แนะนำเพิ่มเติมต่อจากคุณ Rainyอีกนิดนึงนะครับในฐานะได้มีโอกาสเข้าร่วมในสถานการณ์สอบ นานมากแล้วแต่ปัจจุบันก็ยังชอบเอาข้อสอบเหล่านั้นมานั่งสอนน้องๆที่จะสอบความถนัดแพทย์อยู่ครับที่อยากจะอธิบายคือ
- ทำไมต้องแบ่งข้อสอบออกเป็นสามตอนด้วย? คำตอบคือจากการวิจัยทางเทคโนโลยีวิทยาศาสตร์การแพทย์นั้นในสาขาของจิตวิทยามีการกล่าวถึงการแบ่งระดับกระบวนการคิดและการจำของมนุษย์ออกเป็นหลายแบบด้วยกันแต่ที่นิยมคือ ทฤษฏีสองขั้น ทฤษฏีของกิลฟอร์ด ทฤษฏีของกาเย่ เป็นต้นสามารถแบ่งออกได้เป็น3แบบดังที่ ได้กล่าวมาแล้วครับดังนั้นทางคณะผู้วิพากษ์ข้อสอบ (ซึ่งผมไม่แน่ใจว่าตอนนี้ยังเป็นหน้าที่ของแพทยสภารึเปล่า???) จึงต้องจัดทำแบบทดสอบอันเป็นเครื่องมือแยกไอคิวหรือทักษะการการคิดวิเคราะห์และอีคิวหรือทักษะการบริหารทางจิตและอารมณ์รวมไปถึงที่ทางคณะแพทยศาสตร์เน้นย้ำมากที่สุดคือกระบวนการตัดสินใจ เนื่องจากวิชาชีพแพทย์รวมไปถึงพยาบาลศาสตร์และวิทยาศาสตร์การแพทย์อื่นๆด้วยจำเป็นต้องมีอย่างยิ่งเนื่องจากการตัดสินใจที่ถูกต้องและรวดเร็วนั้นเป็นอีกทักษะหนึ่งที่ช่วยให้ผู้ป่วยหรือผู้บาดเจ็บที่เข้ามาอยู่ในการอารักขาของเรานั้นรอดชีวิตครับดังนั้นน้องๆท่านใดที่จะทำคะแนนตรงนี้ได้ต้องฝึกการคิดวิเคราะห์ที่ถูกต้องเหมาะสมกับสถานการณ์โดยมีหลักการรองรับ(หลักการทางการแพทย์เบื้องต้น น้องๆควรจะหาอ่านบ้างนะครับโดยเฉพาะโรคที่กำลังระบาดในสถานการณ์ปัจจุบัน เช่น H1N1 ชิคุนกุนยาอุบัติเหตุฉุกเฉินต่างๆ) ตัวอย่างข้อสอบที่พี่เคยเจอคือ
"การ CPRหรือกู้ชีพคนไข้, ถ้าเจอคนเป็นลมจะทำ......." ทำนองนี้ครับอันนี้มันอาจจะรวมเรื่องของกฏหมายไว้ด้วยนะครับ ต้องระวังให้มาก
****เทคนิคของพาร์ทการคิดวิเคราะห์ คือ ข้อไหนดูแล้วโอก้อเอาข้อนั้นน่ะครับน้องๆต้องพิจารณาดูแล้วคิดว่า ข้อไหนสมเหตุสมผลมากที่สุดก็เป็นข้อนั้นอันนี้พี่ว่าไม่ยาก หากน้องๆเป็นคนมีเหตุมีผลอยู่แล้ว****
- การทำข้อสอบวัดไอคิว ร้อยละ60-80ของข้อสอบความถนัดทางการแพทย์ในพาร์ทนี้ส่วนมากจะเกี่ยวกับ"มิติสัมพันธ์" น้องๆหลายท่านคงไม่รู้จัก??? พูดง่ายๆมันก็คือ "การคิดที่มีระบบและต่อเนื่องนั่นเอง" ข้อสอบจะเป็นภาพที่ 1,2,3 และภาพที่4จะเป็นภาพอะไร???} อันนี้ลองเข้าไปทำได้ในเว็ปที่พี่ลิงค์ไว้ให้นี้นะครับ
