The Artifact Hunter ตอน 'หน้ากากแห่งฟาโรห์' - นิยาย The Artifact Hunter ตอน 'หน้ากากแห่งฟาโรห์' : Dek-D.com - Writer
×

    The Artifact Hunter ตอน 'หน้ากากแห่งฟาโรห์'

    เป็นนิยายในโครงการ New Blood Fantasia ของ NithiN (นิธินทร์) ซึ่งเล่ม 2 จะวางแผงในงานหนังสือเดือนเมษายน 55 นี้ค่ะ

    ผู้เข้าชมรวม

    8,926

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    39

    ผู้เข้าชมรวม


    8.92K

    ความคิดเห็น


    79

    คนติดตาม


    66
    หมวด :  แฟนตาซี
    จำนวนตอน :  17 ตอน
    อัปเดตล่าสุด :  15 ก.พ. 56 / 23:17 น.
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ

     



    เล่ม 1


    อาร์ติแฟกต์
    เจ๋งๆ อยู่ไหน ผมจะไปล่า!

    คุณต้องรู้จัก คาร์เตอร์ ฮาวล์ 
    อาร์ติแฟกต์ฮันเตอร์ สุดหล่ออนาคตไกลวัยสิบเก้าอยู่แล้ว...

    ไม่เรอะ! เดี๋ยวยิงเฉี่ยวให้เสียวหูเลย!

    ช่างเหอะ ตอนนี้ผมกำลังซวย...
    เพราะไอ้
    หน้ากากแห่งฟาโรห์ ที่เจอในสุสาน
    ดันทำให้ผมตื่นขึ้นมาในมัมมี่ดองเค็มสองพันปี

    ต้องเจอฟาโรห์เอ๋อ ผู้ช่วยก็โดนลักพาตัว
    แถมมียัยสาวแฝดจากองค์กรลึกลับ...แล้วยังฮิปโปอีก!

    หือ? คุณฟังไม่ผิดหรอก มา! ผมจะเล่าวีรกรรมสุดเท่นี้ให้ฟัง

    รับประกันมันแน่!





    เล่ม 2


    ไง! จำสุดยอดเอเอช 'คาร์เตอร์ ฮาวล์' ได้รึยัง...ไม่อีกเรอะ!

    นี่ผมได้รับเชิญไปสำรวจสุสานจักรพรรดิโบราณที่

    'ประเทศนิฮง' เชียวนะ!

    แต่ก็อีกนั่นแหละ...งานครั้งดันมีแต่เรื่องปวดหัว

    ผู้ช่วยผมบ้าการ์ตูน บนรถไฟมีตุ๊กตากระดาษ

    จากนั้นก็แผ่นดินไหว...แถมในแม่น้ำมี 'งูยักษ์' หลายหัวโผล่ออกมาอีกต่างหาก!

    จะไล่งูนั่นต้องใช้ 'ดาบประหารเทพ' ในตำนานกำเนิดนิฮง

    แน่นอน! งานนี้ต้องเอเอชมือฉมังอย่างผมอยู่แล้ว!

    ...แต่มันดันอยู่ไกลถึง 'นรก' มาตรฐานเกือบแสนนี่สิ...

    เอาเถอะ! ดาบอยู่ไหน แรงก์เอสอยู่นั่น ผมจะไปหามันละ!



    ปกหน้า

     
     


    ปกหลัง

     




    ติดตามข่าวสาร ความคืบหน้า โปรโมชั่น


    และกิจกรรมต่างๆ ได้ที่





    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    คำนิยม Top

    "นักล่าสมบัติโบราณ องค์การลับ ๆ ล่อ ๆ ฟาโรห์แสนดีขี้หงอ มัมมี่เคยหล่อขี้โว"

    (แจ้งลบ)

    ไต่จาก 'ระดับซี' ขึ้นไปเป็น 'ระดับเอซ' ที่อายุน้อยที่สุดในวงการ เส้นทางสู่จุดสูงสุดของเขากำลังเบิกกว้างเรืองรอง...ก่อนจะตีบตันมืดมนไปในทันใด เขาคือคาร์เตอร์ ฮาวล์ อาร์ติแฟกต์ ฮันเตอร์หนุ่มรูปงาม...แต่ไม่งามแล้ว ยอดนักแม่นปืน...ซึ่งสูญเสียสมรรถภาพในการยิง ผู้สุขุมเยือกเย็น...ที่บ่อยครั้งก็เลือดร้อนชอบโวยวาย ขี้น้อยใจ...และก็ขี้บ่ ... อ่านเพิ่มเติม

