนหนึ่งมี 29 ½ วัน ปีหนึ่งมี 12 เดือน แต่ละเดือนแบ่งออกเป็น 4 สัปดาห์ สัปดาห์หนึ่งมี 7-8 วัน ส่วนระบบการชั่ง ตวง วัด ของชาวสุเมเรียนแบ่งออกเป็น ทาเลนท์ (talent) เชเคิล (shekle) และมีนา (mina) ดังนั้น 1 เชคเคิล เป็น 1 มีนา 60 มีนา เป็น 1 ทาเลนท์ ( 1 มีนา ประมาณปอนด์กว่า ) เรียกว่าใช้ระบบฐาน 60 ซึ่งมีอิทธิพลต่อการแบ่งเวลาในยุคปัจจุบัน (คือ 60 วินาที เป็น 1 นาที 60 นาที เป็น 1 ชั่วโมง)

                 2. ชาวแอคคัด (Akkad) เป็นพวกเร่ร่อนเผ่าเซมิติกที่ตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณซีเรียและทะเลทรายอาหรับ ได้เข้ามารุกรานยึดครองพื้นที่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของเมโสโปเตเมียเมื่อประมาณ 2,300 ปีก่อนคริสต์ศักราช โดยมีผู้นำชาวแอคคัด คือ ชาร์กอน (Sargon) ได้ยกทัพยึดครองนครรัฐของชาวสุเมเรียนในซูเมอร์และรวบรวมดินแดนตั้งแต่ฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนไปจนถึงอ่าวเปอร์เซียเข้าเป็นจักรวรรดิแรกในเมโสโปเตเมีย แต่ยึดครองได้ไม่นานก็ถูกชาวสุเมเรียนล้มล้างอำนาจและจัดตั้งนครรัฐขึ้นมาปกครองใหม่

                3. ชาวอมอไรต์ (Amorite) เป็นชนเผ่าเซเมติก อพยพจากทะเลทรายอาระเบีย เข้ามายึดครองนครรัฐของชาวสุเมเรียนและสถาปนาจักรวรรดิบาบิโลเนียขึ้นเมื่อประมาณ 2,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช โดยมีนครบาบิโลนเป็นศูนย์กลางการปกครอง ซึ่งมีกษัตริย์ที่สำคัญ คือ พระเจ้าฮัมมูราบี (Hammurabi) ที่ได้รวบรวมกลุ่มต่างๆ ในเมโสโปเตเมียให้อยู่ภายใต้อำนาจการปกครอง  ซึ่งผลงานสำคัญของพระองค์ คือ ประมวลกฎหมายฮัมมูราบี (The Hammurabi’s Code) เป็นกฎหมายที่ผสมผสานวัฒนธรรมของชาวอาหรับ กฎของเผ่าเซมิติก และจารีตประเพณีของพวกสุเมเรียน กฎหมายนี้ครอบคลุมด้านชีวิตความเป็นอยู่ของคนในสังคม เศรษฐกิจ การถือครองที่ดิน การทำมาหากินและอื่นๆ นอกจากนี้ยังกำหนดบทลงโทษที่เรียกว่า ตาต่อตา ฟันต่อฟัน (an eye for an, and a tooth for a tooth) กล่าวคือ ถ้าผู้ทำผิดทำให้ใครตาบอด ผู้ทำผิดนั้นก็จะถูกลงโทษโดยการทำให้ตาบอดเช่นเดียวกัน จักรวรรดิบาบิโลเนียถูกชาวฮิตไทต์ (Hittite) รุกรานและล่มสลายลงเมื่อ 1,600 ปีก่อนคริต์ศักราช

                 4. ชาวฮิตไทต์ (Hittite) เป็นชนเผ่าอินโดยูเรเปียนที่ตั้งถิ่นฐานทางตอนใต้รัสเซีย ได้อพยพขยายตัวมาตามแม่น้ำยูเฟรทีส และเข้าโจมตีทางเหนือของซีเรียและปล้นสะดมกรุงบาบิโลเนียของพวกอมอไรต์ เมื่อประมาณ 1,595 ปีก่อนคริสต์ศักราช พวกอมอไรต์จึงหมดอำนาจลง  ช่วงเวลาที่ชาวฮิตไทต์มีอำนาจในเมโสโปเตเมียนั้นเป็นเวลาเดียวกับอียิปต์เรืองอำนาจ  ทำให้ทั้งสองอาณาจักรทำสงครามแย่งชิงดินแดนเมโสโปเตเมีย ภายหลังสงบศึกจึงแบ่งพื้นที่กันยึดครอง  กล่าวกันว่าพวกฮิตไทต์มีความสามารถในการรบมาก  โดยเป็นชนเผ่าแรกที่นำเหล็กมาใช้ในการทำอาวุธ รู้จักใช้ม้า รถเทียมม้า ทำให้กองทัพเข้มแข็งและเคลื่อนที่ได้อย่างรวดเร็ว

