มารู้จักวัสดุศาสตร์(material science)กับสี่สถาบันกันเถอะ
เกี่ยวกับสาขาวิชาวัสดุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ แขนงวิชาเซรามิกส์
ผู้เข้าชมรวม
3,638
ผู้เข้าชมเดือนนี้
39
ผู้เข้าชมรวม
วัสดุศาสตร์ คืออะไรหว่า
วัสดุศาสตร์ คือ การนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์มาอธิบายถึงความสัมพันธ์ขององค์ประกอบพื้นฐานของวัสดุ อธิบายถึงการจัดเรียงตัวของอะตอมในวัสดุ อธิบายถึงสมบัติของวัสดุ เพื่อนำความรู้ไปใช้ในกระบวนการผลิต ขึ้นรูป ดัดแปลง ปรับเปลี่ยนโครงสร้าง รีไซเคิล ตลอดจนการนำวัสดุไปใช้งานให้เกิดประโยชน์และมีประสิทธิภาพสูงสุด
รู้ป่าว...วัสดุต่างๆในเอกภพนี้สามารถเเบ่งได้เป็น5ประเภท
1.เซรามิกส์และแก้ว
2.พอลิเมอร์
3.โลหะ
4.วัสดุผสม
5วัสดุกึ่งตัวนำ
วิทยาศาสตร์ วัสดุศาสตร์ กับวิศวกรรมวัสดุต่างกันอย่างไร
วิทยาศาสตร์ วัสดุศาสตร์มุ่งเน้นการศึกษาไปที่การค้นคว้าความสัมพันธ์ระหว่างการสังเคราะห์วัสดุ รูปแบบโครงสร้างภายในของวัสดุ สมบัติของวัสดุ และกระบวนการผลิตวัสดุเพื่อนำไปใช้งานต่อไป ส่วนวิศวกรรมวัสดุจะมุ่งเน้นศึกษาการนำวัสดุมาขึ้นรูปและการแปลงรูปวัสดุที่ผลิตออกมาแล้วให้อยู่ในรูปเครื่องมือ หรืออุปกรณ์ หรือโครงสร้างต่างๆที่เป็นประโยชน์ต่อการนำไปใช้งานต่อไปในสังคม
ดังนั้นงานของนักวัสดุศาสตร์(วิทยาศาสตร์)จึงเกี่ยวข้องกับความรู้พื้นฐานทั้งหมดของวัสดุ เกี่ยวข้องกับการวิจัยเพื่อค้นหาคุณสมบัติของวัสดุที่ดีและเหมาะสมกับงานในแต่ละประเภท ตลอดจนกระบวนการผลิตวัสดุออกมาให้มีประสิทธิภาพและคงคุณสมบัติเอาไว้หรือเพิ่มคุณสมบัติให้แก่วัสดุนั้นๆ ส่วนงานของวัสดุวิศวกรจะเป็นการประยุกต์ความรู้ทั้งหมด คือการนำวัสดุที่ผลิตออกมาแล้วมาใช้ทำอุปกรณ์ เครื่องมือ และขึ้นโครงรูปโรงสร้างต่างๆที่เป็นประโยชน์โดยคำนึงถึงสมบัติของวัสดุนั้นๆเป็นหลักว่าเหมาะจะใช้ทำหรือไม่ งานของทั้งสองอาชีพจึงเป็นงานที่เกี่ยวข้องกันแบบต่อเนื่องและเกื้อหนุนกัน ไม่ได้ทับซ้อนกัน
อุดมศึกษากับวัสดุศาสตร์ในประเทศไทย
จากการเติบโตทางอุตสาหกรรมของไทย เพราะมีบริษัทนายทุนจากต่างประเทศให้ความสนใจจะลงทุนในไทยมากขึ้น ไทยจึงกลายเป็นฐานผลิตสินค้าหลายรายการของหลายบริษัท หลายๆมหาวิทยาลัยจึงให้ความสนใจในวัสดุศาสตร์กันมากขึ้น แต่มักมุ่งเน้นไปที่ด้านวิศวกรรมซะมากกว่า จากการสำรวจมหาวิทยาลัยใหญ่ๆในสังกัดของรัฐบาลกว่า23มหาวิทยาลัยจะเห็นได้ว่า มี13มหาวิทยาลัยเปิดสอนหลักสูตรเกี่ยวกับวัสดุศาสตร์