    ไต่จาก 'ระดับซี' ขึ้นไปเป็น 'ระดับเอซ' ที่อายุน้อยที่สุดในวงการ เส้นทางสู่จุดสูงสุดของเขากำลังเบิกกว้างเรืองรอง...ก่อนจะตีบตันมืดมนไปในทันใด เขาคือคาร์เตอร์ ฮาวล์ อาร์ติแฟกต์ ฮันเตอร์หนุ่มรูปงาม...แต่ไม่งามแล้ว ยอดนักแม่นปืน...ซึ่งสูญเสียสมรรถภาพในการยิง ผู้สุขุมเยือกเย็น...ที่บ่อยครั้งก็เลือดร้อนชอบโวยวาย ขี้น้อยใจ...และก็ขี้บ่นด้วย ไม่นับข้อหลัง ๆ ที่เป็นมาแต่ไหนแต่ไรแล้ว การที่คุณสมบัติข้างต้นของเขาต้องกลายเป็นขาด ๆ หาย ๆ ครึ่ง ๆ กลาง ๆ เหมือนคนสับสนในชีวิต สาเหตุก็สืบเนื่องมาจากงานชิ้นล่าสุดที่เพิ่งผ่านไปหมาด ๆ แรกเริ่มเดิมที ทั้งหมดที่คาร์เตอร์ต้องลงแรงก็แค่ชักปืนคู่ใจเป่าภูตอารักษ์ทิ้งไปฝูงสองฝูง ติดตั้งกลไกงัดแงะโลงศพสามสี่ชั้นอีกห้าหกนาที เท่านี้ก็ได้ของตรงตามความต้องการผู้จ้างวาน แถมยังมีโอกาสสร้างผลงานเป็นผู้ค้นพบสุสานฟาโรห์กลับไปเสนอสมาคมแลกกับการเลื่อนระดับ แหม งานนี้มันช่างหวานหมู ...หารู้ไม่ ว่านอกจากลาภก้อนโตแล้ว สุสานแห่งนี้ยังมีเคราะห์จังเบ้อเร่อ ...สมบัติคือสิ่งมีค่า นั่นคือคำจำกัดความที่ทุกผู้คนย่อมเห็นตรงกัน ...ทว่า 'สมบัติ' ของแต่ละคนไม่เหมือนกัน ความหมายของ 'สิ่งมีค่า' ในแต่ละบุคคลจึงแตกต่างกัน หรือตรงข้ามกัน สำหรับอาร์ติแฟกต์ ฮันเตอร์ วัตถุโบราณ โบราณสถาน คือสิ่งมีค่า ...แล้วคุณค่าอยู่ที่ตรงไหน วัดจากอะไร สิ่งมีค่าหนึ่งสามารถแลกมาซึ่งอีกสิ่งมีค่าหนึ่ง เพชรพลอยอัญมณี วัตถุยากเสาะหานานา สามารถนำไปแลกเป็นเงินตรา เงินตราแลกมาซึ่งความสามารถในการซื้อหา แลกมาซึ่งความสุขที่ได้ครอบครอง อาจกล่าวได้ว่า ระดับของคุณค่าขึ้นอยู่กับว่ามันแลกมาซึ่งสิ่งที่เราต้องการมากน้อยเพียงใด สำหรับคาร์เตอร์ ฮาวล์ วัตถุโบราณ โบราณสถาน ยิ่งเก่าแก่ยิ่งลับแลยิ่งมีค่า พวกมันคือหนทางที่จะนำไปสู่เกียรติ ชื่อเสียง ความภาคภูมิ ขั้นบันไดที่จะพาเขาขึ้นไปเทียบเคียงกับผู้เป็นแม่ ส่วนผู้คน ความสัมพันธ์ระหว่างคนต่อคน ยิ่งเพื่อนร่วมทางที่ไร้ประโยชน์แล้ว ไม่มีค่าอะไรเลย ...บางครั้งบางคราว คนเราก็ไม่รู้ตัวว่ากำลังไขว่คว้าผิดเป้า ตอบไม่ได้ว่านั่นใช่สิ่งที่เราต้องการแน่หรือไม่ ...