Night in Gale ราตรีกาลแห่งพายุร้ายและแสงประทีปจากสวรรค์ - Night in Gale ราตรีกาลแห่งพายุร้ายและแสงประทีปจากสวรรค์ นิยาย Night in Gale ราตรีกาลแห่งพายุร้ายและแสงประทีปจากสวรรค์ : Dek-D.com - Writer

    Night in Gale ราตรีกาลแห่งพายุร้ายและแสงประทีปจากสวรรค์

    The compassion light from the lamp of Nightingale.

    ผู้เข้าชมรวม

    683

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    2

    ผู้เข้าชมรวม


    683

    ความคิดเห็น


    0

    คนติดตาม


    0
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  14 ก.ย. 52 / 22:55 น.


    ข้อมูลเบื้องต้น

                                


     The Angle of the lamp in Crimean war

    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ

                          The AnGle of the Lamp.
                 
           
           "...สละชีวิตเพื่องาน ดุจไนติงเกล นี้เป็นเจตจำนงค์ใจเทิด วินัยเด่น จักพร้อมบำเพ็ญเอื้ออารีย์...." ในทุกๆต้นภาคการศึกษาใหม่ของทุกๆปี ในคณะพยาบาลศาสตร์ของสถานศึกษาทุกๆที่จะคงได้ยินเสียงเพลง"จิตเปี่ยม" ซึ่งถูกร้องโดยนักศึกษาชั้นปีที่2ซึ่งผ่านการศึกษาในด้านการพยาบาลเบื้องต้นในภาคทฤษฎีเสร็จสิ้นแล้ว จึงได้จัดพิธีขึ้นรับหมวก(พยาบาล)และเข็มชั้นปี เพื่อเป็นขวัญกำลังใจและเพื่อเป็นเกียรติให้แก่ "วีรสตรีผู้พลิกผันวงการพยาบาลให้เป็นที่ยอมรับนับถือ หลายๆท่านด้วยกัน" หนึ่งในนามที่ปรากฎในงานพิธีวันนั้นคือคำว่า "ไนติงเกล" ซึ่งนามๆนี้หลายๆท่านคงไม่คุ้นหูกันสักเท่าไรนัก...
           เล่าย้อนไปถึง ในปี ค.ศ.1854 ในช่วงระหว่างสงครามที่ประเทศอังกฤษ(Crimean war) เหตุการณ์ครั้งนั้นทำให้คณะของเหล่าทหารหาญล้มตายจากการบาดเจ็บในการสู้รบมากมาย บ้างก็เสียชีวิตในสมรภูมิรบ บ้างก็ต้องมาเสียชีวิตจากการทนพิษบาดแผลไม่ไหวในค่ายทหาร บ้างก็ต้องมาเสียชีวิตจากโรคระบาดในค่ายทหารนั่นก็คือไข้รากสาดน้อย (ไข้ไทฟอยด์) เนื่องจากค่ายมีสุขาภิบาลที่ไม่ค่อยดี จึงเป็นเหตุให้ทางประเทศอังกฤษเสียกำลังพลไปมาก 
           แต่แล้วก็เหมือนดั่งฟ้าประทานสตรีผู้เป็นดุจนางฟ้ามาให้แก่ทางค่ายทหารแห่งนั้นื เพื่อปลดเปลื้องทุกขเวทนาจากโรคร้ายที่รุมเร้าเหล่าทหารหาญ นั่นคือ ปฐมวีรกรรมแห่งวีรสตรีผู้หนึ่ง ซึ่งต่อมาเธอได้เปลี่ยนชะตากรรมของโลกและมนุษยชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการพยาบาลและสาธารณสุขศาสตร์ทั้งมวล ที่ข้าพเจ้าจะกล่าวถึงนั้น คือวีรสตรีที่ปรากฎนามว่า "Miss Florence  Nightingale" เธอเป็นบุตรสาวผู้เดียวของตระกูลมหาเศรษฐีชาวอังกฤษ เธอเกิดที่เมืองฟอเรนซ์ประเทศฝรั่งเศส และนั่นคือที่มาของชื่อเธอ เดิมวิชาชีพพยาบาลไม่เป็นที่ยอมรับในสังคมชาวอังกฤษสักเท่าไหร่นัก เนื่องด้วยพยาบาลต้องทำงานกับคนเจ็บ ซึ่งปรากฎทุกขเวทนาต่างๆมากมาย เสียงร้องระงม บาดแผลที่เน่าเฟะจนกัดกร่อนถึงกระดูก เศษซากอสุภะที่เน่าเสียจากร่างกายมนุษย์ ทั้งหมดล้วนเป็นที่รังเกียจของชนชั้นสูง(แต่ฐานะ จิตใจยังต่ำ)ทั่วไปยิ่งนัก อย่าว่าแต่สมัยก่อนเลย  สมัยนี้ก็ยังไม่เปลี่ยนไป !!!  