วัสดุศาสตร์(วิทยาศาสตร์)
ในประเทศไทยมีหลายสถาบันเปิดสอนวัสดุศาสตร์ในคณะวิทยาศาสตร์ ทางด้านพอลิเมอร์(บางสถาบันเจาะลึกลงไปในด้านยาง) และเซรามิกส์
แต่มีเพียงสี่สถาบันที่สอนด้านเซรามิกส์ คือ จุฬาลงกรณ์ เชียงใหม่ ธรรมศาสตร์ และ นเรศวร(วิทยาเขตพะเยา)
จุฬาลงกรณ์เป็นสถาบันแรกที่เปิดสอนวัสดุศาสตร์(2506) ทั้งวิดยาและวิดวะ ด้านวิศวกรรม จุฬาเองก็ให้ความสำคัญกับวัสดุศาสตร์มาก ถึงกับเปิดทั้งสาขาวิศวกรรมวัสดุและวิศวกรรมโลหะการ(ซึ่งในไทยเปิดเพียง3ที่เท่านั้น) ด้านวัสดุศาสตร์(วิดยา)เองก็เปิดสอนถึง2แขนงวิชาคือพอลิเมอร์และเซรามิกส์ จนปัจจุบันจัดตั้งเป็นภาควิชาวัสดุศาสตร์ได้เเล้วคุณภาพเเละความพร้อมด้านการสอนจึงไม่ต้องพูดถึง
เชียงใหม่เป็นสถาบันที่สอง เปิดสอนทั้งวิดวะและวิดยา ด้านวิดวะนั้นจะเน้นไปทางด้านเหมืองแร่ ส่วนด้านวิดยานั้นวัสดุศาสตร์สังกัดภาควิชาฟิสิกส์แต่หลักสูตรการสอนก็เรียกได้ว่าเกือบจะเหมือนกับจุฬาเลยทีเดียว ด้านคุณภาพและความพร้อมไม่สามารถระบุได้(ไม่เคยไปมช.)
ธรรมศาสตร์เปิดสอนเป็นแห่งที่สาม(2547) สาขาวัสดุศาสตร์นี้สังกัดภาควิชาฟิสิกส์เช่นเดียวกับเชียงใหม่ เปิดสอนเฉพาะด้านวัสดุศาสตร์(วิดยา)เน้นสอนเซรามิกส์อย่างเดียว หลักสูตรก็คล้ายกับของจุฬา(เหมือนว่าเชียงใหม่กับธรรมศาสตร์จะลอกเอาโครงสร้างหลักสูตรของจุฬามา) ด้านคุณภาพการสอนนั้น ธรรมศาสตร์มีอาจารย์ที่มีคุณภาพสูงมีห้องเรียนจำนวนมากจนเหลือจะพอ เเต่เครื่องมือยังไม่ครบ บางสิ่งบางอย่างพอจะเรียนต้องไปเรียนถึงโรงงาน โดยธรรมศาสตร์จะขอดูงานที่ บางกอกรอยัลพอร์ซเลนซ์(ด้านเซรามิกส์ ทำเครื่องถ้วยชามกระเบื้องและสุขภัณฑ์) บางกอกกลาส(ด้านแก้ว ทำขวดและแก้ว) และไดชิน(ด้านโลหะ)เป็นประจำทุกปี
นเรศวรเป็นน้องใหม่(2550) และเปิดสอนได้น่าสนใจมากเพราะมีวิชาให้เลือกลงทั้งเซรามิกส์ โลหะ และพอลิเมอร์(หากลงที่อื่นก็เลือกเรียนไม่ได้ แต่ถ้าเรียนที่นี้ นิสิตสามารถเลือกเรียนได้) คุณภาพและความพร้อมด้านการสอนไม่สามารถระบุได้(ไม่เคยไปวิทยาเขตพะเยา)
สุดท้ายนี้ ขอให้น้องๆม.6 entrance(ขอใช้คำว่าเอ็นฯเพราะฟังดูขลังดี)ติดกันถ้วนหน้า สาธุ!!!