ที่เป็นปัญหายิ่งกว่านั้นคือ ในขณะที่กำลังไล่ตาม 'สิ่งที่เราอาจไม่ได้ต้องการ' อย่างยากลำบาก เรากลับมองข้าม 'สิ่งที่มีค่าสำหรับตนเองอย่างแท้จริง' ไปง่าย ๆ สำหรับปโตเลเมียส อเดลฟอส วัตถุโบราณ โบราณสถาน คือบ้านเมืองของเขา คือยุคสมัยของเขา คือสิ่งควรค่าแก่การเคารพบูชา คือข้อกังขาที่ว่าสิ่งทั้งปวงที่คนทั้งมวลเมื่อวันวานยกย่องให้คุณค่าสูงส่งนั้น ในอีกร้อยปีพันปีให้หลัง อาจกลายเป็นเพียงสิ่งไร้คุณค่ากระนั้นหรือ หรือมิใช่ มันยังคงมีคุณค่า หากแต่ในอีกรูปแบบหนึ่งซึ่งต่างกันโดยสิ้นเชิง และในรูปแบบนั้นยังนับเป็นคุณค่าได้รึไม่ ...แต่ไม่ว่าจะแตกต่างวิถี มียุคสมัยที่ห่างไกลกันกี่ร้อยกี่พันปี สิ่งหนึ่งที่เหมือนกัน...นอกจากตามหาสิ่งที่มีค่าสำหรับตนเอง คนทุกคนล้วนตามหา 'คุณค่า' ในตัวเอง สองข้อที่สังเกตได้จากนิยายเรื่องนี้คือ แม้ว่าตัวเอกจะมีคาแร็คเตอร์แบบนิยายวัยรุ่น แต่ประเด็นที่สอดแทรกและบรรยากาศบางส่วนมีกลิ่นอายไปทางนิยายผู้ใหญ่มากอยู่ การดำเนินเรื่องไม่เน้นความฉับไว แต่ให้เนื้อที่กับการปูพื้นเรื่องนานพอควร การแบ่งช่วงตอนก็ค่อนข้างยาว จำนวนหน้าในแต่ละบทเยอะกว่านิยายวัยรุ่นของไทยโดยทั่วไป อีกข้อคือเรื่องของข้อมูล ผู้เขียนให้ความสำคัญกับจุดนี้มาก เห็นได้ว่าค้นข้อมูลมาเยอะ นำเสนอวัฒนธรรมที่ยกมาใช้ประกอบเรื่อง...โดยในเล่มแรกนี้คืออียิปต์...ได้ชัดเจน ไม่ลอย ๆ เลือน ๆ หรืออ่านปุ๊บทะ ปั๊บว่านั่งเทียน เพียงแต่ตอนที่อ่านอาจต้องตั้งใจเก็บรายละเอียดพอสมควร เพราะอ้างอิงถึงภาษา สิ่งของ และสถานที่ที่เราไม่คุ้นเคย (สำหรับผม พูดถึงอียิปต์นึกออกแค่ปิรามิดกับสฟิงซ์ :P) แต่ก็ทดแทนด้วยการใช้ภาษาซึ่งเรียบเรียงและบรรยายให้เห็นภาพได้ดี โดยเฉพาะกลไกกับดักในสุสานช่วงไคลแม็กซ์ ชอบมาก เนื้อหาโดยหลักเป็นการผจญภัยสะเทิ้นน้ำสะเทิ้นบก ตะลุยด่านไขปัญหา ยิงหมาฆ่าฮิปโป บวกมุกล้อเลียนจิกกัดกับความขี้บ่นได้โล่ของพระเอก โดยรองเป็นการขับเคี่ยวกันด้วยอำนาจพิเศษของวัตถุโบราณ หรือที่ในเรื่องเรียกว่า 'อาร์ติแฟกต์' ซึ่งผู้เขียนนำเอาของวิเศษในตำนานของประเทศต่าง ๆ มาดัดแปลง ในเล่มแรกนี้ออกมาให้เห็นแค่ไม่กี่ชิ้น แต่ในตอนจบเล่มทิ้งท้ายด้วยการเกริ่นถึงกลุ่มตัวละครที่น่าจะเป็นหลักสำคัญของเรื่องหลายตัว เล่มต่อ ๆ ไปจึงคิดว่าน่าจะมีอาร์ติแฟกต์โผล่มาอีกเยอะ และเหมือนกับว่าตัวเอกก็เปลี่ยนประเทศที่ไปลุยด้วย ตำนานคนและของวิเศษก็ย่อมจะเปลี่ยนตาม น่าสนใจว่าคนเขียนจะหยิบอะไรจากตำนานของประเทศนั้น ๆ มาเล่นอีก (โดยส่วนตัว อยากเห็นคาร์เตอร์มาหาอาร์ติแฟกต์ที่ประเทศไทย ...