ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    มาลองค้นตัวเองว่าคุณเหมาะและหรืออยากเรียนคณะไรกันแน่

    ลำดับตอนที่ #11 : "สถาปนิก" รักออกแบบต้องนี้เลย

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 12.31K
      15
      3 เม.ย. 49

     คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์

    คืออะไร

                คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์หรือที่เรียกกันสั้นๆว่า สถาปนิกนั้นแหละ เป็นศาสตร์ที่เกี่ยวกับการออกแบบกายภาพหรือสิ่งที่จำต้องได้นั้นแหละ เช่น การออกแบบอาคารสิ่งก่อสร้าง ผลิตภัณฑ์การออกแบบภายใน ตลอดจนการปรุงแต่งสภาพแวดล้อมให้ได้ประโยชน์ใช้สอยที่ดีที่สุด และครอบคลุมถึงด้านการวางแผนและเคหการด้วย

     

    หลักสูตร

                คณะนี้จะใช้ระยะเวลาเรียนตามหลักสูตร 5 ปี เพื่อให้มีความเชี่ยวชาญในอาชีพ สามารถออกแบบอาคารหรือสิ่งประดิษฐ์ต่างๆได้อย่างสวยงามได้มาตรฐาน คุ้มค่า และประหยัด รวมทั้งเข้าใจในความต้องการ ความเหมาะสมของเศรษฐกิจและสังคมของกลุ่มบุคคลที่ต่างกันได้  

                สาขาในกลุ่มนี้มีอยู่ 5 กลุ่มสาขา คือ

                1.สาขาสถาปัตยกรรม    เป็นสาขาที่ศึกษาการออกแบบอาคารและสิ่งก่อสร้างทั่วไปโดยคำนึงถึงสภาวะแวดล้อม การใช้วัสดุ วิธีการก่อสร้าง และความรู้ทางสาขาวิชาวิศวกรรมที่เกี่ยวข้อง คำนึงถึงสภาพเศรษฐกิจ สังคมและศิลปวัฒนธรรม ตลอดจนความงาม

                2.สาขาสถาปัตยกรรมภายใน     เป็นวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบที่เน้นการจัดที่ว่างภายในอาคารเพื่อประโยชน์ใช้สอยและความงาม  เป็นสาขาที่เมื่อจบมาเราจะเรียกว่า มัณฑนากรนั้นแหละค่ะ ซึ่งรายละเอียดของอาชีพนี้จะมีบอกในตอนหน้าน่ะค่ะ 

                3.สาขาสถาปัตยกรรมไทย      จะศึกษาการออกแบบสถาปัตยกรรมไทยและศึกษาแหล่งที่มา อิทธิพลขององค์ประกอบสถาปัตยกรรมไทย ศึกษาและฝึกหัดลายไทยชนิดต่างๆ ตั้งแต่ง่ายไปจนถึงการบรรจุลายลงบนส่วนประกอบสถาปัตยกรรมให้ถูกต้องตามหน้าที่

                4.สาขาภูมิสถาปัตยกรรม      จะเน้นหนักด้านการปรุงแต่ง การออกแบบ และปรับปรุงในส่วนของสภาพแวดล้อม ประเภทสวนสาธารณะ สวนสัตว์ สนามเด็กเล่น โดยเน้นที่ความกลมกลืนกันของธรรมชาติ ป่าไม้ และต้นน้ำลำธาร

                5.สาขาการออกแบบอุตสาหกรรม      จะเน้นหนักการออกแบบ 5 สาขา คือ การออกแบบผลิตภัณฑ์ การออกแบบตกแต่งภายใน การออกแบบตกแต่งภายใน การออกแบบเลขะนิเทศ  การออกแบบเครื่องเคลือบดินเผา  การออกแบบสิ่งทอ โดยจะต้องศึกษาพื้นฐานทั้ง 5 สาขา แล้วเลือกเน้นสาขาที่ตนถนัดและทำวิทยานิพนธ์ในสาขานั้น

                ตลอดระยะเวลา 5 ปีที่ศึกษาในคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์นี้ ในช่วง 1-2 ปีแรก จะต้องเรียนวิชาพื้นฐานบังคับ พื้นฐานการออกแบบ และพื้นฐานอาชีพ  ในชั้นปีที่ 3 จะเรียนวิชาเฉพาะของแต่ละสาขา พอในชั้นปีที่4จะมีการฝึกงานช่วงปิดเทอม และจะทำวิทยานิพนธ์ในภาคสุดท้ายของชั้นปีที่ 5

                ผู้ที่อยากจะเขาศึกษาในคณะนี้ควรเป็นผู้ที่มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีจินตนาการและทักษะในด้านทัศนศิลป์เช่น เรื่องสี การวาดลายเส้น และมีความรู้พื้นฐานทางด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ เพราะวิชาการออกแบบเป็นศิลปประยุกต์ ผู้สมัครต้องสอบผ่านวิชาความถนัดด้านการออกแบบด้วย

     

    ลักษณะของอาชีพนี้

                อาชีพ สถาปนิก คืออาชีพการออกแบบอาคารประเภทต่างๆให้มีความงดงามและประหยัด และต้องตรงกับความต้องการของผู้ใช้อาคารนั้นๆด้วย  งานวิชาชีพนี้เป็นลักษณะการบริการเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้นสถาปนิกจะต้องคำนึงถึงความสุขความพอใจของผู้อื่นเสมอ