เนื้อเรื่อง
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
วัสดุศาสตร์ คืออะไรหว่า
วัสดุศาสตร์ คือ การนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์มาอธิบายถึงความสัมพันธ์ขององค์ประกอบพื้นฐานของวัสดุ อธิบายถึงการจัดเรียงตัวของอะตอมในวัสดุ อธิบายถึงสมบัติของวัสดุ เพื่อนำความรู้ไปใช้ในกระบวนการผลิต ขึ้นรูป ดัดแปลง ปรับเปลี่ยนโครงสร้าง รีไซเคิล ตลอดจนการนำวัสดุไปใช้งานให้เกิดประโยชน์และมีประสิทธิภาพสูงสุด
รู้ป่าว...วัสดุต่างๆในเอกภพนี้สามารถเเบ่งได้เป็น5ประเภท
1.เซรามิกส์และแก้ว
2.พอลิเมอร์
3.โลหะ
4.วัสดุผสม
5วัสดุกึ่งตัวนำ
วิทยาศาสตร์ วัสดุศาสตร์ กับวิศวกรรมวัสดุต่างกันอย่างไร
วิทยาศาสตร์ วัสดุศาสตร์มุ่งเน้นการศึกษาไปที่การค้นคว้าความสัมพันธ์ระหว่างการสังเคราะห์วัสดุ รูปแบบโครงสร้างภายในของวัสดุ สมบัติของวัสดุ และกระบวนการผลิตวัสดุเพื่อนำไปใช้งานต่อไป ส่วนวิศวกรรมวัสดุจะมุ่งเน้นศึกษาการนำวัสดุมาขึ้นรูปและการแปลงรูปวัสดุที่ผลิตออกมาแล้วให้อยู่ในรูปเครื่องมือ หรืออุปกรณ์ หรือโครงสร้างต่างๆที่เป็นประโยชน์ต่อการนำไปใช้งานต่อไปในสังคม
ดังนั้นงานของนักวัสดุศาสตร์(วิทยาศาสตร์)จึงเกี่ยวข้องกับความรู้พื้นฐานทั้งหมดของวัสดุ เกี่ยวข้องกับการวิจัยเพื่อค้นหาคุณสมบัติของวัสดุที่ดีและเหมาะสมกับงานในแต่ละประเภท ตลอดจนกระบวนการผลิตวัสดุออกมาให้มีประสิทธิภาพและคงคุณสมบัติเอาไว้หรือเพิ่มคุณสมบัติให้แก่วัสดุนั้นๆ ส่วนงานของวัสดุวิศวกรจะเป็นการประยุกต์ความรู้ทั้งหมด คือการนำวัสดุที่ผลิตออกมาแล้วมาใช้ทำอุปกรณ์ เครื่องมือ และขึ้นโครงรูปโรงสร้างต่างๆที่เป็นประโยชน์โดยคำนึงถึงสมบัติของวัสดุนั้นๆเป็นหลักว่าเหมาะจะใช้ทำหรือไม่ งานของทั้งสองอาชีพจึงเป็นงานที่เกี่ยวข้องกันแบบต่อเนื่องและเกื้อหนุนกัน ไม่ได้ทับซ้อนกัน
อุดมศึกษากับวัสดุศาสตร์ในประเทศไทย
จากการเติบโตทางอุตสาหกรรมของไทย เพราะมีบริษัทนายทุนจากต่างประเทศให้ความสนใจจะลงทุนในไทยมากขึ้น ไทยจึงกลายเป็นฐานผลิตสินค้าหลายรายการของหลายบริษัท หลายๆมหาวิทยาลัยจึงให้ความสนใจในวัสดุศาสตร์กันมากขึ้น แต่มักมุ่งเน้นไปที่ด้านวิศวกรรมซะมากกว่า จากการสำรวจมหาวิทยาลัยใหญ่ๆในสังกัดของรัฐบาลกว่า23มหาวิทยาลัยจะเห็นได้ว่า มี13มหาวิทยาลัยเปิดสอนหลักสูตรเกี่ยวกับวัสดุศาสตร์