ถ้ามีนะ = v =) นอกจากเรื่องของวิเศษ ตลอดทั้งเล่มยังมีเกร็ดเล็กเกร็ดน้อย อ้างอิงเรื่องเล่า แปลง 'ชื่อ' ที่หยิบยกมาจากสิ่งต่าง ๆ ให้แปร่งไปจากเดิม ซึ่งตรงนี้ขึ้นอยู่กับว่ารู้จักของจริงหรือตำนานจริงที่ยกมามากแค่ไหน ใครรู้จักเยอะก็อินและฮามากหน่อย = v = The Artifact Hunter มีตัวละครและวิธีเดินเรื่องตามรูปแบบนิยมแต่ก็แอบล้อขนบอยู่เนือง ๆ มีความซับซ้อนแต่ก็ไม่ถึงกับอ่านยาก มีความแปลกแต่ก็ไม่แหวกจนแหกโค้งหลุดออกทะเลทั้ง ๆ ยังอยู่บนบก ดูเหมือนผู้เขียนพยายามปรับแต่งหาจุดลงตัวระหว่างแนวมาตรฐาน (หรือที่มักเรียกกันว่าแนวตลาด) กับความแปลกใหม่ แม้จะมีบางจุดที่ผสมได้ไม่เป็นเนื้อเดียวกันนัก แต่ก็เป็นอีกแนวทางหนึ่งที่น่าติดตามดูกันต่อไป พูดถึงการหาจุดที่ลงตัวแล้ว ในด้านรูปเล่ม ก็เห็นได้ว่านิยายจากโครงการนี้ต่างไปจากที่เคยเล็กน้อย นั่นคือมีภาพประกอบ ช่วงหลัง ๆ นิยายของไทยที่ได้เปิดผ่านตามีองค์ประกอบข้อนี้ให้เห็นมากขึ้น โดยส่วนตัวแล้ว เนื่องจากชอบทั้งเขียนทั้งวาด อ่านทั้งนิยายและการ์ตูน ไม่ได้รู้สึกขัดข้องอะไรที่เห็นมันขยับเข้าหากัน ขอแค่ 'นิยาย' ยังคงความสมบูรณ์ในตัวเอง กล่าวคือภาพวาดมีเพื่อเสริมสร้างความสวยงามหรือความแปลกตา ส่วนตัวอักษรยังสามารถเล่าเรื่องครบถ้วน และถ่ายทอดเรื่องราวในแบบของมัน อาจจะมีลักษณะเฉพาะทางการ์ตูนโผล่มาบ้าง แต่ไม่ได้มากเกินไปจนเสียความเป็นนิยายเท่านั้นก็พอ จากที่ได้พบนิธินทร์ผู้เขียนกับคุณ บ.ก.ของโครงการ (ซึ่งอายุน้อยกว่าที่คิด = v =) เห็นว่าเล่มต่อไปก็เริ่มเขียนทรีตเมนต์กันแล้ว (โอ้ พระเจ้ากล้วย ฟิตกันเหลือเกิน) นึกว่าจะแค่ใช้เพื่อคัดเลือกตอนประกวดแค่นั้นซะอีก แอบตกใจแต่ก็คิดว่าเข้าท่าดีที่ยังคงยึดถือการทำงานเป็นระบบไว้ ในด้านของนักเขียน แน่นอนว่าต้องการถ่ายทอดความเป็นตัวเองและสิ่งที่ชอบให้มากที่สุด แต่ในด้านของสำนักพิมพ์นั้น ก็มีความจริงข้อหนึ่งซึ่งปฏิเสธไม่ได้ ดังเช่นประโยคหนึ่งที่แอ็กเซล พ่อของคาเตอร์ได้พูดไว้ "จะทำขายก็ต้องให้ถูกปากคนซื้อมาก ๆ ล่ะนะ" การสร้างระบบที่ทั้งสองฝ่ายสามารถแลกเปลี่ยนมุมมองช่วยกันออกความเห็นจึงนับเป็นสัญญาณที่ดี นักเขียนได้รับรู้ความคิดความต้องการของทางสำนักพิมพ์ และกลับกัน ตัวนักเขียนเองก็ได้มีส่วนร่วมในขั้นตอนการผลิตงานออกมาเป็นรูปเล่มมากขึ้น ก็ขอเอาใจช่วยทั้งสำนักพิมพ์ทั้งนักเขียนที่ริเริ่มลองทำสิ่งที่ต่างไปจากเดิมนะขอรับ ไม่ถึงกับต้องเปลี่ยนแปลงในระดับปฏิวัติ หรือหวังผลถึงขั้นพลิกวงการปุบปับยกระดับฉับพลัน แค่เขยิบทีละนิด แผ้วถางทีละหน่อย ให้มีพื้นที่และแนวทางใหม่ ๆ สำหรับงานสร้างสรรค์ในตลาดหนังสือเพิ่มขึ้นทีละน้อยก็พอ = v =   อ่านน้อยลง