                  5. ชาวแอสซีเรีย (Assyria) เป็นชนเผ่าเซเมติกอยู่ทางตอนเหนือของบริเวณเมโสโปเตเมีย สามารถปราบปรามพวกฮิตไทต์และรัฐต่างๆ ในเมโสโปเตเมียทั้งหมด แล้วสถาปนาจักรวรรดิแอสซีเรีย มีศูนย์กลางการปกครองที่เมืองนิเนอเวห์ (Nineveh) เมื่อประมาณ 1,100 ปีก่อนคริสต์ศักราช ชาวแอสซีเรียมีความสามารถในการรบ สามารถขยายอำนาจไปทั่วบริเวณใกล้เคียง เริ่มตั้งแต่ขยายอำนาจไปแถบบาบิโลเนียและเข้าปล้นกรุงบาบิโลเนียได้เมื่อ 689 ปีก่อนคริสต์ศักราช และสถาปนาพระเจ้าแอสซูร์บานิปาลเป็นกษัตริย์แห่งบาบิโลเนีย

                      จากนั้นได้ยกทัพยึดกรุงดามัสกัสของซีเรีย แล้วตีเมืองต่างๆ ของฟินิเซีย ยึดได้บางส่วนของเอเชียไมเนอร์และยึดครองดินแดนของอียิปต์เมื่อ
      669 ปีก่อนคริสต์ศักราช เรียกได้ว่ายึดครองดินแดนบริเวณดวงจันทร์เสี้ยวอันสมบูรณ์ (ดินแดนรูปครึ่งวงกลมผืนใหญ่ที่ทอดโค้งขึ้นไปจากบริเวณริมฝั่งตะวันออกของทะเลเมดิเตอร์เรเนียนไปจนถึงอ่าวเปอร์เซีย) ได้ทั้งหมด จักรวรรดิแอสซีเรียเจริญรุ่งเรืองสูงสุดในสมัยของพระเจ้าแอสซูร์บานิปาล (668-625 ปีก่อนคริสต์ศักราช) จากนั้นอาณาจักรจึงเริ่มเสื่อมลง

               อารยธรรมแอสซีเรียที่สำคัญ ได้แก่ ด้านสถาปัตยกรรมที่เน้นความใหญ่โตมหึมาตัวอาคารสร้างเป็นรูปโค้งครึ่งวงกลมและโดม สถาปัตยกรรมที่มีชื่อเสียง คือ พระราชวังชาร์กอนที่คอร์ซาบัด (Palace of Sargon at Kchorsabad) ด้านจิตรกรรม มีการแกะสลักภาพนูนต่ำที่แสดงการเคลื่อนไหวเหมือนธรรมชาติเป็นภาพเกี่ยวกับสงคราม การล่าสัตว์

                  6. ชาวแคลเดียน (Chaldean) เป็นชนเผ่าเซเมติกที่อพยพมาจากเขตทะเลทรายเข้ามาตั้งถิ่นฐานทางตะวันออกเฉียงใต้ของลุ่มแม่น้ำไทกรีสและยูเฟรทีส สามารถโค่นล้มจักรวรรดิแอสซีเรียสำเร็จและสถาปนาจักรวรรดิแคลเดียนหรือบาบิโลเนียใหม่ (New Babylonia) โดยมีกรุงบาบิโลนเป็นศูนย์กลางการปกครอง เมื่อประมาณ 612 ปีก่อนคริสต์ศักราช

                อาณาจักรบาบิโลเนียใหม่เป็นอาณาจักรที่เจริญรุ่งเรืองในสมัยพระเจ้าเนบูคัดเนชชาร์ (Nebuchadnezzar) ที่สามารถยกทัพไปตีได้เมืองเยรูซาเลม นอกจากนี้ยังมีการสร้างพระราชวังและวิหารขนาดใหญ่บนฝั่งแม่น้ำยูเฟรทีสและเหนือพระราชวังขึ้นไปมีการสร้างสวนขนาดใหญ่ ที่เรียกว่า สวนลอยแห่งบาบิลอน (hanging Garden of Babylon)

                ซึ่งเป็นหนึ่งในสิ่งมหัสจรรย์ของโลกในสมัยโบราณ ที่แสดงให้เห็นถึงระบบชลประทานที่เจริญก้าวหน้ามากในสมัยนั้น  ที่ทำให้สวนลอยแห่งนี้เขียวขจีตลอดทั้งปี  นอกจากนี้ชาวแคลเดียนสามารถคำนวณวิถีของดวงดาว มีการแบ่งสัปดาห์ออกเป็น
      7 วัน แบ่งวันออกเป็น 12 คาบ คาบละ 120 นาที ตลอดจนวันที่จะเกิดสุริยุปราคาและจันทรุปราคาได้อย่างแม่นยำ

               เมื่อ 539 ปีก่อนคริสต์ศักราช อาณาจักรบาบิโลเนียใหม่ก็ถูกกองทัพเปอร์เซียโดยการนำของพระเจ้าไซรัสมหาราช แห่งเปอร์เซียเข้ายึดครอง และผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิเปอร์เซีย

      ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      ความคิดเห็น

      ×