ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    มาลองค้นตัวเองว่าคุณเหมาะและหรืออยากเรียนคณะไรกันแน่

    ลำดับตอนที่ #24 : “คณะนิติ” รักความยุติธรรมต้องคลิก

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 3.06K
      0
      17 เม.ย. 49

    คณะนิติศาสตร์

    คืออะไร

                นิติศาสตร์คือการศึกษากฎเกณฑ์ความประพฤติของบุคคลที่อยู่รวมกันในสังคมที่เรียกว่า กฎหมาย  การศึกษานิติศาสตร์จะมีสาระหลักๆ คือ

                1.นิติศาสตร์จะศึกษาทฤษฎี  แนวคิด  หลักการ เกี่ยวกับสาระของกฎหมายในส่วนสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบของคนตั้งแต่เกิดจนตาย ทั้งในการติดต่อทางธุรกิจทุกปนะเภท รวมตลอดจนหลักแห่งความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนกับรัฐและหน่วยงานของรัฐและความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับรัฐในสังคมนานาชาติ

                2.นิติศาสตร์มุ่งศึกษาบทบาทของกฎหมาย ทั้งในฐานะที่เป็นกรอบกำหนดเขตอำนาจหน้าที่ของรัฐมิให้ล่วงล้ำสิทธิเสรีภาพของประชาชน

                3.นิติศาสตร์ต้องให้ความสำคัญต่อคุณค่าเชิงคุณธรรมของกฎหมายด้วย  เพราะกฎหมายมีขึ้นเพื่อความเป็นธรรม ดังนั้นจึงเน้นที่กระบวนการของกฎหมายว่า บริสุทธิ์ และต้องมีความ ยุติธรรม ด้วย

     

    หลักสูตร

                จะใช้เวลาศึกษา 4 ปี ประกอบด้วยหมวดวิชาต่อไปนี้

    1.วิชาศึกษาทั่วไป   ประกอบด้วยวิชาในกลุ่มสังคมศาสตร์  มนุษยศาสตร์  วิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์  ภาษา และสหศาสตร์

    2.วิชาเฉพาะด้าน    วิชาที่จะต้องศึกษา เช่น กฎหมายรัฐธรรมนูญ  กฎหมายนิติกรรมสัญญา  กฎหมายหุ้นส่วนบริษัท  กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง  กฎหมายภาษีอากรและกฎหมายระหว่างประเทศ

    3.วิชาเลือก  เป็นวิชาที่เปิดสอนในคณะนิติศาสตร์ เช่น กฎหมายแรงงาน  กฎหมายการค้าระหว่างประเทศ  กฎหมายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ  กฎหมายสิทธิมนุษยชน  กฎหมายการธนาคาร  และกฎหมายเกี่ยวกับการลงทุน

    เมื่อจบต้องสมัครเข้ารับการฝึกอบรมและสอบขอใบอนุญาตว่าความทั่วราชอาณาจักร การแสวงหาประสบการณ์ในคดีความต่างๆหรือการสมัครเข้าศึกษาต่อในระดับเนติบัณฑิตทางกฎหมายจะช่วยให้มีความเชี่ยวชาญด้านกฎหมายมากขึ้น

     

    คุณสมบัติของผู้ประกอบอาชีพ

    -          รักการอ่าน  การค้นคว้า  มีความรอบรู้ในเรื่องต่างๆกว้างขวาง

    -          ช่างคิด และมีความกล้าในการแสดงความคิดเห็น

    -          มีความสามารถในการเขียนและใช้ภาษาไทยเนอย่างดี

    -          มีนิสัยรักความเป็นธรรม

    สำหรับผู้ที่ต้องการเป็นที่ปรึกษาทางกฎหมายจะต้องมีคุณสมบัติต่อไปนี้

    -          เป็นนิติศาสตร์บัณฑิต เทียบไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี

    -          ไม่เป็นผู้มีความประพฤติเสื่อมเสียและไม่เป็นผู้ที่ทำการใดๆซึ่งแสดงให้เห็นว่าไม่น่าไว้วางใจ

    -          มีประสบการณ์ในงานตุลาการทางกฎหมาย

    -          ต้องซื่อสัตย์ต่อผู้ว่าจ้าง มีความซื่อตรงและรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมาย

     

    แนวทางในการประกอบอาชีพ

                ในสาขานี้ผู้จบสามารถประกอบอาชีพได้ทุกอาชีพและสามารถเข้ารับราชการได้ในทุกกระทรวง เช่น ผู้พิพากษา พนักงานอัยการ พนักงานสอบสวน ตำรวจ นายทหารพระธรรมนูญ นิติกร ปลัดอำเภอ หรือประกอบอาชีพอิสระ เช่น ทนายความ  ที่ปรึกษากฎหมาย  ตั้งสำนักทนายความและสามารถศึกษาต่อในสำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา เพื่อสอบเป็นเนติบัณฑิตไทย ในระดับสูงขึ้นต่อไป

    สถาบันที่เปิดสอน

                จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  ม.ธรรมศาสตร์        ม.สยาม              ม.รามคำแหง

                ม.กรุงเทพ                         ม.หอการค้าไทย     ม.ศรีปทุม           
                
    ม.เกษมบัณฑิต             ม.อัสสัมชัญ            ม.รังสิต         ม.อีสเทิร์นเอเซีย

    ม.เซนต์จอห์น                  ม.ธุรกิจบัณฑิตย์       เป็นต้น

    คุณสมบัติของผู้ประกอบอาชีพ

    -          รักการอ่าน  การค้นคว้า  มีความรอบรู้ในเรื่องต่างๆกว้างขวาง

    -          ช่างคิด และมีความกล้าในการแสดงความคิดเห็น

    -          มีความสามารถในการเขียนและใช้ภาษาไทยเนอย่างดี

    -          มีนิสัยรักความเป็นธรรม

    สำหรับผู้ที่ต้องการเป็นที่ปรึกษาทางกฎหมายจะต้องมีคุณสมบัติต่อไปนี้

    -          เป็นนิติศาสตร์บัณฑิต เทียบไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี

    -          ไม่เป็นผู้มีความประพฤติเสื่อมเสียและไม่เป็นผู้ที่ทำการใดๆซึ่งแสดงให้เห็นว่าไม่น่าไว้วางใจ

    -          มีประสบการณ์ในงานตุลาการทางกฎหมาย

    -          ต้องซื่อสัตย์ต่อผู้ว่าจ้าง มีความซื่อตรงและรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมาย

     

    แนวทางในการประกอบอาชีพ

                ในสาขานี้ผู้จบสามารถประกอบอาชีพได้ทุกอาชีพและสามารถเข้ารับราชการได้ในทุกกระทรวง เช่น ผู้พิพากษา พนักงานอัยการ พนักงานสอบสวน ตำรวจ นายทหารพระธรรมนูญ นิติกร ปลัดอำเภอ หรือประกอบอาชีพอิสระ เช่น ทนายความ  ที่ปรึกษากฎหมาย  ตั้งสำนักทนายความและสามารถศึกษาต่อในสำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา เพื่อสอบเป็นเนติบัณฑิตไทย ในระดับสูงขึ้นต่อไป

    สถาบันที่เปิดสอน

                จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  ม.ธรรมศาสตร์        ม.สยาม              ม.รามคำแหง

                ม.กรุงเทพ                         ม.หอการค้าไทย     ม.ศรีปทุม           
                
    ม.เกษมบัณฑิต             ม.อัสสัมชัญ            ม.รังสิต         ม.อีสเทิร์นเอเซีย

    ม.เซนต์จอห์น                  ม.ธุรกิจบัณฑิตย์       เป็นต้น

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×