    bluemouse | 10 ต.ค. 54

    • 7

    • 1

    คำนิยมล่าสุด

    "นักล่าสมบัติโบราณ องค์การลับ ๆ ล่อ ๆ ฟาโรห์แสนดีขี้หงอ มัมมี่เคยหล่อขี้โว"

    (แจ้งลบ)

    ไต่จาก 'ระดับซี' ขึ้นไปเป็น 'ระดับเอซ' ที่อายุน้อยที่สุดในวงการ เส้นทางสู่จุดสูงสุดของเขากำลังเบิกกว้างเรืองรอง...ก่อนจะตีบตันมืดมนไปในทันใด เขาคือคาร์เตอร์ ฮาวล์ อาร์ติแฟกต์ ฮันเตอร์หนุ่มรูปงาม...แต่ไม่งามแล้ว ยอดนักแม่นปืน...ซึ่งสูญเสียสมรรถภาพในการยิง ผู้สุขุมเยือกเย็น...ที่บ่อยครั้งก็เลือดร้อนชอบโวยวาย ขี้น้อยใจ...และก็ขี้บ่ ... อ่านเพิ่มเติม

    ไต่จาก 'ระดับซี' ขึ้นไปเป็น 'ระดับเอซ' ที่อายุน้อยที่สุดในวงการ เส้นทางสู่จุดสูงสุดของเขากำลังเบิกกว้างเรืองรอง...ก่อนจะตีบตันมืดมนไปในทันใด เขาคือคาร์เตอร์ ฮาวล์ อาร์ติแฟกต์ ฮันเตอร์หนุ่มรูปงาม...แต่ไม่งามแล้ว ยอดนักแม่นปืน...ซึ่งสูญเสียสมรรถภาพในการยิง ผู้สุขุมเยือกเย็น...ที่บ่อยครั้งก็เลือดร้อนชอบโวยวาย ขี้น้อยใจ...และก็ขี้บ่นด้วย ไม่นับข้อหลัง ๆ ที่เป็นมาแต่ไหนแต่ไรแล้ว การที่คุณสมบัติข้างต้นของเขาต้องกลายเป็นขาด ๆ หาย ๆ ครึ่ง ๆ กลาง ๆ เหมือนคนสับสนในชีวิต สาเหตุก็สืบเนื่องมาจากงานชิ้นล่าสุดที่เพิ่งผ่านไปหมาด ๆ แรกเริ่มเดิมที ทั้งหมดที่คาร์เตอร์ต้องลงแรงก็แค่ชักปืนคู่ใจเป่าภูตอารักษ์ทิ้งไปฝูงสองฝูง ติดตั้งกลไกงัดแงะโลงศพสามสี่ชั้นอีกห้าหกนาที เท่านี้ก็ได้ของตรงตามความต้องการผู้จ้างวาน แถมยังมีโอกาสสร้างผลงานเป็นผู้ค้นพบสุสานฟาโรห์กลับไปเสนอสมาคมแลกกับการเลื่อนระดับ แหม งานนี้มันช่างหวานหมู ...หารู้ไม่ ว่านอกจากลาภก้อนโตแล้ว สุสานแห่งนี้ยังมีเคราะห์จังเบ้อเร่อ ...สมบัติคือสิ่งมีค่า นั่นคือคำจำกัดความที่ทุกผู้คนย่อมเห็นตรงกัน ...ทว่า 'สมบัติ' ของแต่ละคนไม่เหมือนกัน ความหมายของ 'สิ่งมีค่า' ในแต่ละบุคคลจึงแตกต่างกัน หรือตรงข้ามกัน สำหรับอาร์ติแฟกต์ ฮันเตอร์ วัตถุโบราณ โบราณสถาน คือสิ่งมีค่า ...