วัสดุศาสตร์(วิทยาศาสตร์)
ในประเทศไทยมีหลายสถาบันเปิดสอนวัสดุศาสตร์ในคณะวิทยาศาสตร์ ทางด้านพอลิเมอร์(บางสถาบันเจาะลึกลงไปในด้านยาง) และเซรามิกส์
แต่มีเพียงสี่สถาบันที่สอนด้านเซรามิกส์ คือ จุฬาลงกรณ์ เชียงใหม่ ธรรมศาสตร์ และ นเรศวร(วิทยาเขตพะเยา)
จุฬาลงกรณ์เป็นสถาบันแรกที่เปิดสอนวัสดุศาสตร์(2506) ทั้งวิดยาและวิดวะ ด้านวิศวกรรม จุฬาเองก็ให้ความสำคัญกับวัสดุศาสตร์มาก ถึงกับเปิดทั้งสาขาวิศวกรรมวัสดุและวิศวกรรมโลหะการ(ซึ่งในไทยเปิดเพียง3ที่เท่านั้น) ด้านวัสดุศาสตร์(วิดยา)เองก็เปิดสอนถึง2แขนงวิชาคือพอลิเมอร์และเซรามิกส์ จนปัจจุบันจัดตั้งเป็นภาควิชาวัสดุศาสตร์ได้เเล้วคุณภาพเเละความพร้อมด้านการสอนจึงไม่ต้องพูดถึง
เชียงใหม่เป็นสถาบันที่สอง เปิดสอนทั้งวิดวะและวิดยา ด้านวิดวะนั้นจะเน้นไปทางด้านเหมืองแร่ ส่วนด้านวิดยานั้นวัสดุศาสตร์สังกัดภาควิชาฟิสิกส์แต่หลักสูตรการสอนก็เรียกได้ว่าเกือบจะเหมือนกับจุฬาเลยทีเดียว ด้านคุณภาพและความพร้อมไม่สามารถระบุได้(ไม่เคยไปมช.)
ธรรมศาสตร์เปิดสอนเป็นแห่งที่สาม(2547) สาขาวัสดุศาสตร์นี้สังกัดภาควิชาฟิสิกส์เช่นเดียวกับเชียงใหม่ เปิดสอนเฉพาะด้านวัสดุศาสตร์(วิดยา)เน้นสอนเซรามิกส์อย่างเดียว หลักสูตรก็คล้ายกับของจุฬา(เหมือนว่าเชียงใหม่กับธรรมศาสตร์จะลอกเอาโครงสร้างหลักสูตรของจุฬามา) ด้านคุณภาพการสอนนั้น ธรรมศาสตร์มีอาจารย์ที่มีคุณภาพสูงมีห้องเรียนจำนวนมากจนเหลือจะพอ เเต่เครื่องมือยังไม่ครบ บางสิ่งบางอย่างพอจะเรียนต้องไปเรียนถึงโรงงาน โดยธรรมศาสตร์จะขอดูงานที่ บางกอกรอยัลพอร์ซเลนซ์(ด้านเซรามิกส์ ทำเครื่องถ้วยชามกระเบื้องและสุขภัณฑ์) บางกอกกลาส(ด้านแก้ว ทำขวดและแก้ว) และไดชิน(ด้านโลหะ)เป็นประจำทุกปี
นเรศวรเป็นน้องใหม่(2550) และเปิดสอนได้น่าสนใจมากเพราะมีวิชาให้เลือกลงทั้งเซรามิกส์ โลหะ และพอลิเมอร์(หากลงที่อื่นก็เลือกเรียนไม่ได้ แต่ถ้าเรียนที่นี้ นิสิตสามารถเลือกเรียนได้) คุณภาพและความพร้อมด้านการสอนไม่สามารถระบุได้(ไม่เคยไปวิทยาเขตพะเยา)
สุดท้ายนี้ ขอให้น้องๆม.6 entrance(ขอใช้คำว่าเอ็นฯเพราะฟังดูขลังดี)ติดกันถ้วนหน้า สาธุ!!!
ผลงานอื่นๆ ของ ninja36 ดูทั้งหมด
ผลงานอื่นๆ ของ ninja36
ความคิดเห็น