ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    Nb1 :)

    ลำดับตอนที่ #24 : วิวัฒนาการนาฏศิลป์ไทย

    • อัปเดตล่าสุด 24 พ.ค. 56


    วิวัฒนาการนาฏศิลป์ไทย

     

    นาฏศิลป์ไทย เป็นศิลปะประจำชาติที่มีวิวัฒนาการมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยจนถึงปัจจุบัน และมีเอกลักษณ์แตกต่างกันไปตามยุคสมัย จนกระทั้งพัฒนามาเป็นนาฏศิลป์ระดับมาตรฐานที่มีแบบแผน และเป็นเอกลักษณ์ของไทย

                ๑.๑ สมัยสุโขทัย

                เป็นการแสดงประเภทระบำ รำ ฟ้อน  มีวิวัฒนาการมาจากการละเล่นของชาวบ้าน เป็นการพักผ่อนหย่อนใจหลังจากเสร็จงาน หรือแสดงในงานบุญ งานรื่นเริงประจำปี  ปรากฏในหนังสือไตรภูมิพระร่วงฉบับพระมหาราชาลิไทว่า บ้างเต้น บ้างรำ บ้างฟ้อน ระบำบันลือ” แสดงให้เห็นรูปแบบของนาฏศิลป์ที่ปรากฏในสมัยนี้ คือ เต้น รำ ฟ้อน และระบำ

    ๑.๒ สมัยอยุธยา

                ได้พัฒนาการแสดงในรูปแบบของละครรำ นับเป็นต้นแบบของละครรำแบบอื่นๆต่อมา คือ ละครชาตรี ละครนอก และละครใน สำหรับละครในเป็นละครผู้หญิง แสดงเฉพาะในราชสำนัก ในราชสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศนิยมแสดงเรื่อง นิเหนา ซึ่งเจ้าพินทวดีได้สืบทอดท่ารำต่อมาจนถึงสมัยธนบุรี

                สมัยธนบุรีมีละครรำของหลวงที่มีผู้หญิงและผู้ชายแสดง และมีละครผู้หญิงของเจ้านครศรีธรรมราชส่วนนาฏศิลป์ที่เป็นการแสดงเพื่อสมโภชพระแก้วมรกต มีทั้งโขน ละครรำ ระบำ และมหรสพต่างๆ

                ๑.๓ สมัยรัตนโกสินทร์

                สมัยรัตนโกสินทร์ ระบำและรำมีความสำคัญต่อราชพิธีต่างๆ ในรูปแบบของพิธีกรรม โดยถือปฏิบัติเป็นกฎมณเฑียรบาลมาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น (สมัยรัชกาลที่1 รัชกาลที่ 4 )

                รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก โปรดรวบรวมตำราฟ้อนรำ และเขียนภาพท่ารำแม่บทบันทึกไว้เป็นหลักฐาน มีการพัฒนาโขนเป็นรูปแบบละครใน มีการปรับปรุงระบำสี่บท ซึ่งเป็นระบำมาตรฐานตั้งแต่สุโขทัย ในสมัยนี้ได้เกิดนาฏศิลป์ขึ้นมาหลายชุด เช่น  ระบำเมขลา-รามสูร ในราชนิพนธ์รามเกียรติ์

                ราชสมัยสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย  เป็นยุคของนาฏศิลป์ไทย เนื่องจากพระมหากษัตริย์ทรงโปรดละครรำ ท่ารำงดงามตามประณีตแบบราชสำนัก มีการฝึกหัดทั้งโขน ละครใน ละครนอกโดยได้ฝึกผู้หญิงให้แสดงละครนอกของหลวงและมีการปรับปรุงเครื่องแต่งกายยืนเครื่องแบบละครใน

                รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้ยกเลิกละครหลวง ทำให้นาฏศิลป์ไทยเป็นที่นิยมแพร่หลายในหมู่ประชาชน และเกิดการแสดงของเอกชนขึ้นหลายคณะ ศิลปินที่มีความสามารถสืบทอดการแสดงนาฏศิลป์ไทยที่เป็นแบบแผนกันต่อมา

                รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้มีละครรำผู้หญิงในราชสำนักตามเดิมและในเอกชนมีการแสดงละครผู้หญิงและผู้ชาย ในสมัยนี้มีบรมครูทางนาฏศิลป์ ได้ชำระพิธีโขนละคร ทูลเกล้าถวายตราไว้เป็นฉบับหลวง และมีการดัดแปลงการำเบิกโรงชุดประเริงมาเป็น รำดอกไม้เงินทอง

                รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในสมัยนี้มีทั้งอนุรักษ์และพัฒนานาฏศิลป์ไทยเพื่อทันสมัย  เช่น  มีการพัฒนาละครในละครดึกดำบรรพ์ พัฒนาละครรำที่มีอยู่เดิมมาเป็นละครพันทางและละครเสภา และได้กำหนดนาฏศิลป์เป็นที่บทระบำแทรกอยู่ในละครเรื่องต่างๆ เช่น ระบำเทวดา- นางฟ้า ในเรื่องกรุงพาณชมทวีป ระบำตอนนางบุษบากับนางกำนันชมสารในเรื่องนิเหนา ระบำไก่ เป็นต้น

                รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นศิลปะด้านนาฏศิลป์ เจริญรุ่งเรืองมาก พระองค์โปรดให้ตั้งกรมมหรสพขึ้น มีการทำนุบำรุงศิลปะทางโขน ละคร และดนตรีปี่พาทย์ ทำให้ศิลปะทำให้มีการฝึกหัดอย่างมีระเบียบแบบแผน และโปรดตั้งโรงเรียนฝึกหัดนาฏศิลป์ในกรมมหรสพ นอกจากนี้ ยังได้มีการปรับปรุงวิธีการแสดงโขนเป็นละครดึกดำบรรพ์เรื่องรามเกียรติ์และได้เกิดโขนบรรดาศักดิ์ที่มหาดเล็กแสดงคู่กับโขนเชลยศักดิ์ที่เอกชนแสดง

                รัชสมัยสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หั โปรดให้มีการจัดตั้งศิลปากรขึ้นแทนกรมมหรสพที่ถูกยุบไป ทำให้ศิลปะโขน ละคร ระบำ รำ ฟ้อน ยังคงปรากฏอยู่ เพื่อเป็นแนวทางในการอนุรักษ์และพัฒนาสืบต่อไป

                รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล หลวงวิจิตรวาทการ อธิบดีของกรมศิลปาการ ได้ก่อตั้งโรงเรียนนาฏดุริยางคศาสตร์ขึ้นมา เพื่อปกกันไม่ให้ศิลปะทางด้านนาฏศิลป์สูญหายไป

                ในสมัยนี้ได้เกิดละครวิจิตร ซึ่งเป็นละครปลุกใจให้รักชาติ และเป็นการสร้างแรงจูงใจให้คนไทยหันมาสนใจนาฏศิลป์ไทย และได้มีการตั้งโรงเรียนนาฏศิลป์แทนโรงเรียนนาฏดุริยางคศาสตร์ ซึ่งถูกทำลายตอนสงครามโลกครั้งที่ 2 เพื่อเป็นสถานศึกษานาฏศิลป์และดุริยางคศิลป์ของทางราชการ และเป็นการทุบำรุง เผยแพร่นาฏศิลป์ไทยให้เป็นที่ยกย่องนานาอารยประเทศ

                รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช นาฏศิลป์ ละคร ฟ้อน รำ ได้อยู่ในความรับผิดชอบของรัฐบาล ได้มีการส่งเสริมให้ผู้เชี่ยวชาญนาฏศิลป์ไทยคิดประดิษฐ์ท่ารำ ระบำชุดใหม่ ได้แก่ ระบำพม่าไทยอธิษฐาน 

                ปัจจุบันได้มีการนำนาฏศิลป์นานาชาติมาประยุกต์ใช้ในการประดิษฐ์ท่ารำ รูปแบบของการแสดง มีการนำเทคนิคแสง สี เสียง เข้ามาเป็นองค์ประกอบในการแสดงชุดต่างๆ ปรับปรุงลีลาท่ารำให้เหมาะสมกับฉาก บนเวทีการแสดงมีการติดตั้งอุปกรณ์ที่ทันสมัย ทั้งระบบม่าน ฉาก  แสง ควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ มีระบบเสียงที่สมบูรณ์ มีเครื่องฉายภาพยนตร์ประกอบการแสดง และเผยแพร่ศิลปกรรมทุกสาขานาฏศิลป์ และสร้างนักวิชาการและนักวิจัยในระบบสูง โดยมีการเปิดสอนนาฏศิลป์ไทยในระดับปริญญาเอกอีกหลายแห่ง

     

    http://www.itrmu.net/web/10rs15/show-webcontent.php?cat_id=2&mid=21

     

     

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×