แล้วคุณค่าอยู่ที่ตรงไหน วัดจากอะไร สิ่งมีค่าหนึ่งสามารถแลกมาซึ่งอีกสิ่งมีค่าหนึ่ง เพชรพลอยอัญมณี วัตถุยากเสาะหานานา สามารถนำไปแลกเป็นเงินตรา เงินตราแลกมาซึ่งความสามารถในการซื้อหา แลกมาซึ่งความสุขที่ได้ครอบครอง อาจกล่าวได้ว่า ระดับของคุณค่าขึ้นอยู่กับว่ามันแลกมาซึ่งสิ่งที่เราต้องการมากน้อยเพียงใด สำหรับคาร์เตอร์ ฮาวล์ วัตถุโบราณ โบราณสถาน ยิ่งเก่าแก่ยิ่งลับแลยิ่งมีค่า พวกมันคือหนทางที่จะนำไปสู่เกียรติ ชื่อเสียง ความภาคภูมิ ขั้นบันไดที่จะพาเขาขึ้นไปเทียบเคียงกับผู้เป็นแม่ ส่วนผู้คน ความสัมพันธ์ระหว่างคนต่อคน ยิ่งเพื่อนร่วมทางที่ไร้ประโยชน์แล้ว ไม่มีค่าอะไรเลย ...บางครั้งบางคราว คนเราก็ไม่รู้ตัวว่ากำลังไขว่คว้าผิดเป้า ตอบไม่ได้ว่านั่นใช่สิ่งที่เราต้องการแน่หรือไม่ ...ที่เป็นปัญหายิ่งกว่านั้นคือ ในขณะที่กำลังไล่ตาม 'สิ่งที่เราอาจไม่ได้ต้องการ' อย่างยากลำบาก เรากลับมองข้าม 'สิ่งที่มีค่าสำหรับตนเองอย่างแท้จริง' ไปง่าย ๆ สำหรับปโตเลเมียส อเดลฟอส วัตถุโบราณ โบราณสถาน คือบ้านเมืองของเขา คือยุคสมัยของเขา คือสิ่งควรค่าแก่การเคารพบูชา คือข้อกังขาที่ว่าสิ่งทั้งปวงที่คนทั้งมวลเมื่อวันวานยกย่องให้คุณค่าสูงส่งนั้น ในอีกร้อยปีพันปีให้หลัง อาจกลายเป็นเพียงสิ่งไร้คุณค่ากระนั้นหรือ หรือมิใช่ มันยังคงมีคุณค่า หากแต่ในอีกรูปแบบหนึ่งซึ่งต่างกันโดยสิ้นเชิง และในรูปแบบนั้นยังนับเป็นคุณค่าได้รึไม่ ...แต่ไม่ว่าจะแตกต่างวิถี มียุคสมัยที่ห่างไกลกันกี่ร้อยกี่พันปี สิ่งหนึ่งที่เหมือนกัน...นอกจากตามหาสิ่งที่มีค่าสำหรับตนเอง คนทุกคนล้วนตามหา 'คุณค่า' ในตัวเอง สองข้อที่สังเกตได้จากนิยายเรื่องนี้คือ แม้ว่าตัวเอกจะมีคาแร็คเตอร์แบบนิยายวัยรุ่น แต่ประเด็นที่สอดแทรกและบรรยากาศบางส่วนมีกลิ่นอายไปทางนิยายผู้ใหญ่มากอยู่ การดำเนินเรื่องไม่เน้นความฉับไว แต่ให้เนื้อที่กับการปูพื้นเรื่องนานพอควร การแบ่งช่วงตอนก็ค่อนข้างยาว จำนวนหน้าในแต่ละบทเยอะกว่านิยายวัยรุ่นของไทยโดยทั่วไป อีกข้อคือเรื่องของข้อมูล ผู้เขียนให้ความสำคัญกับจุดนี้มาก เห็นได้ว่าค้นข้อมูลมาเยอะ นำเสนอวัฒนธรรมที่ยกมาใช้ประกอบเรื่อง...