                การออกแบบมีหลักว่าจะต้องศึกษาถึงความต้องการของผู้ที่เป็นเจ้าของอาคารให้เข้าใจอย่างละเอียดว่ามีจุดประสงค์และจุดมุ่งหมายอย่างไรและต้องประมาณการว่าแบบที่ได้ออกวานั้นถูกต้องภายในงบประมาณที่ผู้เป็นเจ้าของกำหนดไว้หรือไม่ รวมทั้งต้องศึกษาในเทคนิคการก่อสร้างและกรรมวิธีที่แปลกใหม่ที่พัฒนาขึ้นอยู่ตลอดเวลา รวมถึงการนำวัสดุใหม่ๆและทันสมัยมาใช่ ข้อสำคัญแบบที่เขียนต้องเรียบร้อยและสมบูรณ์ ต้องเอาใจใส่ควบคุมการก่อสร้างให้ถูกต้องตามแบบที่เขียนไว้ทุกประการ

                สถาปนิกจะเป็นผู้ออกแบบซึ่งต้องทำงานตามขั้นตอนและกำหนดเวลาชิ้นงานต่างๆร่วมกับวิศวกรก่อสร้างและนักเขียนแบบโดยมีขั้นตอนการทำงานดังนี้

    -          บันทึกรายละเอียด ความต้องการของลูกค้า

    -          ออกแบบ คำนวณแบบ เลือกวัสดุที่มีคุณภาพเหมาะสมและให้ประโยชน์สูงสุดกับลูกค้า

    -          คำนวณรายการใช้จ่ายให้เหมาะสมกับเนื้องาน

    -          เตรียมแบบและส่งแบบที่วาดโดยช่างเขียนแบบให้ลูกค้าพิจารณา เพื่อ ดัดแปลง แก้ไขและตอบข้อซักถามของลูกค้าร่วมกับวิศวกร

    -          เมื่อแก้ไขสมบูรณ์จึงส่งแบบให้กับวิศวกรทำการก่อสร้าง

    -          ออกปฏิบัติงานร่วมกับวิศวกรระหว่างทำการก่อสร้าง

    -          ให้คำปรึกษาและแก้ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นจากการก่อสร้าง

    -          วางแผนและควบคุม งานที่สถาปนิกจะได้รับทำเป็นประจำตลอดปีคือ งานปรับปรุง ดัดแปลง แก้ไขตัวอาคารเพื่อความทันสมัย สวยงามและ ปลอดภัยอยู่เสมอ

     

    คุณสมบัติของผู้ที่สนใจจะประกอบอาชีพสถาปนิก

                1.มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์    มีจินตนาการในการออกแบบและมีความ สามารถในการวาดภาพเพื่อสื่อความคิดในใจออกมาเป็นรูปธรรมได้พอสมควร

                2.มีความสามารถในการประยุกต์ที่ดี   เพราะต้องนำเอาศิลปะ วัฒนธรรม วิทยาการและเทคโนโลยีมาผสมผสานกันให้สอดคล้องได้

                3.มีความละเอียด รอบคอบ ช่างสังเกต            และประณีต     เพราะงานออก แบบเป็นเรื่องในเชิงศิลปะและการสร้างประดิษฐ์

                4.มีมนุษย์สัมพันธ์ดี     ในการติดต่อประสานงาน เพราะเมื่อทำงานจะต้อง ติดตามผลงานอย่างต่อเนื่องและจะสำเร็จลุล่วงดีได้ต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายฝ่ายดังนั้นในทุกขั้นตอนต้องไม่ให้มีความขัดแย้งกัน

               

    แนวทางในการประกอบอาชีพ

                ผู้ที่จบคณะนี้สามารถทำงานได้ทั้งในภาครัฐและเอกชนหรือประกอบอาชีพ ส่วนตัวหรือทำงานบริษัทต่างๆได้อย่างกว้างขวางโดยเฉพาะด้านการพัฒนา เช่น การออกแบบการก่อสร้าง การอุตสาหกรรม การโฆษณา  รายได้ก็ขึ้นอยู่กับฝีมือ ความสามารถและความนิยมของลูกค้า

     

    ความก้าวหน้าในอาชีพนี้

                อนาคตความก้าวหน้าของคนที่ประกอบอาชีพนี้ขึ้นอยู่กับประสบการณ์และ ความชำนาญในงานเป็นสำคัญโดยมีหลักประกันอยู่ที่ฝีมือและผลงาน ผู้ที่ทำงานใน ภาครัฐจะได้รับการเลื่อนขั้นตามความสามารถถ้าได้รับการศึกษาต่อหรืออบรมหลัก สูตรต่างๆเพิ่มเติมอาจได้เป็นผู้อำนวยการของหน่วยเองที่สังกัดอยู่ ในภาคเอกชน อาจได้เป็นผู้จัดการหรือผู้ดูแลโครงการก่อสร้างหรือเป็นเจ้าของกิจการก็ได้

     

    สถาบันที่เปิดสอน

                จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย                     ม.ธรรมศาสตร์

                ม.เกษมบัณฑิต                                    ม.ขอนแก่น 

                ม.เชียงใหม่                                          ม.วงษ์ชวลิตกุล

                ม.ศรีปทุม                                            ม.นเรศวร

                ม.เกษตรศาสตร์                                   ม.รังสิต

                ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี        ม.มหาสารคาม

                ม.ศิลปากร                                           ม.อัสสัมชัญ    เป็นต้น

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×