http://www.eduzones.com/school/iqtest.html
(เข้าไปแล้วเลือกโหมด ENGLISHนะครับ)
****เทคนิคการทำข้อสอบในพาร์ทนี้คือ คิดให้เร็วตาให้ไว อย่าวอกแวก สมาธิจดจ่อ ห้ามหลับตาจิ้ม สุดท้ายคือ มองนาฬิกาด้วยเพราะเค้ากำหนดเวลาเคร่งครัด หากทำไม่เสร็จต้องหยุดทันที หากเหลือ15นาทีรีบเดาหน่อย อิอิ ^__^ ****
- ข้อสอบการคิดแบบเชื่อมโยงอันนี้ต่อเนื่องจากสองอันแรกนะครับ ส่วนมากจะพบข้อสอบเขียนหรือข้อความที่อ่านยาวๆประมาณแค่โจทย์ก้อครึ่งหน้าแล้ว อย่างที่คุณRainy บอก ต้องหาKeywords ของเรื่องที่อ่านให้ได้ และจงคิดแบบวิเคราะห์คือการคิดจาก เหตุไปผล จากหัวไปหาง (หากคิดแบบสังเคราะห์น้องต้องคิดอีกอย่างหนึ่งนะครับ ไปทบทวนดูด้วยนะจ๊ะ)อันนี้ต้องหัดคิดให้ดี เช่นพี่จะลองวิเคราะห์การเกิดโรคความดันของผู้ป่วยโรคเบาหวาน(อย่างเป็นระบบและเชื่อมโยงกันให้น้องๆดูเป็นแนวทางนะครับ อ้อ!!! อันนี้ใครจะลงทำเป็นconcept mapping หรือแผนภูมิก้างปลาก็ได้นะครับจะดูง่ายขึ้น)
" เบาหวาน > ระดับน้ำตาลและไขมันเลวในเลือดสูงจากพยาธิสภาพ > เลือดมีความหนืดมากขึ้น > เกิดผลต่อผนังหลอดเลือด > ผนังหลอดเลือดเสื่อมสภาพ > มีการตีบแคบของหลอดเลือด> เลือดไหลเวียนในร่างกายได้น้อยลง > ร่างกายปรับสภาพเพื่อเพิ่มปริมาณเลือดที่ระบบไหลเวียน > หัวใจบีบตัวมากขึ้นเพื่อเพิ่มปริมาณเลือดออกจากหัวใจไปเลี้ยงร่างกาย > เลือดไหลผ่านหลอดเลือดไม่ได้ > เลือดไปกระทบหรือคั่งอยู่ตามหลอดเลือดมาก > แรงดันเลือดกระทำต่อหลอดเลือดมากขึ้น >กลายเป็นความดันโลหิตสูง "
^__^ เป็นไงล่ะครับพอจะทำได้ไม๊??? ลองดูๆนะครับ พี่ก็ไม่แน่ใจว่าเป็นเหมือนเดิมอย่างนี้รึป่าวแต่พี่ว่าน่าจะยากขึ้นอ่ะครับ อิอิ แต่ไม่ต้องท้อนะ สู้ๆ สุดท้ายนี้พี่มีเคล็ดลับการสอบเอ็นทรานซ์ให้น้องๆลองดู เป็นแนวทางที่พี่ใช้สอบครับแล้วก็ประสบความสำเร็จดีหลังจากนั้นพี่ก้อลองให้น้องๆที่พี่ติวให้ทำดูเค้าก็สอบได้100%เช่นกันลองอ่านดูนะครับ
ข้อ1 คืนก่อนสอบเอ็นฯ จนนอนหลับเสียกินให้อิ่มนอนให้หลับ
ข้อ2 ตื่นตอนเช้าให้ล้างหน้าแปรงฟัน อาบน้ำทันทีอย่ามัวกลิ้งอยู่บนที่นอน เพราะเวลาที่เหลือจนกระทั่งก่อนเข้าห้องสอบนั้น คือ golden time แห่งการจำ เพราะฉะนั้นจงอ่านหนังสือซะ