โดยในเล่มแรกนี้คืออียิปต์...ได้ชัดเจน ไม่ลอย ๆ เลือน ๆ หรืออ่านปุ๊บทะ ปั๊บว่านั่งเทียน เพียงแต่ตอนที่อ่านอาจต้องตั้งใจเก็บรายละเอียดพอสมควร เพราะอ้างอิงถึงภาษา สิ่งของ และสถานที่ที่เราไม่คุ้นเคย (สำหรับผม พูดถึงอียิปต์นึกออกแค่ปิรามิดกับสฟิงซ์ :P) แต่ก็ทดแทนด้วยการใช้ภาษาซึ่งเรียบเรียงและบรรยายให้เห็นภาพได้ดี โดยเฉพาะกลไกกับดักในสุสานช่วงไคลแม็กซ์ ชอบมาก เนื้อหาโดยหลักเป็นการผจญภัยสะเทิ้นน้ำสะเทิ้นบก ตะลุยด่านไขปัญหา ยิงหมาฆ่าฮิปโป บวกมุกล้อเลียนจิกกัดกับความขี้บ่นได้โล่ของพระเอก โดยรองเป็นการขับเคี่ยวกันด้วยอำนาจพิเศษของวัตถุโบราณ หรือที่ในเรื่องเรียกว่า 'อาร์ติแฟกต์' ซึ่งผู้เขียนนำเอาของวิเศษในตำนานของประเทศต่าง ๆ มาดัดแปลง ในเล่มแรกนี้ออกมาให้เห็นแค่ไม่กี่ชิ้น แต่ในตอนจบเล่มทิ้งท้ายด้วยการเกริ่นถึงกลุ่มตัวละครที่น่าจะเป็นหลักสำคัญของเรื่องหลายตัว เล่มต่อ ๆ ไปจึงคิดว่าน่าจะมีอาร์ติแฟกต์โผล่มาอีกเยอะ และเหมือนกับว่าตัวเอกก็เปลี่ยนประเทศที่ไปลุยด้วย ตำนานคนและของวิเศษก็ย่อมจะเปลี่ยนตาม น่าสนใจว่าคนเขียนจะหยิบอะไรจากตำนานของประเทศนั้น ๆ มาเล่นอีก (โดยส่วนตัว อยากเห็นคาร์เตอร์มาหาอาร์ติแฟกต์ที่ประเทศไทย ...ถ้ามีนะ = v =) นอกจากเรื่องของวิเศษ ตลอดทั้งเล่มยังมีเกร็ดเล็กเกร็ดน้อย อ้างอิงเรื่องเล่า แปลง 'ชื่อ' ที่หยิบยกมาจากสิ่งต่าง ๆ ให้แปร่งไปจากเดิม ซึ่งตรงนี้ขึ้นอยู่กับว่ารู้จักของจริงหรือตำนานจริงที่ยกมามากแค่ไหน ใครรู้จักเยอะก็อินและฮามากหน่อย = v = The Artifact Hunter มีตัวละครและวิธีเดินเรื่องตามรูปแบบนิยมแต่ก็แอบล้อขนบอยู่เนือง ๆ มีความซับซ้อนแต่ก็ไม่ถึงกับอ่านยาก มีความแปลกแต่ก็ไม่แหวกจนแหกโค้งหลุดออกทะเลทั้ง ๆ ยังอยู่บนบก ดูเหมือนผู้เขียนพยายามปรับแต่งหาจุดลงตัวระหว่างแนวมาตรฐาน (หรือที่มักเรียกกันว่าแนวตลาด) กับความแปลกใหม่ แม้จะมีบางจุดที่ผสมได้ไม่เป็นเนื้อเดียวกันนัก