บุคคลเหล่านั้นจึงไม่มีผู้ใดประกอบอาชีพหรือทำสาธารณกุศลด้วยการให้การพยาบาลเท่าไหร่นัก คงมีแต่บุรุษแพทย์สนามและสตรีผิวสีซึ่งเป็นชนชั้นทาสคอยทำหน้าที่ตรงนี้ แต่แล้วก็มีหญิงสาววันเก้าปีนามว่าฟอเรนซ์ เธอได้รบเร้าบิดามารดาถึง4ปี เพื่อขอเข้ารับการศึกษาในสาขาการแพทย์และการพยาบาล(สมัยก่อนคงต้องรู้ควบคู่ทั้งสองสาขา) อย่างเป็นแบบแผน เมื่อครั้งขอแล้วไม่ได้รับการอนุญาตก็จะหลบไปร่ำไห้เพียงลำพังและปรารภตัดพ้อกับตนเองที่ไม่สามารถช่วยเหลือผู้อื่นได้ ด้วยจิตใจโอบอ้อมอารีย์ต่อเพื่อนมนุษย์ของเธอ ส่งผลให้ต่อมาเธอไดรับการอนุญาตจากบิดามารดาให้เข้ารับการศึกษาในวิทยฐานะพยาบาลและออกมาเปิดโรงพยาบาลสถานสงเคราะห์คนยาก โดยใช้กำลังทรัพย์ของเธอเองทั้งหมด จนกระทั่งเธอได้อาสาเข้ามาเป็นหน่วยพยาบาลทหารผ่านศึกในสงครามไครเมี่ยน(Crimean war) เธอได้ช่วยชีวิตเหล่าทหารและพลเรือนที่บาดเจ็บไว้ได้มากมาย ทั้งวันทั้งคืนที่มีการสู้รบอย่างต่อเนื่อง จนเห็นแสงจากดวงประทีป(ตะเกียง)ที่เธอถือมาให้การพยาบาลอย่างใกล้ชิดทุกๆค่ำคืน จนเป็นที่มาแห่งวีรชนนามว่า"The angle of the lamp." หรือแปลว่า "นางฟ้าแห่งแสงประทีป"
           จนมีคำกล่าวว่า "เมื่อผู้บาดเจ็บที่นอนร้องโอดโอย โปรยอยู่บนความทุกข์ทนและหมองมัว จิตยังกลัวกอปรด้วยซึ่งความตาย ร่วมกับลมหายใจที่คงอ่อนระทวย เมื่อเห็นด้วยซึ่งแสงสลัว จากดวงตะเกียง สุรเสียงที่ร้องโอดโอยกลับผ่อนลงพลัน ความกลัวจะถูกผลันแปลให้สงบ รอยยิ้มของเธอจะลบซึ่งเลือดแดงฉาน แหล่ะนั่นคือที่มาของวีรสตรีที่คงด้วยน้ำใจงาม คงซึ่งนาม นางฟ้าแห่งดวงตะเกียง"

      The phrase was further popularised by Henry Longfellow's 1857 poem "Santa Filomena":

      Lo! in that hour of misery
      A lady with a lamp I see
      Pass through the glimmering gloom,
      And flit from room to room.
           She is a ‘ministering angel’ without any exaggeration in these hospitals, and as her slender form glides quietly along each corridor, every poor fellow's face softens with gratitude at the sight of her. When all the medical officers have retired for the night and silence and darkness have settled down upon those miles of prostrate sick, she may be observed alone, with a little lamp in her hand, making her solitary rounds

      ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      ความคิดเห็น

      ×