ข้อที่3 จงตระหนักอยู่เสมอว่าตนต้องทำอะไรต่อไป วางแผนล่วงหน้าเพื่อเข้าห้องสอบได้ตรงเวลา
ข้อที่4 ก่อนเข้าห้องสอบหากได้ติวกับเพื่อนๆสักนิดเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้กันสัก10-15นาทีก็ดีจะทำให้เราได้แนวคิดของข้อสอบมากขึ้น
ข้อ5 ตอนเข้าห้องสอบรำลึกถึงพ่อแม่ ครูบาอาจารย์ (รวมไปถึงสิ่งศักดิ์สิทธิ์สักนิดอิอิ) เพื่อให้เกิดสมาธิที่ดี ที่สำคัญทำหน้าตาฉลาดๆเข้าไว้ หุหุ
ข้อที่6 ขณะทำข้อสอบ เช็คดูซะก่อน ครบถ้วนรึป่าว ตรงตามคำชี้แจงรึป่าวเปิดทำข้อที่ทำได้ก่อน ข้อที่ทำไม่ได้ไว้ค่อยทำ วิธีเดาข้อที่ทำไม่ได้คือตัดข้อที่ดูแล้วงี่เง่าๆออกไป จนเหลือสองข้อสุดท้ายให้พิจารณาว่าข้อใดตรงกับข้อที่เราคิดมากที่สุด ตัดสินใจครั้งเดียวเท่านั้นและคำตอบแรกที่เราเลือกจะเป็นคำตอบที่ถูกต้องที่สุดในข้อนั้น จงเชื่อมั่นแต่ถ้าหากข้อนั้นอ่านไม่รู้เรื่องเลย จงหลับตาลงระลึกถึงบุญกุศลพร้อมใช้ดินสอจิ้ม(ยกต่ำๆ เดี๋ยวอายเค้า) จงตอบข้อนั้นแหล่ะ
ข้อที่7 หลังจากหมดเวลาให้เอานิ้วลากเรียงข้อ(ในanswer sheet)เพื่อดูข้อที่ไม่ได้ทำแล้วลืมไว้อีกทีแล้วเดาเสีย
ข้อที่8 ออกจากห้องสอบให้ระลึกถึงข้อสอบที่ทำไปแล้วอีกที (เผื่อพลาด ไว้เป็นแนว อิอิ)
ข้อที่9 ออกมาแล้วคุณจะเจอกับฝูงเพื่อนทั้งที่รู้จักและไม่รู้จักมากมายทยอยออกจากห้องสอบเต็มไปหมดจงเดินไปหาที่นั่งที่มีกลุ่มเพื่อนของคุณเองเพื่อฟังสิ่งที่เค้าเลือกตอบ(พวกชอบเฉลยหลังสอบแต่ไม่รู้ว่าที่ตัวเองพูดถูกรึป่าว -*-) จงฟังพวกเค้า แล้วเออออห่อหมกตามไปแต่อย่าเก็บมาเป็นสาระเพื่อรบกวนจิตใจ เพราะเค้าก้อไม่ใช่คนออกข้อสอบนี่ (พวกนี้จะมากพอเวลาตอบไม่เหมือนคนส่วนใหญ่ก้อมักจะกังวลจนทำให้ไม่มีสมาธิสอบวิชาต่อไป)
ข้อที่10 พิจารณาตัวเองว่าอ่อนเรื่องอะไร กลับไปทบทวนให้มากแต่ที่สำคัญต้องตระหนักอยู่เสมอว่า "เอ็น(ทรานซ์)ตามเขา ระวังเอ็นเราจะขาด" นั่นคือเลือกคณะที่เหมาะสมกับตน มีใจรักชอบคณะนี้ และมุ่งมั่นจริงๆเท่านี้ก้อไม่มีพลาดครับ
ข้อความที่โพสจะต้องไม่น้อยกว่า {{min_t_comment}} ตัวอักษรและไม่เกิน {{max_t_comment}} ตัวอักษร
กรอกชื่อด้วยนะ
_________
กรอกข้อมูลในช่องต่อไปนี้ไม่ครบ
หรือข้อมูลผิดพลาดครับ :
_____________________________
ช่วยกรอกอีกครั้งนะครับ
กรุณากรอกรหัสความปลอดภัย
ความคิดเห็น