แต่ก็เป็นอีกแนวทางหนึ่งที่น่าติดตามดูกันต่อไป พูดถึงการหาจุดที่ลงตัวแล้ว ในด้านรูปเล่ม ก็เห็นได้ว่านิยายจากโครงการนี้ต่างไปจากที่เคยเล็กน้อย นั่นคือมีภาพประกอบ ช่วงหลัง ๆ นิยายของไทยที่ได้เปิดผ่านตามีองค์ประกอบข้อนี้ให้เห็นมากขึ้น โดยส่วนตัวแล้ว เนื่องจากชอบทั้งเขียนทั้งวาด อ่านทั้งนิยายและการ์ตูน ไม่ได้รู้สึกขัดข้องอะไรที่เห็นมันขยับเข้าหากัน ขอแค่ 'นิยาย' ยังคงความสมบูรณ์ในตัวเอง กล่าวคือภาพวาดมีเพื่อเสริมสร้างความสวยงามหรือความแปลกตา ส่วนตัวอักษรยังสามารถเล่าเรื่องครบถ้วน และถ่ายทอดเรื่องราวในแบบของมัน อาจจะมีลักษณะเฉพาะทางการ์ตูนโผล่มาบ้าง แต่ไม่ได้มากเกินไปจนเสียความเป็นนิยายเท่านั้นก็พอ จากที่ได้พบนิธินทร์ผู้เขียนกับคุณ บ.ก.ของโครงการ (ซึ่งอายุน้อยกว่าที่คิด = v =) เห็นว่าเล่มต่อไปก็เริ่มเขียนทรีตเมนต์กันแล้ว (โอ้ พระเจ้ากล้วย ฟิตกันเหลือเกิน) นึกว่าจะแค่ใช้เพื่อคัดเลือกตอนประกวดแค่นั้นซะอีก แอบตกใจแต่ก็คิดว่าเข้าท่าดีที่ยังคงยึดถือการทำงานเป็นระบบไว้ ในด้านของนักเขียน แน่นอนว่าต้องการถ่ายทอดความเป็นตัวเองและสิ่งที่ชอบให้มากที่สุด แต่ในด้านของสำนักพิมพ์นั้น ก็มีความจริงข้อหนึ่งซึ่งปฏิเสธไม่ได้ ดังเช่นประโยคหนึ่งที่แอ็กเซล พ่อของคาเตอร์ได้พูดไว้ "จะทำขายก็ต้องให้ถูกปากคนซื้อมาก ๆ ล่ะนะ" การสร้างระบบที่ทั้งสองฝ่ายสามารถแลกเปลี่ยนมุมมองช่วยกันออกความเห็นจึงนับเป็นสัญญาณที่ดี นักเขียนได้รับรู้ความคิดความต้องการของทางสำนักพิมพ์ และกลับกัน ตัวนักเขียนเองก็ได้มีส่วนร่วมในขั้นตอนการผลิตงานออกมาเป็นรูปเล่มมากขึ้น ก็ขอเอาใจช่วยทั้งสำนักพิมพ์ทั้งนักเขียนที่ริเริ่มลองทำสิ่งที่ต่างไปจากเดิมนะขอรับ ไม่ถึงกับต้องเปลี่ยนแปลงในระดับปฏิวัติ หรือหวังผลถึงขั้นพลิกวงการปุบปับยกระดับฉับพลัน แค่เขยิบทีละนิด แผ้วถางทีละหน่อย ให้มีพื้นที่และแนวทางใหม่ ๆ สำหรับงานสร้างสรรค์ในตลาดหนังสือเพิ่มขึ้นทีละน้อยก็พอ = v =   อ่านน้อยลง

    bluemouse | 10 ต.ค. 54

    • 7

    • 1

    ความคิดเห็น